1.) ช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
2.) สนับสนุนการค้ำประกันโดย บสย.
3.) ตีค่าเสื่อมทางบัญชีเครื่องจักรเพิ่มพิเศษ
ในฐานะ SME.คนหนึ่ง ทำกิจการมากว่า 18 ปี... มาตรการเหล่านี้เวียนวนได้ยินได้ฟังจนเคยชิน มาถึงยุค 4.0 ทุกอย่างก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง.. การกระทำลักษณะนี้สามารถนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ..
มาตรการเหล่านี้ที่กล่าวมา เป็นเพียงมาตรการเสริมไม่ใช่มาตรการหลักอย่างแน่นอนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเป็นเพียงมาตรการลดต้นทุนดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจำหน่าย ลงทุนการผลิต... และไม่ได้เพิ่มเงินทุนเพื่อนำไปขยายกิจการ
สิ่งสำคัญที่สุดของ SME.คือสามารถขายสินค้าได้ ขายบริการได้ต่างหาก.. SME.ต้องการตลาด ต้องการช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้ที่กล่าวมานี้ SME. ยังต้องแข่งขันซึ่งกันและกัน แต่ต้องการเวที ต้องการพื้นที่ให้แข่งขัน
เรื่องมาตรการดอกเบี้ย หรือตีมูลค่าเครื่องจักรเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น เพราะสุดท้ายการกู้เงินต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และปัจจุบันธนาคารก็มีการแข่งขันกันสูง... จริงๆแล้วในกรณีนี้สามารถแก้ได้โดยทำให้การโอนย้ายหลักประกันของเราระหว่างธนาคารมีต้นทุนที่ต่ำ โดยการไม่คิดการขึ้นจำนองหลักประกันและยกเลิกค่าจัดการวงเงิน... หากแก้ตรงนี้ได้ เราสามารถย้ายหลักประกันได้ง่ายเหมือนย้ายค่ายมือถือ ธนาคารก็จะแข่งขันกันปล่อยกู้และให้อัตราดอกเบี้ยแข่งกันได้มากกว่านี้ โดยไม่ต้องพึ่งการสนับสนุนจากรัฐ
กลับมาที่เรื่องการตลาด ทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าทำให้ SME.เข้าถึงตลาดเกิดการค้าขาย พบปะลูกค้า... อาจทำโดย..
1.) จัดงานแสดงสินค้า สำหรับ SME.ทั้งปี โดยทางรัฐ subsidize.การออกงานรวมถึงช่วยโปรโมททั้งในและต่างประเทศ
2.) จัดการแข่งขัน Otop.แบบเรียวลิตี้โชว์ทุกภาค เพื่อเป็นทั้งการกระตุ้นและ educate. ปชช.ไปในตัวด้วย
3.) เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า ให้ทุกภาคส่วน โดยกำหนดให้ร้านสะดวกซื้อ modern trade.ต่างๆ มีสัดส่วนสินค้าที่มีจากชุมชน (ที่เกิดจากการแข่งขันกันเอง) โดยระบุมูลค่าเป็นสัดส่วนในกฎหมาย... ขอย้ำ ระบุไว้ในกฎหมาย ไม่ใช่ขอร้องให้จัดงานเล็กน้อยเป็นอีเวนซ์ครั้งคราว
4.) มาตรฐาน มอก อย. ต่างๆ ต้องทำให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายในการทดสอบที่ถูกลง.. โดยอาจมีการจัดอบรม ต่างๆ เพื่อแนะนำวิธีการให้สามารถปฎิบัติได้โดยง่าย โดยอาจทำผ่านคลิป YouTube.. ทั้งนี้ไม่ใช่การมาให้คำปรึกษาพวกแผนธุรกิจอะไรพวกนี้ มันไม่มีประโยชน์
และอื่นๆ...
อยากให้ภาครัฐลองหันมาพิจารณา บ้างว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ ในส่วน SME.โดยเน้นที่การช่วยเหลืออัตราดอกเบี้ยนั้น จริงๆแล้ว ช่วยกระตุ้นจริงหรือไม่
1.) จะหวังให้ประหยัดดอกเบี้ยเพื่อเอาส่วนที่ประหยัดไปลงทุนหรือ มันซ้ำซ้อนกับนโยบายการเงิน เรื่องดอกเบี้ยของ ธปท.อยู่แล้ว
2.) จะหวังให้ SME.ที่กำลังร่อแร่ ลดดอกเบี้ยจ่ายลงมาหรือ... แล้วเค้าที่กำลังร่อแร่จะลงทุน จะขยายธุรกิจหรือ
SME.เป็นงง
ทำไมออกPackage ช่วย SME.ทีไร ถึงสาละวนอยู่ที่เดิม
2.) สนับสนุนการค้ำประกันโดย บสย.
3.) ตีค่าเสื่อมทางบัญชีเครื่องจักรเพิ่มพิเศษ
ในฐานะ SME.คนหนึ่ง ทำกิจการมากว่า 18 ปี... มาตรการเหล่านี้เวียนวนได้ยินได้ฟังจนเคยชิน มาถึงยุค 4.0 ทุกอย่างก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง.. การกระทำลักษณะนี้สามารถนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ..
มาตรการเหล่านี้ที่กล่าวมา เป็นเพียงมาตรการเสริมไม่ใช่มาตรการหลักอย่างแน่นอนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเป็นเพียงมาตรการลดต้นทุนดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการจำหน่าย ลงทุนการผลิต... และไม่ได้เพิ่มเงินทุนเพื่อนำไปขยายกิจการ
สิ่งสำคัญที่สุดของ SME.คือสามารถขายสินค้าได้ ขายบริการได้ต่างหาก.. SME.ต้องการตลาด ต้องการช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งนี้ที่กล่าวมานี้ SME. ยังต้องแข่งขันซึ่งกันและกัน แต่ต้องการเวที ต้องการพื้นที่ให้แข่งขัน
เรื่องมาตรการดอกเบี้ย หรือตีมูลค่าเครื่องจักรเป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น เพราะสุดท้ายการกู้เงินต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และปัจจุบันธนาคารก็มีการแข่งขันกันสูง... จริงๆแล้วในกรณีนี้สามารถแก้ได้โดยทำให้การโอนย้ายหลักประกันของเราระหว่างธนาคารมีต้นทุนที่ต่ำ โดยการไม่คิดการขึ้นจำนองหลักประกันและยกเลิกค่าจัดการวงเงิน... หากแก้ตรงนี้ได้ เราสามารถย้ายหลักประกันได้ง่ายเหมือนย้ายค่ายมือถือ ธนาคารก็จะแข่งขันกันปล่อยกู้และให้อัตราดอกเบี้ยแข่งกันได้มากกว่านี้ โดยไม่ต้องพึ่งการสนับสนุนจากรัฐ
กลับมาที่เรื่องการตลาด ทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าทำให้ SME.เข้าถึงตลาดเกิดการค้าขาย พบปะลูกค้า... อาจทำโดย..
1.) จัดงานแสดงสินค้า สำหรับ SME.ทั้งปี โดยทางรัฐ subsidize.การออกงานรวมถึงช่วยโปรโมททั้งในและต่างประเทศ
2.) จัดการแข่งขัน Otop.แบบเรียวลิตี้โชว์ทุกภาค เพื่อเป็นทั้งการกระตุ้นและ educate. ปชช.ไปในตัวด้วย
3.) เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า ให้ทุกภาคส่วน โดยกำหนดให้ร้านสะดวกซื้อ modern trade.ต่างๆ มีสัดส่วนสินค้าที่มีจากชุมชน (ที่เกิดจากการแข่งขันกันเอง) โดยระบุมูลค่าเป็นสัดส่วนในกฎหมาย... ขอย้ำ ระบุไว้ในกฎหมาย ไม่ใช่ขอร้องให้จัดงานเล็กน้อยเป็นอีเวนซ์ครั้งคราว
4.) มาตรฐาน มอก อย. ต่างๆ ต้องทำให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายในการทดสอบที่ถูกลง.. โดยอาจมีการจัดอบรม ต่างๆ เพื่อแนะนำวิธีการให้สามารถปฎิบัติได้โดยง่าย โดยอาจทำผ่านคลิป YouTube.. ทั้งนี้ไม่ใช่การมาให้คำปรึกษาพวกแผนธุรกิจอะไรพวกนี้ มันไม่มีประโยชน์
และอื่นๆ...
อยากให้ภาครัฐลองหันมาพิจารณา บ้างว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจ ในส่วน SME.โดยเน้นที่การช่วยเหลืออัตราดอกเบี้ยนั้น จริงๆแล้ว ช่วยกระตุ้นจริงหรือไม่
1.) จะหวังให้ประหยัดดอกเบี้ยเพื่อเอาส่วนที่ประหยัดไปลงทุนหรือ มันซ้ำซ้อนกับนโยบายการเงิน เรื่องดอกเบี้ยของ ธปท.อยู่แล้ว
2.) จะหวังให้ SME.ที่กำลังร่อแร่ ลดดอกเบี้ยจ่ายลงมาหรือ... แล้วเค้าที่กำลังร่อแร่จะลงทุน จะขยายธุรกิจหรือ
SME.เป็นงง