สวัสดีค่ะ
ขออนุญาตแชร์เพจข้อมูลที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและการอยู่ดี-ตายดีนะคะ
(ไม่แน่ใจว่าการแนะนำเพจต่างๆ แบบนี้ผิดกฎพันทิปไหม หากผิดกฎทางพันทิปลบกระทู้นี้ทิ้งได้เลยค่ะ)
ส่วนแรก เพจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและเผชิญความตายอย่างสงบ
1. Peaceful Death
https://www.facebook.com/peacefuldeath2011/
2. ชีวามิตร Cheevamitr Social Enterprise
https://www.facebook.com/Cheevamitr/
3. สุขปลายทาง
https://www.facebook.com/ThaiLivingWill.in.th/
4. Palliative Medicine ยากนิดเดียว
https://bit.ly/2JsKZod
เพจข้างต้นนี้ มีทั้งข้อมูลในแง่ข้อคิดและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับความตาย การดูแลทางด้านจิตใจ ข้อมูลทางด้านการแพทย์ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย รวมถึงความรู้ทางด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีข่าวสารกิจกรรมให้ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีประโยชน์มากๆ ค่ะ (เพจที่4 จะออกแนวหมอๆ คุยกันมากกว่า แต่บางอย่างคนทั่วไปก็อ่านผ่านๆ ตาได้ค่ะ)
******
ส่วนที่สอง ช่องทางสำหรับผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือผู้สูญเสียที่กำลังรู้สึกทุกข์และต้องการคนรับฟัง หรือขอคำปรึกษาเพื่อดูแลสุขภาวะทางจิตใจ
เราขอแนะนำดังนี้ค่ะ
1. I SEE U SHARE
https://www.facebook.com/ISEEUSHARE
(ฟรี ไม่มีค่าบริการค่ะ แต่เปิดรับบริจาคเพื่อสมทบทุนได้ตามกำลังศรัทธา)
ท่านใดอยากเป็นจิตอาสาช่วยเยียวยาจิตใจด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) หรือเป็นจิตอาสาเยี่ยมผู้ป่วย สามารถสอบถามได้ทางเพจ I See U Contemplative Care นะคะ
https://www.facebook.com/iseeumindfulness/
หรือจะไปพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาการปรึกษาโดยตรงเลยก็ได้ค่ะ
ในส่วนนี้ เราขอแนะนำเฉพาะจากประสบการณ์ตรงของตัวเองที่เคยใช้บริการแล้วรู้สึกโอเคนะคะ
2.ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/WellnessPsyCU/
เป็นบริการการปรึกษาแบบพบตัว
ต้องโทรนัดหมายเวลาก่อนนะคะ
(ไม่ฟรี มีค่าบริการค่ะ)
3.นักจิตวิทยาที่ปรึกษาคนหนึ่ง : ดร.สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์
https://www.facebook.com/onemancounselor/
https://www.onemancounselor.com/
มีทั้งบริการการปรึกษาแบบพบตัวและออนไลน์
(ไม่ฟรี มีค่าบริการค่ะ)
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสำหรับดูแลผู้ดูแลโดยเฉพาะของทางกลุ่ม Peaceful Death ที่ออกแบบเครื่องมือ 'Care Club' มาเพื่อเยียวยาและพัฒนาสุขภาวะของผู้ดูแล
เราเคยไปเข้าร่วมกิจกรรมครั้งหนึ่ง ประทับใจมากค่ะ
(สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมได้จากเพจ Peaceful Death)
******
ส่วนที่สาม รายชื่อหน่วยงานทางด้านการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้าย(Palliative Care) ของโรงพยาบาลต่างๆ
1..ศูนย์รามาธิบดีอภิบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี
https://www.facebook.com/RPC.Rama/
2.ศูนย์บริรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช
https://www.facebook.com/Siriraj-Palliative-Care-Center-1418213848473623/
3.ศูนย์การุนย์รักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
https://www.facebook.com/KPCKKU/
4.ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
5.หน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
เพจหน่วยงานข้างต้น ก็มีข่าวสารข้อมูลประชาสัมพันธ์หรือเปิดอบรมความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปอยู่บ้าง ลองติดตามข้อมูลดูได้ค่ะ
บางโรงพยาบาลถึงแม้จะยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะทางด้านPalliative Care แต่ก็น่าจะมีแพทย์หรือพยาบาลทางด้านนี้อยู่นะคะ หากต้องการคำปรึกษาก็ลองสอบถามทางโรงพยาบาลดูได้เลยค่ะ
******
เพิ่มเติม
หากท่านกำลังเป็นผู้ดูแลหรือเป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือหรืออยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)
เราขอแนะนำว่า ให้ท่านสอบถามแพทย์หรือพยาบาลในสถานพยาบาลที่ท่านทำการรักษาได้เลย ว่าสถานพยาบาลแห่งนั้นมีหน่วยงานหรือบุคลากรที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะไหม โปรดอย่าได้ลังเลหรือรีรอ เพราะบางครั้งหมอหรือพยาบาลทางด้านนี้ก็อาจจะไม่ค่อยสะดวกใจที่จะเดินดุ่มๆ เข้ามาหาคนไข้แล้วบอกว่า เราจะมาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนะ เพราะไม่รู้ว่าคนไข้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเองมากน้อยแค่ไหน หรือมีความพร้อมทางด้านจิตใจแค่ไหน จึงอาจจะง่ายกว่า ถ้าเราเป็นฝ่ายแสดงตัวให้ฝ่ายแพทย์ทราบว่า เราต้องการการดูแลแบบประคับประคองหรือต้องการวางแผนเผชิญความตายอย่างสงบ
หรืออีกทางหนึ่งคือ หน่วยงานด้าน Palliative Care เพิ่มการประชาสัมพันธ์ตนเองให้ประชาชนทั่วไปทราบ ว่าโรงพยาบาลแห่งนี้มีหน่วยงานด้านนี้อยู่นะ เพื่อผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจะได้รู้ว่า เขาจะสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาได้จากที่ไหน และเป็นฝ่ายเดินเข้าหาท่านเอง
เราเองกว่าจะรู้ว่าโรงพยาบาลที่แม่รักษาตัวก็มีหน่วยงานด้าน Palliative Care อยู่ ก็หลังจากแม่เสียไปแล้วหลายปี ทั้งที่ตอนนั้นเราก็หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองทางอินเตอร์เน็ตนะ แต่ตอนนั้นข้อมูลด้านนี้ยังมีน้อยและเราก็ไม่เจอข้อมูลของหน่วยงานดังกล่าว แต่เราก็ไม่ได้ถามหมอหรือพยาบาลนี่สิ เพราะไม่เจอก็เลยคิดว่าไม่มี (คิดแล้วก็น่าตีตัวเองจริงๆ
)
และขอสารภาพตามตรงว่า ตอนที่เห็นแค่ชื่อหน่วยงานครั้งแรก เราก็ยังไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
เราขอเดาเองนะคะว่า คงเพราะหากตั้งชื่อตรงตัวเกรงว่าจะทำให้ผู้ป่วยหรือญาติหวั่นไหว จึงตั้งชื่อที่เห็นแล้วอบอุ่นหัวใจดีกว่า
แต่ที่แน่ๆ สาเหตุสำคัญก็คือ เป็นเพราะตอนนั้นเราเองยังรู้น้อยและมีข้อมูลในเรื่องนี้น้อยเกินไป
******
หากใครมีแหล่งข้อมูลอื่นๆ อีก มาช่วยแชร์กันได้เลยค่ะ
สุดท้ายนี้
ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยและผู้ที่มีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วยทุกท่านนะคะ ขอบคุณค่ะ
*แก้คำผิด
[แชร์ข้อมูล] เราจะหาข้อมูลหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและการเผชิญความตายอย่างสงบได้จากที่ไหนบ้าง
1. Peaceful Death
https://www.facebook.com/peacefuldeath2011/
2. ชีวามิตร Cheevamitr Social Enterprise
https://www.facebook.com/Cheevamitr/
3. สุขปลายทาง
https://www.facebook.com/ThaiLivingWill.in.th/
4. Palliative Medicine ยากนิดเดียว
https://bit.ly/2JsKZod
เพจข้างต้นนี้ มีทั้งข้อมูลในแง่ข้อคิดและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับความตาย การดูแลทางด้านจิตใจ ข้อมูลทางด้านการแพทย์ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย รวมถึงความรู้ทางด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีข่าวสารกิจกรรมให้ความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีประโยชน์มากๆ ค่ะ (เพจที่4 จะออกแนวหมอๆ คุยกันมากกว่า แต่บางอย่างคนทั่วไปก็อ่านผ่านๆ ตาได้ค่ะ)
******
ส่วนที่สอง ช่องทางสำหรับผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือผู้สูญเสียที่กำลังรู้สึกทุกข์และต้องการคนรับฟัง หรือขอคำปรึกษาเพื่อดูแลสุขภาวะทางจิตใจ
เราขอแนะนำดังนี้ค่ะ
1. I SEE U SHARE
https://www.facebook.com/ISEEUSHARE
(ฟรี ไม่มีค่าบริการค่ะ แต่เปิดรับบริจาคเพื่อสมทบทุนได้ตามกำลังศรัทธา)
ท่านใดอยากเป็นจิตอาสาช่วยเยียวยาจิตใจด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) หรือเป็นจิตอาสาเยี่ยมผู้ป่วย สามารถสอบถามได้ทางเพจ I See U Contemplative Care นะคะ
https://www.facebook.com/iseeumindfulness/
หรือจะไปพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาการปรึกษาโดยตรงเลยก็ได้ค่ะ
ในส่วนนี้ เราขอแนะนำเฉพาะจากประสบการณ์ตรงของตัวเองที่เคยใช้บริการแล้วรู้สึกโอเคนะคะ
2.ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/WellnessPsyCU/
เป็นบริการการปรึกษาแบบพบตัว
ต้องโทรนัดหมายเวลาก่อนนะคะ
(ไม่ฟรี มีค่าบริการค่ะ)
3.นักจิตวิทยาที่ปรึกษาคนหนึ่ง : ดร.สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์
https://www.facebook.com/onemancounselor/
https://www.onemancounselor.com/
มีทั้งบริการการปรึกษาแบบพบตัวและออนไลน์
(ไม่ฟรี มีค่าบริการค่ะ)
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสำหรับดูแลผู้ดูแลโดยเฉพาะของทางกลุ่ม Peaceful Death ที่ออกแบบเครื่องมือ 'Care Club' มาเพื่อเยียวยาและพัฒนาสุขภาวะของผู้ดูแล
เราเคยไปเข้าร่วมกิจกรรมครั้งหนึ่ง ประทับใจมากค่ะ
(สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมได้จากเพจ Peaceful Death)
******
ส่วนที่สาม รายชื่อหน่วยงานทางด้านการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้าย(Palliative Care) ของโรงพยาบาลต่างๆ
1..ศูนย์รามาธิบดีอภิบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี
https://www.facebook.com/RPC.Rama/
2.ศูนย์บริรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช
https://www.facebook.com/Siriraj-Palliative-Care-Center-1418213848473623/
3.ศูนย์การุนย์รักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
https://www.facebook.com/KPCKKU/
4.ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
5.หน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
เพจหน่วยงานข้างต้น ก็มีข่าวสารข้อมูลประชาสัมพันธ์หรือเปิดอบรมความรู้สำหรับบุคคลทั่วไปอยู่บ้าง ลองติดตามข้อมูลดูได้ค่ะ
บางโรงพยาบาลถึงแม้จะยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะทางด้านPalliative Care แต่ก็น่าจะมีแพทย์หรือพยาบาลทางด้านนี้อยู่นะคะ หากต้องการคำปรึกษาก็ลองสอบถามทางโรงพยาบาลดูได้เลยค่ะ
******
เพิ่มเติม
หากท่านกำลังเป็นผู้ดูแลหรือเป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือหรืออยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)
เราขอแนะนำว่า ให้ท่านสอบถามแพทย์หรือพยาบาลในสถานพยาบาลที่ท่านทำการรักษาได้เลย ว่าสถานพยาบาลแห่งนั้นมีหน่วยงานหรือบุคลากรที่ดูแลด้านนี้โดยเฉพาะไหม โปรดอย่าได้ลังเลหรือรีรอ เพราะบางครั้งหมอหรือพยาบาลทางด้านนี้ก็อาจจะไม่ค่อยสะดวกใจที่จะเดินดุ่มๆ เข้ามาหาคนไข้แล้วบอกว่า เราจะมาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนะ เพราะไม่รู้ว่าคนไข้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเองมากน้อยแค่ไหน หรือมีความพร้อมทางด้านจิตใจแค่ไหน จึงอาจจะง่ายกว่า ถ้าเราเป็นฝ่ายแสดงตัวให้ฝ่ายแพทย์ทราบว่า เราต้องการการดูแลแบบประคับประคองหรือต้องการวางแผนเผชิญความตายอย่างสงบ
หรืออีกทางหนึ่งคือ หน่วยงานด้าน Palliative Care เพิ่มการประชาสัมพันธ์ตนเองให้ประชาชนทั่วไปทราบ ว่าโรงพยาบาลแห่งนี้มีหน่วยงานด้านนี้อยู่นะ เพื่อผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจะได้รู้ว่า เขาจะสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาได้จากที่ไหน และเป็นฝ่ายเดินเข้าหาท่านเอง
เราเองกว่าจะรู้ว่าโรงพยาบาลที่แม่รักษาตัวก็มีหน่วยงานด้าน Palliative Care อยู่ ก็หลังจากแม่เสียไปแล้วหลายปี ทั้งที่ตอนนั้นเราก็หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองทางอินเตอร์เน็ตนะ แต่ตอนนั้นข้อมูลด้านนี้ยังมีน้อยและเราก็ไม่เจอข้อมูลของหน่วยงานดังกล่าว แต่เราก็ไม่ได้ถามหมอหรือพยาบาลนี่สิ เพราะไม่เจอก็เลยคิดว่าไม่มี (คิดแล้วก็น่าตีตัวเองจริงๆ)
และขอสารภาพตามตรงว่า ตอนที่เห็นแค่ชื่อหน่วยงานครั้งแรก เราก็ยังไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
เราขอเดาเองนะคะว่า คงเพราะหากตั้งชื่อตรงตัวเกรงว่าจะทำให้ผู้ป่วยหรือญาติหวั่นไหว จึงตั้งชื่อที่เห็นแล้วอบอุ่นหัวใจดีกว่า
แต่ที่แน่ๆ สาเหตุสำคัญก็คือ เป็นเพราะตอนนั้นเราเองยังรู้น้อยและมีข้อมูลในเรื่องนี้น้อยเกินไป
******
หากใครมีแหล่งข้อมูลอื่นๆ อีก มาช่วยแชร์กันได้เลยค่ะ
สุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยและผู้ที่มีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วยทุกท่านนะคะ ขอบคุณค่ะ
*แก้คำผิด