การปรับตัวของผู้ค้าปลีกไทยในยุคดิจิตอล

จับประเด็นสำคัญ กับการปรับตัวของผู้ค้าปลีกไทยในยุคดิจิตอล 
บรรยาย โดย คุณหมู วรวุฒิ อุ่นใจ 
งาน Asia Lifestyle Expo 2019

1. ปัญหาค้าปลีกไทยสินค้า lifestyle fashion เสื้อผ้า เครื่องสำอาง คือ เรื่องภาษี 30-40% สูงสุดในเอเชีย และยังมี Duty free ที่ทำตลาดในไทยด้วย โดยผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ ในไทยเป็น Duty paid ต้องจ่ายภาษี

2. ไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 4 มีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน แต่ตลาดค้าปลีก โตเพียง 2% เทียบ ประเทศอื่น 10% ลองดู ญี่ปุ่นทำ VAT refund คืนเป็นเงินเยน ทำให้เงินหมุนเวียนในประเทศ ในไทยมี VAT refund เพียง 4-5 แห่งใน downtown

3. คนไทยชินกับการซื้อของถูกในต่างประเทศ และ Duty free และยังมี Gray market ของหิ้ว ประกอบกับมีช่องทางออนไลน์ เกิดนักหิ้วจำนวนมาก โดยตลาดนี้มีมูลค่าถึง 3 ล้านล้านบาท

4. สินค้าฟุ่มเฟือย หลายประเทศทะยอยลดภาษีลงมา จริงๆ แล้วคนไทยก็ใช้เครื่องสำอางแบรนด์เนมกัน แต่ต้องซื้อแพง ทาง เวียดนามเพิ่งทำ FTA กับ EU สินค้าภาษี 0% อีกหน่อยคงต้องบินไปหิ้วของจากเวียดนาม

5. ข้อกังวล เรื่องการลดภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยสู้ไม่ได้ คุณหมูคิดว่า มีผลเฉพาะสินค้าที่จับตลาดเดียวกัน ซึ่งแบรนด์ต่างประเทศก็ขายแพงมากอยู่แล้ว คนละกลุ่มกับสินค้าไทย

6. นักท่องเที่ยวมาไทย ซื้อสาหร่าย ยาหม่อง กลับไปมากที่สุด แต่ต้องซื้อเท่าไหร่ถึงจะเท่ากระเป๋าแบรนด์เนม 1 ใบ

7. เกาหลีใต้มีนักท่องเที่ยวหลัก 10 ล้านคน เทียบไทย 40 ล้านคน เกาหลีทำรายได้ Duty free 3 แสนล้าน ขณะไทยทำได้แค่ 6 หมื่นล้าน ไทยทำรายได้จากนักท่องเที่ยว ต่อหัวต่อคนเพียง 1 ใน 3 ของฮ่องกง ทำไม เราสู้ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไม่ได้

8. ไทยเก็บภาษี Luxury product ได้เพียง หมื่นล้านบาท แต่มีการประเมินมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้ Gray market กับ Duty free ไทยขายดี ยิ่งมาเจอออนไลน์ ยิ่งหาตัวจับยาก เปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ค่าเฉลี่ยคนชื่อโกง online 1 รายเปิด เวบ 30-40 เวบ ถ้าขายดีมากก็หนีไปเลย

9. ค้าปลีกไทย ต้องหันมาทำออนไลน์ แต่ไม่ใช่แค่ซื้อขาย ต้องรวมถึงการทำการตลาดออนไลน์ เช่น Facebook ต้องใช้ให้เป็น โดยคนไทยใช้ Facebook สูงติดอันดับ 1-2 ของโลก ค่าเฉลี่ยออนไลน์ 5 ชั่วโมง ต่อวัน 

10. ยกตัวอย่างร้านอาหาร ปัจจุบันมีบริกทรส่งอาหารทั้ง Lineman, Grab, Food panda ทำให้ร้านอาหารขายดีขึ้น 6-7 เท่าตัว

11. ร้านตัดผม ให้บริการออนไลน์ไม่ได้ แต่ก็ทำการตลาดออนไลน์ได้ เช่น มี app ทำให้ลูกค้าเห็นว่าเปลี่ยนทรงผมแล้วจะเป็นยังไง หรือ จองช่างตัดผมได้ ไม่ต้องรอคิว ประเด็นคือ ถ้ารู้อย่างนี้แล้วทำไมไม่ทำ ถ้าเรารอ ไม่ทำ ก็คงต้องตกยุคไป

12. ธุรกิจในอนาคต คนเดินไปหาสินค้า กับ สินค้าเดินไปหาคน ปัจจุบัน สินค้าเดินมาหาเราเปรียบเทียบราคาได้ ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อร้านค้าน้อยมาก ไปดูงบพวกทำ e-commerce Lazada Shopee JD ขาดทุนหนักมาก ปีละหลายพันล้าน จากการขาดทุน ราคาสินค้า ค่าโฆษณา และค่าส่งสินค้า 

13. สินค้าไทย ยังไม่เป็น Retail for Tourist ลองดูเทียบญี่ปุ่น มีเรื่องที่ทำให้ต้องเสียตังค์ซื้อ มีทั้งแพคเกจจิ้ง รูปแบบ สีสรร ที่น่าซื้อ ตอนนี้มีแต่ของฝากประจำจังหวัด สินค้าเดิมๆ หม้อแกง 3 ถาดร้อย ดันไปเน้นตลาดคนไทย ไม่กล้าขายแพง อีกตัวอย่าง ลอดช่องสิงคโปร์ เข้าห้างขายแก้วละ 30-40 บาท ดูชาไข่มุก แก้วละ 100 กว่าบาท ต่อคิวยาวเหยียด ผู้ประกอบการคนไทยยังไม่รู้จักการสร้างมูลค่าเพิ่ม ของกินหากอร่อยจริงขายดีเสมอ คนจีนมี app แนะนำว่าควรไปหาของกินที่ไหนดีในไทย

14. ปัจจุบัน ปลาเร็วชนะปลาเล็ก จะยิ่งน่ากลัว หากปลาเร็วนั้นเป็นปลาใหญ่ด้วย เช่น Alibaba ยอดขายวันเดียว 8 แสนล้าน คุณหมูพึ่งไปเยี่ยมชมธุรกิจที่จีน แล้วไปลองชิมกาแฟ 6-7 ร้าน พบว่า กาแฟที่ขงด้วยหุ่นยนต์ของ Alibaba อร่อยที่สุด เราสามารถเลือกรูปแบบกาแฟที่เราต้องการได้ ช่วงดึกหุ่นยนต์เปลี่ยนไปชงเหล้าด้วย บาริสต้า ไม่ต้องเสียเวลาฝึก ถ้าในอนาคตร้านแบบนี้มา เราจะทำอย่างไรดี 

15. ล่าสุด Lazada กำลังเปิดร้าน Retail เป็น Shop ลองดูที่ Alibaba เปิดห้างเหอหม่า (Hema) โหลด app เลือกแล้ว สั่งสินค้า ส่งถึงบ้านได้เลย นอกจากนี้ยังใช้ AI คุมสต๊อกสินค้า มี error ไม่เกิน 2%

ที่สำคัญ สมาคมค้าปลีกไทย กำลังเปิดรับสมัคร โดยสมาชิกสามารถเข้าอบรมความรู้ดีๆ มากมาย จาก "คลินิกค้าปลีก" และเข้าถึงข้อมูลกฎหมายและข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้เราต้องอยู่รวมกลุ่มกัน สมัครในนามบุคคลธรรมดาก็ได้ รับหมด 
โดยหากต้องการสมัคร มีค่าใช้จ่ายเพียง 1,000 บาท ต่อ 2 ปี รีบสมัครกันโดยเร็วที่
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSePIGgsfLxUB_d1HO1DO5VtEgr6QVHKjGkiL4y0c_qQNCiXSQ/formResponse?fbclid=IwAR05BG2iTy39eRIM_ZtQLI9OEWtAzqxSaL6TPN7Ds8T2Y3tP3r8XNdihfxA

และ สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก
แอด Line Openchat มาคุยกันได้ ที่ Line “นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า"
https://line.me/ti/g2/hxcbVyO45-1yxNkh-vKf1g
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่