บทความตามใจฉัน “Goc: D-Pad” Part 2 End

Part1: https://ppantip.com/topic/39023730

“cross design” ถูกพูดถึงอีกครั้งในตอนที่ Nintendo กำลังออกแบบเครื่อง Famicom ของตนเองอยู่

ในตอนนั้นทีมวิศวกรกำลังถกกันว่าปุ่มบังคับทิศทางจะใช้แบบไหนดี

แล้วก็มีวิศวกรคนหนึ่งเสนอขึ้นมาว่า “ทำไมไม่ใช้ cross button ล่ะ”

ในตอนแรกทุกคนงงว่ามันคืออะไร ต่อมาคือสงสัยว่ามันจะใช้ได้จริงรึ

แต่จากการสร้างต้นแบบขึ้นมาทดสอบใช้งาน ทุกคนเห็นตรงกันว่า มัน Work

ด้วยเหตุนี้ D-pad แบบ cross button จึงถูกเลือกใช้ในจอยของ Famicom และได้รับความนิยมอย่างมาก

“cross design” จึงได้ถูกยื่นจดสิทธิบัตรในชื่อ Multi-directional switch เมื่อเดือนสิงหาคม 1983 เพียง 1 เดือนหลังจากวางจำหน่าย

Famicom ครั้งแรกในญี่ปุ่นแต่ถ้านับจากที่ใช้ครั้งแรกใน Donkey Kong Game Watch ก็หนึ่งปีกว่า ๆ


ประสิทธิ์ภาพและความสะดวกของ D-pad แบบ cross button นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

ทำให้บริษัทผลิตเครื่องเกมคู่แข่งก็ทยอยสร้าง cross button ของตัวเองเลียนแบบของ Nintendo บ้าง

และเพื่อไม่ให้ถูกฟ้องเรื่องละเมิดสิทธิ์บัตรแต่ละบริษัทจึงใช้การออกแบบ, เทคนิคและวิธีการที่แตกต่างออกไปจาก Nintendo

ในการสร้าง cross button ของตัวเอง

ในรูปคือ Design การออกแบบของ Nintendo D-pad จะเห็นว่าใต้ปุ่มกาบาทจะมีอะไรกลม ๆ

อยู่ นั้นคือจุดหมุนที่ช่วยให้หนุนตรงกลางปุ่มกาบาทให้สูงขึ้น

สร้างช่องว่างและจุดไม่สมดุลให้สามารถกดปุ่มทิศทางต่าง ๆ ได้


ทีนี้มาดู Design การออกแบบ D-pad ของบริษัทผลิตเครื่องเกมคู่แข่งอย่างเช่น Sega กัน  

จากรูปจะเห็นว่า D-pad ของ Sega นั้นขึ้นรูปเป็นวงกลมแล้วมีตัวกาบาทอยู่ตรงกลาง

คาดว่าการ Design แบบนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกเวลาผู้เล่นเวลากดปุ่มสองทิศทางพร้อม ๆ กัน

เช่น กดนั่งการ์ด, คลานไปข้างหน้า หรือ กระโดดไปข้างหลัง เป็นต้น

ส่วนกลไกสำคัญข้างใต้ปุ่มกาบาทโดยเฉพาะจุดหนุนปุ่มนั้น

Sega เล่นมุกง่ายแต่ได้ผลโดยการเอาจุดหนุนที่เดิมจะติดอยู่กับปุ่มนั้นมาแปลงเป็นลูกบอลเล็ก ๆ

วางอยู่ที่แป้นกดข้างล่างเพื่อหนุนตัวปุ่มแทน

ทั้งหมดนี้สร้างความแตกต่างจาก D-pad ของ Nintendo ได้มากพอที่จะไม่โดนข้อหาละเมิดสิทธิ์บัตร

Sega จึงมี D-pad ของตัวเองในที่สุด

นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่ว่า ในงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ

การจดสิทธิ์บัตรนั้นมักปกป้องได้เพียงการออกแบบและวิธีการทำงานภายในเท่านั้นแต่ไม่สามารถปกป้องไอเดียไม่ให้ถูกเลียนแบบได้


จากนั้นแต่ละบริษัทที่ผลิตเครื่องเกมหรือจอยเกมก็ทยอยพัฒนา D-pad เวอร์ชั่นของตัวเองออกมา

ในรูปคือ ซ้ายบนคือ Design ของ D-pad อีกแบบหนึ่งของ Sega และขวาบนคือ D-pad ของ Logitech

นี่ทำให้ D-pad กลายเป็นปุ่มที่มีใช้กันแทบทุกเครื่องเกม

ส่วนบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ประยุกต์เอา D-Pad มาใช้เป็นปุ่มควบคุมผลิตภัณฑ์ของตนเอง

ตัวอย่างเช่น ซ้ายล่างคือรีโมทคอนโทรล Apple TV ที่ใช้ D-pad เป็นปุ่มควบคุม

หรือภาพขวาล่างคือโทรศัพท์มือถือของ LG ที่มี D-pad ในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ


Nintendo เองนั้นได้นำ cross button

มาใช้เป็นปุ่มควบคุมในเครื่องเกมของตนเองมาตลอดแม้เทรนจะเปลี่ยนไปเป็น

แกนอนาล๊อคหรือ Movement Sensor แล้วก็ตามก็ยังใส่มาให้จนถึงปัจจุบัน

ยกเว้นเครื่องเกมรุ่นล่าสุดขณะที่เขียนบทความนี้คือ Nintendo Switch ที่กลับไปใช้ปุ่ม

4 ปุ่มเหมือนสมัยก่อน จะใส่มาเฉพาะจอยแบบโปรที่ขายแยกต่างหาก


ส่วนสิทธิบัตรของ Nintendo D-Pad นั้นได้หมดอายุลงแล้วเมื่อปี 2004

และสถานะปัจจุบันคือ abandoned(ถูกทิ้ง) ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลการออกแบบและสร้างเลียนแบบได้

ผู้ที่สนใจเข้าไปดูและโหลดข้อมูลการออกแบบได้ที่

https://patents.google.com/patent/US4687200A/en


 
ทว่าแต่ละบริษัทก็มีเทคโนโลยี D-Pad ของตนเองแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะเลียนแบบ Nintendo D-Pad มาใช้อีกต่อไป

แต่กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Nintendo D-Pad

มีส่วนในการเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของวิธีควบคุมการทำงานของทั้ง Hardware และ Software เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน

โดยขณะที่เขียนบทความนี้ มีสิทธิบัตรอื่น ๆ ถึง 129 สิทธิบัตรของบุคคลและบริษัทใหญ่น้อยต่าง ๆ

ที่อ้างอิงถึงการออกแบบของ Nintendo D-Pad นี้

อ้างอิงถึง ปุ่มพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ นี้  


ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”

โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น

ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ

https://www.facebook.com/uptomejournal/


REF

Who Invented the D-Pad? | Gaming Historian
https://www.youtube.com/watch?v=CnmMDzgTB7o

D-pad
https://en.wikipedia.org/wiki/D-pad

SEGA D-pad analysis
https://c0d3h4x0r.wordpress.com/2011/12/21/65/

Google Patents: Multi-directional switch
https://patents.google.com/patent/US4687200A/en

4 Ways Gunpei Yokoi Changed Games Forever
https://www.fanbyte.com/lists/4-ways-gunpei-yokoi-changed-games-forever/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่