มันมีจริงไหมที่บางบริษัทมีสวัสดิการสำหรับพนักงานที่สรรหาผ่าน recruitment แตกต่างกับพนักงานที่บริษัทหาเอง?

จริงไหมครับที่บางบริษัทมีสวัสดิการสำหรับพนักงานที่ถูกทาบทามและสรรหาผ่านบริษัท recruitment แตกต่างกันกับพนักงานที่บริษัทสรรหามางานเองเช่นโบนัสประจำปีที่ได้ไม่เท่ากัน โดยคนที่ผ่าน recruitment จะได้รับเรทที่น้อยกว่า

        ถ้าจริงอยากทราบเหตุผลมาสนับสนุนว่าทำไมบริษัทถึงทำแบบนั้น มีการนำเอาเกณฑ์หรือดัชนีอะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ และเราสามารถทำอะไรได้บ้างหรือต้องยอมรับมันครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑/๑ ใน พรบ.๔๑
พรบ.คุ้มครองแรงงาน 41
ม.11/1  ในกรณีที่ผู้ประกอบการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด  เป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน  โดยการทำงานนั้น เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิต   หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และ  โดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรือรับผิดชอบ  ในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้น หรือไม่ก็ตาม  ให้ถือว่า ผู้ประกอบกิจการ เป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว
    ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง  ที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง  ได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

*คำพิพากษา(ศาลแรงงานกลางมีนบุรี) คดีแดงที่ ๒๐๙,๒๒๗-๒๒๙,๒๗๓-๓๕๐/๒๕๕๓
       พิพากษาให้จำเลยที่ ๑ (นายจ้าง)ร่วมกับจำเลยที่ ๒,๓,๔ (Subcontractor) จ่ายเงินค่าอาหาร(๘,๔๐๐ บาท) ค่าครองชีพ(๒๘,๘๐๐ บาท) ค่ารถ(๗,๒๐๐ บาท) เงินโบนัสปีละ ๖ เดือน(๗๕,๖๐๐ บาท)(รวมทั้งหมด ๑๒๐,๐๐๐ บาท) พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของเงินต้นทุกจำนวน
ให้แก่โจทก์ทุกคน(๘๒ คน)

**คำพิพากษาฎีกา ที่ ๒๒๓๒๖-๒๒๔๐๔/๒๕๕๕  วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
        ชี้ชัดแล้วว่า ผู้ประกอบกิจการ หรือนายจ้างโดยตรงมีหน้าที่ความผิดชอบที่จะต้องจ่ายสิทธิประโยชน์และสวัสดิการให้แก่ ลูกจ้างรับเหมาแรงงานเท่ากับพนักงานของนายจ้างโดยตรง ศาลฎีกาได้มีคำสั่ง ให้บริษัท จ่ายค่าอาหารเดือนละ ๓๕๐ บาท ค่าครองชีพเดือนละ ๑,๒๐๐ บาท ค่ารถเดือนละ ๓๐๐ บาท เงินโบนัสปีละ ๖ เดือน เงินทุกรายการให้จ่ายย้อนหลัง ๒ ปี 
          กรณีที่อาจให้ไม่เท่ากัน เกิดขึ้นกับกิจการที่มีการยื่นข้อเรียกร้องฯ และมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างสามารถทำข้อตกลงที่แตกต่างกับพนักงานใหม่ได้ เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง...
*ฎีกาที่ ๓๐๙/๒๕๕๐
       นายจ้างสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้
(เดิมจ่ายค่าจ้างเดือนละครั้ง ทำสัญญากับลูกจ้างใหม่ จ่ายสัปดาห์ละครั้งได้)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่