พญ.ศรีเวียง ชี้ภาวะคุกคามระบบสุขภาพ ผลสำรวจห้องไอซียู พบผู้ป่วยระยะท้ายถึง 50%
16 มีนาคม 2562
นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เผยผลศึกษา 14 รพ.ทั่วประเทศ พบ 18% ที่รักษาตัว อยู่ในระยะท้ายของชีวิต -มีแค่ 17% เท่านั้นที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ขณะที่นักกฎหมาย เสนอรพ.ออกหนังสือรับรองอาการคนไข้ที่ประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน หวังอำนวยความสะดวกเรื่องขอใบมรณะบัตร
วันที่ 16 มีนาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทย์ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2562 เรื่อง "สิทธิปฏิเสธการรักษาในระยะท้ายของชีวิตกับปัญหาในทางปฏิบัติ" ณ ห้อง จิ๊ด เศรษฐบุตร (LT 1) คณะนิติศาสตร์ มธ.
ตอนหนึ่งในงานเสวนา รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กล่าวถึงผลการศึกษา 14 โรงพยาบาลทั่วประเทศไทย พบว่า 18% ของผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และมีแค่ 17% ของคนไข้กลุ่มนี้เท่านั้นที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) และจากการสำรวจในห้องไอซียู ยังพบผู้ป่วยระยะสุดท้ายถึง 50% ขณะที่การสำรวจหอผู้ป่วย พบผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 28% นี่คือภาวะที่คุกคามจากระบบที่โรงพยาบาลไม่มีการดูแลแบบ palliative care
รศ.พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์หลายคนรับทราบมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ที่ระบุ ให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต สามารถแสดงความประสงค์ที่จะไม่รับบริการทางการแพทย์ได้ แต่พอเจอคนไข้แบบนี้จริงๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากญาติขัดแย้งกัน เนื่องจากหลักสูตรการเรียนแพทย์ ไม่มีการเรียน palliative care จึงขาดองค์ความรู้และทักษะด้านนี้
"palliative care หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นภาวะคุกคามของระบบสุขภาพของคน จำเป็นต้องสร้างหมอที่มีทักษะด้านนี้"
พร้อมกันนี้ นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เสนอให้แต่ละโรงพยาบาลมีกรรมการจริยธรรมขึ้นมาดูแล โดยทำหน้าที่พิจารณาปัญหาที่ซับซ้อนกรณีแพทย์กับคนไข้ไม่สามารถตัดสินใจได้ เช่น ญาติทะเลาะกันอันเนื่องมาจากการรักษาคนไข้ ซึ่งกรรมการจริยธรรมจะทำงานโดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
ส่วนเรื่องการยับยั้งและยุติเครื่องพยุงชีพ รศ.พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า ในทางการแพทย์การยับยั้งและถอดถอนเครื่องพยุงชีพ สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย เป็นสิ่งที่ทำได้ เราไม่ได้มีเจตนาให้เขาเสียชีวิต เราปลดเปลื้องความทุกข์ทรมาณ และให้ไปตามธรรมชาติ แต่แพทย์ทั่วไปอาจไม่สามารถเข้าใจจุดนี้ ทางการแพทย์จึงต้องสร้างแนวปฎิบัติเรื่องการตัดสินใจ เพื่อให้แพทย์สามารถทำตามได้โดยไม่รู้สึกกังวล
ขณะที่ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ กล่าวถึงการสื่อสารระหว่างแพทย์กับญาติคนไข้ เป็นสิ่งสำคัญมาก พร้อมยกกรณีแพทย์นำแบบฟอร์มมาให้ญาติผู้ป่วยกรอกเพื่อปฏิเสธการรักษา (do not resuscitate) ตรงนี้ควรมีการเปลี่ยนเป็นแบบฟอร์ม AND หรือ Allow Natural Death เชื่อว่า จะทำให้ญาติผู้ป่วยสบายใจขึ้น
กรณีญาติคนไข้ระยะท้ายมีความประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน ศาสตราจารย์แสวง กล่าวถึงปัญหาที่ผ่านมา พบความยุ่งยากเรื่องการชันสูตรพลิกศพ จึงอยากเสนอแนะให้ทางโรงพยาบาลทำหนังสือรับรองอาการคนไข้ระยะท้าย ที่มีความประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน เพื่อให้ญาติได้นำเอกสารนี้ไปขอใบมรณะบัตร ได้ง่ายขึ้น
https://www.isranews.org/isranews/74735-palliative-care74735.html
การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ลดการใช้ไอซียู ปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานตามธรรมชาติ
16 มีนาคม 2562
นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เผยผลศึกษา 14 รพ.ทั่วประเทศ พบ 18% ที่รักษาตัว อยู่ในระยะท้ายของชีวิต -มีแค่ 17% เท่านั้นที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ขณะที่นักกฎหมาย เสนอรพ.ออกหนังสือรับรองอาการคนไข้ที่ประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน หวังอำนวยความสะดวกเรื่องขอใบมรณะบัตร
วันที่ 16 มีนาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทย์ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2562 เรื่อง "สิทธิปฏิเสธการรักษาในระยะท้ายของชีวิตกับปัญหาในทางปฏิบัติ" ณ ห้อง จิ๊ด เศรษฐบุตร (LT 1) คณะนิติศาสตร์ มธ.
ตอนหนึ่งในงานเสวนา รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กล่าวถึงผลการศึกษา 14 โรงพยาบาลทั่วประเทศไทย พบว่า 18% ของผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และมีแค่ 17% ของคนไข้กลุ่มนี้เท่านั้นที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) และจากการสำรวจในห้องไอซียู ยังพบผู้ป่วยระยะสุดท้ายถึง 50% ขณะที่การสำรวจหอผู้ป่วย พบผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจถึง 28% นี่คือภาวะที่คุกคามจากระบบที่โรงพยาบาลไม่มีการดูแลแบบ palliative care
รศ.พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์หลายคนรับทราบมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ที่ระบุ ให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต สามารถแสดงความประสงค์ที่จะไม่รับบริการทางการแพทย์ได้ แต่พอเจอคนไข้แบบนี้จริงๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากญาติขัดแย้งกัน เนื่องจากหลักสูตรการเรียนแพทย์ ไม่มีการเรียน palliative care จึงขาดองค์ความรู้และทักษะด้านนี้
"palliative care หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นภาวะคุกคามของระบบสุขภาพของคน จำเป็นต้องสร้างหมอที่มีทักษะด้านนี้"
พร้อมกันนี้ นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เสนอให้แต่ละโรงพยาบาลมีกรรมการจริยธรรมขึ้นมาดูแล โดยทำหน้าที่พิจารณาปัญหาที่ซับซ้อนกรณีแพทย์กับคนไข้ไม่สามารถตัดสินใจได้ เช่น ญาติทะเลาะกันอันเนื่องมาจากการรักษาคนไข้ ซึ่งกรรมการจริยธรรมจะทำงานโดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก
ส่วนเรื่องการยับยั้งและยุติเครื่องพยุงชีพ รศ.พญ.ศรีเวียง กล่าวว่า ในทางการแพทย์การยับยั้งและถอดถอนเครื่องพยุงชีพ สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย เป็นสิ่งที่ทำได้ เราไม่ได้มีเจตนาให้เขาเสียชีวิต เราปลดเปลื้องความทุกข์ทรมาณ และให้ไปตามธรรมชาติ แต่แพทย์ทั่วไปอาจไม่สามารถเข้าใจจุดนี้ ทางการแพทย์จึงต้องสร้างแนวปฎิบัติเรื่องการตัดสินใจ เพื่อให้แพทย์สามารถทำตามได้โดยไม่รู้สึกกังวล
ขณะที่ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ กล่าวถึงการสื่อสารระหว่างแพทย์กับญาติคนไข้ เป็นสิ่งสำคัญมาก พร้อมยกกรณีแพทย์นำแบบฟอร์มมาให้ญาติผู้ป่วยกรอกเพื่อปฏิเสธการรักษา (do not resuscitate) ตรงนี้ควรมีการเปลี่ยนเป็นแบบฟอร์ม AND หรือ Allow Natural Death เชื่อว่า จะทำให้ญาติผู้ป่วยสบายใจขึ้น
กรณีญาติคนไข้ระยะท้ายมีความประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน ศาสตราจารย์แสวง กล่าวถึงปัญหาที่ผ่านมา พบความยุ่งยากเรื่องการชันสูตรพลิกศพ จึงอยากเสนอแนะให้ทางโรงพยาบาลทำหนังสือรับรองอาการคนไข้ระยะท้าย ที่มีความประสงค์ไปเสียชีวิตที่บ้าน เพื่อให้ญาติได้นำเอกสารนี้ไปขอใบมรณะบัตร ได้ง่ายขึ้น
https://www.isranews.org/isranews/74735-palliative-care74735.html