ปรินิพฺพุตกถาวณฺณนา
ต่อแต่นี้ไป
เพื่อจะแสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำบริกรรมในพระปรินิพพาน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อถ โข ภควา ปฐมชฺฌานํ.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรินิพฺพุโต ภนฺเต ความว่า
ท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เข้านิโรธสมาบัติไม่มีอัสสาสปัสสาสะ จึงถามว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ.
ท่านพระอนุรุทธตอบว่า ยัง ผู้มีอายุ. พระเถระทราบเรื่อง.
ได้ยินว่า พระเถระเข้าสมาบัตินั้นๆ พร้อมกับพระศาสดานั่นแล
จึงรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ
แล้วดำเนินไป บัดนี้ เข้านิโรธสมาบัติ
ชื่อว่าการทำกาละในภายในนิโรธสมาบัติไม่มี.
ในพระบาลีนี้ว่า ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ
ออกจากตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า
ปฐมฌานในฐานะ ๒๔
ทุติยฌานในฐานะ ๑๓
ตติยฌานก็เหมือนกัน
เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕.
เข้าอย่างไร.
คือ เข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ เหล่านี้
มีอสุภะ ๑๐ อาการ ๓๒ กสิณ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อานาปานสติปริจเฉทากาส เป็นต้น.
แต่เว้นอาการ ๓๒ และอสุภะ ๑๐
เข้าทุติยฌานในฐานะที่เหลือ ๑๓
และเข้าตติยฌานในฐานะ ๑๓ นั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕ เหล่านี้
คือกสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร อานาปานสติ ปริจเฉทากาส อรูป ๔. กล่าวโดยสังเขปเท่านี้.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามี
เสด็จเข้าพระนครคือปรินิพพาน
เสด็จเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ยี่สิบสี่แสนโกฏิ
แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด
เหมือนคนไปต่างประเทศ
กอดคนที่เป็นญาติฉะนั้น.
ในคำนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา
เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ
ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์
แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว
พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์
แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ.
แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน
พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต
เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ.
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
อย่างต่ำมดดำมดแดง
ต้องกระทำกาละด้วย
ภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต
เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.
เรื่องแผ่นดินใหญ่ไหวเป็นต้น มีนัยดังกล่าวไว้แล้วแล.
เถรวาทกล่าวว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกต้องกระทำกาละด้วย ภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต
ต่อแต่นี้ไป
เพื่อจะแสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำบริกรรมในพระปรินิพพาน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อถ โข ภควา ปฐมชฺฌานํ.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปรินิพฺพุโต ภนฺเต ความว่า
ท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เข้านิโรธสมาบัติไม่มีอัสสาสปัสสาสะ จึงถามว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วหรือ.
ท่านพระอนุรุทธตอบว่า ยัง ผู้มีอายุ. พระเถระทราบเรื่อง.
ได้ยินว่า พระเถระเข้าสมาบัตินั้นๆ พร้อมกับพระศาสดานั่นแล
จึงรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ
แล้วดำเนินไป บัดนี้ เข้านิโรธสมาบัติ
ชื่อว่าการทำกาละในภายในนิโรธสมาบัติไม่มี.
ในพระบาลีนี้ว่า ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ
ออกจากตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า
ปฐมฌานในฐานะ ๒๔
ทุติยฌานในฐานะ ๑๓
ตติยฌานก็เหมือนกัน
เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕.
เข้าอย่างไร.
คือ เข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ เหล่านี้
มีอสุภะ ๑๐ อาการ ๓๒ กสิณ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อานาปานสติปริจเฉทากาส เป็นต้น.
แต่เว้นอาการ ๓๒ และอสุภะ ๑๐
เข้าทุติยฌานในฐานะที่เหลือ ๑๓
และเข้าตติยฌานในฐานะ ๑๓ นั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง เข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕ เหล่านี้
คือกสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร อานาปานสติ ปริจเฉทากาส อรูป ๔. กล่าวโดยสังเขปเท่านี้.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมสามี
เสด็จเข้าพระนครคือปรินิพพาน
เสด็จเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ยี่สิบสี่แสนโกฏิ
แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด
เหมือนคนไปต่างประเทศ
กอดคนที่เป็นญาติฉะนั้น.
ในคำนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากจตุตถฌานในลำดับมา
เสด็จปรินิพพาน คือ ในลำดับทั้ง ๒ คือ
ในลำดับแห่งฌาน ในลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว หยั่งลงสู่ภวังค์
แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้น ชื่อว่าระหว่างฌาน ในลำดับ ๒ นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากฌานแล้ว
พิจารณาองค์ฌานอีก หยั่งลงสู่ภวังค์
แล้วปรินิพพานในระหว่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าระหว่างปัจจเวกขณญาณ.
แม้ทั้ง ๒ นี้ก็ชื่อว่าระหว่างทั้งนั้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานเสด็จออกจากฌาน
พิจารณาองค์ฌานแล้วปรินิพพานด้วยภวังคจิต
เป็นอัพยากฤตเป็นทุกขสัจจะ.
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
อย่างต่ำมดดำมดแดง
ต้องกระทำกาละด้วย
ภวังคจิตที่เป็นอัพยากฤต
เป็นทุกขสัจทั้งนั้นแล.
เรื่องแผ่นดินใหญ่ไหวเป็นต้น มีนัยดังกล่าวไว้แล้วแล.