เจริญสมาธิให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง (ถ้าทำได้นะ)



https://www.facebook.com/BossKubPom

O==============================================O
  พระสูตร  -  เจริญสมาธิให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
O==============================================O
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ 3 ประการ เป็นผู้ควรเพื่อ
จะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้ว ให้งอกงามออกไป.

3 ประการ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! 3 ประการ คือ ชาวร้านตลาด ในกรณีนี้
ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า
ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลากลางวัน
ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเย็น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ 3 ประการเหล่านี้แล
เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้ว
ให้งอกงามออกไป นี้ฉันใด

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อนี้ก็ฉันเหมือนกัน ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
เป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรม
ที่บรรลุแล้วให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.

3 ประการ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! 3 ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลาเช้า
ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลากลางวัน
ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลาเย็น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม 3 ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรม
ที่บรรลุแล้วให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.

ติก. อํ. ๒๐/๑๔๕/๔๕๘.
_______________________________________
สมาธิ
ความมีใจตั้งมั่น , ความตั้งมั่นแห่งจิต , การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ,
การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใด สิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับ อธิจิตตสิกขา
_______________________________________
กุศลธรรม
ธรรมที่เป็นกุศล , ธรรมฝ่ายกุศล , ธรรมที่ดี , ธรรมฝ่ายดี
_______________________________________
นิมิต
นิรมิต สร้าง แปลง ทํา. (ป. นิมฺมิต ส. นิรฺมิต).น. เครื่องหมาย ลาง เหตุ เค้ามูล

หมายถึง อาการที่เชิญชวนให้เขาถวาย  หรือหมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด
ในการเจริญกรรมฐาน,  หรือภาพหรือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติสมาธิ,  
แต่นิมิตที่จะเน้นกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ นิมิตอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิ
กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ปรากฎหรือแสดงขึ้นเฉพาะตน ให้รับรู้ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของ
นักปฏิบัติเป็นปัจจัยสำคัญ

นิมิต ก็จัดว่าเป็นบ่วงมารทันที ซึ่งจักผูกมัดสัตว์ไว้ไม่ให้เห็นธรรม กล่าวคือ
เกิดวิปัสสนูปกิเลส จัดอยู่ทั้งในข้อโอภาส,ญาณและอธิโมกข์ฯ.  
ซึ่งเมื่อเกิดกับผู้ใดแล้วก็จะน้อมเชื่อ,น้อมใจอยากด้วยอธิโมกข์จนถอดถอนไม่ออก  
แม้อธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมฟังไม่ยอมเชื่อด้วยฤทธิ์ของอธิโมกข์และ
เพราะตัวตนเองเป็นผู้เห็น, ตัวตนเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น จึงมีความน้อมเชื่อ
อย่างรุนแรงด้วยอัตตาโดยไม่รู้ตัว  ต้องให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นด้วยตนเอง
จึงจะสามารถถอดถอนความเชื่อความคิดอันเห็นผิดในนิมิตได้ดี  
จึงจำเป็นต้องกล่าวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกันไว้บ้าง
เพราะจำเป็นต้องผ่านกล่าวคืออย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นในที่สุดนั่นเอง

นิมิตที่ดีนั้น หมายถึงนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วทำให้นักปฏิบัติเกิดปัญญา
คือเกิดนิพพิทาญาณ คือเกิดความหน่ายจากการรู้ความจริง
จึงย่อมคลายความกำหนัดความอยาก

"นิมิต ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง  แต่สิ่งที่ถูกเห็น(webmaster-คือภาพ,ความคิด ฯ.
ที่เกิดขึ้นนั้น)  ไม่จริง"   หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

http://www.nkgen.com/727.htm
_______________________________________
เอื้อเฟื้อ
อุดหนุน, เจือจาน, แสดงนํ้าใจดีต่อผู้อื่น, บางทีใช้เข้าคู่กับ คำอื่น เช่น
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเกื้อหนุน.
_______________________________________
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่