ชีวิตบนดอยของเด็กกรุงเทพ -/ ชุมชนแสนใจใหม่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

บทความนี้เป็นบทความที่เขียนขึ้นโดยอิงมาจากการฝึกงานภาคปฏิบัติของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยในบทความนี้ไม่ได้อ้างอิงมาจากบทความทางวิชาการเท่านั้นแต่เป็นการผนวกและผสมผสานความรู้สึกการได้สัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนและข้อมูลที่ได้มาจากคนในชุมชนร่วมด้วย
                    เริ่มแรกการเลือกที่จะฝึกงานภาปฏิบัติที่นี่นั่นผู้เขียนเป็นคนตัดสินใจและเลือกพื้นที่ดังกล่าวในการฝึกภาคปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความคิดที่ว่าผู้เขียนอยากจะสัมผัสและเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้จักมาก่อน ตลอดจนการขึ้นมาใช้ชีวิตบนดอยกับชาวกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ๆใครจะขึ้นมาพักอาศัยเลยก็สามาถทำได้เลยในโอกาสนี้จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะพาชีวิตออกไปเผชิญโลกกว้างเรียนรู้โลกในมุมมองใหม่ๆอีกครั้ง 
                    หมู่บ้านแสนใจใหม่เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าอาข่าหรืออีก้อตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ชนเผ่าอาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากตอนใต้ของประเทศจีนโดยมีเส้นทาง2 เส้น คืออพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุงเข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางด้านการเมืองด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จันทางหมู่บ้านพญาไพร(ปัจจุบันนี้คืออำเภอแม่ฟ้าหลวง) และเส้นทางที่สองอาข่าได้อพยพโดยตรงมาจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่าและแม่น้ำโขงประเทศลาวและเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย  ก่อนขึ้นดอยจริงๆภาพที่คิดไว้ในหัวของผู้เขียนนั้นขอยอมรับเลยว่าจินตนาการยังเป็นภาพเดิมๆตามที่เคยได้ดูตามหนังโทรทัศน์ละครหรือเพลงพื้นบ้านอยู่การที่ชุมชนชาวเขาจะเป็นชุมชนที่มีความเป็นชนบทมากๆแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชนเผ่าหรือสื้อผ้าพื้นเมืองหรือแม้กระทั่งการที่เด็กบนดอยจะกินแต่ผักบ้านที่อยู่อาศัยทำจากวัสดุตามธรรมชาติแต่ความจริงแล้วนั้นปัจจุบันที่เทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าได้แผ่ขยายเข้าสู่ชุมชนระยะทางและระยะเวลาได้เกิดการกระชับแน่นเกิดขึ้นผู้คนต่างติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าอยู่บนพื้นที่ใดแม้แต่พื้นที่สูงก็ตาม ความเจริญก้าวหน้าที่ว่านั้นได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเชื่อค่านิยมของชนเผ่าอาข่าให้เปลี่ยนแปลงไปบ้างสูญหายไปบ้างตามกาลและเวลา 
                    ถึงอย่างไรก็ตามแม้ถนนไฟฟ้าการประปาได้เข้าถึพื้นที่บนดอยทำให้วิถีชีวิตต่างๆที่เคยทำกันก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปแต่ผู้เขียนก็ได้สัมผัสถึงความเป็นชาวอาข่าที่ยังจะพอหลงเหลืออยู่บ้างท่ามกลางความเจริญนี้เรายังพบเห็นความน่ารักของการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชนการดำเนินชีวิตในลักษณะแบบพึ่งพึงไม่ใช่ตัวใครตัวมันหรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ การนับถือผี ประเพณีลานสาวกอด การโล้ชิงชิงช้า เรื่องเล่าประวัติประตูผีความเชื่อการมีลูกแฝดที่ได้รับฟังมาจากอาบ๊อ(ผู้เฒ่าผู้ชาย) หรืออาผิ(ผู้เฒ่าผู้หญิง) ที่เอ็นดูและเมตตาผู้เขียนและคณะมาบอกเล่าสื่อสารถึงการประกอบพิธีกรรมต่างๆในผู้เขียนได้ฟังโดยผู้เขียนจะนำมาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้ฟังในบทความถัดไปโดยผู้เขียนได้ถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มหากมีโอกาสผู้เขียนจะนำภาพที่บอกเล่าเรื่องราวความน่ารักในชุมชนแห่งนี้ 

                   

                            เรื่องเล่าที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดมานี้ไม่ใช่ข้อมูลที่มาจากคำบอกเล่าของคนในชุมชนผู้เฒ่าผู้แก่ไม่ใช่ข้อมูลที่ค้นหามาจากสารสนเทศแต่อย่างใดบัญชีผู้ใช้นี้เป็นบัญชีผู้ใช้ของเพื่อนผู้เขียนชีวิตบนดอยของเด็กกรุงเทพจะเป็นอย่างไรจะพบเห็นอะไรบ้างเรื่องราวของชาวอาข่าจะเป็นอย่างไรบ้างโปรดติดตามตอนต่อไป

/// บูก่ะ ลูกสาวคนเล็กที่มีความรัก ความห่วงใย ความคิดถึง 
ขออนุญาตใช้กระทู้คำถามนะคะ 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่