เป้าหมายที่ผมอยากจะเขียนขึ้นมาเพราะว่า ผมก็เรียนอยู่ปีสุดท้ายและ อยากจะมาแชร์ให้กับเพื่อนๆที่คิดจะเข้าสู่เส้นทางนี้ ผมว่าเรื่องของผม อาจจะทำให้หลายคนที่จะเข้าสู่เส้นทางนี้(เรียน ป.เอก) ตัดสินใจได้ดีขึ้นครับ.........................
เป้าหมายในการเรียน ป.เอก ที่ผมกำหนดไว้ตอนนี้ คือ เรียนยังไงก็ได้ให้จบ ครับ
ผมอ่านหนังสือเล่มนึง จำไม่ได้ว่า ใช่ freakonomics หรือเปล่า แต่ข้อความกล่าวประมาณว่า....
ถ้าเรามีโอกาสในการตัดสินใจหลายๆรอบ ในปัญหาเดิมๆ เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่น ถ้าเราต้องเลือกซื้อแอปเปิ้ล แอปเปิ้ลที่ซื้อครั้งแรกๆอาจจะไม่อร่อย แต่พอเรามีประสบการณ์ในการเลือกแอปเปิ้ลบ่อยๆเข้า เราจะรู้เลยว่า อันไหนน่าจะกินอร่อย
ผมว่า การเลือกเรียน ป.เอก ก็น่าจะเหมือนกัน ถ้าเรามีโอกาสเลือกบ่อยๆ เราจะเลือกโปรแกรมที่เหมาะกับเรามากขึ้น
ถามว่า ทำไมมันถึงเป็นปัญหาไปได้?
แค่เลือกโปรแกรม ก็เลือกอันที่ ranking สูงสุดไปสิ นั้นแหละดีที่สุด
ผมไม่คิดว่ามันเป็นแบบนั้น (คนอื่นถ้าคิดตรงข้ามมาแชร์กันได้) ผมเลยอยากมา เล่าว่า ทำไมการเลือกโปรแกรม ป.เอก อาจจะเป็นตัวกำหนดชาตะกรรมของชีวิตที่เหลืออยู่เลยก็ได้
เริ่มที่ปัญหาก่อนเลย......
เคยมีผลสำรวจจาก UC Berkeley หลายปีก่อนว่า คนที่เรียน ป.เอก มีภาวะทางจิตกันเยอะ (ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ คือ ครึ่งนึงเลย) เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด รู้สึกถึงความหมดหวังในชีวิต ที่ผมเคยเจอกับตัวเองเลยก็มีอยู่บ้าง กับเพื่อนๆ หรือ รุ่นพี่ก็บ่อย.........ปกติผมมีความสุขตลอดเวลาตอนเรียน ป.ตรี โท แต่พอมาเรียน ป.เอก ก็เริ่มมีอาการเครียด บางครั้งหนักมาก บางครั้งไม่เครียดเลย เหมือนเล่น roller coaster
ชีวิต ป.เอก ของผมเอง 95 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลาไปกับงานวิจัยล้วนๆ อีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นงานอดิเรกอื่นๆ ซึ่งเวลาเจอปัญหาในงานวิจัย ก็เหมือนชีวิตเจอปัญหาใหญ่ ไม่รู้จะคุยกับใคร เพราะหาคนที่คุยรู้เรื่องงานวิจัยที่เราทำได้น้อย (เช่นบางคนเรียนคอมพิวเตอร์ มีปัญหาเรื่อง computer model ที่ความซับซ้อน ลองคิดดูสิว่าคนนี้จะหาเพื่อนคุยได้ไง นอกจากคนใน Lab แล้วคนในแล็บก็เครียดกับปัญหาของเขาอยู่เเล้ว จะไปพ่นให้เพื่อนเครียดด้วยก็ยังไงๆ). คุยกับอาจารย์ก็กลัวโดนว้าก..........สุดท้ายมันก็อาจจะต้องฝั่งอยู่ในใจ มหาลัยทั้งหลาย ก็มี คลินิครักษา หรือ บรรเทา เรื่องพวกนี้ แต่เคยใช้บริการเเล้ว ก็เป็นคำตอบแบบทั่วๆไป ไม่ได้ช่วยไรมาก...
ถ้าถามผมว่า ปัญหาทางจิตมากจากอะไร ผมจะตอบว่า คนที่เรียน ป.เอก เกือบทุกคนเรียนเก่ง ระดับ 85 percentile+++ หมายความว่า คนกลุ่มนี้ เวลาสอบ ทำผิดน้อยมาก แต่วันแรกที่เขาทำวิจัยจะต้องเจอ ผลการทดลองผิด 99% บางคนทำวิจัยมาทั้งปีไม่ได้ผลการทดลองที่สำเร็จเลย เละทั้งหมด
บางคนสร้าง model ขึ้นมา แต่ทำนายอะไรไม่ได้เลยก็มี
ลองคิดถึงสภาพของคนที่ เคยถูกมาตลอดชีวิต แต่พอเปลี่ยนเลเวลมาเป็น ป.เอก เเล้วทำผิดรัวๆๆๆ ความมั่นใจจะเหลือเท่าไหร่?????
บางคนเสียสติ คิดว่าตัวเองโง่ไปเลยก็มี จากที่เคยฉลาดมากๆ
บางคนเพิ่งเคยมาเมืองนอก เคยทำงานกับคนไทยมาล้วนๆ พอมาทำงานกับฝรั่งโดนฝรั่งวิจารณ์งานแบบตรงไปตรงมา ไม่ไว้หน้า (เรื่องนี้ต้องใช้เวลา) บวกกับถ้างาน เละเทะไปด้วยแล้ว ลาออกไปเลยก็มี ทั้งๆที่เพิ่งมาเรียนแป๊บเดียว
ภาพ survivorship bias คือภาพที่ผมอยากจะมาเล่าวันนี้ สำหรับเรื่องย่อที่ผมเข้าใจคือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในสมัยสงครามโลก เครื่องบินของกองทัพอากาศโดนข้าศึกยิงตกไปเยอะมากๆ ผู้พันจึงจะหาวิธีแก้ โดนศึกษาจากเครื่องบินที่โดนยิงว่า ตรงไหนโดนยิงมากที่สุด จะได้เสริมเหล็กเข้าไป ให้เครื่องแข่งแกร่งขึ้น ก็คือจุดแดงๆในภาพนั้นแหละ.........แต่เเล้วปรากฏว่า อัตราของเครื่องที่ถูกยิงตกไม่ได้ลดลงเลย ผู้พันจึงสงสัยว่าทำไม ทั้งๆ ที่เสริมเหล็กตรงจุดที่โดนยิงมากที่สุดไปแล้วแท้ๆ
จนมีนักวิจัยคนนึงคิดขึ้นมาได้ว่า ไอ้เครื่องบินที่มันโดนยิงเเล้ว สามารถกลับฐานมาได้นั้น แสดงว่ามันโดนยิงในจุดไม่สำคัญ เพราะโดนยิงเเล้วเครื่องไม่ตก ในขนาดที่เครื่องบินที่โดนยิงตก มันไม่ได้กลับมาบอกนิ ว่าโดนยิงตรงไหน!!!! เพราะฉะนั้นจึงควรเสริมเหล็กในจุดที่ไม่โดนยิงสิ
ปรากฏว่าหลังจากนั้นเครื่องบินตกน้อยลงมาก.....นี้จึงเป็นที่มาของภาพครับ
ผมว่าคนที่เรียน ป.เอก ก็คล้ายๆกัน เป็นภาพ survivorship bias คนที่สำเร็จจะกลับมาพูด แต่คนที่ ล้ม หาย ตาย จาก (เจอประสบการณ์แย่ๆ)
ไปไม่เคยกลับมาพูด ไม่เคยกลับมาเชียร์
(อย่างน้อยเลย ผมรู้จักอยู่ 1-2 คนที่ลาออกจากโปรแกรม ป.เอก เเล้วหายตัวไปจากโลกเลย ไม่ได้ตายนะครับ แต่ว่า ไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไรอยู่ เรียกว่า หายไปจากโลกโซเชี่ยลดีกว่า จากที่เมื่อก่อนเคยโพสต์อัพเดตทุกวัน)
วันนี้ผมเลยอยากเป็นด้านมืด เป็นเครื่องบินที่โดนยิงเละเทะ แต่ยังไม่ตก (น่าจะกลับฐานได้นะ 555) ที่กลับมาเล่า เพื่อให้คนอื่นๆตัดสินใจได้ดีขึ้น
เพราะผมเชื่อว่า ถ้าคุณเลือกโปรแกรมที่เหมาะกับนิสัยคุณ วิถีชีวิตคุณ ได้ คุณชนะเรียบร้อย ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนเเล้วครับ.
เริ่มเลยนะ (พยายามจะเรียงลำดับความสำคัญนะครับ)
1. ทุน ทุนการศึกษานี้กำหนดชะตาชีวิตเรื่องแรกเลยครับ ถ้าไม่มีทุนก็เรียนไม่ได้ อันนี้ตัดสินใจไม่ยากครับ ยิ่งทุนเยอะยิ่งดี
แต่เราควรคำนวณค่าครองชีพไปด้วยว่า เงินทุนที่ให้มานั้นพอหรือไม่ ผมอยากพูดสั้นๆว่า ชีวิตปกติก็ลำบากอยู่เเล้ว ถ้าจะต้องมาลำบากเรื่องเงินเพิ่มเข้าไป คุณอาจจะรอดยาก.....
อีกจุดที่สำคัญก็คือ ระยะเวลาของทุน ยิ่งยาวยิ่งดี ยิ่งสั้นยิ่งน่ากังวล..........ป.เอก ไม่เหมือน ป.ตรี ที่ส่วนมากจะเรียน 4 ปีจบ
ใน ป.เอก คุณโดนยืดเวลาได้ง่ายๆเลย ถ้าทุนให้เรา 4 ปี แต่เราต้องเรียน ปี 5 เพิ่มใน Zurich คุณปวดหัวแน่ๆ
2. อาจารย์ (advisor, supervisor) สำคัญนักเรียน ป.เอก คนนี้คือพระเจ้า เขาเป็นคนที่จะทำให้คนเรียนจบ หรือ ทำให้คุณเรียนไม่จบได้
เท่าที่ผมสัมผัสมา วงการนี้ ถ้าคุณกาก แต่อาจารย์ back up คุณ อาจารย์ช่วยเต็มที่ อาจารย์รักคุณมากๆเหมือนลูกแท้ๆ คุณก็เรียนจบได้ ผมบอกเเล้วว่าเขาคือพระเจ้า
คำถามสำคัญคือ คุณจะดูยังไง ว่าคนไหนเป็นคนดี คนไหนแย่ ซึ่งอันนี้ตอบยาก เพราะก่อนคุณเลือกอาจารย์ หลายครั้งคุณไม่มีข้อมูลว่า อาจารย์คนนี้เป็นคนอย่างไง ผมแนะนำดังนี้ครับ:
2.1 ไม่เลือกอาจารย์ที่ยังไม่มีผลงาน (ที่ทำกับเด็ก) อาจารย์เมืองนอกเกือบทุกคน จะเป็นคนที่มีงานวิจัยระดับดีเยี่ยมอยู่เเล้ว แต่มันสำคัญที่ว่า อาจารย์คนนี้ เคยทำงานกับเด็ก Ph.D หรือเปล่า????
ผมจะตัด งานวิจัยแค่ postdoc + professor ออกหมด เพราะคนเหล่านี้เป็น professional
แต่เด็ก ป.เอก เป็นมือสมัครเล่น เหมือนเด็กอนุบาลน้ำลายยืด
ถ้าอาจารย์ไม่สามารถทำให้มือสมัครเล่น มีงานวิจัยออกมาได้ แสดงว่า กลิ่นจะไม่ค่อยดีเเล้ว
การทำงานกับเด็ก Ph.D จะต้องใช้ความทุ่มเทในการสอนมากกว่า เพราะเด็กใหม่ ยังทำงานวิจัยไม่เป็น
อาจารย์ หรือคนในทีม จะต้องสอนเยอะมากๆ การที่อาจารย์ไม่มีผลงานกับเด็ก อนุมานไปได้แต่ในทางลบครับ
2.2 เลือกอาจารย์ที่ผลิต alumni ออกมาเเล้ว ยิ่งเยอะยิ่งดี
เหมือนกับ 2.1 ส่วนตัวผมเชื่อในผลงานมากกว่าวุฒิการศึกษาของอาจารย์ครับ อาจารย์ที่เข็นเด็กจนจบได้เยอะ มีโอกาสจะเข็นเราจบได้เช่นกัน
ส่วนอาจารย์ที่เข็นคนจบได้น้อย อาจจะเป็นเพราะเขารับคนน้อยหรือเปล่า ทำไมเขารับคนน้อย เงินวิจัยน้อยหรือเปล่า หรือรับเด็กเข้ามาเเล้ว เด็กเรียนไม่จบ หรือว่าอื่นๆ เห็นไหมครับ มันมองโลกในแง่ร้ายไปได้เยอะ แต่สรุปได้ว่า ยิ่งอาจารย์เคยเข็นเด็กจนจบเยอะเท่าไหร่ คนนี้น่าจะเป็นคนดีครับ
ผมว่าอาจารย์มีแค่นี้ครับ คือ ต้องเคยมีงานวิจัยที่ทำกับเด็ก และ ต้องเป็นคนที่เคยส่งเด็กจนเรียนจบเเล้วเป็นกอบเป็นกำ ถือเป็นสัญญาณที่ดี
3. คุณพร้อมจะจ่ายแค่ไหน? นักเรียน ป.เอก ส่วนมากเลย ต้องทำงานยาวนาน ผมเองทำงาน ขั้นต่ำ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ บางครั้งต้องทำงานถึงเที่ยงคืน บางครั้งต้องมาทำเสาร์อาทิตย์ จริงๆ จะทำแค่ 9-5 จันทร์ถึงศุกร์ก็ได้ มันขึ้นอยู่กับว่า คุณพร้อมจะจ่ายชีวิตคุณให้งานเเค่ไหน คุณพร้อมจะไม่ไปงานวันเกิดแฟน เพราะต้องเฝ้างานทดลอง คุณต้องพลาดงานศพของญาติ เพราะคุณจองเครื่องมือ ที่จองล่วงหน้า 1 ปีไว้ คุณพร้อมจะเสียสละชีวิตคุณให้งานแค่ไหน ตรงนี้ควรเลือกให้เหมาะสม
ถามว่าจะรู้ได้ไงว่า งานวิจัยไหน น่าจะต้องทำงานเยอะ งานวิจัยไหน น่าจะสบายๆ อันนี้ง่ายมาก..............คุณก็ไปอ่านงานวิจัยที่กลุ่มนั้นเคยผลิตออกมาครับ เเล้วก็ดูวิธีการวิจัยว่า การเก็บตัวอย่างทำไง วิเคราะห์ผลอย่างไร ทำการทดลองไปกี่ครั้ง ครั้งนึงก็ชั่วโมง ใช้เครื่องมือซับซ้อนหรือไม่
ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในชีวิตคุณด้วย ว่าจบเเล้วคุณอยากเป็นอะไร.................ถ้าคุณคิดว่า ฉันอยากทำงานให้น้อยที่สุดที่จะผ่าน เพราะว่ามีงานที่สนใจอยู่เเล้ว แค่เรียนจบจากที่นี้ น่าจะเข้าได้ ก็จัดไปครับ แต่ถ้าคุณอยากได้งานที่การแข่งขันสูงๆ (เช่น อาจารย์ในมหาลัย ปตท) คุณอาจจะต้องเสียสละชีวิตมากกว่าคนทั่วไป จริงๆเรื่องนี้มีความซับซ้อนอีกเยอะครับ
เอาเป็นว่า ถ้าคุณ
1. โสด อายุยังน้อย ไม่มีอะไรจะเสีย (หรือ คุณสามารถจัดการเวลาได้ดีมากๆ) จัดไปครับ ตามสบาย
2. มีแฟน มีครอบครัวเเล้ว แก่ (หือ คุณรู้ตัวว่าจัดการเวลาได้ไม่ดี) อันนี้ควรจะคิดนิดนึงว่า เราจะทุ่มเทกับงานได้ขนาดไหน
4. หัวข้อวิจัย อันนี้ก็พูดยาก แต่ควรจะเป็นเรื่องที่เราสนใจ และ อินกับมันพอสมควร เป็นเรื่องที่เรามีความสามารถทำได้ อาจจะเป็นเรื่องที่เรามีความเชี่ยวชาญอยู่บ้าง สำหรับผมคิดว่า หัวข้อไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่ เพราะ การเรียน ป.เอก คุณจะเจอเรื่องใหม่ เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ครับ ที่จะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่ม ยิ่งถ้าหัวข้อนั้นเราไม่เคยเข้าใจมาก่อน เเล้วเราใช้เวลากับมันจนเข้าใจ เราจะได้สกิลเพิ่มไปเยอะมากๆ
(มาแชร์กันครับ) วิธีการเลือกเรียน ป. เอก และด้านมืดของการเรียน ป. เอก