พระคึกฤทธิ์สวดปาติโมกข์ 150...ไม่ใช่ตัวจริงของเดิมในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

ที่ พระคึกฤทธิ์อ้างนั้น ที่จริงไม่ใช่พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่เป็นคำแปลภาษาไทย ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ที่แปลออกมาจากพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ อีกทอดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวจริงของเดิมในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

ที่มา: http://www.alittlebuddha.com/html/Special%20Event/Buddhavajana.html

พาพันขยัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จะเห็นว่า คำ “สาธิกํ” นี้มีความหมายตรงกับ เท่ากับ หรือในจำพวกเดียวกับ “สาติเรก” (มีส่วนเกิน) “ปโร” (กว่า) “อุตฺตรึ” (เพิ่มขึ้นไป) บางทีมาด้วยกันดังเป็นชุด บางทีก็ใช้อธิบายกัน

“สาธิกํ” คือ “สห+อธิก” แปลว่า พร้อมด้วยส่วนที่เกิน มีข้อที่มากขึ้นไป หรือมีเศษ

บาลีพุทธวจนะตรงนี้จึงแปลว่า “สิกขาบท 150 กับทั้งที่เกินออกไป นี้” หรือแปลสั้นๆ ว่า “สิกขาบท 150 มีเศษ นี้”

อรรถกถาถึงจะไม่อธิบายศัพท์ “สาธิกํ” ก็อธิบายความต่อไปว่า (องฺ.อ.2/239) “ที่ตรัสไว้ดังนี้ ทรงหมายถึงสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว

ในเวลา (ที่พระวัชชีบุตรทูลถาม) นั้น” แล้วฎีกายังบอกต่อไปอีกว่า

(ม.ฏี.2/300) “พุทธพจน์นี้ ตรัสตามจำนวนสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว

ในเวลาที่ทรงแสดงพระสูตรนั้น แต่หลังจากนั้น มีสิกขาบท 200 มีเศษ

‘สาธิกานิ ทฺเวสตานิ’

ท่านผู้ใดไม่ฟังอรรถกถา-ฎีกา ก็ไม่เป็นไร เพราะตัวคำศัพท์ในบาลีพุทธวจนะนั้นชัดเจนอยู่แล้ว ก็เป็นอันว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยแปลบาลีพุทธพจน์ตรงนี้พลาด หรือพลั้งเผลอไป

ที่มา: http://www.alittlebuddha.com/html/Special%20Event/Buddhavajana.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่