https://thaipublica.org/2019/08/pridi154/
ที่พักอาศัยแพงเกินกำลังซื้อ
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post (SCMP) ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม ก็รายงานข่าวความไม่พอใจของบรรดาเยาวชนที่เขาร่วมการประท้วงว่า คนหนุ่มสาวเป็นหัวหอกการประท้วงกฎหมายส่งคนร้ายข้ามแดนให้กับจีน หลายคนอาจเห็นว่า สาเหตุของการประท้วงคือ
เรื่องที่อิสระภาพและสิทธิเสรีภาพของฮ่องกง ถูกกัดกร่อนลงไป แต่คนหนุ่มสาวไม่พอใจกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และกลัวว่าความหวังที่จะมีที่พักอาศัยของตัวเอง คงจะเป็นเพียงแค่ความฝัน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง พุ่งขึ้น 242% และเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกงถูกประเมินว่า ราคาสูงมากจนยากที่คนส่วนใหญ่จะมีเงินซื้อได้ เงินเดือนเฉลี่ยของผู้ชายอยู่ที่ 19,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (2,446 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนค่าเช่าห้องพักห้องเดียวในเมือง เฉลี่ยเดือนละ 16,551 ดอลลาร์ฮ่องกง ตัวเลขเหล่านี้ แสดงว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาความไม่พอใจของคนหนุ่มสาวของฮ่องกง
Fung Cheng นักออกแบบกราฟิกอายุ 25 ปี บอกกับ SCMP ว่า “มันเป็นปัญหาที่ระบบ พวกเขาไม่จำเป็นต้องได้เสียงสนับสนุนเพื่อเป็นรัฐบาล มันจึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย”
ส่วน William Lun ทนายความ อายุ 22 ปี กล่าวว่า “เป็นความฝันของทุกคนที่อยากจะมีบ้านพัก สิ่งนี้เป็นความฝันของคนจีน แต่มันเป็นภาระกิจที่เป็นไปไม่ได้”
ที่มาภาพ :
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Montane_Mansion_Quarry_Bay.B.JPG/1440px-Montane_Mansion_Quarry_Bay.B.JPGปฏิรูปเศรษฐกิจคือทางออก
Graeme Maxton อดีตเลขาธิการของชมรม The Club of Rome เขียนบทความเชิงทัศนะลงใน SCMP ว่า ความยากลำบากทางเศรษฐกิจของฮ่องกง มาจากระบบเศรษฐกิจที่เชื่อว่า กลไกตลาดเสรีสุดขั้วอย่างเดียว จะสามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้ การใช้วิธีการจัดการอย่างเด็ดขาดกับผู้ชุมนุม ยิ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
Graeme Maxton กล่าวว่า วิธีเดียวที่จะฟื้นฟูความสงบเรียกร้อยคือ การเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของฮ่องกง หลังจากที่ปล่อยให้กลไกตลาดจัดการเรื่องเศรษฐกิจมานานหลายทศวรรษ และรัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย ถึงเวลาแล้ว ที่รัฐบาลฮ่องกงจะหันมาทำหน้าที่ในสิ่งที่เป็นงานของรัฐบาล คือการทำเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่
ความไม่พอใจของคนฮ่องกง ไม่ใช่แค่กฎหมายการส่งผู้ร่ายขามแดนให้จีน แต่เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมานับตั้งแต่สมัยอาณานิคมอังกฤษ และระบบเศรษฐกิจ ที่อังกฤษปลูกฝังไว้ในฮ่องกง ให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดที่เสรีมากที่สุด โดยไร้ข้อจำกัดหรือการควบคุมใดๆ และยังถูกปลูกฝังให้ภาคภูมิใจในสิ่งนี้ พร้อมกับความเชื่อที่ว่า การจำกัดหรือควบคุมธุรกรรมทางเศรษฐกิจใดๆที่เป็นไปตามกลไกตลาด ถือเป็นความผิดพลาด
ระบบเศรษฐกิจที่ศรัทธากลไกตลาดแบบไร้ข้อจำกัดใดๆ จะสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่ เพราะระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะจบลงเสมอ ในการสร้างความไม่ยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจแบบกลไกตลาดที่ไร้การควบคุม จะสร้างช่องว่างมหาศาลระหว่างคนรวยกับคนจน สร้างค่าแรงที่ถูกกับคนส่วนใหญ่ และความมั่งคั่งสุดขั้วให้กับการลงทุนเก็งกำไร และบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่ราย ที่ครอบครองเศรษฐกิจ
ที่เป็นเช่นว่านี้ เพราะว่าระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดเสรี จะให้ประโยชน์แก่คนที่มีฐานะมั่งคั่ง แนวคิดที่ว่าเงินทุนที่สั่งสมโดยคนมีฐานะ ในที่สุดจะกระจายไปสู่คนที่ยากจน หรือที่เรียกว่า trickle-down effect คือภาพมายา สภาพที่เกิดขึ้นแบบนี้ คือเนื้อหาในหนังสือของ Thomas Piketty ชื่อว่า Capital in the Twenty-First Century ระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดที่ไม่มีการควบคุมใดๆเลย ทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างมากขึ้น
Graeme Maxton กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจกลไกตลาดก็ไม่ได้สร้างงานหรือลดความยากจน แต่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ เป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มผลิตภาพ สิ่งนี้หมายความว่า การเติบโตมีแนวโน้มอาศัยจักรกลการผลิต ทำให้ในระยะยาว การจ้างงานจะลดลง แรงกดดันที่ต้องลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงกดดันที่ไม่หยุดต่ออัตราค่าจ้าง
ที่มาภาพ :
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/99/190616_HK_Protest_Incendo_03.jpg/1440px-190616_HK_Protest_Incendo_03.jpgGraeme Maxton กล่าวว่า ระบบเศรษฐกิจแบบนี้แหละ ที่สร้างความทุกข์ยากให้กับฮ่องกง ความผิดพลาดไม่ใช่มาจากจีน หรือกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่เป็นความล้มเหลวของรัฐบาลฮ่องกง ในการบริหารเศรษฐกิจ และเชื่อว่ากลไกตลาดอย่างเดียว จะแก้ปัญหาสังคมอื่นๆได้ทั้งหมด
ผลที่ตามก็คือ เกิดช่องว่างมหาศาลระหว่างคนรวยกับคนจน คนฮ่องกงจำนวนมากมีที่พักนอนเหมือนกรง ครอบครัวไม่กี่รายครอบครองเศรษฐกิจ มีระบบรัฐสวัสดิการที่อ่อนแอ อัตราค่าจ้างต่ำ อสังหาริมทรัพย์ราคาแพง และคนรุ่นใหม่ขาดความหวังในอนาคต ข่าวดีก็คือ มีหนทางแก้ไขในด้านนโยบายต่อระบบเศรษฐกิจที่สร้างความแตกต่างนี้ เช่นเก็บภาษีคนรวยให้เหมาะสม ธุรกิจผูกขาดต้องถูกแบ่งแยกให้เล็กลง และสร้างระบบรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมขึ้นมา
เอกสารประกอบ
Tiny Apartment and Punishing Work Hours: The Economic Roots of Hong Kong’s Protest, July 22, 2019, The New York Times.
How Hong Kong can put an end to protest chaos – it’s about the economy, so fix the deep divide, Graeme Maxton, South China Morning Post, August 5, 2019.
เข้าประเด็น คิดว่าควรแก้กันยังไงดี
อะไรที่ทำไปแล้ว อะไรที่ได้ผล อะไรที่ไม่เวิร์ค อะไรที่ยังไม่ได้ทำบ้าง
เท่าที่รู้ หลายงานสำหรับคนฮ่องกง ทำในจีนได้ไม่ต้องมีwork permit แบบคนไต้หวันด้วย
เซินเจิ้น เดินทางไปฮ่องกงแค่ครึ่ง ชม
อสังหาแถวนั้นก็แพงขึ้นมากเข่นกัน
ถ้าจะพัฒนาพื้นที่แล้วย้ายแหล่งงานฮ่องกงเ้ามาในกวางตุ้ง
คิดว่ายังไงบ้าง หรือกำลังทำอยู่
คนชราเกษียณอายุ ย้ายมาสร้างที่พักในกวางตุ้งได้ไหม
ลองมาถกกัน
รากปัญหาที่แท้จริงของการประท้วงในฮ่องกง คือเรื่องเศรษฐกิจ
ที่พักอาศัยแพงเกินกำลังซื้อ
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post (SCMP) ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม ก็รายงานข่าวความไม่พอใจของบรรดาเยาวชนที่เขาร่วมการประท้วงว่า คนหนุ่มสาวเป็นหัวหอกการประท้วงกฎหมายส่งคนร้ายข้ามแดนให้กับจีน หลายคนอาจเห็นว่า สาเหตุของการประท้วงคือ เรื่องที่อิสระภาพและสิทธิเสรีภาพของฮ่องกง ถูกกัดกร่อนลงไป แต่คนหนุ่มสาวไม่พอใจกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และกลัวว่าความหวังที่จะมีที่พักอาศัยของตัวเอง คงจะเป็นเพียงแค่ความฝัน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง พุ่งขึ้น 242% และเป็นปีที่ 9 ติดต่อกันที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกงถูกประเมินว่า ราคาสูงมากจนยากที่คนส่วนใหญ่จะมีเงินซื้อได้ เงินเดือนเฉลี่ยของผู้ชายอยู่ที่ 19,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (2,446 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่วนค่าเช่าห้องพักห้องเดียวในเมือง เฉลี่ยเดือนละ 16,551 ดอลลาร์ฮ่องกง ตัวเลขเหล่านี้ แสดงว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหาความไม่พอใจของคนหนุ่มสาวของฮ่องกง
Fung Cheng นักออกแบบกราฟิกอายุ 25 ปี บอกกับ SCMP ว่า “มันเป็นปัญหาที่ระบบ พวกเขาไม่จำเป็นต้องได้เสียงสนับสนุนเพื่อเป็นรัฐบาล มันจึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย”
ส่วน William Lun ทนายความ อายุ 22 ปี กล่าวว่า “เป็นความฝันของทุกคนที่อยากจะมีบ้านพัก สิ่งนี้เป็นความฝันของคนจีน แต่มันเป็นภาระกิจที่เป็นไปไม่ได้”
ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Montane_Mansion_Quarry_Bay.B.JPG/1440px-Montane_Mansion_Quarry_Bay.B.JPGปฏิรูปเศรษฐกิจคือทางออก
Graeme Maxton อดีตเลขาธิการของชมรม The Club of Rome เขียนบทความเชิงทัศนะลงใน SCMP ว่า ความยากลำบากทางเศรษฐกิจของฮ่องกง มาจากระบบเศรษฐกิจที่เชื่อว่า กลไกตลาดเสรีสุดขั้วอย่างเดียว จะสามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมได้ การใช้วิธีการจัดการอย่างเด็ดขาดกับผู้ชุมนุม ยิ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
Graeme Maxton กล่าวว่า วิธีเดียวที่จะฟื้นฟูความสงบเรียกร้อยคือ การเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของฮ่องกง หลังจากที่ปล่อยให้กลไกตลาดจัดการเรื่องเศรษฐกิจมานานหลายทศวรรษ และรัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย ถึงเวลาแล้ว ที่รัฐบาลฮ่องกงจะหันมาทำหน้าที่ในสิ่งที่เป็นงานของรัฐบาล คือการทำเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่
ความไม่พอใจของคนฮ่องกง ไม่ใช่แค่กฎหมายการส่งผู้ร่ายขามแดนให้จีน แต่เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมานับตั้งแต่สมัยอาณานิคมอังกฤษ และระบบเศรษฐกิจ ที่อังกฤษปลูกฝังไว้ในฮ่องกง ให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดที่เสรีมากที่สุด โดยไร้ข้อจำกัดหรือการควบคุมใดๆ และยังถูกปลูกฝังให้ภาคภูมิใจในสิ่งนี้ พร้อมกับความเชื่อที่ว่า การจำกัดหรือควบคุมธุรกรรมทางเศรษฐกิจใดๆที่เป็นไปตามกลไกตลาด ถือเป็นความผิดพลาด
ระบบเศรษฐกิจที่ศรัทธากลไกตลาดแบบไร้ข้อจำกัดใดๆ จะสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่ เพราะระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะจบลงเสมอ ในการสร้างความไม่ยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจแบบกลไกตลาดที่ไร้การควบคุม จะสร้างช่องว่างมหาศาลระหว่างคนรวยกับคนจน สร้างค่าแรงที่ถูกกับคนส่วนใหญ่ และความมั่งคั่งสุดขั้วให้กับการลงทุนเก็งกำไร และบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่ราย ที่ครอบครองเศรษฐกิจ
ที่เป็นเช่นว่านี้ เพราะว่าระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดเสรี จะให้ประโยชน์แก่คนที่มีฐานะมั่งคั่ง แนวคิดที่ว่าเงินทุนที่สั่งสมโดยคนมีฐานะ ในที่สุดจะกระจายไปสู่คนที่ยากจน หรือที่เรียกว่า trickle-down effect คือภาพมายา สภาพที่เกิดขึ้นแบบนี้ คือเนื้อหาในหนังสือของ Thomas Piketty ชื่อว่า Capital in the Twenty-First Century ระบบเศรษฐกิจกลไกตลาดที่ไม่มีการควบคุมใดๆเลย ทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างมากขึ้น
Graeme Maxton กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจกลไกตลาดก็ไม่ได้สร้างงานหรือลดความยากจน แต่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ เป็นผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มผลิตภาพ สิ่งนี้หมายความว่า การเติบโตมีแนวโน้มอาศัยจักรกลการผลิต ทำให้ในระยะยาว การจ้างงานจะลดลง แรงกดดันที่ต้องลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงกดดันที่ไม่หยุดต่ออัตราค่าจ้าง
ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/99/190616_HK_Protest_Incendo_03.jpg/1440px-190616_HK_Protest_Incendo_03.jpgGraeme Maxton กล่าวว่า ระบบเศรษฐกิจแบบนี้แหละ ที่สร้างความทุกข์ยากให้กับฮ่องกง ความผิดพลาดไม่ใช่มาจากจีน หรือกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่เป็นความล้มเหลวของรัฐบาลฮ่องกง ในการบริหารเศรษฐกิจ และเชื่อว่ากลไกตลาดอย่างเดียว จะแก้ปัญหาสังคมอื่นๆได้ทั้งหมด
ผลที่ตามก็คือ เกิดช่องว่างมหาศาลระหว่างคนรวยกับคนจน คนฮ่องกงจำนวนมากมีที่พักนอนเหมือนกรง ครอบครัวไม่กี่รายครอบครองเศรษฐกิจ มีระบบรัฐสวัสดิการที่อ่อนแอ อัตราค่าจ้างต่ำ อสังหาริมทรัพย์ราคาแพง และคนรุ่นใหม่ขาดความหวังในอนาคต ข่าวดีก็คือ มีหนทางแก้ไขในด้านนโยบายต่อระบบเศรษฐกิจที่สร้างความแตกต่างนี้ เช่นเก็บภาษีคนรวยให้เหมาะสม ธุรกิจผูกขาดต้องถูกแบ่งแยกให้เล็กลง และสร้างระบบรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมขึ้นมา
เอกสารประกอบ
Tiny Apartment and Punishing Work Hours: The Economic Roots of Hong Kong’s Protest, July 22, 2019, The New York Times.
How Hong Kong can put an end to protest chaos – it’s about the economy, so fix the deep divide, Graeme Maxton, South China Morning Post, August 5, 2019.
เข้าประเด็น คิดว่าควรแก้กันยังไงดี
อะไรที่ทำไปแล้ว อะไรที่ได้ผล อะไรที่ไม่เวิร์ค อะไรที่ยังไม่ได้ทำบ้าง
เท่าที่รู้ หลายงานสำหรับคนฮ่องกง ทำในจีนได้ไม่ต้องมีwork permit แบบคนไต้หวันด้วย
เซินเจิ้น เดินทางไปฮ่องกงแค่ครึ่ง ชม
อสังหาแถวนั้นก็แพงขึ้นมากเข่นกัน
ถ้าจะพัฒนาพื้นที่แล้วย้ายแหล่งงานฮ่องกงเ้ามาในกวางตุ้ง
คิดว่ายังไงบ้าง หรือกำลังทำอยู่
คนชราเกษียณอายุ ย้ายมาสร้างที่พักในกวางตุ้งได้ไหม
ลองมาถกกัน