รู้จักกับ “เห็บมนุษย์” Demodex

เป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะทราบกันดีว่าในเวลาที่คนเราหลับ ในบางครั้งก็จะมีเรื่องน่าขนลุกเกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแมลงบินเข้าปาก หรือแมลงสาบไต่ขึ้นมาเพื่อหาน้ำบนใบหน้า

แต่เมื่อล่าสุดนี้เอง ช่องยูทูบที่มีชื่อเสียงในทางวิทยาศาสตร์อย่าง “Deep Look” ก็ได้ออกมานำเสนอวิดีโออันใหม่ ซึ่งกลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในโลกอินเทอร์เน็ต และเพิ่มฝันร้ายในยามราตรีให้กับผู้ชมหลายๆ คน ไปในเวลาเดียวกัน

นั่นเพราะในวิดีโอที่ออกมานั้น เป็นการสำรวจสิ่งมีชีวิตแปดขาขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่จะอาศัยอยู่บนร่างกายของเราเท่านั้น แต่ยังแอบผสมพันธุ์ในยามราตรี และวางไข่ไว้บนหน้าของเราอีกด้วย

เจ้าสิ่งมีชีวิตตัวที่ว่านี้มีชื่อว่า “เดโมเด็กซ์” (Demodex) หรือที่เรียกกันว่า “เห็บมนุษย์” และ “ไรบนหน้า” (Face Mites) สิ่งมีชีวิตขนาดราวๆ 0.3 มิลลิเมตรในตระกูล “แมง” (Arachnid) ซึ่งมักพบได้บ่อยๆ ที่รอบดวงตาของมนุษย์





เดโมเด็กซ์สามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มีอาหารหลักเป็นไขมันบนร่างกายของมนุษย์ และคาดกันว่าติดต่อจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ด้วยวิธีการอะไรสักอย่าง เนื่องจากตอนที่มนุษย์เกิดมา เราจะไม่มีเจ้าเดโมเด็กซ์อยู่บนผิวหนัง

เจ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ และมีวงจรชีวิตที่สั้นมากๆ แค่ราวๆ 2-3 อาทิตย์ และจะวางไข่ครั้งละราวๆ 15-20 ฟอง ซึ่งด้วยอายุที่สั้นนี้เอง ทำให้ทั้งชีวิตพวกมันไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระเลย (แต่ไม่ได้หลายความว่ามันไม่มีอุจจาระนะ)





ตามปกติแล้วเดโมเด็กซ์จะไม่สร้างผลกระทบที่ไม่ดีกับผิวหนังมนุษย์มากนัก ซึ่งก็นับว่าดีแล้ว เพราะเจ้าเดโมเด็กซ์มีอยู่บนคนจำนวนมากจนหากมันส่งกระทบที่ไม่ดีมากๆ จริงๆ โรงพยาบาลคงจะรับคนไข้กันไม่หวั่นไม่ไหว โดยเฉพาะที่ในปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีจัดการเดโมเด็กซ์ที่หมดจดจริงๆ แล้วด้วย

แต่แม้จะบอกว่าเดโมเด็กซ์ไม่มีผลกระทบกับมนุษย์มากนักก็ตาม เราก็มีงานวิจัยที่บอกว่าเดโมเด็กซ์มีผลกระทบต่อใบหน้าอย่างอาการผิวแดง ผมร่วง หรือสิวเรื้อรังอยู่บ้างเช่นกัน แม้ว่าวิจัยเหล่านี้จะยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่ก็ตาม
CATDUMB






คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ที่มา livescience, dailymail และ foxnews





Demodex คืออะไร?

Demodex เป็นเห็บชนิดหนึ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อาศัยในรูขุมขน รากผม และในต่อมไขมันของคนและสัตว์ มีทั้งหมด 65 สายพันธุ์ ไม่ชอบแสงสว่าง ช่วงกลางวันคือเวลากิน กลางคืนคือเวลาคลานออกมาผสมพันธุ์ หรือย้ายที่เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่

ส่วนที่อยู่บนตัวคนคือ สายพันธุ์ Demodex folliculorum และ Demodex brevis เท่านั้น* และเป็นคนละพันธุ์กับที่พบในหมาและแมว (ในหมาคือ Demodex canis ในแมวคือ Demodex cati และในวัวคือ Demodex bovis) 

                                                                       การจำแนกชนิดของเชื้อ demodex ตามบริเวณที่อาศัยอยู่ 
                                                                        demodex folliculorum (ซ้าย) จะอาศัยบริเวณรากผม ส่วน 
                                                                         demodex brevis (ขวา) มักอาศัยอยู่ที่ต่อมไขมัน

เจ้าตัว Demodex folliculorum ชอบอยู่เป็นกลุ่ม เกาะกระจุกกันอยู่ในรูขุมขน ในรากผม แหล่งอาศัยที่โปรดปรานเป็นพิเศษคือขนตา มีขนาดลำตัวยาวสุดเพียง 0.4 มม. อาหารที่นิยมคือเซลล์ผิวหนัง 

ส่วนชนิด Demodex brevis จะตัวสั้นกว่า คือราวๆ 0.2 มม. และชอบแยกกันอยู่มากกว่า พวกนี้พักผ่อนที่ต่อมไขมันแนวขอบตา (ต่อมมัยโบเมียน Meibomian) และในรูขุมขนใกล้รากขน/รากผมกันตามอัธยาศัย และชอบกินเซลล์ของต่อมไขมัน

ทั้ง 2 สายพันธุ์มี 8 ขากุดๆ น่าเอ็นดู จะเดินไปไหนทีเต่าเรียกเฮีย เพราะก้าวได้ทีละ 8-16 มม. ต่อชั่วโมงเท่านั้น สมมุติว่าเดินจากหูไปจมูกบนหน้าของเราก็ราวๆ ½ วัน ลำตัวเป็นเกร็ดถี่ๆ เหมาะสำหรับเกาะเกี่ยวเส้นผมหรือขนได้ดีนักแล

Demodex มีอีกชื่อว่า face mites เพราะเชื่อกันว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิด Demodicosis คือการคันยุบยิบๆ ที่มาพร้อมปัญหาสารพัดต่อผิวและทำให้เกิดสิวอักเสบ* รวมถึงรังแค ผมร่วง ขนคิ้ว-ขนตาร่วง และโรคตา เช่นขอบเปลือกตาอักเสบด้วย 

Demodex อยู่คู่โลกมาตั้งแต่ตอนไหนไม่มีใครรู้ แต่เมื่อปีค.ศ. 1841 ผู้ที่ค้นพบคือนักวิทย์ชื่อ ศจ. Frederick Henle ที่บังเอิญไปเจอเจ้าตัวนี้อยู่ในก้อนขี้หู  อย่างไรก็ตาม  Frederick ไม่รู้จะจัดเจ้าตัวนี้เข้ากลุ่มสัตว์โลกกลุ่มไหนดี จึงเขียนไปเล่าให้เพื่อนที่เป็นหมอชาวเยอรมันชื่อGustav Simon อ่านและรับรู้เป็นพยาน จากนั้น อีก 1 ปีต่อมา เข้าค.ศ. 1842 หมอกุสตาฟก็บอกมาว่าเจอเข้าเหมือนกันตอนบีบสิวในคนไข้อยู่ 2-3 ราย แล้วเจ้าตัวพวกนี้หลุดออกมา

ต่อมาได้ไปปรึกษานักกีฏวิทยา (นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง) จึงได้มีการจัดเจ้าตัวพวกนี้เข้ากลุ่มคุณเห็บเป็นที่เรียบร้อย และมีผู้หวังดีพากันมาช่วยตั้งชื่อให้ มี Simoneaตามนามสกุลหมอด้วย สุดท้ายคุณ Richard Owen นักวิทย์จาก London ที่นำภาษากรีกคำว่า demo แปลว่า มันหมู และ dex แปลว่าหนอนชอนไช มารวมเป็นชื่อให้ว่า Demodex folliculorum และใช้กันมาจนทุกวันนี้

 มาถึงค.ศ. 1963… นักวิทย์ชาวรัสเซียชื่อ L. Kh. Akbulatova เกิดสังเกตเห็นขึ้นมาว่าเจ้าเห็บ demodex มันมีทั้งแบบตัวเรียวยาวและตัวที่ป้อม จึงตั้งชื่อให้ตัวป้อมว่า Demodex brevis 

มาถึงปี 1972 หลังจากที่ได้มีการศึกษาสิ่งมีชีวิตเหล่านี้แล้ว ก็ได้มีการจัดชนิด folliculorum กับ brevis ให้เป็นสายพันธุ์ที่แยกกันโดยสิ้นเชิง และสรุปเป็นทางการว่า เห็บมนุษย์มี 2 สายพันธุ์

ย้อนหลังไปนิด.. ช่วงปี 1967 คือปีที่มีการออกวารสารจักษุแพทย์ยืนยันถึงสาเหตุของอาการเปลือกตาอักเสบ ว่ามาจากเจ้าตัวเรียวยาว Demodex folliculorum โดยคุณหมอ Tullos Coston เป็นผู้ค้นพบว่าอยู่บนขนตาคนไข้และได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อจนมั่นใจและจัดการตีพิมพ์วารสารดังกล่าว

                                                                            [ขอบคุณ Discovery Magazine สำหรับภาพนี้ค่ะ]

วงจรชีวิต ..น้อยๆ
อายุเค้าแสนสั้น แค่ 2-3 อาทิตย์เท่านั้นเอง ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ15-20 ฟองต่อครั้งในรากผมหรือขนให้ใกล้ต่อมไขมันที่สุด ระยะเวลาฟักไข่เป็นตัวคือ 2-3 วัน ออกเป็นตัวมาอยู่ได้อีก 10 กว่าวันก็สิ้นอายุขัย ภายในระยะเวลานั้นก็จะคลานขึ้นมาบนเส้นขนหรือผมเพื่อผสมพันธุ์ เสร็จกิจก็ลาจากไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวเมียจะอายุยืนกว่าเล็กน้อย วางไข่แล้วก็อยู่ดูแลไข่ได้อีกราวๆ 5 วันก่อนสลายร่างไปเช่นกัน

กรณีหลุดออกจากร่างกายของเรา Demodex จะขาดอาหารและตายภายใน 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น เช่นเกาะอยู่บนขนผ้าเช็ดตัว ก็จะอยู่ได้นานขึ้นอีกหน่อย แต่ถ้าอยู่ในน้ำมัน อันนี้ของชอบเลย อยู่ต่อได้อีกเป็นวันๆ เกือบ 3 วันทีเดียว

แล้วมันมาอยู่กับเราได้ไง?
ยังมีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก ว่า demodex folliculorum/brevis แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ที่จริงแล้ว มีการระบุแล้วว่า สายพันธุ์ล้วนต่างกันและไม่ปะปน 

เห็บมนุษย์ demodex folliculorum/brevis นั้น ความจริงคือ ส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นหนึ่งในสิ่งที่มากับธรรมชาติ  ถ้ามีภูมิคุ้มกันดี เห็บหมัดเหล่านี้ก็อยู่ของมันไปโดยไม่ทำความเดือดร้อนให้เจ้าของร่างมากมายอะไร  แต่เมื่อไรที่ร่างกาย (ภูมิคุ้มกัน) ของ host อ่อนแอ (เช่น โรคประจำตัว การป่วยไข้ การกินยา เครียด มีภูมิแพ้ กินอยู่ผิดหลักโภชนาการ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เจอมลภาวะต่างๆ ฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ฯลฯ) เจ้าพวกนี้ก็จะแพร่พันธุ์กันเกินเหตุ เราก็จะผมร่วง ขนตาหลุด ตาเจ็บ สิวหนองหน้าเห่อ ฯลฯ กันไป การจะเจอ Demodex หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สภาพร่างกาย และช่วงอายุของแต่ละคนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า Demodex ผ่านจากคนสู่คน เพราะฉะนั้น ไม่ควรใช้แปรงหวีผม ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องสำอางและอุปกรณ์แต่งหน้าร่วมกับผู้อื่น และซักเปลี่ยนปลอกหมอนทุกอาทิตย์เพื่ออนามัย 

อาการมีอะไรบ้าง?
อาการหลักๆ มีดังนี้ คันยุบยิบที่หัว ที่ตา ที่ขอบตา / ตาแสบๆ คันๆ / ขอบตาแดงมีขี้ตาเกาะ / น้ำตาปริ่ม / แสบตา / บางครั้งเหมือนมีอะไรทิ่มลูกตาทำให้เจ็บจึ้กแล้วก็หายไป / ตาพร่า ...เหล่านี้อาจนำไปสู่โรคทางดวงตาได้
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของผมร่วง ขนตา-ขนคิ้วร่วง / รูขุมขนกว้าง / ผิวมันมาก / สิวเสี้ยน สิวเห่อ สิวหนอง หน้าแดง ฯลฯ

รักษา ป้องกัน หรือจัดการอย่างไรได้บ้าง?

สิ่งที่ฆ่า Demodex อย่างได้ผลดีเยี่ยม คือ Tea tree oil และตัวยา Ivermectinนอกจากนี้มียาทาที่เป็นสเตียรอยด์ด้วย ถ้าอาการไม่หนักหนามากไม่แนะนำให้ยุ่งเกี่ยวกับสเตียรอยด์ ใช้แค่ผลิตภัณฑ์ที่มี Tea tree oil สม่ำเสมอก็ช่วยกำจัด Demodex ได้เยี่ยมพอแล้ว

ขอบคุณข้อมูล
thyroidstory.blogspot.com

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่