นิติ มธ. รำลึก 'ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม' ถอดบทเรียนเลือกตั้ง รธน.60 ชี้ 'ท่าดีทีเหลว' ไม่เป็นสากล
https://www.matichon.co.th/politics/news_1550293
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดงานรำลึกศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม ครั้งที่ 9 โดยในช่วงเช้าตั้งแต่เวลาประมาณ 0.800 น. เป็นการประกอบพิธีสงฆ์โดยมีคณาจารย์ และบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มธ. เข้าร่วม จากนั้น เวลาประมาณ 09.30 น. มีการจัดเสวนาหัวข้อ
“บทเรียนการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 60” ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ ดำเนินรายการโดย รศ.
อานนท์ มาเม้า อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.
ศ.ดร.
อุดม รัฐอมฤต คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวเปิดงาน มีเนื้อหาโดยสรุปว่า งานในวันนี้จัดโดยศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ. เพื่อเชิดชูเกียรติ ศาสตราจารย์
ไพโรจน์ ชัยนาม ซึ่งเป็นผู้ประกอบภารกิจรับใช้ประเทศในตำหน่งสำคัญ มีผลงานเอนกประการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ สุจริต เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและกิจการระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการมีผลงานมากมาย เป็นนักกฎหมายสำคัญด้านรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นปูชนียบุคคลที่สร้างคุณูปการต่อคณะนิติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
“ศาสตราจารย์ไพโรจน์เป็นผู้บุกเบิกพัฒนาวิชาการด้านนิติศาสตร์ สร้างตำรามาตรฐานเทียมอารยประเทศ มีส่วนวางรากฐานระบบอาจารย์ประจำของคณะ โดยแสวงหาแหล่งทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากรัฐบาลฝรั่งเศส และอิตาลี ทำให้สามารถส่งอาจารย์ไปเรียนและกลับมาพัฒนาคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์จนถึงทุกวนนี้ ศิษย์ และญาติมิตร จึงตั้งใจกำหนดให้เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็นช่วงเวลาของการรำลึกถึงศาสตราจารย์ไพโรจน์ผู้ยึดมั่นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย หวังว่างานเสวนาในวันนี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป” ศ.ดร.
อุดมกล่าว
จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์ชีวประวัติ ศ.
ไพโรจน์ โดยมีคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ลูกศิษย์ และบุคคลสำคัญในแวดวงกฎหมายร่วมกล่าวถึงคุณูปการในด้านต่างๆ
รศ.ดร.
ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้เท่ากับการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไมได้ สำหรับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด กรณีการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ก่อให้เกิดปัญหา กล่าวคือ ถ้าชอบทั้งคนและพรรค ก็มีความสุข แต่ถ้าชอบพรรคไม่ชอบคน หรือชอบคนไม่ชอบพรรคจะทำอย่างไร นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 92 ระบุว่า เขตเลือกตั้งใดปรากฏว่าช่อง
“ไม่เลือกผู้ใด” มากกว่าผู้สมัคร คือ ไม่มีใครชนะช่องไม่เลือกผู้ใด ผู้สมัครทุกคนหมดสิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือตัดสิทธิทั้งหมด นี่คือการทำให้คะแนนเสียงถูกทิ้งเหว ไม่ใช่ทิ้งน้ำ คือ ยิ่งไปกันใหญ่ ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 40 และ 50 ใช้คำว่า ‘ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน’ ซึ่งจะไม่ถูกเอามานับ
สำหรับสิ่งที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วทำให้กิดปัญหาเรื่องสูตรคำนวณมากๆ คือ จำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ ซึ่งก็คือจำนวนที่พรรคการเมืองซึ่งลงบัญชีรายชื่อจะต้องมี ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ตัดออก ของไทยเราเคยมีจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์ การที่ไม่มีจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ ส่งผลคือให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยอย่างที่เราเห็นอยู่
“ปัญหาในครั้งนี้ มีสูตรคำนวณที่ทำให้เกิดเบี้ยหัวแตก มีวิธีการค่อนข้างสับสน การไม่มีคะแนนเสียงขั้นต่ำ และระบบการจัดการกับ ส.ส.เกินมีปัญหา เพราะไม่ปล่อยตามธรรมชาติ แต่ใช้วิธีปรับลดลงมา นอกจากนี้ การแบ่งเขตเลือกตั้งก็เป็นปัญหา โดยเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดผลได้เลยว่าใครชนะหรือแพ้ องค์กรที่จะแบ่งเขตต้องเป็นกลาง ต้องคำนึงถึงความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม วันนี้กระบวนการเลือกตั้งเกิดคำถามมากมาย บางทีอาจสุจริต อาจเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ทั้งหมดก็ได้ แต่เพียงแค่คนไม่มั่นใจระบบเลือกตั้ง ก็สั่นคลอนความมั่นใจในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ส่วนตัวอยากให้เราไปในทิศทางประชาธิปไตย แต่เชื่อว่าประชาธิปไตยคือการเรียนรู้ วันนี้อาจยังไม่สำเร็จไม่เป็นไร ก็คาดหวังว่าในอนาคตจะสำเร็จ” รศ.ดร.
ณรงค์เดชกล่าว
ผศ.ดร.
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถ้าให้สรุปว่าบทเรียนจากรัฐธรรมนูญ 60 จากการเลือกตั้งมีว่าอย่างไร ต้องขอเรียกว่า
“ท่าดีทีเหลว” มันดีมาก ถ้าทำได้แบบที่เขียน แต่พอทำจริง มีเบรกบ้าง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ก็เลยเหลว บทเรียนอย่างหนึ่งคือการจัดการที่ไม่ค่อยลงตัว ไม่สะดวก ไม่ตอบสนอง ไม่ค่อยทำให้เราเห็นได้ชัดถึงความโปร่งใส ความไม่มั่นใจกับกระบวนการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้น ความน่ากลัวอยู่ตรงนี้ ถ้าคนไม่เชื่อในการเลือกตั้งแล้ว คนจะไม่เชื่อใจรัฐบาล ไม่เชื่อใจ ส.ส. หากไม่มีความเชื่อมั่น รัฐบาล และ ส.ส.จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีความเชื่อใจ ทั้งหมดก็จบ นี่คือสิ่งที่เราเรียนรู้ในส่วนของ กกต.
“รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตอนที่มีการเขียนว่าพรรคการเมืองต้องมีสมาชิก มีองค์กร มีสาขาพรรค รู้สึกดีใจมาก แต่สุดท้ายยังห่างไกลจากพรรคการเมืองในความหมายใหม่อยู่มาก เกิดการงดเว้นในบางส่วน ขอใช้คำว่า พรรคเยอะ แต่ไม่ยั่งยืน การได้คะแนนเกินจำนวนสมาชิกบอกอะไรหลายอย่าง ถามว่าการเลือกตั้งแบบกระแส มันจะช่วยให้เกิดสถาบันทางการเมืองได้หรือเปล่า ครั้งหน้า ไม่ใหม่แล้ว ไม่สดแล้ว ขายได้ครั้งเดียว แล้วจะเป็นอย่างไร มีพรรคใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาแล้วครั้งหน้าก็หายไป” ผศ.ดร.
อรรถสิทธิ์กล่าว
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการรอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กล่าวว่า ทันทีที่เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาเมื่อต้นปี 2559 ก็พอจะเดาได้ว่าร่างมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่างคือ
1. ให้ทหารอยู่ในอำนาจได้หลังการเลือกตั้ง โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
2. ทำลายพรรคฝ่ายตรงข้ามของทหาร ซึ่งนาทีนั้น ในปี 2559 คือ พรรคเพื่อไทยเป็นหลักพรรคเดียว ส่วนกติกาในรายละเอียดว่าพรรคการเมืองต้องมีองค์ประกอบใดบ้างเพื่อเป็นสถาบันของประชาชน คิดว่าเป็นกติกาที่ร่างขึ้นมาเพื่อทำลายพรรคฝ่ายตรงข้ามของ คสช. โดยชัดเจน การจะมองว่ามีเหตุผลก็คงได้ แต่ส่วนตัวมองว่ามีขึ้นเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามทำงานลำบาก ขยับตัวไม่ได้ ส่วนฝ่ายที่เห็นตรงกัน อะไรก็ผ่านได้หมด
“ที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเพิ่มเงื่อนไขในการยุบพรรคการเมืองให้กว้างขึ้น คุณสมบัติของ ส.ส.ก็เป็นเรื่องที่เขียนมากขึ้นในรัฐธรรมนูญ 60 โดยขยายออกมาใหญ่โต และมีถ้อยคำกว้างขวางเพิ่มเติมขึ้นมา คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.เป็นเรื่องสำคัญร้ายแรงสุดๆ ซึ่งถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญข้อนี้ต้องทำประชามติ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าคนร่างรัฐธรรมนูญใส่ใจเรื่องคุณสมบัติ ส.ส.มาก คิดอยู่แล้วว่าฝ่ายตรงข้าม คสช.ต้องถูกโต้แย้งว่าขาดคุณสมบัติซึ่งจริงๆแล้วมีหลายกรณี ไม่ใช่เฉพาะคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่ยังมีผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่หลายรายถูกตัดสิทธิไปก่อนเลือกตั้ง นี่คือสิ่งที่คาดหมายได้อยู่แล้ว
เรื่องจริยธรรม ส.ส.มีการร่างไว้กว้างมาก ทำอะไรก็ผิดหมด ใช้ประโยคทำนองว่า คนที่ดีอุทิศเวลาเพื่อส่วนรวม คือกว้างมาก กว้างกว่าทุกกฎหมายที่เคยมีมา คนที่จะตีความคือศาลรัฐธรรมนูญ ในอนาคตถ้ารู้สึกว่าอยากเอาใครออกจากสภาก็จะมีเครื่องมือนี้อยู่อีก 1 ชิ้น คือการร้องว่า ส.ส.ผิดมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง และให้เอาออกจากตำแหน่งได้” ยิ่งชีพกล่าว
"ธนาธร"เดินเกมอนาคตใหม่ หวัง รุกปักธงเลือกตั้งท้องถิ่น เชียงราย
https://www.thairath.co.th/news/politic/1597896
"ธนาธร" นำ อนาคตใหม่ หวังปักธงเลือกตั้งท้องถิ่น เชียงราย คนฟังกว่า 400 ล้นห้องประชุม เริ่มมีทีมอิสระสนใจเข้าร่วมคัด 2-3 ทีม เป็นตัวแทนพรรคสนามเลือกตั้ง อบจ.
วันที่ 22 มิ.ย. นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เข้าร่วมรับฟังเสวนา เรื่อง
"อนาคตเชียงราย กับ ธนาธร" ณ โรงแรมทีค การ์เด้น อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมี นาย
กิตติ ทิศสกุล นายกสมาพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือ ผศ.ดร.
นิอร สิริมงคลเลิศกุล มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ด้านสิ่งแวดล้อม นพ.
เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงรายเขต 1 นาย
ประนอม เชิมชัยภูมิ ร่วมเวทีอภิปรายถึงปัญหาและความเห็นในการพัฒนาจังหวัดเชียงราย ซึ่งนายธนาธรได้รับฟังปัญหาตลอดช่วงบ่าย ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมฝุ่นควัน ปัญหาสัญชาติ ปัญหานโยบายสาธารณะด้านการขนส่ง
นาย
ธนาธร กล่าวว่า วันนี้มาพร้อม ส.ส. 3 คน ที่เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงราย เพื่อรับฟังเพื่อนำปัญหานี้ไปแก้ไข ไปประสานงานในส่วนที่ทำได้ในส่วนกลาง และในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นก็จะนำมาเป็นนโยบายเพื่อเสนอในการเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. สำหรับทีมที่จะมาเป็นตัวแทนพรรคนั้น ตอนนี้กำลังดูตัว และเลือกเฟ้นอยู่ ตอนนี้ทราบว่ามีมาบ้างแล้ว และกำลังจะคุยกับทีมในพื้นที่ก่อน จะมีคณะกรรมการของพรรคคัดกรอง หากมีมากกว่า 1-2 ทีม ก็จะดูความพร้อมของทีม โดยตัวผู้สมัคร ต้องมีนโยบายที่ดี ไม่เน้นนามสกุล ไม่เน้นเงิน ต้องไม่มีประวัติการคอร์รัปชัน ไม่ใช้อิทธิพล ไม่เป็นเจ้าพ่อ ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด ไม่ค้าอาวุธ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพูดคุยในการเสวนานายธนาธร จะเน้นในเรื่องการกระจายอำนาจการปกครอง และการกระจายอำนาจการคลัง นาย
ธนาธร กล่าวว่า ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขของท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง รวมทั้งอำนาจการคลัง ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะหลายเรื่องจะขับเคลื่อนได้ต้องเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม ท้องถิ่นได้รับอำนาจมาเพียงน้อยนิด รวมถึงงบประมาณ ที่ประชากรภาคเหนือมี 16 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ รายได้ภาษีส่งรัฐ 9 เปอร์เซ็นต์ ได้จัดสรรเงินงบประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กทม. เก็บรายได้ภาษีส่งรัฐ 26 เปอร์เซ็นต์ แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์
"เพราะฉะนั้นประชาชนท้องถิ่นไม่สามารถแก้ปัญหาตัวเอง ไม่มีอำนาจการคลังที่จะจัดการบริหารเงินได้ ไม่สามารถจัดการทรัพยากรท้องถิ่นได้ เช่น ปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจเพราะประชาชนไม่สามารถทำกินได้ก็ต้องทำเกษตรบนเขาเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน ต้องเกี่ยวกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ทั้งป่าไม้ และอุทยาน และมีการเผา กระทรวงมหาดไทยต้องเข้าไปดูแล ถ้าต้องสร้างงานก็ต้องเกี่ยวกับกระทรวงแรงงาน และยังเกี่ยวกับกระทรวงต่างประเทศ หากเป็นการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านต้องเจรจา ซึ่งปัญหาจึงแก้ไม่ได้ ดังนั้นประชาชน ไม่ได้ต้องการมีส่วนร่วม แต่ต้องการอำนาจคืน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรตัวเอง เราจะนำอำนาจนั้นคืนมาสู่ท้องถิ่น และจะส่งตัวแทนมาลงเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เชื่อว่าหากพรรคอื่นไม่ทำต้องสูญพันธุ์ ถ้าจะแข่งกันก็ต้องแข่งด้วยนโยบาย" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าว ...
นาย
ธนาธร กล่าวต่ออีกว่า พรรคเรากล้าที่จะแตะปัญหาที่ต้นตอ รัฐบาลนี้สิ่งที่เราจะได้เห็นคือการแจกเงินให้ประชาชน เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่การปฏิรูปประเทศที่ต้องทำในสิ่งที่ยากๆ สิ่งที่เผชิญกับแรงต้าน รัฐที่เป็นรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล เราจะไม่เห็นการปฏิรูปราชการที่ก้าวหน้า เราจะไม่เห็นการผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าที่แตะต้องเชิงโครงสร้างประเทศจากรัฐบาลนี้ได้เลย ร่วมกันผลักดันวาระนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูป ยุติระบบราชการรวมศูนย์ ปฏิรูปกองทัพ เอาประชาธิปไตยกลับคืนมา ยุติการผูกขาดกลุ่มทุน 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันไปพร้อมกัน
นาย
วิรุณ คำภิโล ประธานสภาคนฮักเจียงฮาย กล่าวว่า มีประมาณ 2-3 แสนครัวเรือน และอาจมากกว่านั้น อาจเรือนล้าน แต่เรื่องนี้ประเด็นไม่ใช่เรื่องการเผา แต่เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ คนเชียงรายสามารถแก้ปัญหาตัวเองได้ หากให้เชียงรายจัดการตัวเอง เรื่องเชียงรายมหานคร ท้องถิ่นจัดการตัวเอง จากเดิมที่ รธน.2550 เปิดโอกาสในเรื่องท้องถิ่นจัดการตัวเอง แต่ รธน. 2560 กลับมีเงื่อนไข ท้องถิ่นสามารถจัดการตัวเองได้ ภายใต้กฎหมายบัญญัติ ซึ่
JJNY : 4in1 นิติมธ.รำลึก'ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม'/ธนาธรรุกเลือกตั้งท้องถิ่นเชียงราย/ชพน.ส่อเค้าวืดรมต./ส.ประมงพร้อมถก7ปัญหา
https://www.matichon.co.th/politics/news_1550293
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการจัดงานรำลึกศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม ครั้งที่ 9 โดยในช่วงเช้าตั้งแต่เวลาประมาณ 0.800 น. เป็นการประกอบพิธีสงฆ์โดยมีคณาจารย์ และบุคลากรคณะนิติศาสตร์ มธ. เข้าร่วม จากนั้น เวลาประมาณ 09.30 น. มีการจัดเสวนาหัวข้อ “บทเรียนการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 60” ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ ดำเนินรายการโดย รศ. อานนท์ มาเม้า อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.
ศ.ดร. อุดม รัฐอมฤต คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวเปิดงาน มีเนื้อหาโดยสรุปว่า งานในวันนี้จัดโดยศูนย์กฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ. เพื่อเชิดชูเกียรติ ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ซึ่งเป็นผู้ประกอบภารกิจรับใช้ประเทศในตำหน่งสำคัญ มีผลงานเอนกประการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ สุจริต เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและกิจการระหว่างประเทศ ในด้านวิชาการมีผลงานมากมาย เป็นนักกฎหมายสำคัญด้านรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศเป็นปูชนียบุคคลที่สร้างคุณูปการต่อคณะนิติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
“ศาสตราจารย์ไพโรจน์เป็นผู้บุกเบิกพัฒนาวิชาการด้านนิติศาสตร์ สร้างตำรามาตรฐานเทียมอารยประเทศ มีส่วนวางรากฐานระบบอาจารย์ประจำของคณะ โดยแสวงหาแหล่งทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากรัฐบาลฝรั่งเศส และอิตาลี ทำให้สามารถส่งอาจารย์ไปเรียนและกลับมาพัฒนาคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์จนถึงทุกวนนี้ ศิษย์ และญาติมิตร จึงตั้งใจกำหนดให้เดือนมิถุนายนของทุกปีเป็นช่วงเวลาของการรำลึกถึงศาสตราจารย์ไพโรจน์ผู้ยึดมั่นระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย หวังว่างานเสวนาในวันนี้จะนำมาซึ่งการพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป” ศ.ดร.อุดมกล่าว
จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์ชีวประวัติ ศ.ไพโรจน์ โดยมีคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ลูกศิษย์ และบุคคลสำคัญในแวดวงกฎหมายร่วมกล่าวถึงคุณูปการในด้านต่างๆ
รศ.ดร. ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้เท่ากับการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไมได้ สำหรับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด กรณีการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ก่อให้เกิดปัญหา กล่าวคือ ถ้าชอบทั้งคนและพรรค ก็มีความสุข แต่ถ้าชอบพรรคไม่ชอบคน หรือชอบคนไม่ชอบพรรคจะทำอย่างไร นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 92 ระบุว่า เขตเลือกตั้งใดปรากฏว่าช่อง “ไม่เลือกผู้ใด” มากกว่าผู้สมัคร คือ ไม่มีใครชนะช่องไม่เลือกผู้ใด ผู้สมัครทุกคนหมดสิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือตัดสิทธิทั้งหมด นี่คือการทำให้คะแนนเสียงถูกทิ้งเหว ไม่ใช่ทิ้งน้ำ คือ ยิ่งไปกันใหญ่ ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 40 และ 50 ใช้คำว่า ‘ช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน’ ซึ่งจะไม่ถูกเอามานับ
สำหรับสิ่งที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วทำให้กิดปัญหาเรื่องสูตรคำนวณมากๆ คือ จำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ ซึ่งก็คือจำนวนที่พรรคการเมืองซึ่งลงบัญชีรายชื่อจะต้องมี ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ตัดออก ของไทยเราเคยมีจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์ การที่ไม่มีจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำ ส่งผลคือให้มีพรรคเล็กพรรคน้อยอย่างที่เราเห็นอยู่
“ปัญหาในครั้งนี้ มีสูตรคำนวณที่ทำให้เกิดเบี้ยหัวแตก มีวิธีการค่อนข้างสับสน การไม่มีคะแนนเสียงขั้นต่ำ และระบบการจัดการกับ ส.ส.เกินมีปัญหา เพราะไม่ปล่อยตามธรรมชาติ แต่ใช้วิธีปรับลดลงมา นอกจากนี้ การแบ่งเขตเลือกตั้งก็เป็นปัญหา โดยเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดผลได้เลยว่าใครชนะหรือแพ้ องค์กรที่จะแบ่งเขตต้องเป็นกลาง ต้องคำนึงถึงความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม วันนี้กระบวนการเลือกตั้งเกิดคำถามมากมาย บางทีอาจสุจริต อาจเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ทั้งหมดก็ได้ แต่เพียงแค่คนไม่มั่นใจระบบเลือกตั้ง ก็สั่นคลอนความมั่นใจในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ส่วนตัวอยากให้เราไปในทิศทางประชาธิปไตย แต่เชื่อว่าประชาธิปไตยคือการเรียนรู้ วันนี้อาจยังไม่สำเร็จไม่เป็นไร ก็คาดหวังว่าในอนาคตจะสำเร็จ” รศ.ดร. ณรงค์เดชกล่าว
ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถ้าให้สรุปว่าบทเรียนจากรัฐธรรมนูญ 60 จากการเลือกตั้งมีว่าอย่างไร ต้องขอเรียกว่า “ท่าดีทีเหลว” มันดีมาก ถ้าทำได้แบบที่เขียน แต่พอทำจริง มีเบรกบ้าง ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ก็เลยเหลว บทเรียนอย่างหนึ่งคือการจัดการที่ไม่ค่อยลงตัว ไม่สะดวก ไม่ตอบสนอง ไม่ค่อยทำให้เราเห็นได้ชัดถึงความโปร่งใส ความไม่มั่นใจกับกระบวนการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้น ความน่ากลัวอยู่ตรงนี้ ถ้าคนไม่เชื่อในการเลือกตั้งแล้ว คนจะไม่เชื่อใจรัฐบาล ไม่เชื่อใจ ส.ส. หากไม่มีความเชื่อมั่น รัฐบาล และ ส.ส.จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีความเชื่อใจ ทั้งหมดก็จบ นี่คือสิ่งที่เราเรียนรู้ในส่วนของ กกต.
“รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตอนที่มีการเขียนว่าพรรคการเมืองต้องมีสมาชิก มีองค์กร มีสาขาพรรค รู้สึกดีใจมาก แต่สุดท้ายยังห่างไกลจากพรรคการเมืองในความหมายใหม่อยู่มาก เกิดการงดเว้นในบางส่วน ขอใช้คำว่า พรรคเยอะ แต่ไม่ยั่งยืน การได้คะแนนเกินจำนวนสมาชิกบอกอะไรหลายอย่าง ถามว่าการเลือกตั้งแบบกระแส มันจะช่วยให้เกิดสถาบันทางการเมืองได้หรือเปล่า ครั้งหน้า ไม่ใหม่แล้ว ไม่สดแล้ว ขายได้ครั้งเดียว แล้วจะเป็นอย่างไร มีพรรคใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาแล้วครั้งหน้าก็หายไป” ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์กล่าว
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการรอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กล่าวว่า ทันทีที่เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาเมื่อต้นปี 2559 ก็พอจะเดาได้ว่าร่างมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่างคือ
1. ให้ทหารอยู่ในอำนาจได้หลังการเลือกตั้ง โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
2. ทำลายพรรคฝ่ายตรงข้ามของทหาร ซึ่งนาทีนั้น ในปี 2559 คือ พรรคเพื่อไทยเป็นหลักพรรคเดียว ส่วนกติกาในรายละเอียดว่าพรรคการเมืองต้องมีองค์ประกอบใดบ้างเพื่อเป็นสถาบันของประชาชน คิดว่าเป็นกติกาที่ร่างขึ้นมาเพื่อทำลายพรรคฝ่ายตรงข้ามของ คสช. โดยชัดเจน การจะมองว่ามีเหตุผลก็คงได้ แต่ส่วนตัวมองว่ามีขึ้นเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามทำงานลำบาก ขยับตัวไม่ได้ ส่วนฝ่ายที่เห็นตรงกัน อะไรก็ผ่านได้หมด
“ที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเพิ่มเงื่อนไขในการยุบพรรคการเมืองให้กว้างขึ้น คุณสมบัติของ ส.ส.ก็เป็นเรื่องที่เขียนมากขึ้นในรัฐธรรมนูญ 60 โดยขยายออกมาใหญ่โต และมีถ้อยคำกว้างขวางเพิ่มเติมขึ้นมา คุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.เป็นเรื่องสำคัญร้ายแรงสุดๆ ซึ่งถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญข้อนี้ต้องทำประชามติ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าคนร่างรัฐธรรมนูญใส่ใจเรื่องคุณสมบัติ ส.ส.มาก คิดอยู่แล้วว่าฝ่ายตรงข้าม คสช.ต้องถูกโต้แย้งว่าขาดคุณสมบัติซึ่งจริงๆแล้วมีหลายกรณี ไม่ใช่เฉพาะคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แต่ยังมีผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่หลายรายถูกตัดสิทธิไปก่อนเลือกตั้ง นี่คือสิ่งที่คาดหมายได้อยู่แล้ว
เรื่องจริยธรรม ส.ส.มีการร่างไว้กว้างมาก ทำอะไรก็ผิดหมด ใช้ประโยคทำนองว่า คนที่ดีอุทิศเวลาเพื่อส่วนรวม คือกว้างมาก กว้างกว่าทุกกฎหมายที่เคยมีมา คนที่จะตีความคือศาลรัฐธรรมนูญ ในอนาคตถ้ารู้สึกว่าอยากเอาใครออกจากสภาก็จะมีเครื่องมือนี้อยู่อีก 1 ชิ้น คือการร้องว่า ส.ส.ผิดมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง และให้เอาออกจากตำแหน่งได้” ยิ่งชีพกล่าว
"ธนาธร"เดินเกมอนาคตใหม่ หวัง รุกปักธงเลือกตั้งท้องถิ่น เชียงราย
https://www.thairath.co.th/news/politic/1597896
"ธนาธร" นำ อนาคตใหม่ หวังปักธงเลือกตั้งท้องถิ่น เชียงราย คนฟังกว่า 400 ล้นห้องประชุม เริ่มมีทีมอิสระสนใจเข้าร่วมคัด 2-3 ทีม เป็นตัวแทนพรรคสนามเลือกตั้ง อบจ.
วันที่ 22 มิ.ย. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เข้าร่วมรับฟังเสวนา เรื่อง "อนาคตเชียงราย กับ ธนาธร" ณ โรงแรมทีค การ์เด้น อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมี นายกิตติ ทิศสกุล นายกสมาพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือ ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ด้านสิ่งแวดล้อม นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงรายเขต 1 นายประนอม เชิมชัยภูมิ ร่วมเวทีอภิปรายถึงปัญหาและความเห็นในการพัฒนาจังหวัดเชียงราย ซึ่งนายธนาธรได้รับฟังปัญหาตลอดช่วงบ่าย ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมฝุ่นควัน ปัญหาสัญชาติ ปัญหานโยบายสาธารณะด้านการขนส่ง
นายธนาธร กล่าวว่า วันนี้มาพร้อม ส.ส. 3 คน ที่เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงราย เพื่อรับฟังเพื่อนำปัญหานี้ไปแก้ไข ไปประสานงานในส่วนที่ทำได้ในส่วนกลาง และในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นก็จะนำมาเป็นนโยบายเพื่อเสนอในการเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. สำหรับทีมที่จะมาเป็นตัวแทนพรรคนั้น ตอนนี้กำลังดูตัว และเลือกเฟ้นอยู่ ตอนนี้ทราบว่ามีมาบ้างแล้ว และกำลังจะคุยกับทีมในพื้นที่ก่อน จะมีคณะกรรมการของพรรคคัดกรอง หากมีมากกว่า 1-2 ทีม ก็จะดูความพร้อมของทีม โดยตัวผู้สมัคร ต้องมีนโยบายที่ดี ไม่เน้นนามสกุล ไม่เน้นเงิน ต้องไม่มีประวัติการคอร์รัปชัน ไม่ใช้อิทธิพล ไม่เป็นเจ้าพ่อ ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด ไม่ค้าอาวุธ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพูดคุยในการเสวนานายธนาธร จะเน้นในเรื่องการกระจายอำนาจการปกครอง และการกระจายอำนาจการคลัง นายธนาธร กล่าวว่า ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขของท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง รวมทั้งอำนาจการคลัง ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะหลายเรื่องจะขับเคลื่อนได้ต้องเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม ท้องถิ่นได้รับอำนาจมาเพียงน้อยนิด รวมถึงงบประมาณ ที่ประชากรภาคเหนือมี 16 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ รายได้ภาษีส่งรัฐ 9 เปอร์เซ็นต์ ได้จัดสรรเงินงบประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กทม. เก็บรายได้ภาษีส่งรัฐ 26 เปอร์เซ็นต์ แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์
"เพราะฉะนั้นประชาชนท้องถิ่นไม่สามารถแก้ปัญหาตัวเอง ไม่มีอำนาจการคลังที่จะจัดการบริหารเงินได้ ไม่สามารถจัดการทรัพยากรท้องถิ่นได้ เช่น ปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจเพราะประชาชนไม่สามารถทำกินได้ก็ต้องทำเกษตรบนเขาเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน ต้องเกี่ยวกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ทั้งป่าไม้ และอุทยาน และมีการเผา กระทรวงมหาดไทยต้องเข้าไปดูแล ถ้าต้องสร้างงานก็ต้องเกี่ยวกับกระทรวงแรงงาน และยังเกี่ยวกับกระทรวงต่างประเทศ หากเป็นการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านต้องเจรจา ซึ่งปัญหาจึงแก้ไม่ได้ ดังนั้นประชาชน ไม่ได้ต้องการมีส่วนร่วม แต่ต้องการอำนาจคืน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรตัวเอง เราจะนำอำนาจนั้นคืนมาสู่ท้องถิ่น และจะส่งตัวแทนมาลงเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ เชื่อว่าหากพรรคอื่นไม่ทำต้องสูญพันธุ์ ถ้าจะแข่งกันก็ต้องแข่งด้วยนโยบาย" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าว ...
นายธนาธร กล่าวต่ออีกว่า พรรคเรากล้าที่จะแตะปัญหาที่ต้นตอ รัฐบาลนี้สิ่งที่เราจะได้เห็นคือการแจกเงินให้ประชาชน เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่การปฏิรูปประเทศที่ต้องทำในสิ่งที่ยากๆ สิ่งที่เผชิญกับแรงต้าน รัฐที่เป็นรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล เราจะไม่เห็นการปฏิรูปราชการที่ก้าวหน้า เราจะไม่เห็นการผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าที่แตะต้องเชิงโครงสร้างประเทศจากรัฐบาลนี้ได้เลย ร่วมกันผลักดันวาระนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูป ยุติระบบราชการรวมศูนย์ ปฏิรูปกองทัพ เอาประชาธิปไตยกลับคืนมา ยุติการผูกขาดกลุ่มทุน 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันไปพร้อมกัน
นายวิรุณ คำภิโล ประธานสภาคนฮักเจียงฮาย กล่าวว่า มีประมาณ 2-3 แสนครัวเรือน และอาจมากกว่านั้น อาจเรือนล้าน แต่เรื่องนี้ประเด็นไม่ใช่เรื่องการเผา แต่เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ คนเชียงรายสามารถแก้ปัญหาตัวเองได้ หากให้เชียงรายจัดการตัวเอง เรื่องเชียงรายมหานคร ท้องถิ่นจัดการตัวเอง จากเดิมที่ รธน.2550 เปิดโอกาสในเรื่องท้องถิ่นจัดการตัวเอง แต่ รธน. 2560 กลับมีเงื่อนไข ท้องถิ่นสามารถจัดการตัวเองได้ ภายใต้กฎหมายบัญญัติ ซึ่