เตาเผาขยะรุ่นใหม่ของมาเลย์โดยชายวัย 72 ปี

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

A 72 year old Malaysian uncle might've created a solution to the world’s trash problem.
คนส่วนใหญ่รู้ว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่
และต้องใช้เวลานานมากกว่าในการแก้ไขปัญหา แต่แทนที่จะห้ามใช้พลาสติก
กับมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่พลาสติกเก่าก็ไม่เคยหายไปไหน มักกองพะเนินอยู่ที่ไหนสักแห่ง
เช่น หลุมฝังกลบ มหาสมุทร หรือแยกย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ
การเผาไหม้เป็นปัญหาสำคัญมาก
และการรีไซเคิลก็ยังไม่มีประสิทธิภาพสูง  นั่นคือปัญหาสำคัญ
พลาสติกผลิตง่าย  แต่กำจัดยาก

เตาเผาพลาสติกที่คล้ายเตาอบพิซซ่า เป็นเครื่องจักรที่ใช้ขยะพลาสติก
โดยการทำให้เกิด Plasma ร้อนที่ถูกเผาอีกครั้งไม่ปล่อยก๊าซที่เป็นอันตราย
เป็นเตาขนาดเล็กไม่ต้องใช้ระบบไฟฟ้าโดยตรง ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ SolarCell จ่ายไฟฟ้าให้อุปกรณ์การกรอง 
จึงทำงานได้ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่บนเกาะเล็ก ๆ หรือกลางหลุมฝังกลบขยะ

Roland Tee คือ ผู้สอบบัญชีที่เกษียณอายุจากธุรกิจการทำน้ำให้สะอาด
ในช่วงปี 2006 ท่านจำรายงานข่าว
เรื่องเตาเผาขยะลงทุน 188 ล้านเหรียญริงกิต
ใน Langkawi Cameron Highlands Pangkor และ Tioman ใช้งานไม่ได้เลย

ท่านรู้ว่าเตาเผาขยะมีค่าใช้จ่ายมากมาย ก่อนใช้งานได้ตามเป้าหมาย
ท่านจึงตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้และคิดค้น Asher
เครื่องจักรที่จะเปลี่ยนขยะเกือบทุกชนิด ที่ใส่ลงไปเผาไหม้ให้กลายเป็นเถ้าถ่าน


Roland Tee ได้ร่วมมือกับ Pang Swee Lei ผู้บริหาร Pamarai Sdn Bhd
ต่างใช้ประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญร่วมกัน พัฒนาเตาเผาขยะรุ่นนี้ขึ้นมาใช้งาน
 
เตาเผาขยะนี้เป็นระบบ incinerator
เป็นเทคโนโลยีกำจัดขยะมูลฝอยครบวงจร
ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเพราะปลอดควันมีแต่เถ้าถ่าน
ทั้งยังแตกต่างกับเตาเผาขยะแบบเดิม
ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลผสมถึง 300 ลิตร ในการเผาขยะ 1 ตัน
สวีเดินก็ใช้วิธีการนี้

แต่ Asher ไม่ต้องใช้น้ำมัน ใช้เพียงแต่ขยะที่ถูกป้อนเข้าไป
ด้วยการจุดไฟให้ติดก่อนในตอนเริ่มต้น แล้วเผาขยะไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเถ้าถ่าน

ขนาดเตาเผาใหญ่กว่ารถยนต์ SUV เล็กน้อย
เป็นห้องทนไฟ/ทนความร้อนสูงเป็นพิเศษ
Plasma คือ แก๊สที่เป็นไอออนมากกว่าแก๊สทั่วไป
จะถูกเผาไหม้ซ้ำอีกครั้งในห้องทนไฟ



Pang Swee Lei คนถือไม้ ควันไฟที่เกิดขึ้นตอนใส่ขยะ
ขยะจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเมื่อเปิดประตูเตา  แต่ถ้าปิดสนิทจะเป็นระบบ  pyrolysis

ห้องทนไฟจะได้รับความร้อนจากไฟครั้งแรก
แล้วเก็บสะสมไว้ใช้ต่อไปทำให้ห้องทนไฟร้อนขึ้นอีกแล้วระบายลงในขยะที่ใส่เข้ามา
และจะยิ่งร้อนมากขึ้นจากความร้อนที่ถูกเก็บไว้กับผนังห้องทนไฟ
กระบวนการนี้จะดำเนินการไปเรื่อย ๆ เมื่อมีขยะเผาในเตานี้

อนุภาคพลาสมามีพลังงานมากกว่าอนุภาคก๊าซ
ในทำนองเดียวกันก๊าซมีพลังงานมากกว่าของเหลว
พลาสมาสร้างพลังงานความร้อนจากการเผาให้ผนังเพิ่มมากขึ้น
เตาเผานี้มีความร้อนสูงถึง 1,000 ° C  (1,600 ° C สำหรับรุ่นที่ใหญ่กว่านี้)
จึงมีความร้อนอย่างต่อเนื่อง และกินเวลานานหลายเดือนกว่าจะเย็นลงหลังหยุดเผาขยะ

ขยะที่ถูกเผาไหม้จะผ่านกระบวนการที่เรียกว่า pyrolysis
อนุภาคต่าง ๆ ที่แตกตัวออกมาเพราะความร้อนกลายเป็นก๊าซอยู่ภายในห้อง
แล้วก๊าซก็จะถูกเผาไหม้ซ้ำอีกครั้งแล้วผ่านระบบการกรองที่ซับซ้อนขึ้น
ด้วยการกำจัดสิ่งสกปรกส่วนใหญ่ออกมาก่อนจะถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมธรรมชาติในรูปไอน้ำเท่านั้น

Asher สามารถใช้สิ่งที่ไร้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
เตาเผาขยะนี้ลดปริมาณขยะเหลือเพียง 4%
ถ้าใส่ขยะ 100 กิโลกรัมจะได้ขี้เถ้าขยะ 4 กิโลกรัมเท่านั้น
ขี้เถ้ายังนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ปุ๋ย หรือ อิฐ

Asher ยังสามารถเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้
จากผลการทดสอบในการเผาวัตถุดิบประเภทต่างๆ
ขี้เถ้าที่ออกมาเป็นไปตามมาตรฐาน EPA 

ภาพจำลองเตาเผาขยะขนาด 4 ตัน

ขยะจากเทศบาล ขยะจากยา และขยะยาหมดอายุ

Asher มีปุ๋ย 2 ชนิด สำหรับไม้ดอกไม้ประดับหญ้าในสวน
สวนทั่วไปไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
แต่ปุ๋ยการเกษตรผลิตพืชผักทำเป็นอาหาร
ลูกค้าควรรู้จักชนิดของวัตถุดิบที่แปรรูปผ่าน Asher
แม้ว่าพืชผักจะงอกงามได้ดีก็ตาม

“ ตามหลักจริยธรรมแล้ว คนเราควรมีเหตุผลมากกว่านี้
เพราะเราไม่ต้องการให้ขยะจากผ้าอ้อม/พลาสติกเป็นปุ๋ยสำหรับอาหารของคุณ
แต่ถ้าเป็นขยะอินทรีย์เหมือนขยะในครัวทั่วไปของคุณ
ของเหล่านี้เหมาะสมกับการทำสวนและทำฟาร์มของคุณ ”
Pang Swee Lei ให้สัมภาษณ์

ขี้เถ้ายังใช้แทนปูนซีเมนต์ได้ เพราะมีคุณสมบัติจับตัว
มีอิฐที่ทำจากส่วนผสมของเถ้า 20% และทราย 80%
แต่ยังไม่มีการทดสอบใช้สร้างบ้าน มีแต่การทำทางเท้าและม้านั่ง

ระบบไส้กรองจะมีการเปลี่ยนประมาณทุก ๆ 6 เดือน
แต่สามารถโยนไส้กรองที่ใช้แล้วลงใน Asher เพื่อเผาทิ้ง
ส่วนน้ำที่ใช้ในการบำบัดการปล่อยมลพิษทางควัน
น้ำทั้งหมดจะผ่านการบำบัดก่อนเททิ้งลงคูน้ำสาธารณะ
เตาเผาขยะนี้จะเผาได้เกือบทุกอย่างให้เหลือเพียงขี้เถ้าและไอน้ำ (ยกเว้นโลหะและแก้ว)

อิฐที่มีส่วนผสมขี้เถ้า


แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ Asher จะได้รับความนิยมในมาเลย์
แบบคนบ้านเดียวกันน้ำมนตร์ไม่ขลังต้องคนไกลถิ่น

" สิ่งหนึ่งที่มาเลย์ตรงกันข้ามกับประเทศอื่น
เพราะเรามีระบบการจัดการขยะมูลฝอยอยู่แล้ว
คนเรามักจะไม่เดินออกจากประตูบ้านตนเอง
เพื่อไปดูภูเขาขยะทุกหนทุกแห่ง
เว้นแต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ใกล้หลุมฝังกลบ
ดังนั้นความต้องการ Asher  จึงอาจชัดเจนทันที "
Roland ให้สัมภาษณ์กับ Cilisos

เตาเผาขยะนี้มีราคา 500,000 ริงกิต(ราว 3.75 ล้านบาท 7.5/บาท)
แต่ละเครื่องสามารถลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการจัดการขยะ
เพราะราคากำจัดขยะต่อตัน  Asher นั้นราคาถูกกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ถึง 80%
เมื่อเปรียบเทียบกับ เตาเผาขยะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง
การทำให้ขยะย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อให้ผลิตก๊าซชีวภาพ
ต่างต้องใช้เนื้อที่จำนวนมหาศาลและใช้ระยะเวลาในบริหารจัดการ

“ ในขณะนี้ มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้น
เช่น การรวบรวมขยะ การขนส่งเพื่อไปเก็บขยะตามที่ต่าง ๆ
การขนส่งขยะไปยังบ่อขยะ  การนำขยะไปเพื่อคัดแยก/ฝังกลบ
ถ้าเราสามารถติดตั้งเตาเผาขยะนี้ ภายในพื้นที่ที่มีประชากรอยู่กันมาก
แล้วให้ผู้อยู่อาศัยนำขยะไปเผาที่ Asher
รัฐบาลจะสามารถลดค่าใช้จ่ายข้างต้นทั้งหมดได้ ”
Pang Swee Lei ให้สัมภาษณ์ Cilisos

Allan Teo  ผู้อ่านรายหนึ่งได้ระบุว่า
ที่สหรัฐก็มีเตาเผาระบบเดียวกันนี้ชื่อว่า BlackHole
ที่ทำงานคล้ายกันมากแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

Asher  กำจัดของเสียในโรงงานของจีน Img courtesy of Pamarai

มาเลเซียเริ่มมีปริมาณขยะจำนวนมาก
และกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะของต่างชาติ
หลังจากที่จีนไม่แบกรับการ Recycle ขยะแล้ว
สถิติของรัฐบาลมาเลเซียระบุว่า
มีปริมาณขยะวันละ 42,672 ตันในปี 2017
และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 44,888 ตัน
ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในเมือง

การกำจัดขยะแบบกลบฝังต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก
และสร้างมลภาวะต่าง ๆ ก่อนจะย่อยสลายหรือกลายเป็นแก๊ส

Roland Tee วัย 72 ปี คิดว่าเตาเผาขยะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล
ไม่ประหยัดพลังงานและสิ้นเปลืองทรัพยากร
รวมทั้งยังสร้างมลภาวะบางอย่างได้ด้วย
ทำให้ต้องครุ่นคิดเป็นเวลานานหลายวันมากในเรื่องนี้
เพื่อสร้างเตาเผาขยะที่ไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
จนกระทั่งวันหนึ่งได้พบเพื่อนหลายคนที่เป็นศาตราจารย์มหาวิทยาลัย
และได้สอบถามวิธีการกำจัดขยะโดยไม่ต้องใช้น้ำมันดีเซล

เพื่อนคนหนึ่งจึงแนะนำว่าให้ลองใช้ระบบ pyrolysis
เป็นกระบวนการย่อยสลายทางเคมีของสารอินทรีย์
ภายใต้อุณหภูมิสูงที่ไม่มีออกซิเจนไม่เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ
และเป็นที่นิยมใช้ในการแปลงวัสดุอินทรีย์
ให้กลายเป็นสารตกค้างที่เป็นของแข็ง
ซึ่งประกอบด้วยเถ้าคาร์บอน ของเหลวและก๊าซในปริมาณเล็กน้อย

Roland Tee จึงกลับบ้านลองไปร่างแบบก่อน
ในปี 2011 Asher ต้นแบบเครื่องแรกที่มีความสูง 6 เมตร
สามารถลดขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ให้เป็นขี้เถ้า
มีการใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ
ที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและแบบยั่งยืน

Asher จัดจำหน่ายโดย Pamarai Sdn Bhd 
Pang Swee Lei ผู้บริหารบอกกับ Enterprise ว่า
" ในการออกแบบ Asher นั้น Tee ดูเหมือนจะคิดถึงทุกอย่าง
ตั้งแต่ต้นทุนไปจนถึงความยั่งยืน ความจริงแล้ว
ค่าใช้จ่ายต้นทุนที่จำเป็นสำหรับ Asher ไม่เกิน 20%
เมื่อเทียบกับเตาเผาขยะทั่วไป คิดเป็นตันต่อตัน

เตาเผาขยะทั่วไปขนาด 1,000 ตัน
ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 750 ล้านริงกิต
แต่ Asher ต้องใช้เงินลงทุนเพียงแค่ 137 ล้านริงกิต
นอกจากนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนอาจสูงถึง 40%
หรือภายใน 2.5 ปีก็คือนทุนได้ในบางแห่ง ”

ส่วน Roland Tee ได้บอกว่า
" เมื่อของเสียถูกใส่เข้าไปใน Asher
ทุกอย่างจะจบลงในห้องสลายความร้อน
ซึ่งจะสลายตัวผ่านกระบวนการ pyrolysis
แต่ความร้อนที่เกิดจากกระบวนการนี้
จะคงอยู่ภายในห้องเผาเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อเครื่องใช้งานนานเท่าไหร่
อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นเท่านั้น

ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ความร้อนจะไปได้ถึง 150 °C
หากใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ความร้อนสามารถสูงถึง 1,000 °C
นี่คือสาเหตุที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซล ”

การเผาขยะจะสร้าง/ปล่อยพิษ เช่น
dioxins (สารประกอบที่เป็นพิษสูงและมลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง)
และ furans (ของเหลวไวไฟที่เป็นพิษ)
แต่ Roland Tee ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตการทำงาน
ในอุตสาหกรรมน้ำได้สร้างระบบการกรองขึ้นมา
เพื่อป้องกันการปล่อยมลพิษเหล่านี้สู่ชั้นบรรยากาศ

“ เราต้องการให้ควันที่ออกมาผ่านการกรอง
ก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้น (ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้) 
โดยปกติแล้วเตาเผาใช้โซดาไฟ แต่มันเป็นสารเคมี
แต่ผมไม่ต้องการใช้สารเคมี
ดังนั้นผมจึงมองไปรอบ ๆ และพบว่าจริง ๆ แล้ว
มีแร่ธาตุมากมายคล้ายกับโซดาไฟ ”
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่