สั่งเลิกทำเกาะกลางถนนทั่วปท. ใช้แบริเออร์ยางแทน ช่วยประหยัดน้ำมัน-ไม่ต้องยูเทิร์นไกล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจบริเวณจุดกลับรถบนทางหลวงบุรีรัมย์-สุรินทร์ ว่าหลังจากที่ได้ลงพื้นในจังหวัดต่างๆ พบว่าบริเวณจุดกลับรถ ในถนนทางหลวงที่มีช่องทางจราจร4เลนจะมีเกาะกลางถนนขนาดใหญ่ ทำให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท มีภาระค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษาจำนวนมากในแต่ละปี
ดังนั้นจึงสั่งการให้ ทล. และ ทช.ไปรวมรวบโครงการก่อสร้างที่อยู่ในปีงบประมาณ 63 ที่จะต้องก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร และเกาะกลางถนนทั่วประเทศ ว่ามีระยะทางเท่าไหร่ แล
ะให้ยกเลิกการสร้างเกาะกลางถนนปรับเปลี่ยนมาเป็นการใช้แบริเออร์ที่ผลิตจากยางพาราเข้ามาวางกั้นเลนระหว่างถนนแทน เชื่อจะช่วยประหยัดงบประมาณในงานก่อสร้าง ถนน และบำรุงรักษาถนนทั่วประเทศได้จำนวนมาก
ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถขายยางได้ในราคาที่ดีและขายได้จำนวนมากขึ้นด้วยบรรเทาปัญหายางราคาตกต่ำได้อีกด้วย เบื้องต้นให้กรมทางหลวง และ กรมทางหลวงชนบทกลับไป สรุปรายละเอียดกลับมาเสนอตนภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับนโยบายที่จะให้นำแบริเออร์ที่ทำจากยางพารา มาเป็นตัวกั้นระหว่างถนนแทน เกาะกลางถนน นั้นจะต้องสามารถรองรับการใช้ความเร็วของรถที่ 120 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) จากเดิมที่เคยมีการศึกษาว่าสามารถรองรับความเร็วของรถได้เพียง 110 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) เท่านั้น เพื่อไม่ให้เหมือนกับแบริเออร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุ และไม่ทำให้ถนนเสียหาย
รวมทั้งสามารถนำงบประมาณที่จะใช้ก่อสร้างเกาะกลางถนนไปใช้ขยายถนน 4 เลนเพิ่มเติมให้ชาวบ้านได้ด้วยในเส้นทางอื่นๆเพิ่มเติม พราะในปัจจุบันยังมีเส้นทางถนนทางหลวง และ ทางหลวงชนบท ยังมีอีกหลายช่วง เส้นทางของประเทศที่ยังมีความต้องการที่จะต้องขยายช่องจราจรเพิ่มเติม
นายศักดิ์สยามกล่าวว่าเพื่อให้การนำยางพารามาทำแบริเออร์ มาใช้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมทั้งของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)มีความเป็นไปได้มากขึ้น ตนได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราของกระทรวงคมนาคม โดยมีตนเป็นประธาน ร่วมด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกัน
“การยกเลิกก่อสร้างเกาะกลางถนนจะนำร่องที่จังหวัดบุรีรัมย์โมเดล เป็นต้นแบบ
โดยจะยกเลิกสร้างเกาะกลางถนนจะเริ่มในปีงบประมาณ63 มั่นใจว่า จะช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้างของภาครัฐลง ขณะเดียวกันได้ช่วยเหลือราคายางให้ชาวสวนยางที่ประสบกับราคายางตกต่ำ และยังช่วยให้คนในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีถนน 4 เลนใช้มากขึ้น รวมทั้งช่วยให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์สามารถประหยัดและลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ขับขี่ต้องขับรถไฟไกลเพื่อยูเทริน์นระยะทาง 2-4 กม. หรือหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะข้ามไปอีกฝั่งถนนได้ง่ายกว่าหากใช้แบริเออร์เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้”
ขอบคุณที่มา:
https://www.facebook.com/prd.region7/photos/a.1581364855492423/2077111509251086/?type=3&theater
Cr.POSTJUNG
ใช้แบริเออร์แทนเกาะกลางถนนดีหรือไม่ดี
สั่งเลิกทำเกาะกลางถนนทั่วปท. ใช้แบริเออร์ยางแทน ช่วยประหยัดน้ำมัน-ไม่ต้องยูเทิร์นไกล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจบริเวณจุดกลับรถบนทางหลวงบุรีรัมย์-สุรินทร์ ว่าหลังจากที่ได้ลงพื้นในจังหวัดต่างๆ พบว่าบริเวณจุดกลับรถ ในถนนทางหลวงที่มีช่องทางจราจร4เลนจะมีเกาะกลางถนนขนาดใหญ่ ทำให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท มีภาระค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและบำรุงรักษาจำนวนมากในแต่ละปี
ดังนั้นจึงสั่งการให้ ทล. และ ทช.ไปรวมรวบโครงการก่อสร้างที่อยู่ในปีงบประมาณ 63 ที่จะต้องก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร และเกาะกลางถนนทั่วประเทศ ว่ามีระยะทางเท่าไหร่ และให้ยกเลิกการสร้างเกาะกลางถนนปรับเปลี่ยนมาเป็นการใช้แบริเออร์ที่ผลิตจากยางพาราเข้ามาวางกั้นเลนระหว่างถนนแทน เชื่อจะช่วยประหยัดงบประมาณในงานก่อสร้าง ถนน และบำรุงรักษาถนนทั่วประเทศได้จำนวนมาก
ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถขายยางได้ในราคาที่ดีและขายได้จำนวนมากขึ้นด้วยบรรเทาปัญหายางราคาตกต่ำได้อีกด้วย เบื้องต้นให้กรมทางหลวง และ กรมทางหลวงชนบทกลับไป สรุปรายละเอียดกลับมาเสนอตนภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับนโยบายที่จะให้นำแบริเออร์ที่ทำจากยางพารา มาเป็นตัวกั้นระหว่างถนนแทน เกาะกลางถนน นั้นจะต้องสามารถรองรับการใช้ความเร็วของรถที่ 120 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) จากเดิมที่เคยมีการศึกษาว่าสามารถรองรับความเร็วของรถได้เพียง 110 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.) เท่านั้น เพื่อไม่ให้เหมือนกับแบริเออร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุ และไม่ทำให้ถนนเสียหาย
รวมทั้งสามารถนำงบประมาณที่จะใช้ก่อสร้างเกาะกลางถนนไปใช้ขยายถนน 4 เลนเพิ่มเติมให้ชาวบ้านได้ด้วยในเส้นทางอื่นๆเพิ่มเติม พราะในปัจจุบันยังมีเส้นทางถนนทางหลวง และ ทางหลวงชนบท ยังมีอีกหลายช่วง เส้นทางของประเทศที่ยังมีความต้องการที่จะต้องขยายช่องจราจรเพิ่มเติม
นายศักดิ์สยามกล่าวว่าเพื่อให้การนำยางพารามาทำแบริเออร์ มาใช้ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมทั้งของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)มีความเป็นไปได้มากขึ้น ตนได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราของกระทรวงคมนาคม โดยมีตนเป็นประธาน ร่วมด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกัน
“การยกเลิกก่อสร้างเกาะกลางถนนจะนำร่องที่จังหวัดบุรีรัมย์โมเดล เป็นต้นแบบ โดยจะยกเลิกสร้างเกาะกลางถนนจะเริ่มในปีงบประมาณ63 มั่นใจว่า จะช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้างของภาครัฐลง ขณะเดียวกันได้ช่วยเหลือราคายางให้ชาวสวนยางที่ประสบกับราคายางตกต่ำ และยังช่วยให้คนในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีถนน 4 เลนใช้มากขึ้น รวมทั้งช่วยให้ประชาชนผู้ใช้รถยนต์สามารถประหยัดและลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ขับขี่ต้องขับรถไฟไกลเพื่อยูเทริน์นระยะทาง 2-4 กม. หรือหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะข้ามไปอีกฝั่งถนนได้ง่ายกว่าหากใช้แบริเออร์เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้”
ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/prd.region7/photos/a.1581364855492423/2077111509251086/?type=3&theater
Cr.POSTJUNG