คนญี่ปุ่นที่แอบเก็บศพพ่อแม่ไว้เพื่อกินเบี้ยเลี้ยงคนชรานั้น เขาจะเก็บไว้นานแค่ไหนครับ

เคยได้ข่าวว่ามีคนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เก็บศพคนในครอบครัวไว้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่า ยังไม่ไปแจ้งตาย เพื่อที่จะได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงคนชราไปเรื่อย ๆ อยากทราบว่าเขาจะเก็บไว้นานแค่ไหนครับ จนกว่ารัฐจะมาตรวจเจอหรือว่าคำนวณจากอายุขัยของผู้ตายว่าควรตายในอายุที่ควรจะเป็น

ไม่ใช่ว่าไปแจ้งตายตอนที่ศพอายุ 140 ซึ่งมันผิดมนุษย์มนาใช่ไหม สมมุติว่าตายตอนอายุ 70 แล้วเก็บศพไว้สัก 20 ปี ค่อยไปแจ้งตาย แบบนี้ก็ยังพอเป็นไปได้ที่ไปศพอายุ 90 ปี ว่าไหม
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
กรณีที่เป็นข่าว คือการพบศพนายโซเง็ง คาโต (Sogen kato) ชายผู้ที่ต้องมีอายุยืนยาวที่สุดในโตเกียว 111 ปี ( 1899-2010) แต่ในความจริง นายคาโตได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1978 หรือขณะมีอายุ 79 ปี แล้ว  ซึ่งญาติก็ไม่ได้แจ้งตายและเก็บศพทำเป็นมัมมี่อยู่ในบ้าน  จนกระทั่งทางการมาตรวจพบ

กรณีนี้เป็นเจตนาโกงเงินบำนาญ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้ ญี่ปุ่นได้ตื่นตัวในการไล่ตรวจสอบผู้สูงอายุครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากผู้ที่มีอายุเกินกว่าร้อยปีขึ้นไป
ความคิดเห็นที่ 20
ก็ไม่แปลกใจหรอก ค่าครองชีพสูบลิบ งานการก็เคร่งเครียด สิ่งที่เบาภาระลงได้คือสิ่งนี้แหละ ไม่ได้บอกว่าสนับสนุนหรือมันถูกต้อง แต่เข้าใจบริบทสังคมญี่ปุ่นว่าทำไม มีคนทำแบบนี้เยอะแยะ เพราะรัฐสวัสดิการเขาดีมาก ถ้าบ้านเรารัฐยอมจ่ายเบี้ยเลี้ยงคนชราเดือนละ 8,000 บาทขึ้นไปไม่ใช่เดือนละ 600 รับรองว่าก็มีคนทำแบบนี้เหมือนกัน มันเป็นด้านลบของพวกสวัสดิการรัฐ และอย่าลืมว่าการทำงานประจำ เงินเดือนครึ่งนึงจะต้องถูกรัฐจัดเก็บไปเป็นภาษีเพื่อเบี้ยตอนชราภาพนี่แหละ ปัญหาคือเงินเฟ้อสูงมาก ทำให้ไม่แน่ใจว่าอนาคตอีก 20-30 ปีข้างหน้า เงินเกษียณอายุจะพอใช้หรือเปล่า เป็นสาเหตุทำให้คนชราญี่ปุ่นหรือผู้เกษียณอายุหนีมาอยู่ที่ไทย เชียงใหม่กันเยอะมาก เพราะอยู่ญี่ปุ่นเบี้ยคนชราไม่พอใช้ เลยมาอยู่นี่แทน เบี้ยเดือนละ 40,000 บาท อยู่กันได้สบายๆเลย ค่ารักษา รพ ก็ถูกกว่าเยอะ อีกหน่อยประเทศเราก็จะตามเขาไปเหมือนกัน ถ้าไม่หาทางออกเรื่องนี้ให้ดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่