ไม่ได้ลบหลู่ แต่อยากถามเพราะสงสัยมากๆ " ต้นตะเคียน ทำไม ต้องอยู่ในน้ำ? "

ตามความเชื่อ ก็เห็นแทบทุกที่ในประเทศไทย เหนือ อิสาน กลาง ใต้ ตามวัด หรือ สถานที่ที่ชาวบ้านนำต้นนี้ไปผูกผ้าสามสี นำมาบูชากราบไหว้ หรือปะแป้งหาเลข คือแม้แต่สมัยนี้ ก็ยังมีอยู่ให้เห็น
เราอยากถามว่า " ทำไมต้นๆนี้ถึงไปอยู่ในน้ำ นานนับปีๆ "  เพราะทุกครั้งตามข่าว มักมีแต่ พบว่าถูกกู้ขึ้นมาจากน้ำ ขุดขึ้นมาจากดินโคลนบ้างล่ะ
เลยสงสัยว่า ทำไมถึงไปอยู่อย่างนั้น .. แล้วทุกวันนี้ต้นตะเคียนเป็นต้นชนิดใด ออกผล ออกดอกอะไรมั้ย? 

หรือ เพราะสมัยก่อน มีการนำต้นตะเคียนมาทำบ้าน แล้วเจ้าของรึช่างที่ทำบ้าน ลืมไว้ในโคลน หรือทำร่วงลงแม่น้ำหรือป่าว ... แต่ปกติไม้จะลอยน้ำใช่มั้ย? รึป่าวหว่า หื้มม?.??
เพราะว่าบางที ไปต่างจังหวัดจะชอบแบบ เจอบ้านเก่าๆ คนเฒ่าคนแก่ อาศัยอยู่กัน เขาเอาไม้ชนิดนี้มาทำคานหลังคาบ้าน เพราะความแข็งแรง บ้างก็นำมาเป็นเสาหลักบ้าน 
อันนี้ ในเราคิดว่า คงเป็นเพราะเนื้อไม้ที่แน่น แข็งแรงกว่าไม้ชนิดอื่นๆรึป่าว
 
อ่ะ พอนำมาทำบ้านก็มักมีความเชื่อตามมาอีก คือ ไม้จะมีน้ำออกแบบเหมือนน้ำมัน หรือยางไม้ จะหยดออก และที่ไม่พ้นคือ สิ่งที่เรามองไม่เห็นตามความเชื่อต่างๆ
และตามด้วยผ้าสามสี ของบูชากราบไหว้
แต่ก็นั่นแร่ะ ตามที่เราสงสัยอ่ะ ว่า ทำไมส่วนใหญ่ มักจะขุดเจอตาม แม่น้ำ ตามดินโคลนต่างๆ และทำไมถึงพิเศษกว่าต้นไม้อื่นๆเขา 😕🌊🌳🗻
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ต้นตะเคียนชอบน้ำ ต้องการน้ำมาก เลยไปขึ้นแถวริมน้ำซะเยอะ
พอตายก็ร่วงลงน้ำ หรือตลิ่งถูกน้ำเซาะก็เลยหล่นลงน้ำ
ไม้ตะเคียนมีความพิเศษ มอดไม่กินเพราะมียาง เลยอายุยืน ไม่ผุ แล้วยิ่งโดนน้ำก็ยิ่งเหนียว ยิ่งทน
เหมาะเอามาทำวงกบประตูห้องน้ำ พื้นระเบียงบ้านริมน้ำ หรือพื้นที่ใช้ไม้ที่ต้องโดนน้ำบ่อยๆ

สรุปที่เจอในน้ำบ่อยเพราะมันขึ้นแถวนั้น แล้วยิ่งแช่น้ำก็ยิ่งทน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่