ฑิฏฐิ มี มิจฉา และ สัมมา

มิจฉาฑิฏฐิ
ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
- สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ) 
- เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ) 
- อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ  - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ) 
- อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ  - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ) 
- อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ) 

ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า
ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น
อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต
แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก
เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ
ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน
โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน
แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต
โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ
จนสุดกำลังญาณของตน
สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร 

(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔ 
๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ 
๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์ 
๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์ 
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง 

(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔ 
๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง 
๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง 
๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง 
๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง 

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔ 
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด 
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด 
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด 
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่ 

(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔ 
๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่ 
๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ 
๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ 
๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย 

(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒ 
๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ 
๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี 

อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก 
(๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖) 
(๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘) 
(๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘) 
(๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗) 
(๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism ) 
ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ) 

(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖ 
๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา 
๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา 
๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา 
๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา 
๓๒ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา 
๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา 
๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา 
ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น 

(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘ 
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้ 

(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘ 
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ 
ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร 

(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗ 
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์ 
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ 
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ 
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ 
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ 
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ 
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ 
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก 

(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕ 
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕๙,๖๐,๖๑,๖๒ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน. 

จบทิฏฐิ ๖๒

สัมมาทิฏฐิ 
สัมมาทิฏฐิ 10 ประการ ได้แก่
1. ทานที่ให้แล้วมีผลจริง
2. ยัญที่ทำแล้วมีผลจริง
3. การเซ่นสรวงหรือการบูชามีผลจริง
4. วิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีผลจริง
5. โลกนี้มีจริง
6. โลกหน้ามีจริง
7. มารดามีคุณจริง
8. บิดามีคุณจริง
9. สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นมีจริง
10. พระอรหันต์ผู้ สามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้ามีอยู่จริง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่