เข้าฌาน สู่ภวังคจิต นิ่งและดิ่ง มีประโยชน์น้อย
ภวังคจิต หรือการเข้าสู่ภวังค์เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร มีดังนี้
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า "ภวังค์" หรือ "ภวังคจิต" คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,
ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ ภวังคจิต"
ภวังคจิตนี้เป็นจิตตัวเดิม จิตที่ดำรงลมหายใจ จิตที่ให้ดำรงประสาททำงาน ดำรงให้หัวใจเต้นอยู่ ฯลฯ พอมีอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้ามาผสม ผสมกัน
ภวังคจิต ก็คือ ระหว่างจิตประภัสสรกับเจตสิกที่นำมาปรุงแต่ง แต่ถ้าเราเห็นปุ๊บ ก็ไม่ใช่ภวังคจิตแล้ว แต่ถ้าเราหลับตา แล้วเรา "นิ่ง" อยู่ ก็แสดงว่าเป็นภวังคจิต แต่ถ้าเราหลับตาแล้วจิตเราคิดต่างๆ นานาๆ ก็ไม่ใช่ภวังคจิตแล้ว
ภวังคจิต ก็คือ "นิ่ง" เหมือนกับน้ำ เทน้ำลงแก้ว แล้วยังไม่มีสิ่งอื่นๆ ไปผสม ยังเป็นน้ำที่สะอาด ใสอยู่
การเข้าฌาน ก็คืออยู่ในภวังคจิตตรงนี้แหละ จะดิ่ง และนิ่ง อยู่ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า แก้ทุกข์ไม่ได้ พอเราขยับเมื่อไหร่ก็จะเป็นทุกข์อีก
พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา”
จิตจร ก็คือ เราเอาเจตสิกมาปรุงเข้าไป
ยกตัวอย่าง น้ำนี้บริสุทธิ์ เช่น เราเอาสีอะไรหยดเข้าไป น้ำนี้ก็กลายเป็นสีไปตามนั้น
จิตประภัสสรนี้เป็นภวังคจิต คืออยู่ระหว่างกึ่งกลาง คือ ตัวนั้นเตรียมตัวจะมารับของล่ะ
ยกตัวอย่าง เรามีแก้วน้ำ แล้วเราเอาแก้วน้ำนี้ไปตวงจากถังน้ำใหญ่มาแล้ว เหลือรอแค่การประสมเท่านั้น คือพูดง่ายๆ คือ "รอเตรียมการผสม" "เตรียมของที่จะมาปรุง"
เห็นไหมว่า ถ้าเราเข้าฌาน เข้าสู่ภวังคจิต แต่!! เราแก้ทุกข์ไม่ได้ แม้ว่าจะทำให้จิตของเราบริสุทธิ์ก็แก้ไม่ได้ คนทั่วไปเข้าใจว่า จิตประภัสสรนี้พิเศษ พิสดาร ไม่ใช่เลย เพียงแต่เป็นน้ำใส รอพร้อมที่จะให้เอาอะไรมาเติม มันอยู่ที่ว่าเราจะเอาอะไรไปเติมต่างหาก
ถ้าเราจะแก้ต้องมีสัมปชัญญะต่างหาก ตกลงว่า เราจะเอาอะไรไปเติม
คำว่า "ไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตเราได้" นี่หมายถึง ถ้าเราโดนกิเลสมาครอบงำ จิตเราก็จะโดนไปตามที่กิเลสเสี้ยมสอน จิตที่เสี้ยมก็คือกิเลส เช่น ยกตัวอย่าง เรารู้แล้วว่าเรากินน้ำหวานไม่ได้ แต่เราก็อดใจไม่ได้ จะเอาน้ำตาลใส่ลงไป ยกตัวอย่าง เวลานี้เรากินเผ็ดไม่ได้ แต่ถ้าเรายังใส่พริกลงไปเยอะๆ เราก็เสร็จมัน ก็จบ ตัวที่เผ็ดนี้ก็คือกิเลส
นี่แหละ พระอรหันต์ก็ไม่เอาภวังคจิต เพราะท่านไม่ต้องการให้จิตนิ่งเฉยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรามีการขยับ ก็ออกมาเมื่อนั่น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอะไรไปขยับมากกว่า
หลายๆ คนมีความเข้าใจผิด เราก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไรให้เข้าใจถูก เพราะว่า ฟังเราไม่ขึ้น เขาไม่เชื่อว่าเราจะเข้าใจ แต่ถ้าใครเปิดใจ เราก็จะมีตัวอย่างให้เขาเห็นได้
ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์พระพุทธเจ้า เรื่อง Little Buddha พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลกลืมไม่ได้
ในตอนหนึ่งว่า
"ในธิเบต เราคิดว่าในจิตใจกับร่างกาย เป็นของที่บรรจุอยู่ในภาชนะ (แล้วทุบถ้วยชาแตก) ดูซิตอนนี้ถ้วย ไม่ใช่ถ้วยอีกต่อไปแล้ว แต่ส่วนชาก็ยังเป็นชา (น้ำชากระเด็น) ไม่ว่าในถ้วย หรือบนโต๊ะ หรือบนพื้นห้องนี่ มันย้ายภาชนะหนึ่งไปอีกภาชนะหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นชา
เหมือนดวงจิตหลังการตาย มันย้ายจากร่างหนึ่งไปอีกร่างหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นจิต แม้แต่ผ้าผืนนี้ก็ยังเป็นชา (ผ้าที่เอามาเช็ดน้ำชาที่หก) ชาเดิมนั่นแหละ
ชายคนนั้นตอบว่า กินไม่ลง ขอบคุณ
พระธิเบต หัวเราะ
เมื่อเราแน่ใจว่ากลับชาติมาเกิด"
จบหนึ่งฉาก
แปลกใจอย่างหนึ่งก็คือ ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จะไม่ค่อยมีการยกตัวอย่างเช่นนี้ เพราะว่าไม่ชอบเอาตัวอย่าง ท่องศัพท์เป็นตัว ทางฝ่ายมหายานชอบใช้รูปมาเป็นตัวอย่าง จะเข้าสู่คำว่า "เซน" (Zen) (禅) เข้าสู่ธรรมชาติ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับอานิสงส์จากเต๋า (道) เต๋าเขาพูดไม่ใช่พูดแต่ศัพท์นะ พอเซนพูด จะยกตัวอย่างธรรมชาติมาเปรียบเทียบให้ฟัง
เซน (禅) นี้ก็มีการอธิบายให้ฟังอยู่ และเซน (禅) นี้ จะผสมกับเต๋า แต่ถ้าเซนจากอินเดียแท้ๆ ไม่มีอะไร แต่ถ้าเซน (禅) จากจีน จะมีการผสมลัทธิเต๋า(道教: Dàojiao) อยู่ด้วย
แต่ทำไมเซนของญี่ปุ่นถึงดังกว่า เพราะว่าช่วงหนึ่งของคอมมิวนิสต์จีน ปิดกั้นหมดตั้ง ๕๐ กว่าปี ทางเซนญี่ปุ่นก็เลยดัง จะเห็นได้ว่า พระเซนญี่ปุ่นยังแต่งกายเหมือนกับพระจีน ไม่แต่งแบบพระญี่ปุ่น
จะเห็นได้จากการสวด คือ นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว ก็คือ สวดถึงเจ้าแม่กวนอิมนี่เอง
คุณ mr_rtee (
https://ppantip.com/topic/36029720) ได้อธิบาย นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เข้าใจง่ายๆ และละเอียด ดังนี้
คำว่า “นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว” (Nam Myōhō Renge Kyō) เป็นคำอ่านในภาษาญี่ปุ่น (南無妙法蓮華經) สำหรับการอ่านคำภาษาสันสกฤต (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) คำว่า “นะมัส” หรือ “นะโม” ส่วนคำว่า “เมียวโฮเร็งเงเคียว” นั้นเป็นการออกเสียงตัวอักษรภาษาจีน ด้วยหลักการออกเสียงในแบบภาษาญี่ปุ่น นั่นเอง
นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว คืออะไร ?
โดยเนื้อแท้ของบทสวดนี้ คือ การระลึก และสรรเสริญ พร้อมทั้งอุทิศชีวิตให้กับหลักธรรมสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือพระสูตรบัวขาว (The Lotus Sutra) ที่ถูกเผยแพร่ครั้งแรกโดย ท่านนิชิเรนไดโชนิน ซึ่งเป้าประสงค์ของพระสูตร (題目 – Daimoku) ฉบับนี้ก็เพื่อให้มนุษย์ปุถุชนทั่วไปสามารถบรรลุหลักธรรมอันสูงสุด อย่างสมบูรณ์แบบ (attain perfect and complete awakening) โดยพระสูตรฉบับนี้ได้รับการแปลโดยท่านพระมหาธรรมโฆษาจาร์กุมารชีพ (Kumārajīva)
ความหมายของคำว่า "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว"
ความหมายของคำว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว นั้นสามารถแยกออกมาได้เป็นส่วนๆ ดังนี้
- นัม (南無 – Nam) หมายถึง นะโม คือ การอุทิศตัวให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- เมียว (妙 – Myō) หมายถึง ความมหัศจรรย์ ความลึกลับ สิ่งอัศจรรย์
- โฮ (法 – Hō) หมายถึง หลักธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา
- เร็ง (蓮 – Ren) หมายถึง ดอกบัว
- เง (華 – Ge) หมายถึง ดอกไม้
- เคียว (経 – Kyō) หมายถึง การอบรม สั่งสอน หรือพระสูตรนั่นเอง
อนึ่ง ความหมายของคำว่า “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว” นั้น ก็ยังหมายถึง “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” ไปด้วย
นัม (南無 – Nam, Namu) – นะโม คือ การอุทิศ
นะโม เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง “การอุทิศตัวเอง” ท่านนิชิเรนไดโชนิน ได้เผยแผ่การสวดมนต์นี้ ก็เพื่อเป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตของพวกเขาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกทำนองคลองธรรม โดยความหมายจากภาษาสันสกฤตนั้น บ่งชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำและทัศนคติที่ดี และจะหมายถึงการกระทำที่ถูกต้องซึ่งต้องใช้เวลา และทัศนคติที่ต้องการในการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะบรรลุพุทธภาวะในชีวิตนี้
เมียวโฮ (妙法 – Myōhō) – สัทธรรม คือ ธรรมะอันอัศจรรย์
หมายถึง ธรรมะ หรือกฎแห่งธรรมชาติ ที่อยู่ภายใต้ความเป็นจริง ซึ่งถูกควบคุมด้วยกลไกความลึกลับแห่งจักรวาล และชีวิตของคนเราจากช่วงเวลาหนึ่ง ไปสู่ช่วงเวลาหนึ่ง โดยคำว่า Myo ยังหมายถึง สาระสำคัญของชีวิตส่วนหนึ่งซึ่งเราอาจมองไม่เห็นมัน และยากแท้หยั่งถึงที่จะเข้าใจมันได้ แต่สาระสำคัญนี้มักจะแสดงตัวตนออกมาให้เรารับรู้ได้ โดยความรู้สึก ผ่านปรากฎการณ์ หรือประสาทสัมผัส (Ho) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
(ความเห็นส่วนตัว: คลับคล้ายกับหลักปฏิจจสมุปปบาท เลยที่มีกลไกการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อย่างรวดเร็ว จนบางทีเราอาจจะไม่ได้รับรู้เลยว่า มันมีตัวตน และเกิดขึ้นแล้ว จนกระทั่ง เรารับรู้ผ่านผัสสะ หรือเห็นผลจากการกระทำนั้นๆ แล้ว)
เร็งเง (蓮華 – Renge) – ปุณฑริก คือ ดอกบัว สื่อถึง เหตุและผลเกิดขึ้นพร้อมกัน
หมายถึง ดอกบัว ซึ่งดอกบัวนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบบุคคลทั้ง 4 ประเภท และนอกจากนี้ ดอกบัว ยังสามารถผลิตเมล็ดบัว ซึ่งเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับดอกบัว จึงเป็นความพร้อมกันของเหตุและผล สถานการณ์ และคุณภาพชีวิตของคนเรานั้น จะถูกกำหนดโดยเหตุ และผล ทั้งด้านดี และด้านไม่ดี ที่เราได้สั่งสมกระทำมาก่อน (ทางพุทธศาสนาเรียกสั้นๆ ว่า “กรรม”)
กฎแห่งกรรม นี้เอง ที่กำหนดชะตาชีวิตของคนเราแต่ละคนให้เป็นไปในทิศทางที่แตกต่างกัน แต่ตัวเราเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงกฎแห่งกรรมนี้ได้ โดยการคิดดี พูดดี ทำดี รวมถึงการสวดมนต์แบบ “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว” นี้ด้วย ซึ่งผลจากการสวดมนต์นั้น จะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ให้คิดดี พูดดี ทำดี แบบอัตโนมัติเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง
ฉันใดก็ฉันนั้น ดอกบัว แม้จะเติบโตในโคลนตม ก็ยังสามารถเติบโตชูช่อโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอวดความงดงามแบบบริสุทธิ์ เปรียบดั่งมนุษย์เรา ที่จะเติบโตขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จ บรรลุหลักธรรมต่างๆ ก็ต้องผ่านการฝึกฝน ฟันฝ่า และต่อสู้กับภัยรอบด้านต่างๆ เพื่อจะก้าวขึ้นมายืนอย่างสง่าผ่าเผย
เคียว (経 – Kyō) – พระสูตร สื่อถึง เสียงของสรรพสัตว์ ความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันในทุก ๆ ระดับ
พระสูตร หรือ คำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในแง่มุมนี้ จะหมายถึง จังหวะของเสียง การสั่นสะเทือนของการสวดมนต์ รวมไปถึงการบ่งบอกถึงแนวคิดที่ว่า ทุกสิ่งในจักรวาลนั้น มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันอย่างลึกซึ้งนั่นเอง
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว
- เป็นชื่อของพระพุทธดั้งเดิมที่มีอยู่ในชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งปวง
- เป็นธรรมที่เป็นบ่อเกิดของสกลจักรวาล และเป็นรากฐานของสรรพสิ่งทั้งปวงในสกลจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นดำเนินไปภายใต้กฎหรือธรรมแห่งนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว
- เป็นธรรมที่เป็นบ่อเกิดของการบรรลุพุทธภาวะของสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธทุกองค์รวมทั้งพระศากยมุนีพุทธและพระประภูตรัตนพุทธ ต่างก็บรรลุพุทธภาวะได้ด้วยนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เช่นกัน
- เป็นสัทธรรมปุณฑริกสูตรแห่งสมัยธรรมปลาย เนื่องจากสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยพระศากยมุนีพุทธนั้นประกอบด้วยคำสอน ๒๘ บท แต่คำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรแห่งสมัยธรรมปลายนั้น มีเพียงคำว่า “นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว”
เข้าฌาน สู่ภวังคจิต นิ่งและดิ่ง มีประโยชน์น้อย
ภวังคจิต หรือการเข้าสู่ภวังค์เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร มีดังนี้
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า "ภวังค์" หรือ "ภวังคจิต" คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,
ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ ภวังคจิต"
ภวังคจิตนี้เป็นจิตตัวเดิม จิตที่ดำรงลมหายใจ จิตที่ให้ดำรงประสาททำงาน ดำรงให้หัวใจเต้นอยู่ ฯลฯ พอมีอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้ามาผสม ผสมกัน
ภวังคจิต ก็คือ ระหว่างจิตประภัสสรกับเจตสิกที่นำมาปรุงแต่ง แต่ถ้าเราเห็นปุ๊บ ก็ไม่ใช่ภวังคจิตแล้ว แต่ถ้าเราหลับตา แล้วเรา "นิ่ง" อยู่ ก็แสดงว่าเป็นภวังคจิต แต่ถ้าเราหลับตาแล้วจิตเราคิดต่างๆ นานาๆ ก็ไม่ใช่ภวังคจิตแล้ว
ภวังคจิต ก็คือ "นิ่ง" เหมือนกับน้ำ เทน้ำลงแก้ว แล้วยังไม่มีสิ่งอื่นๆ ไปผสม ยังเป็นน้ำที่สะอาด ใสอยู่
การเข้าฌาน ก็คืออยู่ในภวังคจิตตรงนี้แหละ จะดิ่ง และนิ่ง อยู่ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า แก้ทุกข์ไม่ได้ พอเราขยับเมื่อไหร่ก็จะเป็นทุกข์อีก
พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา”
จิตจร ก็คือ เราเอาเจตสิกมาปรุงเข้าไป
ยกตัวอย่าง น้ำนี้บริสุทธิ์ เช่น เราเอาสีอะไรหยดเข้าไป น้ำนี้ก็กลายเป็นสีไปตามนั้น
จิตประภัสสรนี้เป็นภวังคจิต คืออยู่ระหว่างกึ่งกลาง คือ ตัวนั้นเตรียมตัวจะมารับของล่ะ
ยกตัวอย่าง เรามีแก้วน้ำ แล้วเราเอาแก้วน้ำนี้ไปตวงจากถังน้ำใหญ่มาแล้ว เหลือรอแค่การประสมเท่านั้น คือพูดง่ายๆ คือ "รอเตรียมการผสม" "เตรียมของที่จะมาปรุง"
เห็นไหมว่า ถ้าเราเข้าฌาน เข้าสู่ภวังคจิต แต่!! เราแก้ทุกข์ไม่ได้ แม้ว่าจะทำให้จิตของเราบริสุทธิ์ก็แก้ไม่ได้ คนทั่วไปเข้าใจว่า จิตประภัสสรนี้พิเศษ พิสดาร ไม่ใช่เลย เพียงแต่เป็นน้ำใส รอพร้อมที่จะให้เอาอะไรมาเติม มันอยู่ที่ว่าเราจะเอาอะไรไปเติมต่างหาก
ถ้าเราจะแก้ต้องมีสัมปชัญญะต่างหาก ตกลงว่า เราจะเอาอะไรไปเติม
คำว่า "ไม่ให้กิเลสมาครอบงำจิตเราได้" นี่หมายถึง ถ้าเราโดนกิเลสมาครอบงำ จิตเราก็จะโดนไปตามที่กิเลสเสี้ยมสอน จิตที่เสี้ยมก็คือกิเลส เช่น ยกตัวอย่าง เรารู้แล้วว่าเรากินน้ำหวานไม่ได้ แต่เราก็อดใจไม่ได้ จะเอาน้ำตาลใส่ลงไป ยกตัวอย่าง เวลานี้เรากินเผ็ดไม่ได้ แต่ถ้าเรายังใส่พริกลงไปเยอะๆ เราก็เสร็จมัน ก็จบ ตัวที่เผ็ดนี้ก็คือกิเลส
นี่แหละ พระอรหันต์ก็ไม่เอาภวังคจิต เพราะท่านไม่ต้องการให้จิตนิ่งเฉยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรามีการขยับ ก็ออกมาเมื่อนั่น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอะไรไปขยับมากกว่า
หลายๆ คนมีความเข้าใจผิด เราก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไรให้เข้าใจถูก เพราะว่า ฟังเราไม่ขึ้น เขาไม่เชื่อว่าเราจะเข้าใจ แต่ถ้าใครเปิดใจ เราก็จะมีตัวอย่างให้เขาเห็นได้
ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์พระพุทธเจ้า เรื่อง Little Buddha พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลกลืมไม่ได้
ในตอนหนึ่งว่า
"ในธิเบต เราคิดว่าในจิตใจกับร่างกาย เป็นของที่บรรจุอยู่ในภาชนะ (แล้วทุบถ้วยชาแตก) ดูซิตอนนี้ถ้วย ไม่ใช่ถ้วยอีกต่อไปแล้ว แต่ส่วนชาก็ยังเป็นชา (น้ำชากระเด็น) ไม่ว่าในถ้วย หรือบนโต๊ะ หรือบนพื้นห้องนี่ มันย้ายภาชนะหนึ่งไปอีกภาชนะหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นชา
เหมือนดวงจิตหลังการตาย มันย้ายจากร่างหนึ่งไปอีกร่างหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นจิต แม้แต่ผ้าผืนนี้ก็ยังเป็นชา (ผ้าที่เอามาเช็ดน้ำชาที่หก) ชาเดิมนั่นแหละ
ชายคนนั้นตอบว่า กินไม่ลง ขอบคุณ
พระธิเบต หัวเราะ
เมื่อเราแน่ใจว่ากลับชาติมาเกิด"
จบหนึ่งฉาก
แปลกใจอย่างหนึ่งก็คือ ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จะไม่ค่อยมีการยกตัวอย่างเช่นนี้ เพราะว่าไม่ชอบเอาตัวอย่าง ท่องศัพท์เป็นตัว ทางฝ่ายมหายานชอบใช้รูปมาเป็นตัวอย่าง จะเข้าสู่คำว่า "เซน" (Zen) (禅) เข้าสู่ธรรมชาติ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับอานิสงส์จากเต๋า (道) เต๋าเขาพูดไม่ใช่พูดแต่ศัพท์นะ พอเซนพูด จะยกตัวอย่างธรรมชาติมาเปรียบเทียบให้ฟัง
เซน (禅) นี้ก็มีการอธิบายให้ฟังอยู่ และเซน (禅) นี้ จะผสมกับเต๋า แต่ถ้าเซนจากอินเดียแท้ๆ ไม่มีอะไร แต่ถ้าเซน (禅) จากจีน จะมีการผสมลัทธิเต๋า(道教: Dàojiao) อยู่ด้วย
แต่ทำไมเซนของญี่ปุ่นถึงดังกว่า เพราะว่าช่วงหนึ่งของคอมมิวนิสต์จีน ปิดกั้นหมดตั้ง ๕๐ กว่าปี ทางเซนญี่ปุ่นก็เลยดัง จะเห็นได้ว่า พระเซนญี่ปุ่นยังแต่งกายเหมือนกับพระจีน ไม่แต่งแบบพระญี่ปุ่น
จะเห็นได้จากการสวด คือ นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว ก็คือ สวดถึงเจ้าแม่กวนอิมนี่เอง
คุณ mr_rtee (https://ppantip.com/topic/36029720) ได้อธิบาย นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เข้าใจง่ายๆ และละเอียด ดังนี้
คำว่า “นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว” (Nam Myōhō Renge Kyō) เป็นคำอ่านในภาษาญี่ปุ่น (南無妙法蓮華經) สำหรับการอ่านคำภาษาสันสกฤต (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) คำว่า “นะมัส” หรือ “นะโม” ส่วนคำว่า “เมียวโฮเร็งเงเคียว” นั้นเป็นการออกเสียงตัวอักษรภาษาจีน ด้วยหลักการออกเสียงในแบบภาษาญี่ปุ่น นั่นเอง
นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว คืออะไร ?
โดยเนื้อแท้ของบทสวดนี้ คือ การระลึก และสรรเสริญ พร้อมทั้งอุทิศชีวิตให้กับหลักธรรมสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือพระสูตรบัวขาว (The Lotus Sutra) ที่ถูกเผยแพร่ครั้งแรกโดย ท่านนิชิเรนไดโชนิน ซึ่งเป้าประสงค์ของพระสูตร (題目 – Daimoku) ฉบับนี้ก็เพื่อให้มนุษย์ปุถุชนทั่วไปสามารถบรรลุหลักธรรมอันสูงสุด อย่างสมบูรณ์แบบ (attain perfect and complete awakening) โดยพระสูตรฉบับนี้ได้รับการแปลโดยท่านพระมหาธรรมโฆษาจาร์กุมารชีพ (Kumārajīva)
ความหมายของคำว่า "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว"
ความหมายของคำว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว นั้นสามารถแยกออกมาได้เป็นส่วนๆ ดังนี้
- นัม (南無 – Nam) หมายถึง นะโม คือ การอุทิศตัวให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- เมียว (妙 – Myō) หมายถึง ความมหัศจรรย์ ความลึกลับ สิ่งอัศจรรย์
- โฮ (法 – Hō) หมายถึง หลักธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา
- เร็ง (蓮 – Ren) หมายถึง ดอกบัว
- เง (華 – Ge) หมายถึง ดอกไม้
- เคียว (経 – Kyō) หมายถึง การอบรม สั่งสอน หรือพระสูตรนั่นเอง
อนึ่ง ความหมายของคำว่า “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว” นั้น ก็ยังหมายถึง “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” ไปด้วย
นัม (南無 – Nam, Namu) – นะโม คือ การอุทิศ
นะโม เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง “การอุทิศตัวเอง” ท่านนิชิเรนไดโชนิน ได้เผยแผ่การสวดมนต์นี้ ก็เพื่อเป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตของพวกเขาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกทำนองคลองธรรม โดยความหมายจากภาษาสันสกฤตนั้น บ่งชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำและทัศนคติที่ดี และจะหมายถึงการกระทำที่ถูกต้องซึ่งต้องใช้เวลา และทัศนคติที่ต้องการในการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะบรรลุพุทธภาวะในชีวิตนี้
เมียวโฮ (妙法 – Myōhō) – สัทธรรม คือ ธรรมะอันอัศจรรย์
หมายถึง ธรรมะ หรือกฎแห่งธรรมชาติ ที่อยู่ภายใต้ความเป็นจริง ซึ่งถูกควบคุมด้วยกลไกความลึกลับแห่งจักรวาล และชีวิตของคนเราจากช่วงเวลาหนึ่ง ไปสู่ช่วงเวลาหนึ่ง โดยคำว่า Myo ยังหมายถึง สาระสำคัญของชีวิตส่วนหนึ่งซึ่งเราอาจมองไม่เห็นมัน และยากแท้หยั่งถึงที่จะเข้าใจมันได้ แต่สาระสำคัญนี้มักจะแสดงตัวตนออกมาให้เรารับรู้ได้ โดยความรู้สึก ผ่านปรากฎการณ์ หรือประสาทสัมผัส (Ho) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
(ความเห็นส่วนตัว: คลับคล้ายกับหลักปฏิจจสมุปปบาท เลยที่มีกลไกการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อย่างรวดเร็ว จนบางทีเราอาจจะไม่ได้รับรู้เลยว่า มันมีตัวตน และเกิดขึ้นแล้ว จนกระทั่ง เรารับรู้ผ่านผัสสะ หรือเห็นผลจากการกระทำนั้นๆ แล้ว)
เร็งเง (蓮華 – Renge) – ปุณฑริก คือ ดอกบัว สื่อถึง เหตุและผลเกิดขึ้นพร้อมกัน
หมายถึง ดอกบัว ซึ่งดอกบัวนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบบุคคลทั้ง 4 ประเภท และนอกจากนี้ ดอกบัว ยังสามารถผลิตเมล็ดบัว ซึ่งเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับดอกบัว จึงเป็นความพร้อมกันของเหตุและผล สถานการณ์ และคุณภาพชีวิตของคนเรานั้น จะถูกกำหนดโดยเหตุ และผล ทั้งด้านดี และด้านไม่ดี ที่เราได้สั่งสมกระทำมาก่อน (ทางพุทธศาสนาเรียกสั้นๆ ว่า “กรรม”)
กฎแห่งกรรม นี้เอง ที่กำหนดชะตาชีวิตของคนเราแต่ละคนให้เป็นไปในทิศทางที่แตกต่างกัน แต่ตัวเราเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงกฎแห่งกรรมนี้ได้ โดยการคิดดี พูดดี ทำดี รวมถึงการสวดมนต์แบบ “นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว” นี้ด้วย ซึ่งผลจากการสวดมนต์นั้น จะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ให้คิดดี พูดดี ทำดี แบบอัตโนมัติเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง
ฉันใดก็ฉันนั้น ดอกบัว แม้จะเติบโตในโคลนตม ก็ยังสามารถเติบโตชูช่อโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอวดความงดงามแบบบริสุทธิ์ เปรียบดั่งมนุษย์เรา ที่จะเติบโตขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จ บรรลุหลักธรรมต่างๆ ก็ต้องผ่านการฝึกฝน ฟันฝ่า และต่อสู้กับภัยรอบด้านต่างๆ เพื่อจะก้าวขึ้นมายืนอย่างสง่าผ่าเผย
เคียว (経 – Kyō) – พระสูตร สื่อถึง เสียงของสรรพสัตว์ ความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันในทุก ๆ ระดับ
พระสูตร หรือ คำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในแง่มุมนี้ จะหมายถึง จังหวะของเสียง การสั่นสะเทือนของการสวดมนต์ รวมไปถึงการบ่งบอกถึงแนวคิดที่ว่า ทุกสิ่งในจักรวาลนั้น มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันอย่างลึกซึ้งนั่นเอง
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว
- เป็นชื่อของพระพุทธดั้งเดิมที่มีอยู่ในชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งปวง
- เป็นธรรมที่เป็นบ่อเกิดของสกลจักรวาล และเป็นรากฐานของสรรพสิ่งทั้งปวงในสกลจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นดำเนินไปภายใต้กฎหรือธรรมแห่งนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว
- เป็นธรรมที่เป็นบ่อเกิดของการบรรลุพุทธภาวะของสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธทุกองค์รวมทั้งพระศากยมุนีพุทธและพระประภูตรัตนพุทธ ต่างก็บรรลุพุทธภาวะได้ด้วยนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว เช่นกัน
- เป็นสัทธรรมปุณฑริกสูตรแห่งสมัยธรรมปลาย เนื่องจากสัทธรรมปุณฑริกสูตรในสมัยพระศากยมุนีพุทธนั้นประกอบด้วยคำสอน ๒๘ บท แต่คำสอนสัทธรรมปุณฑริกสูตรแห่งสมัยธรรมปลายนั้น มีเพียงคำว่า “นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว”