หลังจากจบการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 25 - 27 ก.ค. ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ทางฝ่ายค้านจะให้ความสนใจกับประเด็นอีอีซี ที่มีการนำพื้นที่ 3 จังหวัด ทั้งจ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง มาพัฒนาเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
จากการปะทะของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และชาวบ้านที่ได้รับผลประโยชน์ในพื้นที่ ส่งผลกระทบให้เกิดเป็นคลื่นขยายเป็นวงกว้างจากโครงการฯ นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และสำนักงานอีอีซี ต้องออกมาชึ้แจงกันเป็นพัลวัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนภาคตะวันออก ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อให้ทบทวนการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน
รองเลขาธิการสายงานพัฒนาพื้นที่และชุมชน สกพอ.เปิดเผยว่า แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของอีอีซี ได้จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองตามหลักวิชาการการทำผังเมืองที่เป็นสากล มีความยืดหยุ่น โดยได้ปรับเปลี่ยนจากผังเมืองเดิมตามภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนไปบางพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตรก็ได้ปรับไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการใช้พื้นที่
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้รับฟังความคิดเห็นประชาชนทุกภาคส่วน ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะอย่างเป็นทางการกว่า 25 ครั้ง และเวทีไม่เป็นทางการกว่า 15 ครั้ง รวมไม่ต่ำกว่า 40 ครั้ง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
หรือ กรณีของสงครามป้าย เอา และไม่เอา อีอีซี ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นำป้ายผ้ามาขึงสนับสนุนบ้าง คัดค้านบ้าง ตามถนน และสะพานในพื้นที่อำเภอบางปะกง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จากกรณีที่มีชาวบ้านแจ้งว่า พบเห็นกลุ่มบุคคลทั้งฝ่ายสนับสนุน และต่อต้านการเกิดขึ้นของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ต่างพากันนำป้ายผ้าไวนิลเขียนข้อความทั้งสนับสนุนและต่อต้านขึงติดเรียงรายตามถนนหนทาง และราวสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ใน ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จนส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพโดยรวมในพื้นที่นั้น
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า มีการนำป้ายผ้าติดเรียงรายบนถนนหนทาง และตามจุดต่างๆ ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จริงตามที่ได้รับแจ้ง และยังพบชาวบ้านบางส่วนพากันรวมตัวออกมาเดินขบวนเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการดังกล่าว พร้อมนำป้ายผ้าระบุข้อความ "หยุดผังเมือง EEC ที่ขาดการมีส่วนร่วม" มาติดไว้โดยรอบ แต่สุดท้ายก็ถูกปลดออกจากพื้นที่หมดแล้ว เหลือเพียงแผ่นป้ายผ้าไวนิลของผู้ให้การสนับสนุนที่ถูกนำมาติดตั้งเรียงรายริมถนนเลียบมอเตอร์เวย์ สาย 7 (กรุงเทพฯ-พัทยา) ใกล้กับจุดพักรถเขาดินทั้งด้านฝั่งขาเข้าและขาออกแทน
“การเกิดขึ้นของโครงการขนาดใหญ่จะทำให้พื้นที่เจริญขึ้น การสัญจรสะดวกขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมา ผู้ประกอบการที่เข้ามาพัฒนาพื้นที่ได้มีการจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ได้สร้างที่อยู่อาศัย จึงทำให้พวกเรามีบ้านเรือนและที่ดินเป็นของตนเอง โดยที่ไม่ต้องเช่าเขาอยู่อีกต่อไป จึงต้องการที่จะสนับสนุนให้มีนิคมอุตสาหกรรมเข้ามาอยู่ใกล้บ้าน”
ที่มา : MGR Online
จะเห็นได้ว่า การใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีทั้งผู้คัดค้าน และผู้สนับสนุน เพราะการทำโครงการขนาดใหญ่อะไรสักอย่าง ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทำให้กลุ่มคนบางส่วนที่เค้ารู้สึกว่า เค้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโครงการฯ ที่จะต้องเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อผลประโยชน์และอนาคตของประเทศชาติ ต้องออกมาประท้วงกับความเดือดร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมักอ้างคำว่า "ขาดการมีส่วนร่วม และไม่ได้รับความเป็นธรรม" โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ที่บางส่วนได้รับความเดือดร้อน และบางส่วนได้รับการดูแลจากทางนายทุนที่เข้ามาซื้อที่ดินไปแล้ว
อย่างเช่นกรณีของชาวบ้าน อ.เขาดิน อ.บางปะกง ที่เคยเช่าที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย และเช่าเป็นพื้นที่ทำกิน หลังจากที่เมื่อปีที่แล้วทางเจ้าของที่ดินได้ขายที่ให้กับนิคมบูลเทคซิตี้ ทางนิคมฯ ก็ได้เข้ามารับผิดชอบดูแล ในการปลูกบ้านในที่ดินจัดสรรกว่า 50 แปลง ครอบครัวละ 50 ตารางเมตร เป็นต้น
ส่วนพวกที่ออกมาประท้วง ชาวบ้านคาดว่า น่าจะเป็นการกระทำของคนนอกพื้นที่ที่มีอาชีพเป็น
"นักเคลื่อนไหว" เพื่อต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการ ในขณะที่ชาวบ้านเขาดินส่วนใหญ่ต้องการให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้มีงานทำใกล้บ้าน และยังจะทำให้พื้นที่ชุมชนมีการพัฒนา และชาวบ้านอีกส่วนคาดว่า น่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเช่าช่วงพื้นที่ และชาวบ้านที่ไม่อยากย้ายออกจากพื้นที่จริง
แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า พื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันทางการเมืองดุเดือดมากตั้งแต่หลังการเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการเมืองท้องถิ่น และการเมืองระดับประเทศ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ สามารถเบียดแทรกเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนกลุ่มพรรคพลังชลเดิม (เข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ) และกำลังเดินหน้าเข้ามาเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นหลักในการเมืองท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย
ดังนั้น ช่วงอภิปรายที่ผ่านมา จึงเห็นสส.ฝ่ายค้านหยิบยกประเด็นเรื่องอีอีซี การเอื้อกลุ่มทุน รวยกระจุกจนกระจาย และอื่นๆ ออกมา เพื่อหวังให้คนบางส่วนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารคล้อยตาม เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะสุดท้ายแล้วหากพรรคใดสามารถซื้อใจของคนในพื้นที่ได้ ก็ย่อมจะสามารถสร้างฐานเสียงให้พรรคของตนได้มากขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่ารัฐบาลพยายามชี้แจงว่า
พื้นที่อีอีซีเป็นเพียงพื้นที่ต้นแบบที่จะนำไปพัฒนาในจังหวัด และภาคอื่นๆ ด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า หากแผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออกนี้ล้มเหลว เพียงแค่หวังผลชนะทางการเมือง แต่อาจจะกำลังสร้างความเสียหายให้กับประเทศทั้งประเทศก็เป็นได้ ...
ดังนั้น เราควรที่จะรับข้อมูล และพิจารณาข้อมูลให้รอบด้านอย่างมีสติ
เพราะประชาชนคนไทยทุกคน ย่อมจะต้องเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว !!!
อีอีซีกับเกมส์การเมือง
จากการปะทะของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และชาวบ้านที่ได้รับผลประโยชน์ในพื้นที่ ส่งผลกระทบให้เกิดเป็นคลื่นขยายเป็นวงกว้างจากโครงการฯ นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และสำนักงานอีอีซี ต้องออกมาชึ้แจงกันเป็นพัลวัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือ กรณีของสงครามป้าย เอา และไม่เอา อีอีซี ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นำป้ายผ้ามาขึงสนับสนุนบ้าง คัดค้านบ้าง ตามถนน และสะพานในพื้นที่อำเภอบางปะกง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเห็นได้ว่า การใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีทั้งผู้คัดค้าน และผู้สนับสนุน เพราะการทำโครงการขนาดใหญ่อะไรสักอย่าง ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ทำให้กลุ่มคนบางส่วนที่เค้ารู้สึกว่า เค้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโครงการฯ ที่จะต้องเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อผลประโยชน์และอนาคตของประเทศชาติ ต้องออกมาประท้วงกับความเดือดร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมักอ้างคำว่า "ขาดการมีส่วนร่วม และไม่ได้รับความเป็นธรรม" โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ที่บางส่วนได้รับความเดือดร้อน และบางส่วนได้รับการดูแลจากทางนายทุนที่เข้ามาซื้อที่ดินไปแล้ว
อย่างเช่นกรณีของชาวบ้าน อ.เขาดิน อ.บางปะกง ที่เคยเช่าที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย และเช่าเป็นพื้นที่ทำกิน หลังจากที่เมื่อปีที่แล้วทางเจ้าของที่ดินได้ขายที่ให้กับนิคมบูลเทคซิตี้ ทางนิคมฯ ก็ได้เข้ามารับผิดชอบดูแล ในการปลูกบ้านในที่ดินจัดสรรกว่า 50 แปลง ครอบครัวละ 50 ตารางเมตร เป็นต้น
ส่วนพวกที่ออกมาประท้วง ชาวบ้านคาดว่า น่าจะเป็นการกระทำของคนนอกพื้นที่ที่มีอาชีพเป็น "นักเคลื่อนไหว" เพื่อต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการ ในขณะที่ชาวบ้านเขาดินส่วนใหญ่ต้องการให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้มีงานทำใกล้บ้าน และยังจะทำให้พื้นที่ชุมชนมีการพัฒนา และชาวบ้านอีกส่วนคาดว่า น่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเช่าช่วงพื้นที่ และชาวบ้านที่ไม่อยากย้ายออกจากพื้นที่จริง
แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า พื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันทางการเมืองดุเดือดมากตั้งแต่หลังการเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการเมืองท้องถิ่น และการเมืองระดับประเทศ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ สามารถเบียดแทรกเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนกลุ่มพรรคพลังชลเดิม (เข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ) และกำลังเดินหน้าเข้ามาเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นหลักในการเมืองท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย
ดังนั้น ช่วงอภิปรายที่ผ่านมา จึงเห็นสส.ฝ่ายค้านหยิบยกประเด็นเรื่องอีอีซี การเอื้อกลุ่มทุน รวยกระจุกจนกระจาย และอื่นๆ ออกมา เพื่อหวังให้คนบางส่วนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารคล้อยตาม เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะสุดท้ายแล้วหากพรรคใดสามารถซื้อใจของคนในพื้นที่ได้ ก็ย่อมจะสามารถสร้างฐานเสียงให้พรรคของตนได้มากขึ้นด้วย
ถึงแม้ว่ารัฐบาลพยายามชี้แจงว่า พื้นที่อีอีซีเป็นเพียงพื้นที่ต้นแบบที่จะนำไปพัฒนาในจังหวัด และภาคอื่นๆ ด้วย แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า หากแผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออกนี้ล้มเหลว เพียงแค่หวังผลชนะทางการเมือง แต่อาจจะกำลังสร้างความเสียหายให้กับประเทศทั้งประเทศก็เป็นได้ ...