Kepler 452b Habitable Zone
การสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นนับแสนดวง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น การพบดาวเคราะห์คล้ายโลกทำให้เป็นเหตุผลที่น่าติดตามว่า จะมีระบบชีวิตใดๆอีกหรือไม่ใน ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ปัญหาที่เป็นสิ่งท้าทายคือ ถ้าพบแล้วมนุษย์จะแสดงตนอย่างไร และฝ่ายตรงข้ามจะมีปฎิกิริยากับมนุษย์แบบใด คงไม่ง่ายที่จะสื่อสาร ให้เข้าใจต่อกัน
แม้ว่ามนุษย์ได้คิดภาษาคณิตศาสตร์ไว้โต้ตอบแล้วก็ตาม เพราะเราไม่อาจเลือกการพบได้ระหว่าง สิ่งทรงปัญญา (Extraterrestrial intelligence) ที่ไม่ด้อยไปกว่า มนุษย์หรือ สัตว์ที่ประหลาดที่โหดร้าย การกล่าวถึงสิ่งนี้มิใช่เพ้อเจ้อ อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งในบรรพกาล โลกของเราเองเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ร่างยักษ์ ที่มีสายพันธ์ดุร้ายปราศจากมนุษย์มาก่อน
หนึ่งในดาวเคราะห์สำรวจพบใหม่ ใน ค.ศ 2015 คือ Kepler 452b มีความคล้ายคลึงบางอย่างกับโลกคือ เป็นดาวเคราะห์หิน (Terrestrial Planets) มีพื้นผิวชัดเจน แบ่งแยกน้ำ และผืนแผ่นดินโคจรห่างจากโลกเรา 1,400 ปีแสง (Light Year) ในกลุ่มดาวหงส์ มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.6 เท่า และ 1 ปีมี 385 วัน และมีดวงอาทิตย์ (Sun) ประเภทเดียวกับ ระบบสุริยะ (Solar System) คือ ประเภท G2 อายุ 6 พันล้านปี เพียงแต่ดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กกว่า ประมาณ 10 % แต่ในเรื่องนี้มิใช่ปัญหาใหญ่ kepler 452b มีความน่าสนใจ คือ ระยะทางที่ห่างจากดวงอาทิตย์นั้น ประมาณ 1.05 AU. ซึ่งใกล้เคียงโลกจึงเข่าข่ายกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า เขตดำรงชีพ (Habitable Zone)
เป็นสิ่งที่นักสำรวจจักรวาลอยากพบอยากค้นหา เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ต่อสมมุติฐานที่ออกแบบไว้ในการที่อาจจะพบ เพื่อนใหม่ใจดีหรือใจร้ายในทางช้างเผือกก็ได้ อย่างก็ตามลักษณะข้อมูล ที่พบเบื้องต้นนั้น แน่ใจได้ว่าเป็นดาวเคราะห์หิน และมีปฎิกิริยาภาวะเรือนกระจก มานานกว่า 500 ล้านปี แต่การสำรวจมิได้สิ้นสุดลงเพียง 2-3 คำตอบนี้ คงต้องค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมประจักษ์โดยแท้จริงอีกนับพันข้อมูล
เพื่อเปรียบเทียบในหลายสถานการณ์ของระบบชีวิตบนโลก (Earth) พบว่ามีสัตว์บางชนิดสามารถ อาศัยในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายอย่างนึกไม่ถึง เช่น อาศัยในน้ำเดือด บริเวณปล่องภูเขาไฟใต้มหาสมุทร อาศัยในบริเวณหลุมทิ้งกากขยะ กัมมันตรังสี และอาศัยอยู่ใน น้ำกรด บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ และสิ่งที่จะยิ่งอัศจรรย์ของระบบต่างดาว คือ อาจไม่มีปอดสำหรับหายใจเช่นระบบบนโลกเรา
เพียงเป็นตัวอย่างสมมุติฐานการจุดชนวนแห่งความรู้ใหม่ ในกฎเกณฑ์เขตดำรงชีพ แม้ว่ามีสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย มนุษย์ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ อาจมีความพิศวงเป็น อาณาจักรของระบบใดระบบหนึ่ง อย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างบนโลกเช่น แมลงสาบยักษ์เพราะมีหลักฐาน 250 ล้านปี ช่วงมหายุคมีโซโซอิกพบว่าแมลงสาบที่กำเนิดขึ้นก่อน มนุษย์สามารถ ปรับตัว ได้กับทุกสภาพแวดล้อมและอยู่รอดได้มาทุกวันนี้
แม้ว่าบนโลกต่างดาววันนี้ เรามีเพียงตัวอย่างเดียวคือซากจุลชีพขนาดเล็ก จากก้อนอุกกาบาตจากอังคารที่ใช้เวลาเดินทางในอวกาศหลายแสนปี และลอยมาตกบนพื้นโลก เป็นหลักฐานน้อยนิดก็ตาม ความคิดของนักชีววิทยาอวกาศได้พุ่งเป้าไปยังดวงจันทร์ยูโรปา (ของดาวพฤหัสฯ) ซึ่งเขื่อว่ามีระบบชีวิตในระบบสุริยะ และแม้แต่ดวงจันทร์ไททัน (ของดาวเสาร์) ก็อยู่ในเป้าหมายค้นหาระบบชีวิตเช่นกัน ในเรื่องกุญแจระบบชีวิต หลักฐานใหม่ที่เราพบบนดาวอังคาร (Mars) คือ จุลินทรีย์ที่มีองค์ประกอบสำคัญในการ รังสรรค์ระบบชีวิตเมื่อ 3 พันล้านปีก่อน
เรารู้ว่ามีองค์ประกอบ 3 ส่วนผสมสำคัญที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิต (Essential Elements) ได้แก่ แหล่งเคมีคือ คาร์บอน ไนโตรเจน กำมะถัน แหล่งพลังงาน (Energy Source) และแหล่งน้ำ (Liquid Water) ความครบถ้วนนี้มีอยู่บนดวงจันทร์ยูโรปา และนอกจากนั้นยังพบว่าอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน
ต้นตอสารเคมี ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปา เพราะได้รับสารเคมีกำมะถันจากภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอ ขณะหมุนโคจรตามกันไป กำมะถันถูกพัดถล่มปลิวออกมาอย่าง หนักปกคลุมรอคอยพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงเป็น แหล่งที่มาของพลังงานเคมีสำหรับชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปา
ลำดับต่อมาต้นตอพลังงานอนุภาคที่มีประจุในสนามแม่เหล็ก ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เข้าถล่มปะทะพื้นผิวของ ดวงจันทร์ยูโรปาแปลงธาตุกำมะถันของดวงจันทร์ไอโอและองค์ประกอบ อื่นๆ กลายเป็นสารประกอบที่อุดมด้วยพลังงาน
ลำดับสุดท้ายคือ แหล่งน้ำ ดวงจันทร์ยูโรปามีความเกร็งอยู่ตลอดเวลา โดยการผลักดัน น้ำขึ้น-น้ำลง จากการดึงดูดของดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์อื่นๆที่เป็นบริวาร ของดาว พฤหัสบดี เป็นการสร้างความร้อน ช่วยให้น้ำที่อยู่ภายใต้น้ำแข็งลึกลงไป หลายร้อยกิโลเมตรเกิดเป็นของเหลว การครบองค์ประกอบจึงเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ยูโรปา เอื้อต่อการ สร้างระบบชีวิตขึ้นในมหาสุมทรน้ำแข็ง จะสวยงามหรือโหดร้ายยังไม่มีคำตอบ แต่ควรมีแนวโน้มเรื่องความแปลกประหลาดไม่คุ้นตามนุษย์
อาณาจักรสัตว์ต่างดาวบนดาวอื่นนอกระบบสุริยะของเรา อาจต้องทำให้เกิดความแปลกใจได้เสมอ เพราะสภาพแรงโน้มถ่วง ระดับแสงสว่างความร้อนในบรรยากาศที่แตก ต่างออกไปมาก ความจำเป็นในการใช้ออกซิเจนอาจไม่เป็นที่ต้องการก็เป็นได้ สามารถดำรงชีพในที่เย็นจัดหรือร้อนจัด และสามารถอยู่ท่ามกลางรังสีอันตรายที่มนุษย์รู้จัก ได้อย่างสุขสบาย ดังนั้นโครงสร้างต่างๆจึงต้องพัฒนาการ เพื่อปกป้องตนเองจึงทำให้ดูแปลกประหลาดไป
Cr.sunflowercosmos.
สมมุติฐานอาณาจักรสัตว์ต่างดาว
Kepler 452b Habitable Zone
การสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นนับแสนดวง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น การพบดาวเคราะห์คล้ายโลกทำให้เป็นเหตุผลที่น่าติดตามว่า จะมีระบบชีวิตใดๆอีกหรือไม่ใน ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ปัญหาที่เป็นสิ่งท้าทายคือ ถ้าพบแล้วมนุษย์จะแสดงตนอย่างไร และฝ่ายตรงข้ามจะมีปฎิกิริยากับมนุษย์แบบใด คงไม่ง่ายที่จะสื่อสาร ให้เข้าใจต่อกัน
แม้ว่ามนุษย์ได้คิดภาษาคณิตศาสตร์ไว้โต้ตอบแล้วก็ตาม เพราะเราไม่อาจเลือกการพบได้ระหว่าง สิ่งทรงปัญญา (Extraterrestrial intelligence) ที่ไม่ด้อยไปกว่า มนุษย์หรือ สัตว์ที่ประหลาดที่โหดร้าย การกล่าวถึงสิ่งนี้มิใช่เพ้อเจ้อ อย่าลืมว่าครั้งหนึ่งในบรรพกาล โลกของเราเองเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ร่างยักษ์ ที่มีสายพันธ์ดุร้ายปราศจากมนุษย์มาก่อน
หนึ่งในดาวเคราะห์สำรวจพบใหม่ ใน ค.ศ 2015 คือ Kepler 452b มีความคล้ายคลึงบางอย่างกับโลกคือ เป็นดาวเคราะห์หิน (Terrestrial Planets) มีพื้นผิวชัดเจน แบ่งแยกน้ำ และผืนแผ่นดินโคจรห่างจากโลกเรา 1,400 ปีแสง (Light Year) ในกลุ่มดาวหงส์ มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.6 เท่า และ 1 ปีมี 385 วัน และมีดวงอาทิตย์ (Sun) ประเภทเดียวกับ ระบบสุริยะ (Solar System) คือ ประเภท G2 อายุ 6 พันล้านปี เพียงแต่ดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กกว่า ประมาณ 10 % แต่ในเรื่องนี้มิใช่ปัญหาใหญ่ kepler 452b มีความน่าสนใจ คือ ระยะทางที่ห่างจากดวงอาทิตย์นั้น ประมาณ 1.05 AU. ซึ่งใกล้เคียงโลกจึงเข่าข่ายกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า เขตดำรงชีพ (Habitable Zone)
เป็นสิ่งที่นักสำรวจจักรวาลอยากพบอยากค้นหา เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ต่อสมมุติฐานที่ออกแบบไว้ในการที่อาจจะพบ เพื่อนใหม่ใจดีหรือใจร้ายในทางช้างเผือกก็ได้ อย่างก็ตามลักษณะข้อมูล ที่พบเบื้องต้นนั้น แน่ใจได้ว่าเป็นดาวเคราะห์หิน และมีปฎิกิริยาภาวะเรือนกระจก มานานกว่า 500 ล้านปี แต่การสำรวจมิได้สิ้นสุดลงเพียง 2-3 คำตอบนี้ คงต้องค้นหาหลักฐานเพิ่มเติมประจักษ์โดยแท้จริงอีกนับพันข้อมูล
เพื่อเปรียบเทียบในหลายสถานการณ์ของระบบชีวิตบนโลก (Earth) พบว่ามีสัตว์บางชนิดสามารถ อาศัยในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายอย่างนึกไม่ถึง เช่น อาศัยในน้ำเดือด บริเวณปล่องภูเขาไฟใต้มหาสมุทร อาศัยในบริเวณหลุมทิ้งกากขยะ กัมมันตรังสี และอาศัยอยู่ใน น้ำกรด บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ และสิ่งที่จะยิ่งอัศจรรย์ของระบบต่างดาว คือ อาจไม่มีปอดสำหรับหายใจเช่นระบบบนโลกเรา
เพียงเป็นตัวอย่างสมมุติฐานการจุดชนวนแห่งความรู้ใหม่ ในกฎเกณฑ์เขตดำรงชีพ แม้ว่ามีสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย มนุษย์ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ อาจมีความพิศวงเป็น อาณาจักรของระบบใดระบบหนึ่ง อย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างบนโลกเช่น แมลงสาบยักษ์เพราะมีหลักฐาน 250 ล้านปี ช่วงมหายุคมีโซโซอิกพบว่าแมลงสาบที่กำเนิดขึ้นก่อน มนุษย์สามารถ ปรับตัว ได้กับทุกสภาพแวดล้อมและอยู่รอดได้มาทุกวันนี้
แม้ว่าบนโลกต่างดาววันนี้ เรามีเพียงตัวอย่างเดียวคือซากจุลชีพขนาดเล็ก จากก้อนอุกกาบาตจากอังคารที่ใช้เวลาเดินทางในอวกาศหลายแสนปี และลอยมาตกบนพื้นโลก เป็นหลักฐานน้อยนิดก็ตาม ความคิดของนักชีววิทยาอวกาศได้พุ่งเป้าไปยังดวงจันทร์ยูโรปา (ของดาวพฤหัสฯ) ซึ่งเขื่อว่ามีระบบชีวิตในระบบสุริยะ และแม้แต่ดวงจันทร์ไททัน (ของดาวเสาร์) ก็อยู่ในเป้าหมายค้นหาระบบชีวิตเช่นกัน ในเรื่องกุญแจระบบชีวิต หลักฐานใหม่ที่เราพบบนดาวอังคาร (Mars) คือ จุลินทรีย์ที่มีองค์ประกอบสำคัญในการ รังสรรค์ระบบชีวิตเมื่อ 3 พันล้านปีก่อน
เรารู้ว่ามีองค์ประกอบ 3 ส่วนผสมสำคัญที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิต (Essential Elements) ได้แก่ แหล่งเคมีคือ คาร์บอน ไนโตรเจน กำมะถัน แหล่งพลังงาน (Energy Source) และแหล่งน้ำ (Liquid Water) ความครบถ้วนนี้มีอยู่บนดวงจันทร์ยูโรปา และนอกจากนั้นยังพบว่าอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน
ต้นตอสารเคมี ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปา เพราะได้รับสารเคมีกำมะถันจากภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอ ขณะหมุนโคจรตามกันไป กำมะถันถูกพัดถล่มปลิวออกมาอย่าง หนักปกคลุมรอคอยพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงเป็น แหล่งที่มาของพลังงานเคมีสำหรับชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปา
ลำดับต่อมาต้นตอพลังงานอนุภาคที่มีประจุในสนามแม่เหล็ก ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เข้าถล่มปะทะพื้นผิวของ ดวงจันทร์ยูโรปาแปลงธาตุกำมะถันของดวงจันทร์ไอโอและองค์ประกอบ อื่นๆ กลายเป็นสารประกอบที่อุดมด้วยพลังงาน
ลำดับสุดท้ายคือ แหล่งน้ำ ดวงจันทร์ยูโรปามีความเกร็งอยู่ตลอดเวลา โดยการผลักดัน น้ำขึ้น-น้ำลง จากการดึงดูดของดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์อื่นๆที่เป็นบริวาร ของดาว พฤหัสบดี เป็นการสร้างความร้อน ช่วยให้น้ำที่อยู่ภายใต้น้ำแข็งลึกลงไป หลายร้อยกิโลเมตรเกิดเป็นของเหลว การครบองค์ประกอบจึงเกิดขึ้นบนดวงจันทร์ยูโรปา เอื้อต่อการ สร้างระบบชีวิตขึ้นในมหาสุมทรน้ำแข็ง จะสวยงามหรือโหดร้ายยังไม่มีคำตอบ แต่ควรมีแนวโน้มเรื่องความแปลกประหลาดไม่คุ้นตามนุษย์
อาณาจักรสัตว์ต่างดาวบนดาวอื่นนอกระบบสุริยะของเรา อาจต้องทำให้เกิดความแปลกใจได้เสมอ เพราะสภาพแรงโน้มถ่วง ระดับแสงสว่างความร้อนในบรรยากาศที่แตก ต่างออกไปมาก ความจำเป็นในการใช้ออกซิเจนอาจไม่เป็นที่ต้องการก็เป็นได้ สามารถดำรงชีพในที่เย็นจัดหรือร้อนจัด และสามารถอยู่ท่ามกลางรังสีอันตรายที่มนุษย์รู้จัก ได้อย่างสุขสบาย ดังนั้นโครงสร้างต่างๆจึงต้องพัฒนาการ เพื่อปกป้องตนเองจึงทำให้ดูแปลกประหลาดไป
Cr.sunflowercosmos.