.
.
A sketch for Georges Méliès's 1902 film “A Trip to the Moon”
.
.
ก่อนที่ประธานาธิบดี
จอห์น เอฟ. เคนเนดี
John F. Kennedy สหรัฐอเมริกา
จะกล่าวสุนทรพจน์ที่สร้างแรงบันดาลใจว่า
"
เราจะไปดวงจันทร์ "
ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่รวมตัวกันที่
สนามกีฬาRice Stadium ใน Houston Texas
(เมืองแดลลัส รัฐนี้เช่นกัน
ที่ท่านถูกลอบยิงจนถึงแก่อสัญกรรม)
กองทัพอากาศสหรัฐก็ได้ตัดสินใจแล้วว่า
จะไปดวงจันทร์ด้วย
ด้วยวิธีการที่แตกต่างกว่า คือ
การยิง(ระเบิด)ดวงจันทร์ด้วยระเบิดนิวเคลียร์
ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจินตนาการ
ว่า มีคนอเมริกันกำลังเดินอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์
แต่ทว่าผู้นำเหล่าทัพกองทัพอากาศสหรัฐ
กลับจินตนาการว่า
มีเมฆรูปเห็ดขนาดใหญ่บนพื้นผิวดวงจันทร์
ที่ชาวบ้านทุกคนบนพื้นโลกจะเห็นได้อย่างชัดเจน
ซึ่งจะสร้างความหวาดกลัวขึ้นในหัวจิตหัวใจ
ของทุกคนทุกประเทศ
และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเทคโนโลยี
และงบประมาณทางการทหารของสหรัฐ
ในปี 1957
สหภาพโซเวียตรัสเซียได้ทำให้โลกประหลาดใจ
ด้วยการยิงดาวเทียม Sputnik ขึ้นวงโคจร
เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก
ในช่วงเวลาเดียวกันกับ
นักจรวดชาวสหรัฐยังคงพยายาม
ค้นหาความซับซ้อนระบบยิงจรวดขึ้นสู่ฟากฟ้า
แต่ความพยายามครั้งแรกล้มเหลว
จรวดระเบิดตัวเองในการทะยานขึ้นครั้งแรก
ความล้มเหลวครั้งนี้
ถูกนักข่าวในชาติเย้ยหยันอย่างกว้างขวาง
ด้วยการขนานนามนานัปการว่า
kaputnik, flopnik, puffnik และ stayputnik
ความสำเร็จของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ยิ่งตอกย้ำความล้มเหลวของสหรัฐอเมริกา
และก่อกระแสความหวาดกลัว
เรื่องการทำลายล้างประเทศ
ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ที่ทำงานในโครงการอวกาศเท่านั้น
แต่กลายเป็นเรื่องหวาดกลัวของคนทั้งประเทศด้วยเช่นกัน
เพราะ Sputnik ของโซเวียตรัสเซียได้แสดงให้เห็นว่า
ชาตินี้เริ่มมีเทคโนโลยีที่จะโจมตีสถานที่ใด ๆ ในโลก
ด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์และด้วยวิถีทางต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ชาวอเมริกันและคนทั่วโลกต่างสันนิษฐานว่า
โซเวียตรัสเซียจะสามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์
ใส่ทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาและทุกประเทศได้
และสหรัฐอเมริกาจะไม่สามารถตอบโต้กลับได้เลย
เกือบ 4 เดือนหลังจากการยิง Sputnik
โซเวียตรัสเซียก็ยิงดาวเทียมดวง Sputnik 2
พร้อมกับสัตว์มีชีวิตตัวแรกเข้าสู่อวกาศ คือ สุนัขชื่อ Laika
เธอตายเพราะความเครียด/Heat Stroke
เพราะความร้อนในยานสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
วันที่ 31 มกราคม 1958
สหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มยิงดาวเทียมดวงแรก
ที่ชื่อ Explorer 1 มีน้ำหนักเพียง 14 กิโลกรัม
ตรงกันข้าม Sputnik ที่มีน้ำหนัก 83.6 กิโลกรัม
และจรวดโซเวียตรัสเซียที่ขนดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนั้น
จรวดทุกลำทรงพลังมากที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมา
จรวดโซเวียตรัสเซียมีพลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการยิงแต่ละครั้ง
สามารถขน Sputnik 2 มีน้ำหนักเกินครึ่งตัน ขึ้นวงโคจรได้
เดือนพฤษภาคม 1958
สหภาพโซเวียตรัสเซียก็ยิงดาวเทียมดวงที่ 3 ขึ้นสู่อวกาศ
Sputnik 3 คือห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บนฟ้า
มีความสูง 12 ฟุตและน้ำหนัก 1.3 ตัน
Sputnik 3 มีการส่ง Mushka สุนัขอีกตัวที่อยู่บนพื้นโลก
ที่ผ่านการฝึกอบรมอยู่ในสถานะสุนัขควบคุม
เธอได้ตาม Laika สู่อวกาศในเวลาต่อมาในรูป
โรงละครสัตว์
ที่มีทั้งสุนัข หนูตะเภา หนู แมลงวัน ผลไม้ และพืชต่าง ๆ เพื่อศึกษาผลกระทบจากรังสีคอสมิค
ระหว่างที่ Mushka กำลังเดินทางกลับบ้าน จรวดแบบย้อนกลับเกิดทำงานผิดพลาด
ทำให้เธอหลุดออกจากวงโคจรก่อนที่จะตกลงสู่พื้นโลก
นักวิทยาศาสตร์โซเวียตรัสเซียไม่รู้ว่าเธอจะตกลงตรงจุดไหน
กับกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเก็บได้ จึงไม่มีหนทางอื่นอีกแล้ว
นอกจากระเบิดทิ้งกลางอากาศ แล้วให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า
ดาวเทียมที่มี Mushka เกิดการลุกไหม้ระหว่างลงสู่พื้นโลก
.
.
ดังนั้น เห็นได้ชัดแล้วว่าสหภาพโซเวียตรัสเซียนำหน้าการแข่งขันด้านอวกาศ
ส่วนสหรัฐยังตามหลังอยู่มาก จึงเริ่มไล่ล่าตามฝันเพื่อเพิ่มความมั่นใจ
ดังนั้นสหรัฐจึงหันไปหาสิ่งที่พวกตนรู้ดีและคิดว่าทำได้ดีที่สุด
คือ การสร้างอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดนิวเคลียร์
และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ทำไมไม่ส่งระเบิดปรมาณูไปที่ดวงจันทร์
และทำให้มันระเบิดที่นั่น เพื่อให้คนทั้งโลกได้เห็นปรากฎการณ์นี้
เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากเช่นนี้ จะทำให้สหรัฐอเมริกานำหน้าการแข่งขันอวกาศได้
และนั่นคือ การเกิดโครงการ A119
และแล้วทีมนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์สหรัฐต่างมารวมตัวกัน
เพื่อศึกษาทัศนวิสัยของการระเบิดที่มองเห็นได้จากโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง
พร้อมกับศึกษาผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่อาจจะตามมา เช่น
การระเบิดครั้งนี้อาจเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์และโลกหรือไม่
ดังนั้นจึงมีการตัดสินใจแล้วว่า
ระเบิดนิวเคลียร์จะต้องระเบิดขึ้นในช่วงพลบค่ำ
เพื่อให้เมฆฝุ่นที่เกิดจากการระเบิดจะได้มองเห็นกันทั่วโลก
เพราะกระทบแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
Carl Sagan นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก
ในตอนนั้นเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยร่วมกับ
Gerard Kuiper นักดาราศาสตร์ ต่างอยู่ในทีมเดียวกัน
Carl Sagan ถูกขอให้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การขยายตัวของเมฆฝุ่นระเบิดในอวกาศรอบดวงจันทร์
ในครั้งแรก กองทัพอากาศได้พิจารณาว่า
จะระเบิดดวงจันทร์ด้วยระเบิดไฮโดรเจน
แต่ก็ต้องยกเลิกแนวคิดนี้ไป เพราะน้ำหนักระเบิดหนักเกินไป
ในการเดินทางไปดวงจันทร์ที่มีระยะทางถึง 240,000 ไมล์
จึงต้องเลือกระเบิดที่มีขนาดเล็กแต่ให้แรงระเบิดถึง 1.7 กิโลตัน
เมื่อเปรียบเทียบกับการระเบิดของ
Little Boy ที่เมือง Hiroshima ในญี่ปุ่นในปี 1945
ที่มีขนาดระเบิดได้ถึง 13-18 กิโลตัน
.
.
.
.
ทีมงานที่ทำงานในโครงการ A119
ต่างทำงานกันอย่างต่อเนื่องจนถึงมกราคม 1959
แล้วจู่ ๆ โครงการนี้ก็ถูกสั่งให้ยุติทันที
โครงการ A119 จึงถูกเก็บเป็นความลับที่สุด
และผู้เข้าร่วมโครงการนี้ทุกคนต้องสาบานว่าจะเก็บเป็นความลับตลอดชีวิต
เพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนและโทษทางอาญาถ้ามีการเปิดเผยความลับ
แต่ปัจจุบันชั้นความลับที่สุดจะเปิดเผยได้ถ้าเกินกว่า 75 ปี ลดลงชั้นละ 25 ปี
จากลับที่สุดเป็นลับมาก 50 ปี จากลับมากเป็นลับ 25 ปี จากลับเป็นปกปิด
ซึ่งทุกคนยื่นคำร้องขอดูได้ แต่รัฐอาจจะให้ดูบางส่วนได้ แบบคดีสังหาร Kennedy
เพราะเกินกว่า 50 ปีคนที่เกี่ยวข้องมักชราภาพ/ตาย หรือคดีหมดอายุความไปแล้ว
ความลับของโครงการ A119 ยังเป็นความลับ
จนกระทั่งกลางทศวรรษที่ 1990
เมื่อนักเขียน
Keay Davidson ได้พบเรื่องราวนี้
ในขณะที่ทำการค้นคว้าเรื่องราวของ Carl Sagan เพื่อเขียนชีวประวัติ
Carl Sagan ก็ได้ให้รายละเอียดของโครงการ A119
ซึ่งในเวลาต่อมาก็ถูกทางการกล่าวหาว่าละเมิดความมั่นคงของชาติ
Carl Sagan ร่วมงานกับโครงการ A119
เพราะสมัครขอรับทุนการศึกษาปริญญาเอก
ที่ University of California ในปี 1959
.
.
ในปี 2000 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ A119
ก็มีการเพิ่มเติมข้อมูลมากขึ้นในภายหลัง
หลังจากที่ชีวประวัติ Carl Sagan ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่
เมื่อ
Dr. Leonard Reiffel นักฟิสิกส์หัวหน้าโครงการ A119
ยอมเปิดเผยเรื่องราวความลับนี้กับสื่อมวลชน
ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจทำลายชื่อเสียงของท่าน
เพราะผิดคำสาบานกับรัฐบาลว่าจะไม่เปิดเผยความลับเรื่องนี้
“ ถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นจริง จะมีผล(กับโลก)เล็กน้อยมาก
มันกินเวลาทำงานของพวกเราน้อยกว่าหนึ่งปี
และพวกเราไม่เคยไปถึงจุดหมาย แผนการปฏิบัติการระเบิดดวงจันทร์ครั้งนี้เลย
เราแสดงให้เห็นว่าน่าจะมีผลกระทบบางอย่างที่น่าจะเป็น
แต่ยังมีข้อโต้แย้งที่แท้จริงในเรื่องที่พวกเราทำ และคนอื่น ๆ ที่อยู่เบื้องหลัง
คือ ไม่มีทางเลือก ที่จะไม่ทำลายสภาพแวดล้อมอันบริสุทธิ์ของดวงจันทร์ได้
แต่น่าจะมีวิธีการอื่น ๆ ในการสร้างความประทับใจแก่สาธารณชนว่า
เราไม่ได้ถูกรัสเซียครอบงำ (เพราะล้าหลังเรื่องอวกาศเลยต้องโชว์ออฟเรื่องนี้) ”
ขอบคุณ ที่ความคิดเปลี่ยน ผมก็รู้สึกกังวลเหมือนกัน
เพราะเรื่องนี้มีอิทธิผลอย่างมากต่อมติมหาชน
ถ้าลองพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว “
Dr. Leonard Reiffel ให้สัมภาษณ์กับ NY Times
Dr. David Lowry นักประวัติศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอังกฤษ ได้ระบุว่า
" ข้อเสนอของโครงการ A119 น่ารังเกียจอย่างแรง
หากคิดว่ามนุษย์คนแรกที่สัมผัสกับโลกอื่น
ต้องเจอกับพื้นที่เคยระเบิดด้วยระเบิดนิวเคลียร์
ถ้าหากพวกเขาย่างก้าวไปข้างหน้า
พวกเราจะไม่มีภาพโรแมนติกของ
Neil Armstrong ที่พูดว่า ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
โครงการ A119 มีความเกี่ยวข้องในทุกวันนี้
เพราะสหรัฐเสนอระบบป้องกันขีปนาวุธในอวกาศ
สหรัฐต้องการที่จะทำสงครามกับทุกพื้นที่(ศัตรู)
และความคิดเพ้อฝันบางอย่างก็ถูกหยิบยกขึ้นมาในปัจจุบัน
แม้ว่าจะดูเหลือเชื่ออย่างมากว่า
สหรัฐเคยต้องการระเบิดดวงจันทร์ในยุคห้าศูนย์ "
.
.
.
.
.
.
.
โครงการ A119: แผนลับสหรัฐที่จะยิงดวงจันทร์ด้วยระเบิดนิวเคลียร์
.
A sketch for Georges Méliès's 1902 film “A Trip to the Moon”
.
ก่อนที่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี
John F. Kennedy สหรัฐอเมริกา
จะกล่าวสุนทรพจน์ที่สร้างแรงบันดาลใจว่า
"เราจะไปดวงจันทร์ "
ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่รวมตัวกันที่
สนามกีฬาRice Stadium ใน Houston Texas
(เมืองแดลลัส รัฐนี้เช่นกัน
ที่ท่านถูกลอบยิงจนถึงแก่อสัญกรรม)
กองทัพอากาศสหรัฐก็ได้ตัดสินใจแล้วว่า
จะไปดวงจันทร์ด้วย
ด้วยวิธีการที่แตกต่างกว่า คือ
การยิง(ระเบิด)ดวงจันทร์ด้วยระเบิดนิวเคลียร์
ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจินตนาการ
ว่า มีคนอเมริกันกำลังเดินอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์
แต่ทว่าผู้นำเหล่าทัพกองทัพอากาศสหรัฐ
กลับจินตนาการว่า
มีเมฆรูปเห็ดขนาดใหญ่บนพื้นผิวดวงจันทร์
ที่ชาวบ้านทุกคนบนพื้นโลกจะเห็นได้อย่างชัดเจน
ซึ่งจะสร้างความหวาดกลัวขึ้นในหัวจิตหัวใจ
ของทุกคนทุกประเทศ
และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเทคโนโลยี
และงบประมาณทางการทหารของสหรัฐ
ในปี 1957
สหภาพโซเวียตรัสเซียได้ทำให้โลกประหลาดใจ
ด้วยการยิงดาวเทียม Sputnik ขึ้นวงโคจร
เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก
ในช่วงเวลาเดียวกันกับ
นักจรวดชาวสหรัฐยังคงพยายาม
ค้นหาความซับซ้อนระบบยิงจรวดขึ้นสู่ฟากฟ้า
แต่ความพยายามครั้งแรกล้มเหลว
จรวดระเบิดตัวเองในการทะยานขึ้นครั้งแรก
ความล้มเหลวครั้งนี้
ถูกนักข่าวในชาติเย้ยหยันอย่างกว้างขวาง
ด้วยการขนานนามนานัปการว่า
kaputnik, flopnik, puffnik และ stayputnik
ความสำเร็จของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ยิ่งตอกย้ำความล้มเหลวของสหรัฐอเมริกา
และก่อกระแสความหวาดกลัว
เรื่องการทำลายล้างประเทศ
ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ที่ทำงานในโครงการอวกาศเท่านั้น
แต่กลายเป็นเรื่องหวาดกลัวของคนทั้งประเทศด้วยเช่นกัน
เพราะ Sputnik ของโซเวียตรัสเซียได้แสดงให้เห็นว่า
ชาตินี้เริ่มมีเทคโนโลยีที่จะโจมตีสถานที่ใด ๆ ในโลก
ด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์และด้วยวิถีทางต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ชาวอเมริกันและคนทั่วโลกต่างสันนิษฐานว่า
โซเวียตรัสเซียจะสามารถยิงอาวุธนิวเคลียร์
ใส่ทุกรัฐในสหรัฐอเมริกาและทุกประเทศได้
และสหรัฐอเมริกาจะไม่สามารถตอบโต้กลับได้เลย
เกือบ 4 เดือนหลังจากการยิง Sputnik
โซเวียตรัสเซียก็ยิงดาวเทียมดวง Sputnik 2
พร้อมกับสัตว์มีชีวิตตัวแรกเข้าสู่อวกาศ คือ สุนัขชื่อ Laika
เธอตายเพราะความเครียด/Heat Stroke
เพราะความร้อนในยานสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
วันที่ 31 มกราคม 1958
สหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มยิงดาวเทียมดวงแรก
ที่ชื่อ Explorer 1 มีน้ำหนักเพียง 14 กิโลกรัม
ตรงกันข้าม Sputnik ที่มีน้ำหนัก 83.6 กิโลกรัม
และจรวดโซเวียตรัสเซียที่ขนดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรนั้น
จรวดทุกลำทรงพลังมากที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมา
จรวดโซเวียตรัสเซียมีพลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการยิงแต่ละครั้ง
สามารถขน Sputnik 2 มีน้ำหนักเกินครึ่งตัน ขึ้นวงโคจรได้
เดือนพฤษภาคม 1958
สหภาพโซเวียตรัสเซียก็ยิงดาวเทียมดวงที่ 3 ขึ้นสู่อวกาศ
Sputnik 3 คือห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บนฟ้า
มีความสูง 12 ฟุตและน้ำหนัก 1.3 ตัน
Sputnik 3 มีการส่ง Mushka สุนัขอีกตัวที่อยู่บนพื้นโลก
ที่ผ่านการฝึกอบรมอยู่ในสถานะสุนัขควบคุม
เธอได้ตาม Laika สู่อวกาศในเวลาต่อมาในรูปโรงละครสัตว์
ที่มีทั้งสุนัข หนูตะเภา หนู แมลงวัน ผลไม้ และพืชต่าง ๆ เพื่อศึกษาผลกระทบจากรังสีคอสมิค
ระหว่างที่ Mushka กำลังเดินทางกลับบ้าน จรวดแบบย้อนกลับเกิดทำงานผิดพลาด
ทำให้เธอหลุดออกจากวงโคจรก่อนที่จะตกลงสู่พื้นโลก
นักวิทยาศาสตร์โซเวียตรัสเซียไม่รู้ว่าเธอจะตกลงตรงจุดไหน
กับกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเก็บได้ จึงไม่มีหนทางอื่นอีกแล้ว
นอกจากระเบิดทิ้งกลางอากาศ แล้วให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า
ดาวเทียมที่มี Mushka เกิดการลุกไหม้ระหว่างลงสู่พื้นโลก
.
.
ดังนั้น เห็นได้ชัดแล้วว่าสหภาพโซเวียตรัสเซียนำหน้าการแข่งขันด้านอวกาศ
ส่วนสหรัฐยังตามหลังอยู่มาก จึงเริ่มไล่ล่าตามฝันเพื่อเพิ่มความมั่นใจ
ดังนั้นสหรัฐจึงหันไปหาสิ่งที่พวกตนรู้ดีและคิดว่าทำได้ดีที่สุด
คือ การสร้างอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดนิวเคลียร์
และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ทำไมไม่ส่งระเบิดปรมาณูไปที่ดวงจันทร์
และทำให้มันระเบิดที่นั่น เพื่อให้คนทั้งโลกได้เห็นปรากฎการณ์นี้
เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากเช่นนี้ จะทำให้สหรัฐอเมริกานำหน้าการแข่งขันอวกาศได้
และนั่นคือ การเกิดโครงการ A119
และแล้วทีมนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์สหรัฐต่างมารวมตัวกัน
เพื่อศึกษาทัศนวิสัยของการระเบิดที่มองเห็นได้จากโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่ง
พร้อมกับศึกษาผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่อาจจะตามมา เช่น
การระเบิดครั้งนี้อาจเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์และโลกหรือไม่
ดังนั้นจึงมีการตัดสินใจแล้วว่า
ระเบิดนิวเคลียร์จะต้องระเบิดขึ้นในช่วงพลบค่ำ
เพื่อให้เมฆฝุ่นที่เกิดจากการระเบิดจะได้มองเห็นกันทั่วโลก
เพราะกระทบแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
Carl Sagan นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก
ในตอนนั้นเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยร่วมกับ
Gerard Kuiper นักดาราศาสตร์ ต่างอยู่ในทีมเดียวกัน
Carl Sagan ถูกขอให้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การขยายตัวของเมฆฝุ่นระเบิดในอวกาศรอบดวงจันทร์
ในครั้งแรก กองทัพอากาศได้พิจารณาว่า
จะระเบิดดวงจันทร์ด้วยระเบิดไฮโดรเจน
แต่ก็ต้องยกเลิกแนวคิดนี้ไป เพราะน้ำหนักระเบิดหนักเกินไป
ในการเดินทางไปดวงจันทร์ที่มีระยะทางถึง 240,000 ไมล์
จึงต้องเลือกระเบิดที่มีขนาดเล็กแต่ให้แรงระเบิดถึง 1.7 กิโลตัน
เมื่อเปรียบเทียบกับการระเบิดของ Little Boy ที่เมือง Hiroshima ในญี่ปุ่นในปี 1945
ที่มีขนาดระเบิดได้ถึง 13-18 กิโลตัน
.
.
ทีมงานที่ทำงานในโครงการ A119
ต่างทำงานกันอย่างต่อเนื่องจนถึงมกราคม 1959
แล้วจู่ ๆ โครงการนี้ก็ถูกสั่งให้ยุติทันที
โครงการ A119 จึงถูกเก็บเป็นความลับที่สุด
และผู้เข้าร่วมโครงการนี้ทุกคนต้องสาบานว่าจะเก็บเป็นความลับตลอดชีวิต
เพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนและโทษทางอาญาถ้ามีการเปิดเผยความลับ
แต่ปัจจุบันชั้นความลับที่สุดจะเปิดเผยได้ถ้าเกินกว่า 75 ปี ลดลงชั้นละ 25 ปี
จากลับที่สุดเป็นลับมาก 50 ปี จากลับมากเป็นลับ 25 ปี จากลับเป็นปกปิด
ซึ่งทุกคนยื่นคำร้องขอดูได้ แต่รัฐอาจจะให้ดูบางส่วนได้ แบบคดีสังหาร Kennedy
เพราะเกินกว่า 50 ปีคนที่เกี่ยวข้องมักชราภาพ/ตาย หรือคดีหมดอายุความไปแล้ว
ความลับของโครงการ A119 ยังเป็นความลับ
จนกระทั่งกลางทศวรรษที่ 1990
เมื่อนักเขียน Keay Davidson ได้พบเรื่องราวนี้
ในขณะที่ทำการค้นคว้าเรื่องราวของ Carl Sagan เพื่อเขียนชีวประวัติ
Carl Sagan ก็ได้ให้รายละเอียดของโครงการ A119
ซึ่งในเวลาต่อมาก็ถูกทางการกล่าวหาว่าละเมิดความมั่นคงของชาติ
Carl Sagan ร่วมงานกับโครงการ A119
เพราะสมัครขอรับทุนการศึกษาปริญญาเอก
ที่ University of California ในปี 1959
.
.
ในปี 2000 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ A119
ก็มีการเพิ่มเติมข้อมูลมากขึ้นในภายหลัง
หลังจากที่ชีวประวัติ Carl Sagan ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่
เมื่อ Dr. Leonard Reiffel นักฟิสิกส์หัวหน้าโครงการ A119
ยอมเปิดเผยเรื่องราวความลับนี้กับสื่อมวลชน
ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจทำลายชื่อเสียงของท่าน
เพราะผิดคำสาบานกับรัฐบาลว่าจะไม่เปิดเผยความลับเรื่องนี้
“ ถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นจริง จะมีผล(กับโลก)เล็กน้อยมาก
มันกินเวลาทำงานของพวกเราน้อยกว่าหนึ่งปี
และพวกเราไม่เคยไปถึงจุดหมาย แผนการปฏิบัติการระเบิดดวงจันทร์ครั้งนี้เลย
เราแสดงให้เห็นว่าน่าจะมีผลกระทบบางอย่างที่น่าจะเป็น
แต่ยังมีข้อโต้แย้งที่แท้จริงในเรื่องที่พวกเราทำ และคนอื่น ๆ ที่อยู่เบื้องหลัง
คือ ไม่มีทางเลือก ที่จะไม่ทำลายสภาพแวดล้อมอันบริสุทธิ์ของดวงจันทร์ได้
แต่น่าจะมีวิธีการอื่น ๆ ในการสร้างความประทับใจแก่สาธารณชนว่า
เราไม่ได้ถูกรัสเซียครอบงำ (เพราะล้าหลังเรื่องอวกาศเลยต้องโชว์ออฟเรื่องนี้) ”
ขอบคุณ ที่ความคิดเปลี่ยน ผมก็รู้สึกกังวลเหมือนกัน
เพราะเรื่องนี้มีอิทธิผลอย่างมากต่อมติมหาชน
ถ้าลองพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว “
Dr. Leonard Reiffel ให้สัมภาษณ์กับ NY Times
Dr. David Lowry นักประวัติศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอังกฤษ ได้ระบุว่า
" ข้อเสนอของโครงการ A119 น่ารังเกียจอย่างแรง
หากคิดว่ามนุษย์คนแรกที่สัมผัสกับโลกอื่น
ต้องเจอกับพื้นที่เคยระเบิดด้วยระเบิดนิวเคลียร์
ถ้าหากพวกเขาย่างก้าวไปข้างหน้า
พวกเราจะไม่มีภาพโรแมนติกของ
Neil Armstrong ที่พูดว่า ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
โครงการ A119 มีความเกี่ยวข้องในทุกวันนี้
เพราะสหรัฐเสนอระบบป้องกันขีปนาวุธในอวกาศ
สหรัฐต้องการที่จะทำสงครามกับทุกพื้นที่(ศัตรู)
และความคิดเพ้อฝันบางอย่างก็ถูกหยิบยกขึ้นมาในปัจจุบัน
แม้ว่าจะดูเหลือเชื่ออย่างมากว่า
สหรัฐเคยต้องการระเบิดดวงจันทร์ในยุคห้าศูนย์ "
.
.
.
.
.