ขอถามเรื่องพวกกองทัพที่ไปถล่มอินเดีย เผามหาวิทยาลัยนาลันทา ฆ่าพระสงฆ์หลายรูป

อยากทราบว่าภายหลังพวกนั้นได้รับผลกรรมอะไรรึเปล่าครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
คนไทยรู้จักแต่ ม.นาลันทา(มหายาน)  หารู้จัก ม.วัลภี(เถรวาท)ไม่



วลภี เป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายหินยาน ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอินเดีย คือ ใกล้เมืองภวนคร หรือเมืองสุราษฎร์โบราณ แคว้นคุชราดในปัจจุบัน เจ้าหญิงทัดดาเป็นปนัดดาของพระเจ้าธรุวเสนาได้สร้างวิหารหลังแรกของวิหารวลภีขึ้นเรียกว่า "วิหารมณฑล"
อ่านต่อ คลิ้ก...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



เถรวาท 18 นิกาย


0.เถรวาท แยกเป็น

1.นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น

2.นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น

-3.นิกายกัสสปิกวาท

-4.นิกายสังกันติกวาท

-5.นิกายสุตตวาท

-6.นิกายธรรมคุตตวาท

7.นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น

-8.นิกายธัมมตตริกวาท

-9.นิกายภัทรยานิกวาท

-10.นิกายฉันนาคาริกวาท

-11.นิกายสมิติยวาท

12.นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น

-13.นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น

-14.นิกายพหุสสุติกวาท

-15.นิกายปัญญัติกวาท

-16.นิกายโคกุลิกวาท

-17.นิกายเจติยวาท

1.นิกายมหิสาสกวาทีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น

2.นิกายสัพพัตถิกวาท
หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก[1] คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้

3.นิกายกัสสปิกวาท
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกตัวออกมาจากนิกายสรวาสติวาทราว พ.ศ. 200 หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายธรรมคุปต์ เชื่อว่ากรรมที่ทำในอดีตให้ผลในอดีตแล้วหยุดเท่านั้น ไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีก มีพระไตรปิฎกเป็นของตนเอง

4.นิกายสังกันติกวาท
นับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 (4 และ 5) นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย

5.นิกายสุตตวาท
เห็นว่าพระสุตันตปิฎกสำคัญกว่าอภิธรรมปิฎก ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน

6.ธรรมคุปต์หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมยิ้มศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะ

7.นิกายวัชชีปุตวาท
เป็นนิกายที่แยกออกมาจากเถรวาทเมื่อครั้งการสังคายนาครั้งที่ 2 นิกายนี้ได้แพร่หลายจากมคธไปสู่อินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ไม่มีปกรณ์ของนิกายนี้เหลืออยู่เลยในปัจจุบัน หลักธรรมเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือนิกายนี้ยอมรับว่ามีอาตมันหรืออัตตาจึงถูกโจมตีจากนิกายอื่น เช่น นิกายมหาสังฆิกะ เถรวาทและนิกายเสาตรันติกวาท

8.นิกายธัมมตตริกวาท n/a
9.นิกายภัทรยานิกวาท n/a
10.นิกายฉันนาคาริกวาท n/a

11.นิกายสมิติยวาท
เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก

12.นิกายมหาสังฆิกะ
มหาสังฆิกะ[1] (สันสกฤต: महासांघिकmahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน

หลักธรรม
โดยทั่วไปนิกายมหาสังฆิกะยอมรับหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 กฎแห่งกรรม ปฏิจสมุปบาท เช่นเดียวกับเถรวาท ส่วนที่ต่างออกไปคือ

พระพุทธเจ้า
นิกายนี้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยตรีกายคือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย มีการนับถือพระโพธิสัตว์โดยถือว่าเป็นโลกุตตระแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า

พระอรหันต์
นิกายนี้ถือว่าพระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันจนอสุจิเคลื่อนได้ พระอรหันต์มีอัญญาณได้ มีกังขาได้ พระอรหันต์จะรู้ตัวว่าตนบรรลุมรรคผลเมื่อได้รับการพยากรณ์จากผู้อื่น มรรคผลจะปรากฏเมื่อผู้บำเพ็ญเพียรเปล่งคำว่า ทุกข์หนอ ๆ

หลักธรรมอื่น ๆ
นิกายนี้ถือว่าธรรมชาติของจิตเดิมแท้ผ่องใสแต่มัวหมองเพราะกิเลสจรมา ซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดของปรัชญาจิตนิยมของนิกายโยคาจารที่เกิดขึ้นภายหลัง ปฏิเสธอันตรภพ ถือว่าพระโสดาบันอาจเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ เป็นต้น

13.นิกายเอกัพยาวหาริกะ หรือ นิกายเอกวยหาริกวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าไม่มีสภาวธรรมที่แท้จริง ทั้งทางโลกียะและโลกุตระ เป็นแต่บัญญัติโวหารเท่านั้น

14.นิกายพหุสสุติกวาท
แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะหรือนิกายโคกุลิกะ นิกายใดนิกายหนึ่ง ตามประวัติของนิกายนี้กล่าวว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งเข้าฌานสมาบัติเป็นเวลานานจน พ.ศ. 200 จึงจาริกมาสู่แคว้นอังคุตตระ เห็นว่าหลักธรรมของฝ่ายมหาสังฆิกะยังไม่สมบูรณ์ จึงแสดงข้อธรรมเพิ่มเติมลงไป ภายหลังศิษย์จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ต่างหาก โดยหลักธรรมที่เพิ่มเติมนั้น มีลัทธิมหายานเจือปนอยู่ด้วย นิกายนี้ถือว่าเฉพาะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาและนิพพานเท่านั้นที่เป็นโลกุตตระ ในขณะที่ฝ่ายมหาสังฆิกะถือว่าพระพุทธพจน์ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ

พหุสสุติก หรือ พหุศรุติย มาจากคำว่า พหูสูต แปลว่าผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาก หมายถึงผู้ที่เรียนรู้มาอย่างดี

15.นิกายปัญญัติกวาท
เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มีขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรรค

16.นิกายโคกุลิกวาท
แป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท

17.นิกายเจติยวาท
เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ตั้งขึ้นโดยอาจารย์มหาเทวะ แยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสังฆิกะ ที่ต่างไปคือถือว่าการสร้างและการตกแต่งสถูปเจดีย์ได้บุญมาก พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ เป็นอมตธาตุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่