ส้มตำเป็นวัฒนธรรมร่วมหรือไม่?

กระทู้คำถาม
แล้วใครให้กำเนิดส้มตำครับ ระหว่างไทย ลาว เขมร เพราะสำนักข่าวเขมรบอกว่า เกิดที่ลาวและเป็นวัฒนธรรมร่วมของประเทศในย่านนี้

“Thought to originate in Laos, but with many variations across Asean countries, Thai green papaya salad was listed among the world’s 50 best dishes by CNN Travel in 2017, receiving 35,000 readers’ votes.”

https://www.facebook.com/263790997140682/posts/1157678151085291?sfns=mo
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ตำส้มมีมานานในอีสานและลาวสันนิษฐานว่ามีมาก่อนอาณาจักรล้านช้างแต่จะนานเท่าใดไม่ชัดเจนนักเพราะไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้  คนลาวและคนอีสานจะเรียกว่า"ตำส้มบักหุ่งหรือตำส้มหมากหุ่ง" เพราะตำส้มสามารถนำผลไม้อื่นๆ หลายชนิดมาตำได้ ตำมะละกอ(ส้มตำ)จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำส้มเท่านั้นและตำมะละกอก็น่าจะมีมาไม่เกิน 400 ปี เพราะมะละกอและพริกเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาฝรั่งได้นำเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา   สมัยก่อนคนอีสานไม่ได้ติดต่อกับคนภาคกลางเพราะมีเทือกเขาดงพญาไฟขวางกั้นคนที่จะฝ่าดงพญาไฟไปได้ก็มีแต่พวกพรานป่าซึ่งรู้วิธีเอาตัวรอดจากภัยต่างๆ เมื่อขาดการติดต่อจึงทำให้ส้มตำไม่ได้แพร่เข้าอยุธยา  คนภาคกลางมารู้จักส้มตำก็สมัยรัชกาลที่ 4 มีเจ้านายมาตรวจราชการ(จำไม่ได้ว่าใคร)มีการเลี้ยงรับรองและนำตำส้มมะละกอมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร เจ้านายท่านติดใจตำส้มมะละกอมากเมื่อมาตรวจราชการอีกครั้งได้นำพ่อครัวในวังมาเรียนรู้วิธีการตำส้มตำเพื่อนำไปเป็นอาหารในวัง  จากนั้นส้มตำก็แพร่หลายเป็นที่รู้จักของคนภาคกลางและแพร่ไปทั่วประเทศอย่างตอนนี้
ความคิดเห็นที่ 19
ส้มตำต้นตำหรับ ต้องตำกุ้งแห้งและถั่วลิสงให้แหลกละเอียด
เพื่อทำให้น้ำส้มตำข้นขึ้น แบบเดียวกับตำเนื้อปลาลงในแกงส้ม
ก็เป็นการทำให้น้ำข้นวิธีหนึง ของคนกรุงเทพ (โบราณ)

มะละกอก็ต้องโขลกจนช้ำ ให้เนื้อชุ่มน้ำ  ยังพบส้มตำแบบต้นตำรับนี้
ต้องโรยกุ้งแห้งป่นหยาบๆ กับถั่วลิสงป่นหยาบๆ ด้วย
ในเมนูข้าวมันส้มตำและต้องกินกับเนื้อฝอย
(ต่างจากทุกวันนี้ที่ต้องใส่กุ้งแห้งเป็นตัวๆ ถั่วเป็นเม็ดๆ)


พอเห็นหน้าตาก็จะรู้ว่า ไม่ใช่อาหารของสามัญชนแน่นอน
เพราะเครื่องเคียงมากมาย แถมต้องกินแนมกับข้าวมัน และเนื้อฝอย(ที่มีรสหวาน ที่เป็นความมีระดับของคนมีฐานะ)
คนธรรมดาไม่มีทางได้กินอาหารที่วิจิตรแบบนี้แน่นอนครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่