ทุกคนคงทราบดีว่าสิทธิการรักษาของคนเราในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลักๆ 3 อย่าง คือ สิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ และประกันสังคม แต่จริงๆแล้วมีสิทธิยิบย่อยกว่านี้ลงไปอีกมากมาย เช่น สิทธิพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย(อันนี้สิทธิเทพมากเหมือนกัน), พนง.รัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่สิทธิ ขรก.กระทรวงการคลัง
แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีอยู่สิทธินึง
ที่เมพมากๆกว่าสามสิทธิหลักๆที่เรารู้จักอยู่มากมาย นั่นก็คือ สิทธิการรักษาของเจ้าหน้าที่บัตรทองเอง(สปสช)
ดีกว่าอย่างไร เรามาดูสิทธิอื่นกันก่อน คร่าวๆนะครับ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ
1. สิทธิบัตรทอง
จำกัดยา ใช้ยาบางตัวไม่ได้ เพราะเบิกไม่ได้ การผ่าตัดบางอย่างเบิกไม่ได้ถ้าอยากผ่าตัดต้องเสียเงินเพิ่ม เช่นผ่าตัดส่องกล้อง จำกัดสถานที่ ถ้าไปรักษานอกสถานที่ที่กำหนด ต้องมีใบส่งตัว ถ้าไม่มีต้องจ่ายเอง แต่ข้อดีก็มี คือโรคบางกลุ่มไปรักษาเอกชนที่ทำสัญญากับ สปสช.ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจาก
รพ.รัฐรักษาไม่ทัน เช่น ผ่าตัดหรือสวนหัวใจเป็นต้น แต่ต้องมีใบส่งตัวนะ สำหรับตัวรพ.รัฐเองก็ได้เงินจาก สปสช.เป็นรายหัวถ้าเป็นผู้ป่วยนอก คือ ราคาค่ารักษาเท่าไหร่ไม่รู้แต่จ่ายเท่านี้
ก็ถัวๆกันไประหว่างคนไข้แต่ละคน ส่วนถ้าเป็นคนไข้ในก็เบิกตามรหัสโรค รพ.จ่ายเท่าไหร่ไม่รู้ แต่สปสช.จ่ายตามราคาโรค
2. สิทธิข้าราชการ
ไม่จำกัดยา ยานอกก็ได้ ยาผลิตในประเทศก็ได้ ยาแพงๆก็ได้ การผ่าตัดก็เบิกได้มากกว่า
แต่บางครั้งก็มีส่วนเกินที่ต้องจ่ายบ้าง ข้อดีคือไปได้ทุกรพ.รัฐในประเทศ ไม่ต้องมีใบส่งตัว
ข้อจำกัดคือไปรักษาเอกชนไม่ได้ในโรคที่ รพ.รักษาไม่ทัน ในส่วนของ รพ.นี่ถ้าเป็นผู้ป่วยนอกได้รับเงินตามจริง
ส่วนผู้ป่วยในก็เหมือนสปสช. จ่ายตามราคาโรค รักษาใช้เงินเท่าไหร่ไม่รู้ แต่จ่ายแค่นี้ตามราคา
3. สิทธิประกันสังคม
นโยบายขึ้นกับรพ.เจ้าของสิทธิที่ขึ้นทะเบียน ถ้าโชคดีได้รพ.ดีก็ดีไป บางโรงก็จำกัดยามาก บางโรงก็ดีมาก รักษาได้เฉพาะรพ.ตัวเอง
ส่วนการผ่าตัดก็แล้วแต่รพ.บริหารจัดการ ถ้าอนุญาตให้ไปผ่ารพ.อื่นก็จ่ายตามจริง
นี่เป็นสิทธิการรักษาของแต่ละสิทธิคร่าวๆ อาจจะไม่ละเอียดมากนัก
แล้วสิทธิการรักษาของพนักงานสปสช.ล่ะเป็นอย่างไร ?????
รูปอ้างอิงจาก
https://mgronline.com/daily/detail/9600000062758 นะครับ
จะเห็นได้ว่าที่ดีกว่าคือ
การรักษาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน “จ่ายตามจริงไม่ต้องสำรองจ่าย
ไม่ต้องจ่ายตามราคาโรค ใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่ เบิกได้หมด อยากใช้อะไรใช้” จะเห็นว่าจริงๆแล้วสิทธิของเจ้าหน้าที่สปสช.นั้นดีมากๆ
มากกว่าทุก 3 สิทธิที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีก
ตอกย้ำว่าถ้าเจ้าหน้าที่สปสช.นั้นมีสิทธิพิเศษมากเพียงใด อย่างนี้ต้องเรียกว่าสิทธิบัตรแพลตินัม
ถึงจะถูก จะเห็นได้ว่ามีความเหลื่อมล้ำของผู้ที่กำเงินของค่ารักษาพยาบาล
กับคนไข้ตาดำๆมาก ก็รู้ไว้ใช่ว่านะครับ ไม่รู้จะทำไงเหมือนกัน
ผ่านไป 3 ปี ไม่รู้ว่าสิทธิเจ้าหน้าที่ของ สปสช.จะเหมือนเดิมอยู่ไหม
แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีอยู่สิทธินึง
ที่เมพมากๆกว่าสามสิทธิหลักๆที่เรารู้จักอยู่มากมาย นั่นก็คือ สิทธิการรักษาของเจ้าหน้าที่บัตรทองเอง(สปสช)
ดีกว่าอย่างไร เรามาดูสิทธิอื่นกันก่อน คร่าวๆนะครับ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ
1. สิทธิบัตรทอง
จำกัดยา ใช้ยาบางตัวไม่ได้ เพราะเบิกไม่ได้ การผ่าตัดบางอย่างเบิกไม่ได้ถ้าอยากผ่าตัดต้องเสียเงินเพิ่ม เช่นผ่าตัดส่องกล้อง จำกัดสถานที่ ถ้าไปรักษานอกสถานที่ที่กำหนด ต้องมีใบส่งตัว ถ้าไม่มีต้องจ่ายเอง แต่ข้อดีก็มี คือโรคบางกลุ่มไปรักษาเอกชนที่ทำสัญญากับ สปสช.ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจาก
รพ.รัฐรักษาไม่ทัน เช่น ผ่าตัดหรือสวนหัวใจเป็นต้น แต่ต้องมีใบส่งตัวนะ สำหรับตัวรพ.รัฐเองก็ได้เงินจาก สปสช.เป็นรายหัวถ้าเป็นผู้ป่วยนอก คือ ราคาค่ารักษาเท่าไหร่ไม่รู้แต่จ่ายเท่านี้
ก็ถัวๆกันไประหว่างคนไข้แต่ละคน ส่วนถ้าเป็นคนไข้ในก็เบิกตามรหัสโรค รพ.จ่ายเท่าไหร่ไม่รู้ แต่สปสช.จ่ายตามราคาโรค
2. สิทธิข้าราชการ
ไม่จำกัดยา ยานอกก็ได้ ยาผลิตในประเทศก็ได้ ยาแพงๆก็ได้ การผ่าตัดก็เบิกได้มากกว่า
แต่บางครั้งก็มีส่วนเกินที่ต้องจ่ายบ้าง ข้อดีคือไปได้ทุกรพ.รัฐในประเทศ ไม่ต้องมีใบส่งตัว
ข้อจำกัดคือไปรักษาเอกชนไม่ได้ในโรคที่ รพ.รักษาไม่ทัน ในส่วนของ รพ.นี่ถ้าเป็นผู้ป่วยนอกได้รับเงินตามจริง
ส่วนผู้ป่วยในก็เหมือนสปสช. จ่ายตามราคาโรค รักษาใช้เงินเท่าไหร่ไม่รู้ แต่จ่ายแค่นี้ตามราคา
3. สิทธิประกันสังคม
นโยบายขึ้นกับรพ.เจ้าของสิทธิที่ขึ้นทะเบียน ถ้าโชคดีได้รพ.ดีก็ดีไป บางโรงก็จำกัดยามาก บางโรงก็ดีมาก รักษาได้เฉพาะรพ.ตัวเอง
ส่วนการผ่าตัดก็แล้วแต่รพ.บริหารจัดการ ถ้าอนุญาตให้ไปผ่ารพ.อื่นก็จ่ายตามจริง
นี่เป็นสิทธิการรักษาของแต่ละสิทธิคร่าวๆ อาจจะไม่ละเอียดมากนัก
แล้วสิทธิการรักษาของพนักงานสปสช.ล่ะเป็นอย่างไร ?????
รูปอ้างอิงจาก https://mgronline.com/daily/detail/9600000062758 นะครับ
จะเห็นได้ว่าที่ดีกว่าคือ
การรักษาทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน “จ่ายตามจริงไม่ต้องสำรองจ่าย
ไม่ต้องจ่ายตามราคาโรค ใช้เงินค่ารักษาเท่าไหร่ เบิกได้หมด อยากใช้อะไรใช้” จะเห็นว่าจริงๆแล้วสิทธิของเจ้าหน้าที่สปสช.นั้นดีมากๆ
มากกว่าทุก 3 สิทธิที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอีก
ตอกย้ำว่าถ้าเจ้าหน้าที่สปสช.นั้นมีสิทธิพิเศษมากเพียงใด อย่างนี้ต้องเรียกว่าสิทธิบัตรแพลตินัม
ถึงจะถูก จะเห็นได้ว่ามีความเหลื่อมล้ำของผู้ที่กำเงินของค่ารักษาพยาบาล
กับคนไข้ตาดำๆมาก ก็รู้ไว้ใช่ว่านะครับ ไม่รู้จะทำไงเหมือนกัน