ช่วงปี 40 คือ ช่วงยุคทองของคนส่วนใหญ่ในประเทศอย่างแท้จริง และ มายาคติทฤษฎีเศรษฐกิจมหาภาค

คงจะไม่ผิดมากนัก ถ้ากล่าวว่า ช่วง ปี 2540 คือ ช่วงยุคมืดของกลุ่มชนชั้นกลาง และ ชนชั้นนายทุนที่อาศัยในเมืองหลวง แต่ กลับเป็น ยุคทองรุ่งเรื่องที่สุดของกลุ่มชนชั้นล่าง คนชนบท และ เกษตรกร ที่มีจำนวนประชากร คิดเป็น กว่า 80 % ของประชาชน ที่ได้ประโยชน์อันล้นหลามจากการปลดปล่อย " เศรษฐกิจที่ควรจะเป็นจริง " ออกจากพันธการที่ กลุ่มชนชั้นสูง และ ชนชั้นกลางในเมืองถือกุมเอาไว้ยาวนาน ตั้งแต่จบหลัง สงครามโลก ครั้งที่สอง ผ่านมาจนถึงยุคทหาร และ ยุค พคท. ค่าเงินอันถูกบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์ของคนรวยไม่กี่คนที่พังทลายนั้นเปรียบได้กับการที่เขื่อนกั้นนำ ที่กั้น ทรัพยากรและความมั่งคั่งได้พังลง ถาโถม ลงมาสู่เหล่า คนจนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างทั่วถึง วิฤกติเศรษฐกิจที่ควรจะสร้างความเสียหายให้ประเทศ กลับเป็นประโยชน์แก่ คนส่วนใหญ่ในประเทศแทน ค่าเงินที่ถูกลง เท่ากับ ค่าครองชีพที่ถูกลง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของคนชนชั้นล่าง และเป็นจุดเริ่มต้นก้าวแรก ของภาคการท่องเที่ยว แม้ภาคการเงินของประเทศในตอนนั้นจะไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่ คนไทยส่วนมากกลับรวยขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการพังของค่าเงิน

เทียบช่วง 10 ปีหลัง หลังจากยุคซับไพรม์ เป็นช่วงที่ภาคการเงิน และ ธนาคาร ของประเทศเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ แต่ภาคเงิน ตลาดหุ้น หรือ ธนาคารอะไรก็ตามนั้น เป็นเรื่องของคนรวย ไม่กี่พวกในเมืองหลวง คนชนชั้นล่าง เริ่มมีภาวะถดถอย ทั้งด้าน คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ลามมาจนถึงชนชั้นกลาง ที่ พึ่งก้าวออกจากชนชั้นล่าง จากช่วงยุคทองของเศรษฐกิจไทย ในช่วงปี 2540 - 2548 ด้วยเช่นกัน ค่าเงิน ที่แข็งขึ้น และ การเกิดภาวะฟองสบู่ของค่าเงิน คือ เงินแข็งขึ้นเรื่อยๆ แต่ กลับซื้อของ ได้น้อยลง หรือภาวะ stangflation อันเกิดจากการที่ภาคการเงิน เกิดความ overvalue มากเกินไป

ทฤษฎี ที่ว่า ยิ่ง เศรษฐกิจมหาภาคเข้มแข็งมากเท่าไร่ คนส่วนใหญ่ของประเทศก็ยิ่งถดถอยลงมากเท่านั้น เป็นเรื่องจริง อย่างไร้ข้อกังขาใดๆ เปรียบเทียบง่ายๆคือ หมู่บ้านที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่ง เคยอยู่แบบสงบๆ แต่มาวันหนึ่ง มีนายทุนมองเห็นโอกาสทำเงิน จึงเข้ามาพัฒนาสถานที่ เพื่อให้รองรับการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านมากมาย เศรษฐกิจโดยรวมของหมู่บ้านเติบโตอย่ารวดเร็ว แต่ คนที่ยิ้มลงเรื่อยๆ คือ ชาวบ้าน ที่ต้องซื้อของแพงขึ้น เพราะ demand ที่เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว นอกจากนั้นรายได้จากการท่องเที่ยว กลับไปตกอยู่กับแต่นายทุนที่หากินกับการท่องเที่ยวเพียงผู้เดียว เมื่อชาวบ้านทนไม่ไหวก็ต้องอพยพออกไป ทำได้แค่หันหลังมาแล หมู่บ้านอันเป็นที่รัก ที่กำลังเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ คนท้องถิ่นกลับไม่ได้อะไร

ย่อหน้าสุดท้ายนี้เป็นบทสรุปที่ว่า ทำไม ช่วงปี 40 และต่อเนื่องมาอีกหลายปี คือ ยุคทองขีดสุด ของคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ และ 10 ปีหลังนี้ คือ ยุคมืดมนถึงขีดสุด ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ แม้ว่า เทคโนโลยีต่างๆ และ โอกาสทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นมากก็ตาม

ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ไม่ได้วัดจาก รายได้ต่อหัว  ดัชนีหุ้น หรือ ความมั่งคั่งของบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยคนในประเทศแต่ เป็น การที่คนส่วนใหญ่ในประเทศ ได้รับโอกาส ที่เท่าเทียม กัน ทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน

ถ้าประเทศไทย เกิดวิฤกติทางการเงิน ซำรอยขึ้นอีกครั้ง อาจจะเป็นช่วงยุคทองของคนส่วนใหญ่ของประเทศอีกครั้งก็ได้  เพราะนั้นคือ พังทลายของกลุ่มชนชั้นสูง และ กลุ่มนายทุนที่กุมทรัพยากรเหล่านั้นไว้อยู่ แทนที่จะปล่อยให้ลงมาเบื้องล่าง

Cr. Jirayu Suteerattanapirom
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่