29 ส.ค. 62
เพราะความผิดหวัง : จุดหักเหชีวิตจากสระน้ำสู่สตาร์ดังฮอลลีวูดของ "เจสัน สเตแธม"
ทุกวันนี้ เชื่อว่าแฟนๆ กีฬาคงจะเห็นตรงกันว่า เส้นแบ่งระหว่างวงการกีฬา กับวงการบันเทิงนั้นดูจะค่อยๆ บางลงจนแทบจะเชื่อมกันสนิทแบบไร้รอยต่อ
นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน สามารถผันตัวเองเข้าสู่เส้นทางสายบันเทิงหลังปิดฉากเส้นทางแห่งการแข่งขันจนประสบความสำเร็จ อย่างเช่น ดเวย์น จอห์นสัน หรือ เดอะ ร็อก ตำนานนักมวยปล้ำ WWE ที่กลายเป็นดาราเกรด เอลิสท์ ทุกเรื่องที่เขาแสดงสามารถการันตีได้ว่าทำเงินแน่นอน ขณะเดียวกันก็มีนักกีฬาดังมาก ที่อาศัยช่วงเวลาว่าง ดอดไปรับงานแสดง เพิ่มเรตติ้งให้ตัวเองได้มากโข
แต่สำหรับ เจสัน สเตแธม ดารานักบู๊ หนึ่งในสองตัวเอกจากภาพยนตร์ Fast & Furious Presents: Hobbs & Shaw ร่วมกับ เดอะ ร็อก...เส้นทางสู่ดวงดาวในฮอลลีวูด กลับมีจุดเริ่มต้นจากความผิดหวังที่เขาไม่ได้มีโอกาสร่วมมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ.. โอลิมปิก เกมส์
เพื่อนซี้ 'ไอ้โรคจิต'
หากดูจากหน้าที่การงานของคุณพ่อและคุณแม่ คุณๆ คงอาจคิดว่า เจสัน สเตแธม คงจะเติบโตสู่การเป็นคนในวงการบันเทิงได้ไม่ยากนัก เมื่อคุณแม่ของเขาหากินด้วยการเป็นนักเต้น ขณะที่คุณพ่อ แม้จะมีทั้งงานหลักงานเสริมมากมายเต็มไปหมดตามแบบฉบับพ่อบ้านที่ต้องหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ทั้งการเป็นพ่อค้าขายของเถื่อนข้างถนน, ช่างทาสีบ้าน, คนงานเหมืองแร่ แต่หนึ่งในอาชีพเสริมนั้น คือ การเป็นนักร้องในสถานบันเทิง
อย่างไรก็ตาม สเตแธมกลับเลือกที่จะสร้างเส้นทางชีวิตของตนเอง ไม่เลือกเดินตามรอยพ่อหรือแม่ เนื่องจากตัวเขาเองก็มีสิ่งที่ชอบอยู่ในใจแล้ว นั่นคือ
“กีฬา”
สมัยวัยเยาว์ สเตแธมถือเป็นอีกคนที่สนใจในกีฬาหลากชนิด ทั้งศิลปะการป้องกันตัวอย่าง มวยสากล, กังฟู, คิกบ็อกซิ่ง, คาราเต้ รวมถึงกีฬาอื่นๆ อย่าง ยิมนาสติก, กระโดดสูง, ฟุตบอล, เทนนิส, สควอช และแทรมโปลิน ทว่าเมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสายวิชาการหรือ Grammar School สเตแธมก็ได้เจอกับหนึ่งคน ที่ทำให้เส้นทางสายกีฬาของเขาชัดเจนยิ่งขึ้น
เขาคนนั้นก็คือ วินนี่ โจนส์ ผู้ที่ต่อมาได้เติบโตเป็นนักเตะพันธุ์ดุเจ้าของฉายา
'ไอ้โรคจิต' กับ วิมเบิลดัน ที่ชักนำให้เขาเปลี่ยนเส้นทางมายังสายฟุตบอลอย่างเต็มตัวด้วยวัย 11 ปี
ทว่าท่ามกลางช่วงเวลาดีๆ ที่สเตแธมและโจนส์เล่นฟุตบอลให้กับทีมโรงเรียนด้วยกัน ก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดการเล่นกีฬาของฝ่ายแรกอย่างเงียบๆ
จากสนามหญ้าสู่ผืนน้ำ
ขณะที่สเตแธมกำลังสนุกกับการเป็นนักฟุตบอลโรงเรียน การเดินทางไปพักผ่อนวันหยุดครั้งหนึ่งตอนเขาอายุได้ 13 ปี กลับเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล
"ตอนนั้นรู้สึกว่าจะไปเที่ยวที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกามั้ง ที่นั่นผมได้เห็นไอ้หนุ่มคนหนึ่งมันกระโดดน้ำจากแพลตฟอร์มสูงลิบที่สระในโรงแรมตอนเที่ยงทุกวัน แถมยังมีใส่ท่าลังกาหลังเกลียวอะไรพวกนี้ด้วย ผมนี่แบบ 'แม่มเอ๊ย! กูอยากทำแบบนี้ได้ว่ะ'" เจ้าตัวเปิดใจกับ The Guardian ถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
นับแต่นั้นมา กีฬากระโดดน้ำ ก็เริ่มเข้ามายึดครองหัวใจของสเตแธมมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนตัดสินใจเลิกที่จะเป็นนักฟุตบอล เพื่อหันมาเอาดีกับกีฬากระโดดน้ำอย่างเต็มตัว
โดยปกติแล้ว นักกีฬากระโดดน้ำส่วนใหญ่จะเริ่มฝึกฝนกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย อย่าง ทอม ดาลีย์ ยอดนักกระโดดน้ำของอังกฤษในยุคปัจจุบัน ก็เริ่มต้นฝึกกีฬานี้ตั้งแต่อายุเพียง 8 ขวบ แต่สำหรับสเตแธม เขาเริ่มมาเอาจริงเอาจังตอนอายุที่ดูจะช้าเอามากๆ ด้วยวัย 15 ปี
แม้จะเริ่มต้นช้า แต่สเตแธมนั้นเชื่อในการอุทิศตัวอย่างหนัก เขาใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการไปซ้อมกระโดดน้ำที่ศูนย์กีฬาแห่งชาติ คริสตัล พาเลซ แทบจะทุกวัน ซึ่งพัฒนาการของเขาก็ไปต้องตาของ คิม ไวท์ ที่คอยสอนเขาอย่างเงียบๆ
และเมื่อได้รับเกียรติให้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการโปรแกรมกระโดดน้ำของสหราชอาณาจักร ไวท์จึงตัดสินใจเรียกตัวสเตแธมเข้าสู่โรงเรียนสอนกระโดดน้ำของทีมชาติในปี 1985 ขณะนั้นเขาอายุได้ 18 ปี
การได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมทีมชาติ ทำให้ฝีไม้ลายมือในการกระโดดน้ำของสเตแธมพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยจุดขายในความแม่นยำ, ความกล้าที่จะเสี่ยง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเยือกเย็น ทำให้เขาขยับเข้าสู่การเป็นนักกระโดดน้ำตัวท็อปของประเทศในเวลาอันรวดเร็ว
และผลลัพธ์ของความพยายามก็มาประสบผลในอีก 5 ปีต่อมา เมื่อสเตแธมได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักกระโดดน้ำทีมชาติอังกฤษ สู้ศึก คอมมอนเวลธ์ เกมส์ หรือกีฬาเครือจักรภพอังกฤษ ที่เมืองออคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 1990
ความผิดหวังครั้งใหญ่
การได้เป็นตัวแทนทีมชาติด้วยวัย 23 ปี อาจฟังดูอายุเยอะเกินไปสำหรับนักกีฬากระโดดน้ำที่เริ่มฝึกฝนกันตั้งแต่อายุหลักเดียว แต่ในสนามแข่งขัน อายุของสเตแธมก็ไม่ต่างกับนักกีฬาร่วมสนามเดียวกันในกีฬาเครือจักรภพอังกฤษอย่าง บ็อบ มอร์แกน จากเวลส์ ที่เกิดในปี 1967 เช่นเดียวกัน
ทว่าผลงานในศึกใหญ่ที่นิวซีแลนด์คราวนั้นดูจะไม่เป็นใจสำหรับสเตแธมนัก เมื่อเขาเข้าป้ายเพียงอันดับ 8 ในรายการสปริงบอร์ด 1 เมตร, อันดับ 11 รายการสปริงบอร์ด 3 เมตร และอันดับ 10 รายการแพลตฟอร์ม 10 เมตร ไม่เฉียดเข้าใกล้เหรียญรางวัลเลยแม้แต่รายการเดียว
แต่นอกจากผลงานในกีฬาเครือจักรภพอังกฤษ รวมถึงอันดับ 12 ในศึกชิงแชมป์โลกเมื่อปี 1992 ที่เมืองบาร์เซโลน่าของสเปนแล้ว สเตแธมก็แทบจะไม่มีผลงานในเวทีใหญ่รายการอื่นๆ อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอลิมปิก มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งลงเอยด้วยการที่เขา ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 1988 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้, 1992 ที่บาร์เซโลน่า และ 1996 ที่แอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา
และนั่นยังเป็นแผลในใจมาจนถึงทุกวันนี้...
"เรื่องที่ผมไม่ได้ไปแข่งโอลิมปิก มันก็ยังทำให้ผมเจ็บปวดอยู่เหมือนกันนะ" สเตแธมเผยกับสื่อในปี 2016
"ผมได้ยินมาว่าเดี๋ยวนี้นักกระโดดน้ำทำเงินได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ก็ถือว่าสมควรกับฝีมือแล้วครับ พวกเขาในยุคนี้เก่งจริงๆ"
"ส่วนผมน่ะเหรอ? ผมเริ่มต้นกับกีฬานี้ช้าเกินไป และดูแล้วมันอาจจะไม่ใช่กีฬาของผม ถ้าตอนนั้นผมจริงจังกับกีฬาอื่น เรื่องราวคงแตกต่างออกไป"
อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวก็ยอมรับว่าการเป็นนักกีฬาได้สอนอะไรกับเขาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย, สมาธิ รวมถึงกันตัวเขาให้อยู่ห่างจากปัญหาของวัยรุ่น อย่างเช่นการเข้าสู่เส้นทางสายนักเลงอีกด้วย
การเป็นนักกีฬาของสเตแธม ยังได้เปิดประตูสู่โลกอีกใบที่แม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่ได้คาดคิดมาก่อน...
สู่โลกใบใหม่
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สิ่งหนึ่งที่ได้จากการเล่นกีฬา คือสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และอาจจะรวมถึงรูปร่างอันกำยำสมส่วน และสิ่งนี้เองที่ช่วยเปิดประตูสู่โลกอีกใบให้กับสเตแธมอย่างไม่รู้ตัว
เพราะในขณะที่ไปฝึกซ้อมกระโดดน้ำที่ศูนย์กีฬาแห่งชาติ คริสตัล พาเลซ อย่างต่อเนื่อง รูปร่างหน้าตาของเขาก็ไปต้องตาต้องใจของ สปอร์ตส์ โปรโมชั่น เอเจนซี่นายแบบ-นางแบบสายกีฬาเข้าอย่างจัง
นั่นคือประตูที่ทำให้สเตแธมได้ก้าวเข้าสู่วงการนายแบบ เริ่มจากการเป็นนายแบบเสื้อผ้าบนแคตาล็อกสินค้า ก่อนที่แบรนด์ดังๆ อย่าง ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์, ลีวายส์ และ เฟรนช์ คอนเน็คชั่น จะเลือกเขาให้มาสวมใส่ชุด โดยโฆษกของ เฟรนช์ คอนเน็คชั่น เคยเผยถึงเบื้องหลังการตัดสินใจว่า
"เราเลือกเจสัน
เนื่องจากเราต้องการนายแบบที่ดูเหมือนคนธรรมดา และลุคของเขาตอบโจทย์เราอย่างจัง ร่างกายเขาเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อก็จริง แต่ก็ดูไม่เป็นนายแบบจนเกินไป"
หลังจากความผิดหวังซ้ำซากกับการคว้าตั๋วโอลิมปิก ที่สุดแล้วเขาก็ตัดสินใจปิดฉากชีวิตการเป็นนักกีฬากระโดดน้ำในปี 1997 หลังผ่านประสบการณ์ 12 ปีในแคมป์ทีมชาติ โดยเจ้าตัวเผยถึงเหตุผลที่เลิกว่า
"ตอนนั้นก็แบบ 'ช่าง จะให้กูเสียเวลาซ้อมไปเปล่าๆ ปลี้ๆ อีก 4 ปีงั้นรึ? ไม่ละว่ะ"
ประตูการเป็นนักกีฬาปิดตายลง และแม้จะมีงานนายแบบ รวมถึงการถ่ายมิวสิควิดีโอเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง รายได้ของสเตแธมก็ยังไม่พอต่อค่าใช้จ่าย ที่สุดแล้ว เขาก็ต้องมาทำในสิ่งที่ไม่อยากจะทำจนได้ ... ขายของเถื่อนข้างถนนเหมือนกับที่คุณพ่อเขาเคยทำนั่นเอง
ทว่าจู่ๆ ประตูสู่โลกอีกใบก็เปิดกว้างให้อย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะในขณะที่เป็นพ่อค้าแบกะดินนั้น กาย ริชชี่ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังก็พบสเตแธม และเห็นถึงศักยภาพลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ในตัว จึงหยิบยื่นโอกาสทดสอบหน้ากล้องในภาพยนตร์เรื่อง Lock, Stock And Two Smoking Barrels ให้ ...
นั่นคือผลงานการแสดงชิ้นแรกของเขา และหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวออกฉายในปี 1998 ชื่อของ เจสัน สเตแธม ก็โด่งดังจนกลายเป็นหนึ่งในดารานักบู๊ชั้นแนวหน้าของฮอลลีวูดมาจึนถึงทุกวันนี้ แถมยังได้ร่วมงานกับอดีตเพื่อนซี้อย่าง วินนี่ โจนส์ ที่แขวนสตั๊ดแล้วเข้าสู่โลกเซลลูลอยด์อีกด้วย
"เอาเข้าจริงมันก็ถือเป็นหนึ่งในโอกาสที่ผ่านเข้ามานะ" สเตแธมมองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตครั้งนั้น
"ผมเลิกเป็นนักกีฬากระโดดน้ำ แทบไม่ได้ทำอะไรอยู่พักใหญ่ แล้วจู่ๆ ก็ได้เล่นหนังใหญ่ มันแบบ 'โอ้ เรื่องบ้าๆ แบบนี้มันเกิดขึ้นได้ไงวะ?"
"โอกาสที่คุณจะเจอผู้กำกับหนังข้างถนนแบบที่ผมเจอมันไม่มากนักหรอก แบบที่อยู่ท่ามกลางฝูงชนแล้วพูดว่า 'โอ้ ขอบคุณนะสำหรับกระเป๋าโง่ๆ ราคา 10 ปอนด์ที่เพิ่งขายให้ คุณอยากมาเล่นหนังของผมมั้ย?'"
"แต่ก็นั่นแหละ ด้วยสิ่งที่ผมทำ และบางเรื่องที่หาคำอธิบายไม่ได้ มันทำให้ผมมาถึงจุดนี้"
Cr.
https://www.sanook.com
จุดหักเหชีวิตจากสระน้ำสู่สตาร์ดังฮอลลีวูดของ "เจสัน สเตแธม"
เพราะความผิดหวัง : จุดหักเหชีวิตจากสระน้ำสู่สตาร์ดังฮอลลีวูดของ "เจสัน สเตแธม"
ทุกวันนี้ เชื่อว่าแฟนๆ กีฬาคงจะเห็นตรงกันว่า เส้นแบ่งระหว่างวงการกีฬา กับวงการบันเทิงนั้นดูจะค่อยๆ บางลงจนแทบจะเชื่อมกันสนิทแบบไร้รอยต่อ
นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน สามารถผันตัวเองเข้าสู่เส้นทางสายบันเทิงหลังปิดฉากเส้นทางแห่งการแข่งขันจนประสบความสำเร็จ อย่างเช่น ดเวย์น จอห์นสัน หรือ เดอะ ร็อก ตำนานนักมวยปล้ำ WWE ที่กลายเป็นดาราเกรด เอลิสท์ ทุกเรื่องที่เขาแสดงสามารถการันตีได้ว่าทำเงินแน่นอน ขณะเดียวกันก็มีนักกีฬาดังมาก ที่อาศัยช่วงเวลาว่าง ดอดไปรับงานแสดง เพิ่มเรตติ้งให้ตัวเองได้มากโข
แต่สำหรับ เจสัน สเตแธม ดารานักบู๊ หนึ่งในสองตัวเอกจากภาพยนตร์ Fast & Furious Presents: Hobbs & Shaw ร่วมกับ เดอะ ร็อก...เส้นทางสู่ดวงดาวในฮอลลีวูด กลับมีจุดเริ่มต้นจากความผิดหวังที่เขาไม่ได้มีโอกาสร่วมมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ.. โอลิมปิก เกมส์
เพื่อนซี้ 'ไอ้โรคจิต'
หากดูจากหน้าที่การงานของคุณพ่อและคุณแม่ คุณๆ คงอาจคิดว่า เจสัน สเตแธม คงจะเติบโตสู่การเป็นคนในวงการบันเทิงได้ไม่ยากนัก เมื่อคุณแม่ของเขาหากินด้วยการเป็นนักเต้น ขณะที่คุณพ่อ แม้จะมีทั้งงานหลักงานเสริมมากมายเต็มไปหมดตามแบบฉบับพ่อบ้านที่ต้องหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว ทั้งการเป็นพ่อค้าขายของเถื่อนข้างถนน, ช่างทาสีบ้าน, คนงานเหมืองแร่ แต่หนึ่งในอาชีพเสริมนั้น คือ การเป็นนักร้องในสถานบันเทิง
อย่างไรก็ตาม สเตแธมกลับเลือกที่จะสร้างเส้นทางชีวิตของตนเอง ไม่เลือกเดินตามรอยพ่อหรือแม่ เนื่องจากตัวเขาเองก็มีสิ่งที่ชอบอยู่ในใจแล้ว นั่นคือ “กีฬา”
สมัยวัยเยาว์ สเตแธมถือเป็นอีกคนที่สนใจในกีฬาหลากชนิด ทั้งศิลปะการป้องกันตัวอย่าง มวยสากล, กังฟู, คิกบ็อกซิ่ง, คาราเต้ รวมถึงกีฬาอื่นๆ อย่าง ยิมนาสติก, กระโดดสูง, ฟุตบอล, เทนนิส, สควอช และแทรมโปลิน ทว่าเมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสายวิชาการหรือ Grammar School สเตแธมก็ได้เจอกับหนึ่งคน ที่ทำให้เส้นทางสายกีฬาของเขาชัดเจนยิ่งขึ้น
เขาคนนั้นก็คือ วินนี่ โจนส์ ผู้ที่ต่อมาได้เติบโตเป็นนักเตะพันธุ์ดุเจ้าของฉายา 'ไอ้โรคจิต' กับ วิมเบิลดัน ที่ชักนำให้เขาเปลี่ยนเส้นทางมายังสายฟุตบอลอย่างเต็มตัวด้วยวัย 11 ปี
ทว่าท่ามกลางช่วงเวลาดีๆ ที่สเตแธมและโจนส์เล่นฟุตบอลให้กับทีมโรงเรียนด้วยกัน ก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดการเล่นกีฬาของฝ่ายแรกอย่างเงียบๆ
จากสนามหญ้าสู่ผืนน้ำ
ขณะที่สเตแธมกำลังสนุกกับการเป็นนักฟุตบอลโรงเรียน การเดินทางไปพักผ่อนวันหยุดครั้งหนึ่งตอนเขาอายุได้ 13 ปี กลับเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล
"ตอนนั้นรู้สึกว่าจะไปเที่ยวที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกามั้ง ที่นั่นผมได้เห็นไอ้หนุ่มคนหนึ่งมันกระโดดน้ำจากแพลตฟอร์มสูงลิบที่สระในโรงแรมตอนเที่ยงทุกวัน แถมยังมีใส่ท่าลังกาหลังเกลียวอะไรพวกนี้ด้วย ผมนี่แบบ 'แม่มเอ๊ย! กูอยากทำแบบนี้ได้ว่ะ'" เจ้าตัวเปิดใจกับ The Guardian ถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
นับแต่นั้นมา กีฬากระโดดน้ำ ก็เริ่มเข้ามายึดครองหัวใจของสเตแธมมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนตัดสินใจเลิกที่จะเป็นนักฟุตบอล เพื่อหันมาเอาดีกับกีฬากระโดดน้ำอย่างเต็มตัว
โดยปกติแล้ว นักกีฬากระโดดน้ำส่วนใหญ่จะเริ่มฝึกฝนกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย อย่าง ทอม ดาลีย์ ยอดนักกระโดดน้ำของอังกฤษในยุคปัจจุบัน ก็เริ่มต้นฝึกกีฬานี้ตั้งแต่อายุเพียง 8 ขวบ แต่สำหรับสเตแธม เขาเริ่มมาเอาจริงเอาจังตอนอายุที่ดูจะช้าเอามากๆ ด้วยวัย 15 ปี
แม้จะเริ่มต้นช้า แต่สเตแธมนั้นเชื่อในการอุทิศตัวอย่างหนัก เขาใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการไปซ้อมกระโดดน้ำที่ศูนย์กีฬาแห่งชาติ คริสตัล พาเลซ แทบจะทุกวัน ซึ่งพัฒนาการของเขาก็ไปต้องตาของ คิม ไวท์ ที่คอยสอนเขาอย่างเงียบๆ
และเมื่อได้รับเกียรติให้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการโปรแกรมกระโดดน้ำของสหราชอาณาจักร ไวท์จึงตัดสินใจเรียกตัวสเตแธมเข้าสู่โรงเรียนสอนกระโดดน้ำของทีมชาติในปี 1985 ขณะนั้นเขาอายุได้ 18 ปี
การได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมทีมชาติ ทำให้ฝีไม้ลายมือในการกระโดดน้ำของสเตแธมพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยจุดขายในความแม่นยำ, ความกล้าที่จะเสี่ยง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเยือกเย็น ทำให้เขาขยับเข้าสู่การเป็นนักกระโดดน้ำตัวท็อปของประเทศในเวลาอันรวดเร็ว
และผลลัพธ์ของความพยายามก็มาประสบผลในอีก 5 ปีต่อมา เมื่อสเตแธมได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักกระโดดน้ำทีมชาติอังกฤษ สู้ศึก คอมมอนเวลธ์ เกมส์ หรือกีฬาเครือจักรภพอังกฤษ ที่เมืองออคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 1990
ความผิดหวังครั้งใหญ่
การได้เป็นตัวแทนทีมชาติด้วยวัย 23 ปี อาจฟังดูอายุเยอะเกินไปสำหรับนักกีฬากระโดดน้ำที่เริ่มฝึกฝนกันตั้งแต่อายุหลักเดียว แต่ในสนามแข่งขัน อายุของสเตแธมก็ไม่ต่างกับนักกีฬาร่วมสนามเดียวกันในกีฬาเครือจักรภพอังกฤษอย่าง บ็อบ มอร์แกน จากเวลส์ ที่เกิดในปี 1967 เช่นเดียวกัน
ทว่าผลงานในศึกใหญ่ที่นิวซีแลนด์คราวนั้นดูจะไม่เป็นใจสำหรับสเตแธมนัก เมื่อเขาเข้าป้ายเพียงอันดับ 8 ในรายการสปริงบอร์ด 1 เมตร, อันดับ 11 รายการสปริงบอร์ด 3 เมตร และอันดับ 10 รายการแพลตฟอร์ม 10 เมตร ไม่เฉียดเข้าใกล้เหรียญรางวัลเลยแม้แต่รายการเดียว
แต่นอกจากผลงานในกีฬาเครือจักรภพอังกฤษ รวมถึงอันดับ 12 ในศึกชิงแชมป์โลกเมื่อปี 1992 ที่เมืองบาร์เซโลน่าของสเปนแล้ว สเตแธมก็แทบจะไม่มีผลงานในเวทีใหญ่รายการอื่นๆ อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอลิมปิก มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งลงเอยด้วยการที่เขา ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 1988 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้, 1992 ที่บาร์เซโลน่า และ 1996 ที่แอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา
และนั่นยังเป็นแผลในใจมาจนถึงทุกวันนี้...
"เรื่องที่ผมไม่ได้ไปแข่งโอลิมปิก มันก็ยังทำให้ผมเจ็บปวดอยู่เหมือนกันนะ" สเตแธมเผยกับสื่อในปี 2016 "ผมได้ยินมาว่าเดี๋ยวนี้นักกระโดดน้ำทำเงินได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ก็ถือว่าสมควรกับฝีมือแล้วครับ พวกเขาในยุคนี้เก่งจริงๆ"
"ส่วนผมน่ะเหรอ? ผมเริ่มต้นกับกีฬานี้ช้าเกินไป และดูแล้วมันอาจจะไม่ใช่กีฬาของผม ถ้าตอนนั้นผมจริงจังกับกีฬาอื่น เรื่องราวคงแตกต่างออกไป"
อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวก็ยอมรับว่าการเป็นนักกีฬาได้สอนอะไรกับเขาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย, สมาธิ รวมถึงกันตัวเขาให้อยู่ห่างจากปัญหาของวัยรุ่น อย่างเช่นการเข้าสู่เส้นทางสายนักเลงอีกด้วย
การเป็นนักกีฬาของสเตแธม ยังได้เปิดประตูสู่โลกอีกใบที่แม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่ได้คาดคิดมาก่อน...
สู่โลกใบใหม่
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สิ่งหนึ่งที่ได้จากการเล่นกีฬา คือสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และอาจจะรวมถึงรูปร่างอันกำยำสมส่วน และสิ่งนี้เองที่ช่วยเปิดประตูสู่โลกอีกใบให้กับสเตแธมอย่างไม่รู้ตัว
เพราะในขณะที่ไปฝึกซ้อมกระโดดน้ำที่ศูนย์กีฬาแห่งชาติ คริสตัล พาเลซ อย่างต่อเนื่อง รูปร่างหน้าตาของเขาก็ไปต้องตาต้องใจของ สปอร์ตส์ โปรโมชั่น เอเจนซี่นายแบบ-นางแบบสายกีฬาเข้าอย่างจัง
นั่นคือประตูที่ทำให้สเตแธมได้ก้าวเข้าสู่วงการนายแบบ เริ่มจากการเป็นนายแบบเสื้อผ้าบนแคตาล็อกสินค้า ก่อนที่แบรนด์ดังๆ อย่าง ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์, ลีวายส์ และ เฟรนช์ คอนเน็คชั่น จะเลือกเขาให้มาสวมใส่ชุด โดยโฆษกของ เฟรนช์ คอนเน็คชั่น เคยเผยถึงเบื้องหลังการตัดสินใจว่า "เราเลือกเจสัน
เนื่องจากเราต้องการนายแบบที่ดูเหมือนคนธรรมดา และลุคของเขาตอบโจทย์เราอย่างจัง ร่างกายเขาเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อก็จริง แต่ก็ดูไม่เป็นนายแบบจนเกินไป"
หลังจากความผิดหวังซ้ำซากกับการคว้าตั๋วโอลิมปิก ที่สุดแล้วเขาก็ตัดสินใจปิดฉากชีวิตการเป็นนักกีฬากระโดดน้ำในปี 1997 หลังผ่านประสบการณ์ 12 ปีในแคมป์ทีมชาติ โดยเจ้าตัวเผยถึงเหตุผลที่เลิกว่า "ตอนนั้นก็แบบ 'ช่าง จะให้กูเสียเวลาซ้อมไปเปล่าๆ ปลี้ๆ อีก 4 ปีงั้นรึ? ไม่ละว่ะ"
ประตูการเป็นนักกีฬาปิดตายลง และแม้จะมีงานนายแบบ รวมถึงการถ่ายมิวสิควิดีโอเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง รายได้ของสเตแธมก็ยังไม่พอต่อค่าใช้จ่าย ที่สุดแล้ว เขาก็ต้องมาทำในสิ่งที่ไม่อยากจะทำจนได้ ... ขายของเถื่อนข้างถนนเหมือนกับที่คุณพ่อเขาเคยทำนั่นเอง
ทว่าจู่ๆ ประตูสู่โลกอีกใบก็เปิดกว้างให้อย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะในขณะที่เป็นพ่อค้าแบกะดินนั้น กาย ริชชี่ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังก็พบสเตแธม และเห็นถึงศักยภาพลึกๆ ที่ซ่อนอยู่ในตัว จึงหยิบยื่นโอกาสทดสอบหน้ากล้องในภาพยนตร์เรื่อง Lock, Stock And Two Smoking Barrels ให้ ...
นั่นคือผลงานการแสดงชิ้นแรกของเขา และหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวออกฉายในปี 1998 ชื่อของ เจสัน สเตแธม ก็โด่งดังจนกลายเป็นหนึ่งในดารานักบู๊ชั้นแนวหน้าของฮอลลีวูดมาจึนถึงทุกวันนี้ แถมยังได้ร่วมงานกับอดีตเพื่อนซี้อย่าง วินนี่ โจนส์ ที่แขวนสตั๊ดแล้วเข้าสู่โลกเซลลูลอยด์อีกด้วย
"เอาเข้าจริงมันก็ถือเป็นหนึ่งในโอกาสที่ผ่านเข้ามานะ" สเตแธมมองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตครั้งนั้น "ผมเลิกเป็นนักกีฬากระโดดน้ำ แทบไม่ได้ทำอะไรอยู่พักใหญ่ แล้วจู่ๆ ก็ได้เล่นหนังใหญ่ มันแบบ 'โอ้ เรื่องบ้าๆ แบบนี้มันเกิดขึ้นได้ไงวะ?"
"โอกาสที่คุณจะเจอผู้กำกับหนังข้างถนนแบบที่ผมเจอมันไม่มากนักหรอก แบบที่อยู่ท่ามกลางฝูงชนแล้วพูดว่า 'โอ้ ขอบคุณนะสำหรับกระเป๋าโง่ๆ ราคา 10 ปอนด์ที่เพิ่งขายให้ คุณอยากมาเล่นหนังของผมมั้ย?'"
"แต่ก็นั่นแหละ ด้วยสิ่งที่ผมทำ และบางเรื่องที่หาคำอธิบายไม่ได้ มันทำให้ผมมาถึงจุดนี้"
Cr.https://www.sanook.com