ประสบการณ์ ทำให้เกิด "นิมิต" และไม่ให้นิมิตเหนี่ยวรั้ง เพื่อเจริญธรรมสูงขึ้นไป
นิมิต คือ เครื่องหมายที่จะให้จิตเราไปจับเป็นอารมณ์แล้วให้ติดตา อยู่ในใจ นิมิต มี ๓ อย่าง คือ
๑. บริกรรมนิมิต คือ เครื่องหมายสำหรับกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น รูปภาพ รูปองค์เทพ พระพุทธรูป หรือที่เป็นลักษณะทางกายภาพให้เราเห็นแล้วกำหนดให้จำให้ได้ ในขั้นนี้เราต้องทำบ่อยๆ
๒. อุคหนิมิต คือ เครื่องหมายที่กำหนดติดตา ทำแล้วให้เกิดติดตา เช่น เรามองภาพหนึ่งภาพ แล้วเราหลับตาก็มองเห็นภาพนั้นได้เหมือนกับลืมตาเห็น พอเราทำขั้นตอนที่หนึ่งบ่อยๆ เราก็จะเห็นชัดเจน
๓. ปฏิภาคนิมิต คือ เห็นเสมือนจริง เทียบเคียงของจริง สามารถย่อหรือขยายได้ตามใจเราต้องการ พอเราทำถึงขั้นนี้เราทำบ่อยๆ จนเสมือนหนึ่งว่าเป็นของจริง เหมือนใครจะยกของมาทุ้มใส่เราเราก็จะหลบทันที ทั้งๆ เขาไม่ได้ทำจริง ยกตัวอย่าง เราอยู่ในรถ ปิดกระจก สายตาเรามองผ่านกระจกออกมา เขาเอาน้ำมาสาดใส่เรา แต่เราอยู่ในรถ โดยสัญชาตญาณเราก็จะหลบ ทั้งๆ เราก็รู้แล้วว่าน้ำมันไม่สามารถจะสาดเข้ามาได้มีกระจกบังไว้
แล้วเราจะขยายใหญ่ได้อย่างไร ก็คือ เราคิดไปก็ใหญ่เอง ถ้ามันไม่สมจริง เราก็ต้องทำบ่อยๆ แล้วก็จะสมจริง ถ้าเราสามารถทำได้อย่างนี้ ขยายใหญ่ได้ เล็กได้ แล้วประโยชน์จะเกิดยังไง เราก็จะสามารถทำสิ่งนั้นให้เกิดความสมจริงขึ้นได้
เราสามารถคิดเพื่อนเราอยู่ตรงใบหน้าของเราได้มั้ย ถ้าได้นี่แหละเรียกว่านิมิต และบางอย่างเขาไม่ได้ไปคิดแต่มารวมกันได้ ที่จริงมารวมมีเหตุมาสะสมไว้ก่อน แล้วมารวมกัน จึงมาเป็นภาพนิมิต บางอย่างไม่มีเหตุมาสะสม แต่มีเหตุปัจจัย ปัจจัยวิบากมาทำให้เกิดเห็นภาวะธรรม เกิดเป็นรูปภาพในจินตะขึ้นมา
เขาไปสักยันต์มาให้เกิดความหนังเหนียว พอคิดบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ว่าเนื้อหนังนี้เกิดความเหนียวก็เกิดหนังเหนียวขึ้นได้ ความศรัทธาก็นำพาไปสู่ให้เกิดอานุภาพได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ประสบการณ์ ทำให้เกิด "นิมิต" และไม่ให้นิมิตเหนี่ยวรั้ง เพื่อเจริญธรรมสูงขึ้นไป
นิมิต คือ เครื่องหมายที่จะให้จิตเราไปจับเป็นอารมณ์แล้วให้ติดตา อยู่ในใจ นิมิต มี ๓ อย่าง คือ
๑. บริกรรมนิมิต คือ เครื่องหมายสำหรับกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น รูปภาพ รูปองค์เทพ พระพุทธรูป หรือที่เป็นลักษณะทางกายภาพให้เราเห็นแล้วกำหนดให้จำให้ได้ ในขั้นนี้เราต้องทำบ่อยๆ
๒. อุคหนิมิต คือ เครื่องหมายที่กำหนดติดตา ทำแล้วให้เกิดติดตา เช่น เรามองภาพหนึ่งภาพ แล้วเราหลับตาก็มองเห็นภาพนั้นได้เหมือนกับลืมตาเห็น พอเราทำขั้นตอนที่หนึ่งบ่อยๆ เราก็จะเห็นชัดเจน
๓. ปฏิภาคนิมิต คือ เห็นเสมือนจริง เทียบเคียงของจริง สามารถย่อหรือขยายได้ตามใจเราต้องการ พอเราทำถึงขั้นนี้เราทำบ่อยๆ จนเสมือนหนึ่งว่าเป็นของจริง เหมือนใครจะยกของมาทุ้มใส่เราเราก็จะหลบทันที ทั้งๆ เขาไม่ได้ทำจริง ยกตัวอย่าง เราอยู่ในรถ ปิดกระจก สายตาเรามองผ่านกระจกออกมา เขาเอาน้ำมาสาดใส่เรา แต่เราอยู่ในรถ โดยสัญชาตญาณเราก็จะหลบ ทั้งๆ เราก็รู้แล้วว่าน้ำมันไม่สามารถจะสาดเข้ามาได้มีกระจกบังไว้
แล้วเราจะขยายใหญ่ได้อย่างไร ก็คือ เราคิดไปก็ใหญ่เอง ถ้ามันไม่สมจริง เราก็ต้องทำบ่อยๆ แล้วก็จะสมจริง ถ้าเราสามารถทำได้อย่างนี้ ขยายใหญ่ได้ เล็กได้ แล้วประโยชน์จะเกิดยังไง เราก็จะสามารถทำสิ่งนั้นให้เกิดความสมจริงขึ้นได้
เราสามารถคิดเพื่อนเราอยู่ตรงใบหน้าของเราได้มั้ย ถ้าได้นี่แหละเรียกว่านิมิต และบางอย่างเขาไม่ได้ไปคิดแต่มารวมกันได้ ที่จริงมารวมมีเหตุมาสะสมไว้ก่อน แล้วมารวมกัน จึงมาเป็นภาพนิมิต บางอย่างไม่มีเหตุมาสะสม แต่มีเหตุปัจจัย ปัจจัยวิบากมาทำให้เกิดเห็นภาวะธรรม เกิดเป็นรูปภาพในจินตะขึ้นมา
เขาไปสักยันต์มาให้เกิดความหนังเหนียว พอคิดบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ว่าเนื้อหนังนี้เกิดความเหนียวก็เกิดหนังเหนียวขึ้นได้ ความศรัทธาก็นำพาไปสู่ให้เกิดอานุภาพได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต