"อาม่า ผมซื้อข้าวขาหมูมาจากกรุงเทพ มาให้"
"อั๋วะไม่มีฟันจะกินได้เหรอ"
"อาม่าต้องกินให้ได้นะ ผมไม่ค่อยได้มา เลยซื้อของอร่อยๆมาให้"
อีกครึ่งชั่วโมงอาม่าก็ถูกเข็นเข้าห้องฉุกเฉิน
ของติดคอเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก มีตั้งแต่ง่ายๆ เช่นเหรียญติดคอเด็ก
จนถึงยากขนาดเหงื่อตก เช่นเม็ดน้อยหน่าติดคอเด็กอายุหกเดือน
มันเป็นความบกพร่อง หรือความดีของธรรมชาติที่สร้างหลอดลมให้เปิดใกล้ปาก
ผมเคยคิดว่าถ้าหลอดลมเปิดที่หน้าอกหรือคอโดยตรงน่าจะดี แต่ก็อาจมีปัญหา
เวลาดำน้ำ หรือนอนแล้วแมงสาบลงไปในหลอดลม
ภาพโครงสร้างทางเดินหายใจและหลอดอาหารที่มารวมกันในคอตรงใกล้ปาก
ทางเดินหายใจเป็นโครงสร้างแข็งคล้ายท่อน้ำ
ส่วนหลอดอาหารค่อนข้างนิ่มคล้ายลำไส้
หลอดลมถูกปกป้อง ด้วยสายเสียง (Vocal cord)
โดยการปิดเวลาอาหารจะมาถึง
ในการกินข้าว ความเสี่ยงต่อชีวิตจึงเท่ากับปิดตาวิ่งข้ามถนน
ส่วนฝากล่องเสียง ไม่ค่อยมีบทบาทอะไร ไม่เหมือนที่เราคิด
ของที่ติดคอแล้วตาย ไม่จำเป็นต้องติดที่หลอดลม
อาจติดแค่ในคอ หรือหลอดอาหารก็ได้
ครึ่งหนึ่งของของที่ติด x-ray ไม่เห็นโดยเฉพาะ
เม็ดน้อยหน่าตัวร้าย
ตอนนี้มาดูกรณีคลาสสิกต่างๆ
เม็ดน้อยหน่าติดคอ
เม็ดน้อยหน่ามีลักษณะ aerodynamics ที่ดี ลงหลอดลมง่าย ไอไม่ออก
ทำ Heimlich ไม่ออก คีบด้วยเครื่อมือไม่ติด ถ้าติดในเด็ก อาจไอนิดหน่อย
อยู่ดีๆ ก็หายใจไม่ออก ตายทันที
เป็นเคสที่หมอเห็นแล้วปวดหัวทันที
ในภาพเม็ดน้อยหน่าติดในหลอดลม ใต้สายเสียง จุดขาวๆ คือขั้วเม็ด
หากจะคีบออก จะต้องจับที่ขั้วเม็ดให้ได้ ความยากเท่ากับสนเข็มผ่าน
ท่อประปาที่ยาวหนึ่งเมตร
ขนมเทียนติดคอ
ผมไม่ทราบเคสที่เพิ่งเสียชีวิตเป็นแบบไหน แต่เชื่อว่ามันติดแค่เลยปากไปนิด
หนึ่ง เพราะบางข่าวบอกว่ามองเห็นด้วย
น่าจะไม่ได้ติดในหลอดลม พวกนี้ทำ Heimlich อาจไม่ออก เพราะมันนิ่ม
(แต่ต้องลอง)
เหรียญติดคอ
มักพบในเด็กเล็ก เป็นกรณีที่เอาออกง่ายมาก แต่ต้องดมยาสลบ
ลูกชิ้นติดคอ
เป็นกรณีที่มีคนตายบ่อย แต่ผมไม่เคยเจอที่โรงพยาบาล คือถ้าไม่หายก็ตายในที่เกิดเหตุ
เป็นกรณีที่น่าทำ Heimlich
ข้าวขาหมู - หัวปลาอินทรี
พบมากในคนสูงอายุ เกิดจากลูกหลานซื้อของอร่อยมาให้
การเอาออกไม่ยาก แต่ต้องดมยาสลบและมันอยู่ลึกมาก
ข้าวขาหมูมักไม่ติดที่หลอดลม แต่ติดที่หลอดอาหารและกดหลอดลมให้แบนลง
คนไข้มักไม่เสียชีวิตทันที
การทำ Heimlich
คืออ้อมไปด้านหลังแล้วเอามือประสานกระแทกลิ้นปี่แรงๆ
ให้อาหารหลุด ได้ผลดีกับอาหารที่เด้งๆ เช่นลูกชิ้น
ในทุกกรณีสามารถลองทำดูได้ ถ้าไม่ออกก็เลิก เว้นเหรียญติดคอ
อาจไม่ต้องทำ (ถ้ารู้ชัด)
ถ้าคนไข้หยุดหายใจ อาจให้นอนแล้วขย่มลิ้นปี่ ถ้าไม่ออกก็ CPR
การล้วงคอ
อาจทำถ้าเห็นอาหารติดคอชัดๆ
ถ้าทำไม่ดีอาจดันให้อาหารติดคอแน่น
คนทำถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ เสี่ยงต่อการถูกหาว่าทำให้คนไข้ตาย
สรุปปัญหาจากวัตถุต่างๆ
วิธีป้องกัน
- คนสูงอายุที่มีฟันน้อย ควรทำฟันปลอม
- อย่าฝืนใจให้คนสูงอายุกินของอร่อย
- หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล็ก กินหรือเล่นน้อยหน่า ละมุด
หรือเล่นของเล่นที่แยกเป็นชิ้นๆได้ รวมทั้งไม่ให้เล่นแถว
ที่มีเศษวัสดุมากๆ
- ควรทำ Heimlich เป็น
ทำได้ในทุกกรณี อย่างเฟลคือทำไม่ได้ผล
- ถ้าอาหารติดคอ
อย่ากินเสริมลงไปอีก
(พบมากกรณีข้าวขาหมู หัวปลาอินทรี ติดคอ)
ไม่กินข้าวเหนียวลงไปไล่
- ทุกกรณีไม่ว่าหลุดไปแล้วหรือไม่ ก็ต้องพบแพทย์
ขนมเทียน และลูกชิ้นติดคอ -- Basic สาเหตุการตาย และวิธีแก้
"อั๋วะไม่มีฟันจะกินได้เหรอ"
"อาม่าต้องกินให้ได้นะ ผมไม่ค่อยได้มา เลยซื้อของอร่อยๆมาให้"
อีกครึ่งชั่วโมงอาม่าก็ถูกเข็นเข้าห้องฉุกเฉิน
ของติดคอเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก มีตั้งแต่ง่ายๆ เช่นเหรียญติดคอเด็ก
จนถึงยากขนาดเหงื่อตก เช่นเม็ดน้อยหน่าติดคอเด็กอายุหกเดือน
มันเป็นความบกพร่อง หรือความดีของธรรมชาติที่สร้างหลอดลมให้เปิดใกล้ปาก
ผมเคยคิดว่าถ้าหลอดลมเปิดที่หน้าอกหรือคอโดยตรงน่าจะดี แต่ก็อาจมีปัญหา
เวลาดำน้ำ หรือนอนแล้วแมงสาบลงไปในหลอดลม
ภาพโครงสร้างทางเดินหายใจและหลอดอาหารที่มารวมกันในคอตรงใกล้ปาก
ทางเดินหายใจเป็นโครงสร้างแข็งคล้ายท่อน้ำ
ส่วนหลอดอาหารค่อนข้างนิ่มคล้ายลำไส้
หลอดลมถูกปกป้อง ด้วยสายเสียง (Vocal cord)
โดยการปิดเวลาอาหารจะมาถึง
ในการกินข้าว ความเสี่ยงต่อชีวิตจึงเท่ากับปิดตาวิ่งข้ามถนน
ส่วนฝากล่องเสียง ไม่ค่อยมีบทบาทอะไร ไม่เหมือนที่เราคิด
ของที่ติดคอแล้วตาย ไม่จำเป็นต้องติดที่หลอดลม
อาจติดแค่ในคอ หรือหลอดอาหารก็ได้
ครึ่งหนึ่งของของที่ติด x-ray ไม่เห็นโดยเฉพาะ
เม็ดน้อยหน่าตัวร้าย
ตอนนี้มาดูกรณีคลาสสิกต่างๆ
เม็ดน้อยหน่าติดคอ
เม็ดน้อยหน่ามีลักษณะ aerodynamics ที่ดี ลงหลอดลมง่าย ไอไม่ออก
ทำ Heimlich ไม่ออก คีบด้วยเครื่อมือไม่ติด ถ้าติดในเด็ก อาจไอนิดหน่อย
อยู่ดีๆ ก็หายใจไม่ออก ตายทันที
เป็นเคสที่หมอเห็นแล้วปวดหัวทันที
ในภาพเม็ดน้อยหน่าติดในหลอดลม ใต้สายเสียง จุดขาวๆ คือขั้วเม็ด
หากจะคีบออก จะต้องจับที่ขั้วเม็ดให้ได้ ความยากเท่ากับสนเข็มผ่าน
ท่อประปาที่ยาวหนึ่งเมตร
ขนมเทียนติดคอ
ผมไม่ทราบเคสที่เพิ่งเสียชีวิตเป็นแบบไหน แต่เชื่อว่ามันติดแค่เลยปากไปนิด
หนึ่ง เพราะบางข่าวบอกว่ามองเห็นด้วย
น่าจะไม่ได้ติดในหลอดลม พวกนี้ทำ Heimlich อาจไม่ออก เพราะมันนิ่ม
(แต่ต้องลอง)
เหรียญติดคอ
มักพบในเด็กเล็ก เป็นกรณีที่เอาออกง่ายมาก แต่ต้องดมยาสลบ
ลูกชิ้นติดคอ
เป็นกรณีที่มีคนตายบ่อย แต่ผมไม่เคยเจอที่โรงพยาบาล คือถ้าไม่หายก็ตายในที่เกิดเหตุ
เป็นกรณีที่น่าทำ Heimlich
ข้าวขาหมู - หัวปลาอินทรี
พบมากในคนสูงอายุ เกิดจากลูกหลานซื้อของอร่อยมาให้
การเอาออกไม่ยาก แต่ต้องดมยาสลบและมันอยู่ลึกมาก
ข้าวขาหมูมักไม่ติดที่หลอดลม แต่ติดที่หลอดอาหารและกดหลอดลมให้แบนลง
คนไข้มักไม่เสียชีวิตทันที
การทำ Heimlich
คืออ้อมไปด้านหลังแล้วเอามือประสานกระแทกลิ้นปี่แรงๆ
ให้อาหารหลุด ได้ผลดีกับอาหารที่เด้งๆ เช่นลูกชิ้น
ในทุกกรณีสามารถลองทำดูได้ ถ้าไม่ออกก็เลิก เว้นเหรียญติดคอ
อาจไม่ต้องทำ (ถ้ารู้ชัด)
ถ้าคนไข้หยุดหายใจ อาจให้นอนแล้วขย่มลิ้นปี่ ถ้าไม่ออกก็ CPR
การล้วงคอ
อาจทำถ้าเห็นอาหารติดคอชัดๆ
ถ้าทำไม่ดีอาจดันให้อาหารติดคอแน่น
คนทำถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ เสี่ยงต่อการถูกหาว่าทำให้คนไข้ตาย
สรุปปัญหาจากวัตถุต่างๆ
วิธีป้องกัน
- คนสูงอายุที่มีฟันน้อย ควรทำฟันปลอม
- อย่าฝืนใจให้คนสูงอายุกินของอร่อย
- หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล็ก กินหรือเล่นน้อยหน่า ละมุด
หรือเล่นของเล่นที่แยกเป็นชิ้นๆได้ รวมทั้งไม่ให้เล่นแถว
ที่มีเศษวัสดุมากๆ
- ควรทำ Heimlich เป็น
ทำได้ในทุกกรณี อย่างเฟลคือทำไม่ได้ผล
- ถ้าอาหารติดคอ อย่ากินเสริมลงไปอีก
(พบมากกรณีข้าวขาหมู หัวปลาอินทรี ติดคอ)
ไม่กินข้าวเหนียวลงไปไล่
- ทุกกรณีไม่ว่าหลุดไปแล้วหรือไม่ ก็ต้องพบแพทย์