คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เรื่องการตั้งวังของเจ้านาย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน "ตำนานวังเก่า" ว่า
"จะกล่าวถึงลักษณการสร้างวังตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ มาจนรัชกาลที่ ๓ อันเข้าใจว่าทำตามประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี คือเจ้านายพระองค์ชายเมื่อโสกันต์ และเสร็จทรงผนวชเปนสามเณรแล้ว ในตอนพระชัณษายังไม่ถึง ๒๐ ปี ยังประทับอยู่ในพระราชวัง บางพระองค์คงอยู่ตำหนักในพระราชวังชั้นในอย่างเดิม บางพระองค์ก็โปรด ฯ ให้จัดตำหนักให้ประทับอยู่ในพระราชวังชั้นนอก บางพระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่กับเจ้านายที่ออกวังแล้ว เริ่มกะการสร้างวังพระราชทานในตอนนี้ จะสร้างวังที่ตรงไหนก็ให้กรมนครบาลไล่ที่ บอกให้ราษฎรบรรดาอยู่ในที่นั้นรื้อถอนเหย้าเรือนย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะตามกฏหมายถือว่าที่แผ่นดินเปนของหลวงและเจ้านายเมื่อทรงกรมแล้วย่อมมีน่าที่ควบคุมรี้พลเปนกำลังราชการที่วังก็เหมือนอย่างเปนที่ทำการรัฐบาลแห่งหนึ่ง อิกประการ ๑ ที่ดินในสมัยนั้นก็ยังหาสู้จะมีราคาเท่าใดไม่ เรือนชานทั้งปวงเล่าก็เปนแต่เครื่องไม้มุงจากเปนพื้น อาจจะรื้อถอนย้ายไปหาที่ปลูกใหม่ได้โดยง่าย ครั้นจำเนียรกาลนานมาเมื่อสร้างวังหลายแห่งขึ้น มีคนต้องย้ายบ้านเรือนเพราะทำวังบ่อยเข้า ก็เกิดคำพูดกันเปนอุประมาในเวลาที่ใครถูกผู้อื่นจะเอาที่ แม้จนไล่จากที่นั่งอันหนึ่งให้ไปนั่งยังที่อื่น ก็มักเรียกกันว่า "ไล่ที่ทำวัง" ดังนี้"
ดังนั้นเมื่อพระราชวงศ์ชายมีพระชนม์ครบ ๒๐ ปีแล้วก็ต้องเสด็จออกจากวังไปตั้งวังอยู่นอกเขตพระราชฐานเป็นปกติ
ส่วนเรื่องการเรียกนิวาสสถานของเจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัยคงตอบได้ยาก เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจนครับ นอกจากนี้อาจต้องพิจารณาต่อด้วยว่าเชื้อพระวงศ์เหล่านี้เป็นเชื้อสายใกล้ชิดขนาดไหน เพราะแม้จะเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาโดยตรงแต่หากเป็นเจ้าระดับล่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีศักดิ์เป็น "เจ้าราชนิกุล" ที่มีศักดินาแค่ ๘๐๐-๑๐๐๐ ไร่ (ต่ำกว่าหม่อมเจ้าที่มีศักดินา ๑๕๐๐ ไร่) หรือหม่อมราชวงศ์ที่มีศักดินา ๕๐๐ ไร่ ก็ถือว่าเป็นชั้นที่หมดความเป็นเจ้าไปแล้ว สถานะไม่ต่างจากข้าราชการครับ
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกมีบันทึกว่าเจ้าฝ่ายเหนือคือ พรญาบาลเมืองแห่งพิษณุโลก พรญารามราชแห่งสุโขทัย พรญาเชลียงแห่งสวรรคโลก และพรญาแสนสอยดาวแห่งกำแพงเพชรเคยเสด็จลงมาที่กรุงศรีอยุทธยา แต่ก็ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าประทับอยู่ที่ใด
พระยายุทธิษฐิระ ตามพื้นเมืองเชียงใหม่มีสถานะเป็น "พระญาสองแคว" ซึ่งในสมัยนั้นคำว่า พรญา/พระญา/พญา/พระยา หมายถึงกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองเมือง โดยสถานะแล้วพระยายุทธิษฐิระก็คือกษัตริย์ของเมืองสองแควในเวลานั้น เพียงแต่ไม่ปรากฏว่าทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "มหาธรรมราชาธิราช" เหมือนพรญาบาลเมือง แต่ด้วยความที่ทรงเป็นกษัตริย์เมืองสองแควก็น่าจะประทับในพระราชวังเมืองสองแควได้ครับ
"จะกล่าวถึงลักษณการสร้างวังตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ มาจนรัชกาลที่ ๓ อันเข้าใจว่าทำตามประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี คือเจ้านายพระองค์ชายเมื่อโสกันต์ และเสร็จทรงผนวชเปนสามเณรแล้ว ในตอนพระชัณษายังไม่ถึง ๒๐ ปี ยังประทับอยู่ในพระราชวัง บางพระองค์คงอยู่ตำหนักในพระราชวังชั้นในอย่างเดิม บางพระองค์ก็โปรด ฯ ให้จัดตำหนักให้ประทับอยู่ในพระราชวังชั้นนอก บางพระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่กับเจ้านายที่ออกวังแล้ว เริ่มกะการสร้างวังพระราชทานในตอนนี้ จะสร้างวังที่ตรงไหนก็ให้กรมนครบาลไล่ที่ บอกให้ราษฎรบรรดาอยู่ในที่นั้นรื้อถอนเหย้าเรือนย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะตามกฏหมายถือว่าที่แผ่นดินเปนของหลวงและเจ้านายเมื่อทรงกรมแล้วย่อมมีน่าที่ควบคุมรี้พลเปนกำลังราชการที่วังก็เหมือนอย่างเปนที่ทำการรัฐบาลแห่งหนึ่ง อิกประการ ๑ ที่ดินในสมัยนั้นก็ยังหาสู้จะมีราคาเท่าใดไม่ เรือนชานทั้งปวงเล่าก็เปนแต่เครื่องไม้มุงจากเปนพื้น อาจจะรื้อถอนย้ายไปหาที่ปลูกใหม่ได้โดยง่าย ครั้นจำเนียรกาลนานมาเมื่อสร้างวังหลายแห่งขึ้น มีคนต้องย้ายบ้านเรือนเพราะทำวังบ่อยเข้า ก็เกิดคำพูดกันเปนอุประมาในเวลาที่ใครถูกผู้อื่นจะเอาที่ แม้จนไล่จากที่นั่งอันหนึ่งให้ไปนั่งยังที่อื่น ก็มักเรียกกันว่า "ไล่ที่ทำวัง" ดังนี้"
ดังนั้นเมื่อพระราชวงศ์ชายมีพระชนม์ครบ ๒๐ ปีแล้วก็ต้องเสด็จออกจากวังไปตั้งวังอยู่นอกเขตพระราชฐานเป็นปกติ
ส่วนเรื่องการเรียกนิวาสสถานของเจ้านายเชื้อพระวงศ์สุโขทัยคงตอบได้ยาก เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจนครับ นอกจากนี้อาจต้องพิจารณาต่อด้วยว่าเชื้อพระวงศ์เหล่านี้เป็นเชื้อสายใกล้ชิดขนาดไหน เพราะแม้จะเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาโดยตรงแต่หากเป็นเจ้าระดับล่างๆ ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีศักดิ์เป็น "เจ้าราชนิกุล" ที่มีศักดินาแค่ ๘๐๐-๑๐๐๐ ไร่ (ต่ำกว่าหม่อมเจ้าที่มีศักดินา ๑๕๐๐ ไร่) หรือหม่อมราชวงศ์ที่มีศักดินา ๕๐๐ ไร่ ก็ถือว่าเป็นชั้นที่หมดความเป็นเจ้าไปแล้ว สถานะไม่ต่างจากข้าราชการครับ
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกมีบันทึกว่าเจ้าฝ่ายเหนือคือ พรญาบาลเมืองแห่งพิษณุโลก พรญารามราชแห่งสุโขทัย พรญาเชลียงแห่งสวรรคโลก และพรญาแสนสอยดาวแห่งกำแพงเพชรเคยเสด็จลงมาที่กรุงศรีอยุทธยา แต่ก็ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าประทับอยู่ที่ใด
พระยายุทธิษฐิระ ตามพื้นเมืองเชียงใหม่มีสถานะเป็น "พระญาสองแคว" ซึ่งในสมัยนั้นคำว่า พรญา/พระญา/พญา/พระยา หมายถึงกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองเมือง โดยสถานะแล้วพระยายุทธิษฐิระก็คือกษัตริย์ของเมืองสองแควในเวลานั้น เพียงแต่ไม่ปรากฏว่าทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "มหาธรรมราชาธิราช" เหมือนพรญาบาลเมือง แต่ด้วยความที่ทรงเป็นกษัตริย์เมืองสองแควก็น่าจะประทับในพระราชวังเมืองสองแควได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่า สมัยอยุธยา มีวังของราชนิกูลที่อยู่นอกเขตพระราชฐาน หรือนอกกำเเพงวังไหมคะ
เเล้วที่อยากทราบอีกอย่างก็คือ ช่วงยุคต้นๆเช่นสมัยสมเด็จพระบรมราชธิราช (เจ้าสามพระยา) เเละสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ซึ่งมีเหล่าราชนิกูลสุโขทัยที่มารับราชการในราชสำนักอยุธยาเยอะอยู่ เราจะเรียกนิวาสถานของเชื้อพระวงศ์เหล่านี้ว่าอะไรคะ
เรียกว่าวังได้หรือไม่ หรือเรียกว่าจวน / เรือน ตามตำเเหน่งราชการที่ดำรงอยู่
เเล้วอย่างพระยายุทธิษฐิระ ที่เป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชา เมื่อกินตำเเหน่งพระยาสองเเคว (ก่อนเเข็งเมือง)
มีสิทธิ์ประทับในพระราชวังอันเป็นที่ประทับเดิมของพระองค์ไหมคะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ