เครดิตที่มาของข่าว
https://globthailand.com/singapore-05082019/
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2562 สํานักข่าว Asia Times ได้ลงบทความ “Is Temasek a reflection of Singapore’s economic decine?” ตั้งคำถามถึงการดำเนินธุรกิจของ Temasek ว่าเป็นภาพสะท้อนถึงความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจสิงคโปร์หรือไม่ โดยบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงประวัติของธุรกิจ Temasek ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 เมื่อรัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งบริษัท Temasek Holdings ขึ้นมาเป็นองค์กรการค้าเอกชน เนื่องจากกองทุนมีต้นทุนต่ำและทุนสํารองมีปริมาณเพิ่มขึ้น และเพื่อเสริมกองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (GIC) รวมถึงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) ในการจัดการกองทุนสาธารณะแทนการพึ่งพาผู้จัดการกองทุนระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการลงทุน ซึ่ง Temasek สามารถสร้างผลกําไรมหาศาลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในสิงคโปร์ โดยการลงทุนในรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ (GLCs) เช่น Keppel Corporation, Sembcorp, Singapore Airlines และ Singtel ผ่านแผนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (CPFIS)
ในรายงานทางการเงินล่าสุด Temasek ประกาศมูลค่าพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.62% จาก 3.08 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็น 3.13 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวม (TSR) ลดลงจาก 12.19% เป็น 1.49% จากแนวโน้มที่ท้าทายของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของตลาด แต่ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา กองทุนความมั่งคั่งแห่งนอร์เวย์ ซึ่งมีมูลค่า 1.05 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงานผลตอบแทนที่ดีที่สุดที่เคยมีมาทุกไตรมาส โดยมีผลตอบแทนโดยรวม 9.1% หรือ 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2562 ซึ่งมีมูลค่าสูงมากเมื่อเทียบกับ Temasek นอกจากนี้ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีน (CIC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2550 มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการ (AUM) จํานวน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภายในปี 2560 AUM เพิ่มเป็น 810 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า Temasek อย่างเห็นได้ชัด
หากเปรียบเทียบกับกองทุนใหญ่อื่น ๆ แล้ว Temasek กําลังตามหลังทิ้งห่างกองทุนใหญ่เหล่านี้อยู่มาก ซึ่งหาก Temasek ไม่สามารถปกป้องมูลค่าของเงินทุนและสร้างผลตอบแทนที่แท้จริงที่สะท้อนภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนของการกู้ยืมเงินได้ ก็อาจกลายเป็นหนี้สินที่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่สามารถรับผิดชอบได้ อีกทั้งการลดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นไม่เพียงแต่จะเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมสําหรับ Temasek และ GLC เท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ของสิงคโปร์อีกด้วย
ในปัจจุบันขณะที่สิงคโปร์ยังเน้นการลงทุนในสนามบิน ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างพยายามใช้อํานาจอธิปไตยทวงสิทธิ์ในการบริหารจัดการน่านฟ้าของตนเองคืนมา หากสิงคโปร์ไม่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวและหาวิธีการใหม่ในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การขอคืนสิทธิบริหารน่านฟ้านี้จะจํากัดการเติบโตของการลงทุน ซึ่งเมื่อสนามบิน Seletar ได้รับผลกระทบแล้ว บริษัทรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินอื่น ๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
เช่นเดียวกับการลงทุนของ Temasek ในท่าเรือขนาดใหญ่แห่งใหม่ที่ Tuas ขณะที่จีนพยายามจะผลักดันการก่อสร้างคลองที่ตัดผ่านประเทศไทยอย่างคอคอดกระ ซึ่งทั้งโครงการลงทุนของ Temasek ในการพัฒนาท่าเรือภายในภูมิภาคและโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน อาจทำให้มีการเปลี่ยนพลวัตของการขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคได้
Temasek ไม่สามารถที่จะขายธุรกิจที่ทํากําไรเดิมต่อไปจนกว่าจะสามารถหาธุรกิจที่ทํากําไรใหม่ได้ เป้าหมายของ Temasek ไม่เพียงแต่สร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจสําหรับตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยให้สิงคโปร์เพิ่มทุนสํารอง เพื่อสนับสนุนและรักษาสวัสดิการสังคมสําหรับประชากรสูงอายุ การเลือกตัดสวัสดิการสังคมหรือการเก็บภาษีประชาชนจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนสิงคโปร์ที่สามารถสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ จะออกจากประเทศไป เนื่องจากไม่ต้องการรับภาระภาษี
โครงสร้างการลงทุนแบบผสมผสานที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้ในการรวม GIC กับ Temasek นั้นคล้ายคลึงกับ CITIC Securities ของจีน โดยการเข้าซื้อบริษัทหลักทรัพย์ CLSA ในปี 2556 แต่ไม่ได้หมายความว่า Temasek อ่อนแอและ GIC สามารถเข้ามาควบคุม โดยประธานของ GIC คนปัจจุบันคือนาง Ho Ching ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ซึ่งเป็นภรรยาของนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนปัจจุบัน ซึ่งชาวสิงคโปร์หลายฝ่ายต่างเห็นความเสี่ยงของความขัดแย้งทางผลประโยชน์นี้ชัดเจน มีการถกเถียงกันและตั้งคําถามที่เกี่ยวข้องกับ Temasek ว่ายังมีความเกี่ยวข้องหรือมีวัตถุประสงค์ที่เกินความเป็นจริงหรือไม่ และต่างกล่าวว่า Temasek ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดกองทุนให้มีการบริหารจัดการโดยธนาคารเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศอย่างอิสระเพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ประเด็นด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า หรือจะเป็นการปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์ ก็จะยังคงเป็นข้อถกเถียงที่ร้อนแรงสําหรับชาวสิงคโปร์ต่อไป
หากประสิทธิภาพของ Temasek เป็นภาพสะท้อนของความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญกับอํานาจและอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสิงคโปร์ ดังนั้น มุมมองสําหรับเศรษฐกิจสิงคโปร์ในอนาคตย่อมมีแนวโน้มทางลบ เมื่อประเมินร่วมกับอุปสรรคอื่น ๆ และปัญหาในประเทศ อาจถึงเวลาที่ผู้นําทางการเมืองของสิงคโปร์จะต้องไตร่ตรองอย่างจริงจังว่าพวกเขาทําอะไรผิดไป และเหตุใดสิงคโปร์จึงไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้เหมือนกับในช่วงของการก่อตั้งประเทศ หรือที่จริงสิงคโปร์อาจต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์ที่โดดเด่นยิ่งขึ้น เพื่อที่จะอยู่รอดในเศรษฐกิจยุคใหม่ที่จะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอีกมากมายในอนาคต
Temasek: ภาพสะท้อนถึงความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์?
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2562 สํานักข่าว Asia Times ได้ลงบทความ “Is Temasek a reflection of Singapore’s economic decine?” ตั้งคำถามถึงการดำเนินธุรกิจของ Temasek ว่าเป็นภาพสะท้อนถึงความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจสิงคโปร์หรือไม่ โดยบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงประวัติของธุรกิจ Temasek ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 เมื่อรัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งบริษัท Temasek Holdings ขึ้นมาเป็นองค์กรการค้าเอกชน เนื่องจากกองทุนมีต้นทุนต่ำและทุนสํารองมีปริมาณเพิ่มขึ้น และเพื่อเสริมกองทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (GIC) รวมถึงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) ในการจัดการกองทุนสาธารณะแทนการพึ่งพาผู้จัดการกองทุนระหว่างประเทศและธนาคารเพื่อการลงทุน ซึ่ง Temasek สามารถสร้างผลกําไรมหาศาลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในสิงคโปร์ โดยการลงทุนในรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ (GLCs) เช่น Keppel Corporation, Sembcorp, Singapore Airlines และ Singtel ผ่านแผนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (CPFIS)
ในรายงานทางการเงินล่าสุด Temasek ประกาศมูลค่าพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.62% จาก 3.08 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็น 3.13 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวม (TSR) ลดลงจาก 12.19% เป็น 1.49% จากแนวโน้มที่ท้าทายของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของตลาด แต่ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา กองทุนความมั่งคั่งแห่งนอร์เวย์ ซึ่งมีมูลค่า 1.05 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงานผลตอบแทนที่ดีที่สุดที่เคยมีมาทุกไตรมาส โดยมีผลตอบแทนโดยรวม 9.1% หรือ 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2562 ซึ่งมีมูลค่าสูงมากเมื่อเทียบกับ Temasek นอกจากนี้ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีน (CIC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2550 มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการ (AUM) จํานวน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภายในปี 2560 AUM เพิ่มเป็น 810 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า Temasek อย่างเห็นได้ชัด
หากเปรียบเทียบกับกองทุนใหญ่อื่น ๆ แล้ว Temasek กําลังตามหลังทิ้งห่างกองทุนใหญ่เหล่านี้อยู่มาก ซึ่งหาก Temasek ไม่สามารถปกป้องมูลค่าของเงินทุนและสร้างผลตอบแทนที่แท้จริงที่สะท้อนภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนของการกู้ยืมเงินได้ ก็อาจกลายเป็นหนี้สินที่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่สามารถรับผิดชอบได้ อีกทั้งการลดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นไม่เพียงแต่จะเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมสําหรับ Temasek และ GLC เท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ของสิงคโปร์อีกด้วย
ในปัจจุบันขณะที่สิงคโปร์ยังเน้นการลงทุนในสนามบิน ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างพยายามใช้อํานาจอธิปไตยทวงสิทธิ์ในการบริหารจัดการน่านฟ้าของตนเองคืนมา หากสิงคโปร์ไม่สามารถจัดการกับปัญหาดังกล่าวและหาวิธีการใหม่ในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การขอคืนสิทธิบริหารน่านฟ้านี้จะจํากัดการเติบโตของการลงทุน ซึ่งเมื่อสนามบิน Seletar ได้รับผลกระทบแล้ว บริษัทรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินอื่น ๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
เช่นเดียวกับการลงทุนของ Temasek ในท่าเรือขนาดใหญ่แห่งใหม่ที่ Tuas ขณะที่จีนพยายามจะผลักดันการก่อสร้างคลองที่ตัดผ่านประเทศไทยอย่างคอคอดกระ ซึ่งทั้งโครงการลงทุนของ Temasek ในการพัฒนาท่าเรือภายในภูมิภาคและโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน อาจทำให้มีการเปลี่ยนพลวัตของการขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคได้
Temasek ไม่สามารถที่จะขายธุรกิจที่ทํากําไรเดิมต่อไปจนกว่าจะสามารถหาธุรกิจที่ทํากําไรใหม่ได้ เป้าหมายของ Temasek ไม่เพียงแต่สร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจสําหรับตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยให้สิงคโปร์เพิ่มทุนสํารอง เพื่อสนับสนุนและรักษาสวัสดิการสังคมสําหรับประชากรสูงอายุ การเลือกตัดสวัสดิการสังคมหรือการเก็บภาษีประชาชนจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนสิงคโปร์ที่สามารถสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ จะออกจากประเทศไป เนื่องจากไม่ต้องการรับภาระภาษี
โครงสร้างการลงทุนแบบผสมผสานที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้ในการรวม GIC กับ Temasek นั้นคล้ายคลึงกับ CITIC Securities ของจีน โดยการเข้าซื้อบริษัทหลักทรัพย์ CLSA ในปี 2556 แต่ไม่ได้หมายความว่า Temasek อ่อนแอและ GIC สามารถเข้ามาควบคุม โดยประธานของ GIC คนปัจจุบันคือนาง Ho Ching ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ซึ่งเป็นภรรยาของนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนปัจจุบัน ซึ่งชาวสิงคโปร์หลายฝ่ายต่างเห็นความเสี่ยงของความขัดแย้งทางผลประโยชน์นี้ชัดเจน มีการถกเถียงกันและตั้งคําถามที่เกี่ยวข้องกับ Temasek ว่ายังมีความเกี่ยวข้องหรือมีวัตถุประสงค์ที่เกินความเป็นจริงหรือไม่ และต่างกล่าวว่า Temasek ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดกองทุนให้มีการบริหารจัดการโดยธนาคารเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศอย่างอิสระเพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่ประเด็นด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า หรือจะเป็นการปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์ ก็จะยังคงเป็นข้อถกเถียงที่ร้อนแรงสําหรับชาวสิงคโปร์ต่อไป
หากประสิทธิภาพของ Temasek เป็นภาพสะท้อนของความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญกับอํานาจและอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสิงคโปร์ ดังนั้น มุมมองสําหรับเศรษฐกิจสิงคโปร์ในอนาคตย่อมมีแนวโน้มทางลบ เมื่อประเมินร่วมกับอุปสรรคอื่น ๆ และปัญหาในประเทศ อาจถึงเวลาที่ผู้นําทางการเมืองของสิงคโปร์จะต้องไตร่ตรองอย่างจริงจังว่าพวกเขาทําอะไรผิดไป และเหตุใดสิงคโปร์จึงไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้เหมือนกับในช่วงของการก่อตั้งประเทศ หรือที่จริงสิงคโปร์อาจต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์ที่โดดเด่นยิ่งขึ้น เพื่อที่จะอยู่รอดในเศรษฐกิจยุคใหม่ที่จะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอีกมากมายในอนาคต