อ่านรีวิวของหลายๆคน ก็มักจะเห็นการตีความหนังเรื่องนี้ไปในทางการเมือง ซึ่งตอนแรกที่ผมดู ผมก็ตีความไปในทางนั้นเช่นกัน
แต่ต้องบอกว่า มันมีอะไรหลายอย่างมากระตุ้นให้ผมคิดไปในอีกมุมมองหนึ่งที่ทำให้ผมเจ็บปวดมากขึ้นกว่าเรื่องการเมือง
ซึ่งมุมมองที่ผมพูดถึงก็คือ "การฆ่าตัวตาย" ครับ
ผมเองเป็นคนที่สงสัยในตัวเองมาตลอดว่าตัวเองจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า เพราะมันก็มีช่วงเวลาที่อยู่ๆซึม แล้วก็อยากฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง
แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ แต่ก็ไม่ได้ไปหาหมอสักที เอาเป็นว่าผมผ่านการคิดฆ่าตัวตายมาแล้วหลายรอบ แค่คิดนะครับ ยังไม่ได้พยายามลงมือทำ
ผมจึงสัมผัสความคิดและอะไรรอบๆตัวของคนที่อยากฆ่าตัวตายได้พอสมควร
แล้วอะไรบ้างที่ทำให้เห็นมุมมองของการฆ่าตัวตาย
- ซู มีความต้องการจะไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ซูเลือกไปคือ ฟินแลนด์ มีช่วงหนึ่งที่มีการถามซูว่า รู้จักอะไรในฟินแลนด์บ้าง คำตอบคือ ซูไม่รู้จักอะไรเลย แค่อยากไป เพราะไม่อยากอยู่ ณ ตรงจุดปัจจุบันที่เธออยู่แล้ว ผมมองมันเหมือนการที่ เราไม่รู้หรอกว่า ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร อาจจะได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่รับรู้อะไรเลยก็ได้ แต่ที่แน่ๆคือยังไงก็ไม่อยากอยู่ตรงนี้แล้ว
- คนรอบตัว ที่ไม่อยากให้เราไป แม้การไปเรียนต่างประเทศหรือการตายไปไม่รับรู้อะไรๆอีก มันน่าจะดีกว่า แต่คนรอบตัวก็ล้วนแล้วแต่อยากให้เราอยู่ต่อ
- คุณย่าที่ยืนรอชายหนุ่มมาจับนม และจูบอยู่เรื่อยมา เป็นตัวอย่างที่เจ็บปวดอีกตัวอย่างหนึ่ง ว่าการฝืนอยู่แบบนั้นไม่ได้ทำให้เราพบเจออะไรที่คาดหวังไว้
- ฉากที่ซูกำลังลวกก๋วยเตี๋ยว แล้วก็มีคนแก่ที่เป็นลูกค้ามาคอยบอกว่า ไม่ต้องไปหรอก ไม่เสียดายร้านหรอ ลุงรู้นะว่าหนูทำร้านนี้ได้ ก็เป็นเหมือนคำพูดของคนที่พยายามจะมาหยุดยั้งด้วยการโอ้อวดว่า ฉันรู้ดี ฉันแก่กว่า ฉันเคยผ่านมาก่อน เชื่อฉันสิ แกทำได้ ซึ่งคำพูดพวกนี้มันไม่ได้ช่วยบรรเทาความเศร้าหรืออยากคิดฆ่าตัวตายให้ดีขึ้นมา
- ฉากที่ทะเล ซูและเบลมีการปรับความเข้าใจกัน เรื่องความเป็นเพื่อนของทั้งคู่ เบลถามซูประมาณว่าซูมีเบลอยู่ในหัวบ้างไหม แล้วคำพูดที่ทำผมเจ็บมากๆของซูคือ ก็ทำดีที่สุดแล้ว (ตรงนี้จำคำพูดไม่ได้ละเอียด) คือมันเป็นคำพูดที่ผมเคยบอกกับตัวเองในช่วงที่ดิ่งอยู่มันเป็นคำพูดที่พูดตอนผมเหนื่อยล้ามากๆ
มันเหมือนการพยายามปลอบตัวเองที่กำลังแย่ว่านั่นคือดีที่สุดแล้ว
- Check list ของซู มาดูตอนท้ายจะมีlist ที่เขียนสิ่งที่ต้องทำ(หรือทำไปแล้ว)เอาไว้ด้วย เช่น คุยกับป๊า เคลียกับมิว ผมมองว่ามันคือสิ่งที่อยากทำก่อนตายเพื่อให้แบบหมดห่วงอะไรงี้ครับ
- ฉากสุดท้ายที่เบลขี่มอเตอร์ไซค์แล้วปกติจะเป็นซูที่ซ้อนท้าย แต่คราวนี้กลายเป็นสิ่งของที่มีคำว่า Feelfree ที่มีความหมายในเชิงว่ารู้สึกเป็นอิสระแล้วมาทดแทนตัวซู
- เพลง Let u go พูดถึงการปล่อยใครสักคนไป ย้อนกลับไปจะมีฉากที่พ่อเซ็นใบบริจาคหัวใจของแม่ให้ โดยที่ซูเองไม่ยอม ตอนนั้นซูก็เหมือนคนรอบตัวคนนึงที่พยายามรั้งคนที่อยากฆ่าตัวตายเอาไว้
แต่ซูในมุมมองของผมก็ไม่ได้ไปฆ่าตัวตายหรอกครับ เพราะมีฉากนึงมาค้ำเอาไว้ว่า ซูน่าจะแค่หนีไปหาที่ของตัวเองมากกว่า ก็คือการเอารูปแม่ของเธอติดตัวไปด้วยนั่นเอง
สุดท้ายหลังจากลุกออกจากโรงก็ต้องพุ่งตรงไปปล่อยโฮในห้องน้ำเลยครับ มันเจ็บมากๆกับมุมมองที่ผม(ดัน)เลือกมองแบบนั้น
ใครมีมุมมองอื่นๆอีกก็แชร์กันได้นะครับ
[Spoil] Where we belong ในอีกมุมมองที่(อาจ)เจ็บปวดกว่าเดิม
แต่ต้องบอกว่า มันมีอะไรหลายอย่างมากระตุ้นให้ผมคิดไปในอีกมุมมองหนึ่งที่ทำให้ผมเจ็บปวดมากขึ้นกว่าเรื่องการเมือง
ซึ่งมุมมองที่ผมพูดถึงก็คือ "การฆ่าตัวตาย" ครับ
ผมเองเป็นคนที่สงสัยในตัวเองมาตลอดว่าตัวเองจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า เพราะมันก็มีช่วงเวลาที่อยู่ๆซึม แล้วก็อยากฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง
แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ แต่ก็ไม่ได้ไปหาหมอสักที เอาเป็นว่าผมผ่านการคิดฆ่าตัวตายมาแล้วหลายรอบ แค่คิดนะครับ ยังไม่ได้พยายามลงมือทำ
ผมจึงสัมผัสความคิดและอะไรรอบๆตัวของคนที่อยากฆ่าตัวตายได้พอสมควร
แล้วอะไรบ้างที่ทำให้เห็นมุมมองของการฆ่าตัวตาย
- ซู มีความต้องการจะไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ซูเลือกไปคือ ฟินแลนด์ มีช่วงหนึ่งที่มีการถามซูว่า รู้จักอะไรในฟินแลนด์บ้าง คำตอบคือ ซูไม่รู้จักอะไรเลย แค่อยากไป เพราะไม่อยากอยู่ ณ ตรงจุดปัจจุบันที่เธออยู่แล้ว ผมมองมันเหมือนการที่ เราไม่รู้หรอกว่า ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร อาจจะได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่รับรู้อะไรเลยก็ได้ แต่ที่แน่ๆคือยังไงก็ไม่อยากอยู่ตรงนี้แล้ว
- คนรอบตัว ที่ไม่อยากให้เราไป แม้การไปเรียนต่างประเทศหรือการตายไปไม่รับรู้อะไรๆอีก มันน่าจะดีกว่า แต่คนรอบตัวก็ล้วนแล้วแต่อยากให้เราอยู่ต่อ
- คุณย่าที่ยืนรอชายหนุ่มมาจับนม และจูบอยู่เรื่อยมา เป็นตัวอย่างที่เจ็บปวดอีกตัวอย่างหนึ่ง ว่าการฝืนอยู่แบบนั้นไม่ได้ทำให้เราพบเจออะไรที่คาดหวังไว้
- ฉากที่ซูกำลังลวกก๋วยเตี๋ยว แล้วก็มีคนแก่ที่เป็นลูกค้ามาคอยบอกว่า ไม่ต้องไปหรอก ไม่เสียดายร้านหรอ ลุงรู้นะว่าหนูทำร้านนี้ได้ ก็เป็นเหมือนคำพูดของคนที่พยายามจะมาหยุดยั้งด้วยการโอ้อวดว่า ฉันรู้ดี ฉันแก่กว่า ฉันเคยผ่านมาก่อน เชื่อฉันสิ แกทำได้ ซึ่งคำพูดพวกนี้มันไม่ได้ช่วยบรรเทาความเศร้าหรืออยากคิดฆ่าตัวตายให้ดีขึ้นมา
- ฉากที่ทะเล ซูและเบลมีการปรับความเข้าใจกัน เรื่องความเป็นเพื่อนของทั้งคู่ เบลถามซูประมาณว่าซูมีเบลอยู่ในหัวบ้างไหม แล้วคำพูดที่ทำผมเจ็บมากๆของซูคือ ก็ทำดีที่สุดแล้ว (ตรงนี้จำคำพูดไม่ได้ละเอียด) คือมันเป็นคำพูดที่ผมเคยบอกกับตัวเองในช่วงที่ดิ่งอยู่มันเป็นคำพูดที่พูดตอนผมเหนื่อยล้ามากๆ
มันเหมือนการพยายามปลอบตัวเองที่กำลังแย่ว่านั่นคือดีที่สุดแล้ว
- Check list ของซู มาดูตอนท้ายจะมีlist ที่เขียนสิ่งที่ต้องทำ(หรือทำไปแล้ว)เอาไว้ด้วย เช่น คุยกับป๊า เคลียกับมิว ผมมองว่ามันคือสิ่งที่อยากทำก่อนตายเพื่อให้แบบหมดห่วงอะไรงี้ครับ
- ฉากสุดท้ายที่เบลขี่มอเตอร์ไซค์แล้วปกติจะเป็นซูที่ซ้อนท้าย แต่คราวนี้กลายเป็นสิ่งของที่มีคำว่า Feelfree ที่มีความหมายในเชิงว่ารู้สึกเป็นอิสระแล้วมาทดแทนตัวซู
- เพลง Let u go พูดถึงการปล่อยใครสักคนไป ย้อนกลับไปจะมีฉากที่พ่อเซ็นใบบริจาคหัวใจของแม่ให้ โดยที่ซูเองไม่ยอม ตอนนั้นซูก็เหมือนคนรอบตัวคนนึงที่พยายามรั้งคนที่อยากฆ่าตัวตายเอาไว้
แต่ซูในมุมมองของผมก็ไม่ได้ไปฆ่าตัวตายหรอกครับ เพราะมีฉากนึงมาค้ำเอาไว้ว่า ซูน่าจะแค่หนีไปหาที่ของตัวเองมากกว่า ก็คือการเอารูปแม่ของเธอติดตัวไปด้วยนั่นเอง
สุดท้ายหลังจากลุกออกจากโรงก็ต้องพุ่งตรงไปปล่อยโฮในห้องน้ำเลยครับ มันเจ็บมากๆกับมุมมองที่ผม(ดัน)เลือกมองแบบนั้น
ใครมีมุมมองอื่นๆอีกก็แชร์กันได้นะครับ