Review เทคนิคการทำ TOEIC พาร์ท Listening ให้ได้เต็มตั้งแต่ครั้งแรก

ผมไปสอบโทอิคมาครั้งแรกครับ ได้คะแนนมาตามนี้
วันนี้ก็จะมารีวิวเทคนิคที่ใช้ในการทำข้อสอบ TOEIC พาร์ทฟัง(Part 1 - 4) และจุดที่หลายคนมักจะพลาดกัน

ถ้าชอบกระทู้นี้และอยากได้เนื้อหาแบบนี้อีก
ก็สามารถเข้าร่วมกลุ่มติวโทอิคฟรีกับผมได้ที่ https://www.facebook.com/groups/1053586164845808/

ก่อนจะไปที่เทคนิค ตามธรรมเนียมก็ต้องพูดถึงหนังสือที่อ่านก่อนเพี้ยนจริงจัง
ผมฝึกทำข้อสอบของoxford 2 ชุด ซึ่งหลายคนคงรู้จักดี
นอกจากนั้นก็ฝึกอ่านและฟังข่าวจาก Bloomberg, The Economist, Wall Street Journal และ CNBC ทุกวัน
แน่นอนว่าแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน ลองเอาไปปรับใช้ดู อย่าทำตามผมเป๊ะๆ

จบแล้วไปดูเทคนิคกันเลย เพี้ยนลุย

Part1 มี 10 ข้อ ดูรูปแล้วฟังช้อยส์ว่าข้อไหนตรงกับสถานการณ์ในรูป
อย่างรูปนี้ก็จะอาจจะมีช้อยส์พูดมาว่า
A) The restaurant is empty.
B) The place is crowdy.
ในร้านไม่มีคนเลย ก็ตอบ A) เห็นอะไรก็ตอบไปตามนั้น

คนที่พลาดพาร์ทนี้มักจะสังเกตผิดจุด เช่น พยายามเพ่งว่าบนเคาน์เตอร์วางอะไรไว้
ข้างนอกร้านเป็นอะไร โต้ะทำจากไม้อะไร คิดมากไป เลยฟังไม่ทันว่าโจทย์พูดอะไร

เทคนิคในการทำคือ
1. ดูรูปคร่าวๆพอว่าใครทำอะไรที่ไหน พวกที่อยู่ในbackgroundไกลๆไม่ต้องไปสนใจ
2. ถ้าเป็นคนให้สังเกตุเพศกับอายุให้ดี
3. ตั้งใจฟังSubjectและObjectของประโยคให้ดี จุดนี้จะเอามาหลอกบ่อย
เช่นเป็นรูปเด็กนักเรียนยกมือถามครู ก็บอกครูเป็นคนยกมือแทน

Part 2 มี 30ข้อ ให้เราคุยกับคนในเทป ยังไง? เทปจะพูดประโยคขึ้นมาประโยคนึง
แล้วให้เราฟังช้อยส์ 3ข้อเพื่อเลือกไปตอบ ประโยคจะมี 3ประเภทคือ

1. Wh-questions คำถามพวก what when where why how
2. Yes-no questions คำถามที่ขึ้นต้นด้วยพวก is am are will should can
แต่ มันไม่จำเป็นต้องตอบ yes หรือ no ต้องฟังช้อยส์ให้ดีๆอย่าโดนหลอก
3. Statements ประโยคบอกเล่า

ตัวอย่าง
ถ้าใครคิดว่าถาม Will ต้องตอบ yes หรือ no แน่นอน เราเรียนมา
ตอบA) ก็โดนหลอก
ข้อนี้ตอบ C) ฉันจะแจ้งให้ทุกคนทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทันที

เทคนิคในการทำคือ
1. ช้อยส์ข้อไหนฟังแล้วมีคำที่เหมือนๆกับโจทย์ ตัดทิ้งไปได้เลย

เพราะ ข้อสอบจะชอบเอาคำที่ออกเสียงคล้ายกันมาหลอก เช่น
Can you do me a favor? A) Yeah, I like the flavor
ถ้าเราคิดว่า ฟังดู flavorมันคล้ายๆกับโจทย์ ตอบข้อนี้ละกัน ตอบปุ๊ป คะแนนหายปั๊ป

2. หลังจากฟังโจทย์เสร็จ ก่อนจะฟังช้อยส์ให้พูดทวนดูว่าโจทย์คืออะไร

จะได้มั่นใจว่าเขาถามอะไร โดยเฉพาะถ้าเป็นประโยคคำถามต้องจำต้นประโยคให้ได้
จำไม่ได้ก็ทำไม่ได้

Part 3 มี 30ข้อ ฟังบทสนทนาสั้นๆ ผู้ชายกับผู้หญิงคุยกัน จากนั้นตอบคำถาม 3ข้อ
หลังบทพูดจบ เทปจะพูดคำถามแต่ละข้อ มีเวลาให้เราฝน ดังนั้นใจเย็นๆอย่ารีบมาก

คำถามที่พบได้บ่อยคือ What are the speakers discussing?
พูดแล้วน่าจะยังไม่เห็นภาพ มาดูตัวอย่างคำถามกันดีกว่า
อ่านโจทย์ก็จะรู้ว่าพูดกันถึงเรื่องเดินทาง เราอาจจะคิดเป็นภาพว่า
เขากำลังคุยกันแบบนี้(ถ้าคิดเป็นภาพได้จะจำรายละเอียดได้ดีขึ้น)
โจทย์ถาม เขาจะไปไหนกัน? ไปยังไง? ทำไมไม่ไปด้วยกัน?

เวลาฟังก็ต้องตอบ 3ข้อนี้ให้ได้ เรื่องอื่น เช่น จะไปกันเมื่อไหร่? ม่ต้องไปสนใจ

ที่สำคัญคือ ต้องอ่านโจทย์ก่อนเทปจะเล่น จะได้รู้ว่าเราต้องจำอะไรไปตอบ

เทคนิคในการทำคือ
1. อ่านโจทย์ก่อนฟังเทป ถ้าทันก็อ่านช้อยส์ด้วย
2. ฟังเทปให้จบก่อน แล้วค่อยตอบ อย่าฟังไปฝนไปเพราะจะเสียสมาธิ
3. ฝนไม่ต้องเต็มวง มาฝนทีหลังได้ ควรทำเสร็จและเริ่มอ่านโจทย์ชุดต่อไป
ก่อนที่ข้อสอบจำพูดคำถามที่ 2 จบ

คำแนะนำในการฝึก
ถ้าคิดเป็นภาพระหว่างฟังได้ จะทำให้เราจำรายละเอียดดีขึ้น
ลองหารูปผู้ชายกับผู้หญิงคุยกันดู เวลาฝึกทำก็นึกภาพว่าเขากำลังคุยกันอยู่

ข้อควรระวัง
ถ้าโจทย์ถามเวลา ต้องตั้งใจฟังให้ดีว่าเทปพูดถึงเวลาตอนไหน
ไม่ตั้งใจจะโดนหลอกได้ เช่น ถามเวลาลงจากเครื่องบิน ไปตอบเวลาขึ้นเครื่อง
ดังนั้นฟังให้จบก่อนแล้วค่อยฝนชัวร์สุด

Part 4 มี 30ข้อ เหมือน Part 3ทุกอย่าง ต่างกันที่เป็นบทพูดคนเดียว
เช่น ประกาศ รายการวิทยุ งานอบรมสัมนา ไกด์พูดบนรถทัวร์
คำถามที่พบได้บ่อยคือ What is being discussed? Who most likely is the speaker?

โจทย์ เทคนิค และวิธีการทำก็คล้ายๆกับ Part 3 แต่จะง่ายกว่า เพราะถ้าเราเคยฟังรายการวิทยุ
หรือประกาศต่างๆ เช่น เคยขึ้นรถทัวร์ก็จะพอเดาได้ว่าไกด์จะพูดถึงอะไร ตอนไหน
ฟังไม่ทันก็พอจะเดาได้

คำแนะนำในการฝึก
ลองดูคลิปรายการวิทยุที่มีhostคนเดียว หรือ พิธีกรพูดในงานอบรม จะได้มีไอเดียคร่าวๆ
เวลาฝึกทำจะเห็นภาพมากขึ้น

จบครับมีคำถามอะไรก็ถามมาได้ ถ้าอ่านแล้วอยากลองฝึกทำ
ก็เสริ์จหาคำว่า ets toeic ในyoutube มีข้อสอบของจริงพาร์ทฟังให้ฝึกหลายชุด

Zero-day TOEIC เขียนให้อ่านฟรี ไม่ต้องลงคอร์สแม้แต่วันเดียว
พาพันขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่