[Album Review] Taylor Swift - reputation (2017): The Old Taylor ตายแล้วจริงหรอ?


ไหน ๆ กระแสของเทย์กำลังมาอยู่ในช่วงนี้ หูเลยขอพานักฟังเพลงและคนชอบอ่านรีวิวย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อนกลับอัลบั้มที่เรียกได้ว่าเป็นกระแสหนักมากในอาชีพของเทย์เลยกับ reputation หูหยิบเอางานรีวิวที่หูเคยเขียนไว้ตอนยังโพสนู่นนี่อยู่บนเว็บ minimore.com มาให้อ่านกัน

แถมรีวิวชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 13 พอดี (ที่ลงในเพจ EARBUDD [https://www.facebook.com/earbudd]) ซึ่งเลขนี้ก็เป็นเลขนำโชคของเทย์ด้วย อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น (เลิ่กลั่ก) ขออีกโพสสำหรับเทย์นะ อย่าเพิ่งเบื่อกัน

วงการดนตรีและ pop culture ของโลกต้องสั่นสะเทือนกันอีกระลอกหลังจาก Taylor Swift ได้ทำการล้างรูปใน instagram กวาดทวิตเก่า ๆ ของเธอใน twitter ออกเกือบหมด และปรากฎตัวออกสู่สังคมอีกครั้งหลังจากมรสุมข่าวฉาวด้วยการปล่อย "Look What You Made Me Do" ซิงเกิ้ลแรกจาก reputation อัลบั้มลำดับที่ 6 ของตัวเธอ

แน่นอนว่าแฟนเพลงหรือสื่อต่าง ๆ ก็แตกตื่นกับการ comeback ของ Taylor เพราะตัวศิลปินได้ทำการประกาศกร้าวในเพลงใหม่ของเธอว่า ตัวตนเก่าของเธอนั้นได้ตายไปแล้ว และ 2017 ก็ถือเป็นการที่โลกของเราจะได้รู้จักกับ The New Taylor

เราเชื่อว่าหลายคนที่อ่านรีวิวชิ้นนี้อยู่นั้นอาจจะพอรู้เรื่องราวของตัวนักร้องสาวไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข่าวเกาเหลากับ Kimye หรือ Katy Perry กลยุทธ์ในการโปรโมทงานเพลง หรือแม้แต่การต่อสู้คดีกับเรื่อง sexual assault ระหว่างตัวเธอกับดีเจคนหนึ่ง เรื่องราวทั้งหมดได้ทำตัว Taylor ได้รับทั้งชื่อเสียงและชื่อเสียมากมายจนตัวเค้าได้หนีไปจำศีล ไม่ออกสื่อ ไม่ทวิต ไม่อัพรูปใด ๆ ทั้งสิ้น การหวนคืนสู่โลกอีกครั้งจึงทำให้ทั้งตัวศิลปินและงานเพลงมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่เหล่านักฟังเพลงจะได้ลุ้นว่า reputation จะมีดนตรีมาเป็นแนวไหน แต่เหล่านักวิจารณ์ก็จะได้มันมือกับการวิพากษ์ตัวศิลปินอย่างเมามันเหมือนกัน

Genres: pop, electropop, trap, hiphop, synthpop
Release Date: November 10, 2017

Album Overview
กลับมาต่อกับคำถามที่ว่าตกลง "The Old Taylor นั้นตายไปแล้วจริงหรอ?" หลังจากที่เราได้ฟัง reputation แบบ non-stop มาตลอดตั้งแต่วันปล่อย เราก็ปล่อยให้ความคิดตกตะกอนบวกกับตามอ่านบทความหรืองานวิจารณ์ต่าง ๆ จนรวบรวมความคิดได้ว่า "จริง แล้ว Taylor คนเก่ายังไม่ไปไหนหรอกเพลงต่าง ๆ (ถ้าหากคุณได้ฟังแล้ว) จะพบว่ามันใหม่จริง ๆ นะ แต่หากฟังดี ๆ จะพบว่าตัวตน Taylor แบบที่โลกรู้จักนั้นไม่ได้จากเราไปไหนเลย

แล้ว The New Taylor ที่ว่าเป็นยังไงหรอ?
จากการที่เธอบอกทุกคนในโลกว่าร่างเก่าเธอตายไปแล้ว ทุกคนก็น่าจะคาดหวังที่จะได้เห็นอะไรใหม่ ๆ จากตัวนักร้อง ซึ่งมันเป็นเรื่องจริง ตลอดการฟังอัลบั้มชุดนี้ แฟนเพลง (หรือคนที่ไม่ใช่คนที่ตามงาน Taylor มาตลอด) จะได้พบกับซาวน์ใหม่ที่ตัวนักร้องยัดมาเต็มอัลบั้ม reputation เปรียบเหมือนฝาแฝดด้านมืดของ 1989 ในแง่ที่งานชุด 5 จะเป็นเพลง pop ที่เน้นกับเครื่องดนตรีสาย live music และผสมผสานระหว่าง rock กับ synthpop แต่สำหรับน้องสาวฝาแฝดของเธอ reputation กลับกลายเป็นการโชว์ dark side ของตัวนักร้องด้วยการหยิบเมโลดี้หนัก ๆ จากเพลงสาย electronic ที่ฟังครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความมืดมัวของดนตรี Taylor จับมือกับ Jack Antonoff, Max Martin, และ Shellback อีกรอบจากการทำ 1989 และสร้างสรรค์ความใหม่ให้กับงานดนตรีของ Taylor ความเป็น pop ฟังง่าย ๆ จากงานชุดที่แล้วถูกกลบด้วยบีท R&B และ hiphop ที่ทำให้เพลงมีมิติหลายชั้น ฟังแล้วอาจจะตึ้บกับความหนักของดนตรีมาก ๆ และนี่ก็คือ The New Taylor ที่เราได้รู้จักกัน

แล้ว The Old Taylor ล่ะ?
หลังจากที่ฟัง "Look What You Made Me Do" แล้วได้ยินว่า Taylor ได้ฆ่าตัวตนเก่าของเธอทิ้งไป เราดีใจและตื่นเต้นมากที่จะได้เสพย์ความใหม่จากตัวศิลปิน แต่เมื่อฟัง reputation ไปประมาณ 6-7 รอบแล้ว เราบอกได้เลยว่า วิญญาณ Taylor คนเก่ายังไม่ได้ไปผุดไปเกิดหรอกนะ ความเก่าหรือ Taylor แบบดั้งเดิมที่ว่ายังคงล่องลอยอยู่ในทักษะการแต่งเพลงของเธอนั่นเอง โอเค หลายคนอาจบอกว่าเพลงต่าง ๆ ในอัลบั้มใหม่นี้มีความลึกและชั้นเชิงที่ล้ำมากขึ้น ซึ่งเรายอมรับว่าจริง Taylor กล้าที่จะแสดงความรู้สึกและความอ่อนแอออกมามากขึ้น หรือแม้ไหวพริบในการแต่ง diss track (เพลงด่าคน) ก็ดูฉลาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ความเก่าที่ว่านั่นคือ "ผู้ชาย" ก็ยังคงเป็น universal theme ในเพลงของเธอ หลายเพลงใน reputation ทำให้เราร้องหูยกลับความจัดจ้านในเนื้อเพลงแต่ก็กลับมากลอกตาอีกระลอกหลังจากเธอก็วกกลับไปพูดเรื่องผู้ชาย ต่างกับงานของ Lorde's Melodrama ที่แม้ว่าธีมจะเน้นที่ความรัก แต่เธอกลับโชว์ธรรมชาติความเป็นมนุษย์ได้ลึกกว่า ในความใหม่ของเนื้อเพลงที่ว่าก็อาจจะมี motif ใหม่ ๆ ที่เธอไม่เคยพูดถึงในงานเพลงชุดก่อน ๆ เช่นเรื่อง alcohol และ sex แต่ธีมเกี่ยวกับ fairy tales ที่เป็นธีมหลักในเพลงของ Taylor ก็ยังคงเห็นได้ตลอดในหลาย ๆ เพลงใน reputation

ณ วันที่เขียนตอนนี้ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะได้ฟัง reputation กันแล้ว เพราะ Taylor ลีลาในการปล่อยเพลงออกมามาก ซึ่งตอนนี้ช่องทางในการฟังอัลบั้มชุดนี้น่าจะเปิดกว้างไปถึงเหล่า streaming services กันแล้ว เพราะฉะนั้น เรามาอ่านกันต่อดีกว่าว่าเพลงต่าง ๆ ในอัลบั้มชุดนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง

Track-by-Track Review
1. “…Ready for It?”
Opening track ของ reputation ที่แค่ขึ้นอินโทรมาก็อาจจะทำให้ขนลุกขนพองกันได้เลย "...Ready for it?" จัดเป็นความโคตรแปลกของตัวศิลปินมาก ตัวเพลงเดินด้วยบีท trap และ electronic บวกกับการร้องแบบกึ่งร้องกึ่งแรป แฟนเพลง Taylor หรือคนที่เกลียดเพลงแบบ electronic อาจจะกดปิดทันที แต่บอกเลยว่าเพราะความ avant-garde ของเพลงนี้จัดเป็น introduction ของอัลบั้มได้ดีมาก เพราะ Taylor เหมือนถามคนฟังว่าพร้อมจะเจอกับสิ่งใหม่ ๆ หรือยัง ด้านเนื้อก็ยังสร้างความสยิวกิ้วให้คนฟังเหมือนกัน เพราะหลายสื่อยกให้เพลงนี้เป็นพี่สาวของ "Wildest Dreams" ที่เพ้อเรื่องของ sex กับความฝันอะไรประมาณนี้ 

2. “End Game” (feat. Ed Sheeran and Future)
ต่อกับแทรคที่สองที่เป็นแทรคเดียวในอัลบั้มที่มี features มา "End Games" จัดว่าเป็นความใหม่ให้กับผลงานของ Taylor ด้วยการที่นำเอา rapper มาเป็น feature ให้กับเพลงของตัวเอง ตัวเพลงจะมีความคล้ายกับ Love the Way You Lie ของ Eminem และเนื้อหาก็พูดถึงชื่อเสียของตัวศิลปินที่ถูกเหล่าศัตรูและสื่อต่าง ๆ ประณาม แต่ตัว Taylor ก็ร้องขอให้คนรักของเธอนั้นยังคงอยู่ข้างตัวเธอไปเหมือนกับ Endgame หรือผลลัพธ์สุดท้ายหลังจากเรื่องราวร้าย ๆ เกิดขึ้น

3. “I Did Something Bad”
หลายสำนักตีความแทรคที่สามนี้ว่าเป็นเพลงถึง Calvin Harris หนึ่งในแฟนเก่าที่เคยพูดจาแย่ ๆ กับตัว Taylor มาแล้ว ผลลัพธ์จึงออกมาเป็น "I Did Something Bad" แทรคที่ชาวโลกจะได้ฟัง Taylor สบถเป็นครั้งแรกในเพลงของเธอ!!! เพลงนี้จัดว่าเป็นเพลงที่เราชอบมากที่สุดในอัลบั้มเพราะไม่ใช่แค่เราจะได้สัมผัสตัวตนของศิลปินในด้าน badass สุด ๆ แต่ยังได้สะใจกับดนตรีที่มีความกระแทกกระทั้นหนักเหมือนชื่อเพลงมากด้วยการทำซาวน์เหมือนยิงปืน บวกกับท่อน Ratatatata ที่ฟังแล้วร้องโว้ยยยยหนักมากกับความเท่ของเพลง หลายคนที่ชอบด่า Taylor เพราะภาพลักษณ์ที่ดู innocent จะต้องอึ้งกับความ not give a  ในเพลงนี้แน่นอน

4. “Don't Blame Me”
ความสนุกในการฟังเพลงของ Taylor ตั้งแต่ยุค 1989 อย่างหนึ่งคือการได้ฟังตัวศิลปินกัดจิกตัวเอง และ "Don't Blame Me" ก็เป็น electronic mid tempo ballad ที่เล่นกับชื่อเสียงในเรื่องที่เธอโดนด่าว่ามี character เป็นพวกอีบ้ากระหื่นกระหายที่หมกมุ่นความรัก เทยังใช้ metaphor ของการเสพย์ยามาเป็นสัญลักษณ์ในเพลงที่จัดว่าเป็นความใหม่ในการแต่งเพลงของเธอด้วย เพลงนี้จึงตอกย้ำ tone ของ reputation ในเรื่องของการ dark ในการเล่าเรื่องได้อย่างดีเลย

5. “Delicate”
อีกหนึ่งแทรคโปรดของเราจากอัลบั้มชุดนี้ "Delicate" คือ synthpop ช้า ๆ ที่จัดว่าเป็นหนึ่งในงานที่ personal มากที่สุดในเพลงทั้งหมดของเทก็ว่าได้ อินโทรที่เปิดมาด้วยการพูดถึงชื่อเสียงของเธอที่ป่นปี้ แต่กระนั้นเธอก็ยังหวังให้คนมองตัวเธอที่เธอเป็นจริง ๆ ตลอดการฟังเราจะสัมผัสได้ถึงความอ่อนแอของตัวเทที่สื่อออกมาได้อย่างชัดเจนจนทำให้คนฟังรู้สึกเศร้าตามกันไปด้วย ความพิเศษคือเพลงนี้เป็นเหมือนเพลงแรกของ Taylor ที่ใช้เทคนิค autotune มาแต่งเสียงร้องด้วย

6. “Look What You Made Me Do”
ซิงเกิลแรกที่ต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุค reputation ที่ไม่ใช่แค่สร้างกระแสปั่นป่วนให้กับทุกคนเพราะตัววิดีโอที่มีความยิ่งใหญ่ทั้งในด้าน production และการออกแบบที่แฝงสัญลักษณ์และข้อความจนคนไปตีความกับเป็นร้อยอย่างพันอย่าง แต่ "Look What You Made Me Do" ยังจัดเป็นความใหม่ในด้านงานเพลงของเทด้วยเพลงที่เป็นแบบ techno ที่ได้ sample จากเพลง "I'm Too Sexy" ของ Right Said Fred มั่นใจว่าทุกคนที่ฟังครั้งแรกต้องอึ้งกับการเปลี่ยนแนวครั้งยิ่งใหญ่ของเท แต่ด้านคำวิจารณ์ เพลงนี้กลับถูกแบ่งเป็นเชิง love it or hate it ไปเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่