เข้าวัด ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ณ วัดใกล้บ้าน
ในวันพระ สาธุชนจะไปวัดทำบุญที่วัดใกล้บ้าน มีการถวายภัตตาหารพระ รักษาศีลและเจริญภาวนา ทำความสะอาดวัด นิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง เพราะถ้าไม่มีการสอนธรรมะแล้ว ความรู้ที่แท้จริงก็จะเลือนหายไป เนื่องจากสังคมทุกวันนี้ คนเชื่อ คิด ทำ ต่างๆ นาๆ จนมักไปทำความชั่วหรือดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้องและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กิจกรรมในวันอุโบสถเอื้อต่อการรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ด้วยดี พุทธศาสนิกชนจึงควรถือปฏิบัติคือ เมื่อถึงวันพระ ต้องละนิวรณ์
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้นใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิตใจ
นิวรณ์ มี 5 อย่างคือ
1. กามฉันท์ ความพอใจติดใจอยู่ในสิ่งที่ชอบใจ คือติดความสุขในกาม
2. พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น คือมีความโกรธอาฆาตอยู่
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ท้อแท้ และเคลิบเคลิ้ม เศร้าซึม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม วิตกกังวล และรำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ ความสงสัยกังวล
ดังนั้นในวันพระ พุทธศาสนิกชนผู้ใคร่ในธรรม ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา และควรที่จะสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วย นอกจากนี้ในวันพระ เราก็ไม่ควรกระทำบาปใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการทำผิดศีล 5 ในวันพระถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง
--------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก
สถานี GBN (Global Buddhist Network)
#พรุ่งนี้วันพระ วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2562แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีกุน
ในวันพระ สาธุชนจะไปวัดทำบุญที่วัดใกล้บ้าน มีการถวายภัตตาหารพระ รักษาศีลและเจริญภาวนา ทำความสะอาดวัด นิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง เพราะถ้าไม่มีการสอนธรรมะแล้ว ความรู้ที่แท้จริงก็จะเลือนหายไป เนื่องจากสังคมทุกวันนี้ คนเชื่อ คิด ทำ ต่างๆ นาๆ จนมักไปทำความชั่วหรือดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้องและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กิจกรรมในวันอุโบสถเอื้อต่อการรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ด้วยดี พุทธศาสนิกชนจึงควรถือปฏิบัติคือ เมื่อถึงวันพระ ต้องละนิวรณ์
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้นใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิตใจ
นิวรณ์ มี 5 อย่างคือ
1. กามฉันท์ ความพอใจติดใจอยู่ในสิ่งที่ชอบใจ คือติดความสุขในกาม
2. พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น คือมีความโกรธอาฆาตอยู่
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ท้อแท้ และเคลิบเคลิ้ม เศร้าซึม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม วิตกกังวล และรำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา ความลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ ความสงสัยกังวล
ดังนั้นในวันพระ พุทธศาสนิกชนผู้ใคร่ในธรรม ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา และควรที่จะสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วย นอกจากนี้ในวันพระ เราก็ไม่ควรกระทำบาปใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการทำผิดศีล 5 ในวันพระถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง
--------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก
สถานี GBN (Global Buddhist Network)