สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
หากมองในมิติมนุษย์คุณอาจเรียกว่า เป็นความเสียสละผ่านความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ก็ได้ แต่น่าสนใจที่โลมาเข้าใจกลไกของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หากหมดสติ = ตาย , รูหายใจ ต้องอยู่เหนือน้ำ , ดันเพื่อนขึ้นให้ลอย ต้องหนุนครีบข้างลำตัวขึ้น
หลังจากเพื่อนของมันรู้สึกตัว โลมาทั้ง 3 ก็ว่ายหนีไปคนละทิศละทาง พวกมันช่วยเหลือเพื่อนโลมาจากความตายได้สำเร็จ เหตุการณ์ครั้งนั้น จุดประกายแนวคิด Empathy ครั้งบุกเบิกในอาณาจักรสัตว์ พวกมันมีความรู้สึกนึกคิดที่ละเอียดอ่อน และไม่ได้คำนึงถึงการเอาชีวิตรอดของตัวเองตามสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว
ธรรมชาติไม่ได้ออกแบบให้สิ่งมีชีวิตแข่งขันกันเสมอไป มันมีพื้นที่ของความเมตตาอยู่เช่นกัน
8. วาฬนัก cover เพลง
อารมณ์ศิลปินไม่ใช่เอกลักษณ์เฉพาะในมนุษย์เท่านั้นหรอก วาฬก็ร้องเพลงได้ แถมเป็นนัก Remix เพลงที่ยอดเยี่ยมด้วย ถ้ามันโพสต์เพลงลง Youtube ได้ ก็น่าจะมีคนติดตามเยอะอยู่ พวกเรารู้ว่าวาฬร้องเพลงได้ แต่มันเรียนรู้เพลงใหม่ๆ ในกลุ่มวาฬด้วยกันได้อย่างไรล่ะ? มันสร้างเพลงใหม่มาร้องกันหรือเปล่า?
วาฬใช้เพลงในการสื่อสารเป็นหลัก เป็นการบ่งบอกอัตลักษณ์ฝูง บทเพลงวาฬจึงมีเนื้อหาซับซ้อนอุดมไปด้วยความรู้สึก ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Queensland พบว่า พวกมันมีการเรียนรู้เพลงใหม่ๆ เป็นท่อนๆ คล้ายมนุษย์ (รวมถึงนกนักเลียนเสียงทั้งหลาย) โดยเฉพาะวาฬหลังค่อมตัวผู้มักจะร้องเพลงเดียวกันที่ซับซ้อน แต่ทำนองค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คล้ายการ Remix หรือ Cover เพลงที่ค่อยๆ แพร่หลายในฝูงวาฬ
การเรียนรู้เพลง เป็นกลไกสำคัญของการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) ที่สิ่งมีชีวิตจะลอกเลียนพฤติกรรมระหว่างกันเพื่อกระชับพื้นที่ให้ใกล้ชิด ดังนั้นเพลงที่ร้องจะมีการ ‘Hybrid’ ลูกผสมของทำนองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ตายตัว มีการเอาทำนองเก่ามาผสมกับทำนองใหม่เหมือนอย่างที่มนุษย์เองก็เอาเพลงมาดัดแปลงเช่นกัน
การเรียนรู้บทเพลงของวาฬหลังค่อม ทำให้เราเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ที่ซับซ้อนของมนุษย์ได้ในเวลาเดียวกัน บทเพลงของวาฬหลังค่อมเป็นตัวเชื่อมโยงที่ดีระหว่างเราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในน้ำมาอย่างช้านาน แต่มีจุดร่วมที่ลึกซึ้ง
สิ่งมีชีวิตเรียนรู้จากสิ่งเก่า ดัดแปลง ปรับปรุงให้กลายเป็นของใหม่ ในแง่ศิลปะแล้วความดั้งเดิม (Originality) อาจไม่มีอยู่จริง เพราะเราดัดแปลงจากของเดิมให้เข้ากับบริบทใหม่ บทเพลงของวาฬจึงไม่ต่างจาก Folksong ที่บรรจุเรื่องราวของพวกมันทั้งความทรงจำในอดีตและเรื่องราวแห่งปัจจุบันไว้ด้วยกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
Social cognition by food-caching corvids. The western scrub-jay as a natural psychologist
www.ncbi.nlm.nih.gov
Song hybridization events during revolutionary song change provide insights into cultural transmission in humpback whales
www.pnas.org
Cooperation Among Animals: An Evolutionary Perspective
Octopus Genome holds clues to uncanny intelligence
www.nature.com
Illustration by Waragorn Keeranan
หลังจากเพื่อนของมันรู้สึกตัว โลมาทั้ง 3 ก็ว่ายหนีไปคนละทิศละทาง พวกมันช่วยเหลือเพื่อนโลมาจากความตายได้สำเร็จ เหตุการณ์ครั้งนั้น จุดประกายแนวคิด Empathy ครั้งบุกเบิกในอาณาจักรสัตว์ พวกมันมีความรู้สึกนึกคิดที่ละเอียดอ่อน และไม่ได้คำนึงถึงการเอาชีวิตรอดของตัวเองตามสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว
ธรรมชาติไม่ได้ออกแบบให้สิ่งมีชีวิตแข่งขันกันเสมอไป มันมีพื้นที่ของความเมตตาอยู่เช่นกัน
8. วาฬนัก cover เพลง
อารมณ์ศิลปินไม่ใช่เอกลักษณ์เฉพาะในมนุษย์เท่านั้นหรอก วาฬก็ร้องเพลงได้ แถมเป็นนัก Remix เพลงที่ยอดเยี่ยมด้วย ถ้ามันโพสต์เพลงลง Youtube ได้ ก็น่าจะมีคนติดตามเยอะอยู่ พวกเรารู้ว่าวาฬร้องเพลงได้ แต่มันเรียนรู้เพลงใหม่ๆ ในกลุ่มวาฬด้วยกันได้อย่างไรล่ะ? มันสร้างเพลงใหม่มาร้องกันหรือเปล่า?
วาฬใช้เพลงในการสื่อสารเป็นหลัก เป็นการบ่งบอกอัตลักษณ์ฝูง บทเพลงวาฬจึงมีเนื้อหาซับซ้อนอุดมไปด้วยความรู้สึก ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Queensland พบว่า พวกมันมีการเรียนรู้เพลงใหม่ๆ เป็นท่อนๆ คล้ายมนุษย์ (รวมถึงนกนักเลียนเสียงทั้งหลาย) โดยเฉพาะวาฬหลังค่อมตัวผู้มักจะร้องเพลงเดียวกันที่ซับซ้อน แต่ทำนองค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คล้ายการ Remix หรือ Cover เพลงที่ค่อยๆ แพร่หลายในฝูงวาฬ
การเรียนรู้เพลง เป็นกลไกสำคัญของการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning) ที่สิ่งมีชีวิตจะลอกเลียนพฤติกรรมระหว่างกันเพื่อกระชับพื้นที่ให้ใกล้ชิด ดังนั้นเพลงที่ร้องจะมีการ ‘Hybrid’ ลูกผสมของทำนองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ตายตัว มีการเอาทำนองเก่ามาผสมกับทำนองใหม่เหมือนอย่างที่มนุษย์เองก็เอาเพลงมาดัดแปลงเช่นกัน
การเรียนรู้บทเพลงของวาฬหลังค่อม ทำให้เราเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ที่ซับซ้อนของมนุษย์ได้ในเวลาเดียวกัน บทเพลงของวาฬหลังค่อมเป็นตัวเชื่อมโยงที่ดีระหว่างเราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในน้ำมาอย่างช้านาน แต่มีจุดร่วมที่ลึกซึ้ง
สิ่งมีชีวิตเรียนรู้จากสิ่งเก่า ดัดแปลง ปรับปรุงให้กลายเป็นของใหม่ ในแง่ศิลปะแล้วความดั้งเดิม (Originality) อาจไม่มีอยู่จริง เพราะเราดัดแปลงจากของเดิมให้เข้ากับบริบทใหม่ บทเพลงของวาฬจึงไม่ต่างจาก Folksong ที่บรรจุเรื่องราวของพวกมันทั้งความทรงจำในอดีตและเรื่องราวแห่งปัจจุบันไว้ด้วยกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
Social cognition by food-caching corvids. The western scrub-jay as a natural psychologist
www.ncbi.nlm.nih.gov
Song hybridization events during revolutionary song change provide insights into cultural transmission in humpback whales
www.pnas.org
Cooperation Among Animals: An Evolutionary Perspective
Octopus Genome holds clues to uncanny intelligence
www.nature.com
Illustration by Waragorn Keeranan
แสดงความคิดเห็น
สมองสัตว์ ‘ฉลาด’ กว่าคุณไหม? รวมงานวิจัยที่เผยด้านละเอียดอ่อนของชีวิตสัตว์
มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุดใช่หรือไม่? นั่นอาจจะไม่ใช่คำถามที่ดีนัก แต่เราควรถามว่า “มนุษย์ฉลาดแค่ไหน ที่จะรู้ว่าสัตว์อื่นก็ฉลาดเช่นกัน” หากเทียบสติปัญญาว่าใครฉลาดกว่าใคร ก็เหมือนคุณเอาแอปเปิ้ลมาเทียบกับผลส้ม เอาต้มยำกุ้งมาเทียบกับต้มโคล้ง ซึ่งจะมาตีกรอบสติปัญญาอย่างคับแคบ และมีแต่ทำให้เรามองข้ามความฉลาดของมวลหมู่มิตรในธรรมชาติไปอย่างน่าเสียดาย
งานศึกษาพฤติกรรมสัตว์ชิ้นใหม่ๆ พิสูจน์ว่า สัตว์ ‘ฉลาด’ กว่าที่เราคาดคิด หลายสิ่งที่คุณทำ สัตว์เองก็สามารถทำได้เช่นกัน (และอาจทำได้ดีกว่าคุณ) อีกาและลิงชิมแปนซีรู้จักความเป็นเหตุเป็นผล นกมีสมองเพียงช้อนชาแต่มีทักษะทางสังคมอันซับซ้อน แก้ปัญหาที่เด็กมนุษย์เองยังทำไม่ได้ ไหนจะสมองหมึกที่กระจายอยู่ทั่วหนวดอีก
สมองของสัตว์เปิดเผยแง่มุมอันอ่อนละมุนของประสาทวิทยา เซลล์ประสาท (Neuron) ที่กระจุกตัวเป็นตัวกำหนดความฉลาดของสิ่งมีชีวิตหรือไม่? หากคุณฝันถึงสัตว์ต่างดาวทรงภูมิในอนาคต ไม่ต้องฝันหวานไปหรอก เพราะแท้จริงแล้ว สัตว์อัจฉริยะราวกับหลุดมาจากต่างดาว มีชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเรามาโดยตลอด เพียงแต่คุณจะมีสายตามองเห็นหรือเปล่าเท่านั้นเอง
1. ตรรกะของอีกา
สมองนกเล็กจิ๋วหลิว เป็นประเด็นล้ำลึกที่สร้างความตกตะลึงให้กับวิทยาศาสตร์มาอย่างยาวนาน ก่อนหน้านี้เราเชื่อว่า ‘นกโง่’ พวกมันบินไปชนกระจกบ้างล่ะ ไปให้รถเหยียบบ้างล่ะ หรืออยู่กันเป็นฝูงแน่นๆ ไล่จิกกินขนมแถวสนามหลวง แต่ในอีกมิติหนึ่ง พวกมันเป็นนักแก้ปัญหาที่มีตรรกะ และเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผล
Nicky Clayton ศาสตราจารย์ผู้ศึกษาการเรียนรู้ของสัตว์ พบพลังซ่อนเร้นของวงศ์นกกา (corvidae) เขาลองให้กาเข้าทดสอบการแก้ปัญหาร่วมกับเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นปริศนาขวดแก้วที่บรรจุน้ำไว้ภายใน มีของรางวัลล่อใจอยู่ก้นขวด ที่ไม่ว่าจะเอานิ้วคีบหรือใช้จะงอยปากจิกขึ้นมาก็ทำไม่ได้ ของล่อใจอยู่ตรงหน้า จะแก้ปัญหาอย่างไรดี
นกกาใช้เวลาเพียงนิดเดียวเท่านั้นในการไขปริศนา มันคาบก้อนกรวดก้อนแล้วก้อนเล่ามาใส่ขวด จนกระทั่งน้ำที่อยู่ภายในเอ่อล้นดันของรางวัลขึ้นมาในระยะที่คาบถึง ในขณะที่เด็กมนุษย์ 8 ขวบไม่สามารถแก้ปัญหาเช่นนี้ได้เลย
นกกาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาในโรงเรียน พวกมันมีทักษะเช่นนี้ตามธรรมชาติ แม้มนุษย์จะแยกสายวิวัฒนาการจากนกมานานกว่า 300 ล้านปีแล้วก็ตาม สมองของมนุษย์และนกจึงสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เสมือน PC และ Mac ที่เมื่อเผชิญโจทย์ข้อเดียวกัน แต่มีกระบวนการหาคำตอบที่ไม่เหมือนกัน
2. ‘สมองในหนวดหมึก’ มือที่คิดได้เองอย่างอิสระ
หมึกยักษ์ (Octopus) และหมึกกระดอง (Cuttlefish) มีนิยามของสมองที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ ราวกับหลุดมาจากต่างมิติ เซลล์สมองพวกมันไม่ได้กระจุกอยู่เพียงส่วนหัว แต่อยู่เกือบทั่วทั้งตัวของร่างกาย หนวดแต่ละเส้นของหมึกมีเซลล์ประสาทราว 3 ใน 5 ของร่างกาย ทำให้หนวดหนึบๆ แต่ละเส้นมีอิสระจากกัน และสามารถแก้ปัญหาบางสถานการณ์โดยไม่ต้องพึ่งพาการสั่งการของสมองส่วนกลาง
แม้คุณจะตัดหนวดมันออก แต่หนวดเหล่านี้ยังสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นชั่วโมง และยังคงจดจำลักษณะการเคลื่อนไหวขณะยึดติดกับร่างของตัวเองได้ ดังนั้นคุณจึงไม่มีทางเห็นหนวดหมึกพันกันอีรุงตุงนัง สมองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายทำให้หมึกปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้รวดเร็ว เปลี่ยนสีเพื่ออำพรางตัวให้เหมือนกับสาหร่ายทะเลหรือก้อนหิน
Stefan Linquist นักปรัชญาจากมหาวิทยาลัย Guelph ศึกษาพฤติกรรมหมึกมาแรมปี พวกเขาพบว่าในแท็งค์อควาเรียมขนาดใหญ่ สัตว์จำพวกปลาส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองถูกจองจำในที่ผิดปกติวิสัยของธรรมชาติ แต่ไม่ใช่สำหรับหมึก เพราะพวกมันรู้ซึ้งถึง ‘สัญญาณการถูกจองจำ’ พวกมันจะออกสำรวจทุกตารางเซนติเมตรโดยใช้หนวดกวาดไปทั่ว ไปอุดรูช่องปล่อยน้ำ หรือหมุนวาวล์ต่างๆ หมึกสามารถรับรู้ได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอื่นจับจ้องมันอยู่ มันจึงเลือกที่จะอยู่นิ่ง รอคอยให้พวกเขาเผลออยู่ในมุมอับลับสายตา มีรายงานบ่อยครั้งว่าอควาเรียมหลายแห่งเกิดเหตุน้ำท่วมขัง หรืออะไรวุ่นๆ โดยมีหมึกยักษ์เป็นผู้ก่อคดีเสมอ
3. นกโรบินที่เอาใจเก่งกว่าแฟนคุณ
ส่วนใหญ่คนเราหย่ากันเพราะขาดความเข้าใจ คนหนึ่งต้องการอีกอย่าง แต่กลับได้รับผลอีกอย่าง และไม่รู้ว่าจะทำให้คู่ของคุณมีความสุขได้อย่างไร ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ในอาณาจักรอันกว้างใหญ่นี้ จะมีสิ่งมีชีวิตตัวไหนที่รู้ใจซึ่งกันและกัน
นกโรบิน (Robin) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นชื่อว่าเป็นนกที่เอาใจเก่ง พวกมันเฝ้าดูปฏิกิริยาของคู่ตัวเองอยู่เสมอ อยากได้หนอนไหม อร่อยดีเนอะ อิ่มพอไหม เดี๋ยวไปหาให้อีก ดูแลดีเหลือเกิ๊น
ในปี 2017 นักวิจัย Nicky Clayton จากมหาวิทยาลัย Cambridge พบพฤติกรรมแจ๋วของนกโรบิน เมื่อมันออกไปหาอาหารและเอาหนอนไปให้นกตัวเมียคู่ของมันกิน นกตัวผู้พยายามคาดเดาว่านกตัวเมียต้องการอะไรต่อ นกโรบินมีความสามารถสังเกตพฤติกรรมของคู่มันได้ค่อนข้างแม่นยำ จากนั้นก็แยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ต่อ
นกส่วนใหญ่มีความชาญฉลาดในการเข้าสังคม (Social Intelligent) การใช้ชีวิตแบบอยู่รวมฝูงทำให้พวกมันต้องมีไหวพริบในการคาดเดาพฤติกรรมเพื่อนๆ นกเพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้น
เพลงรักลูกกรุงไทยส่วนใหญ่มักเปรียบเทียบความรักกับเหล่าปักษี ก็ไม่คลาดเคลื่อนนัก เพราะนกนักรักอาจทำให้คุณอิจฉาตาร้อน เมื่อนกดันไม่นก แล้วคุณจะเรียกตัวเองว่าอีกอะไรล่ะ?
4. สุนัขที่รู้ว่าคุณคิดอะไรอยู่
มนุษย์ใช้ชีวิตร่วมกันกับสุนัขมานับแสนๆ ปี มันจึงเป็นสหายที่รู้ใจที่สุดโดยไม่ต้องพูดอะไรเลย (เห่าไม่นับนะ)
เคยมีการสำรวจว่า สุนัขพันธุ์ ‘บอร์เดอร์ คอลลี่’ ที่ขึ้นชื่อว่าแสนรู้น่ารัก สามารถจดจำคำสั่งได้มากถึง 1,000 คำสั่ง และอาจเข้าใจโครงสร้างประโยคง่ายๆ เช่น สั่งให้ไปเอาของมาวางบนโต๊ะ หรือสั่งให้เอาของมาให้เรา แล้วเอาไปคืนที่เดิม (หมาบางบ้านก็ทำได้เช่นกัน)
สุนัขมีพรสวรรค์ในการสื่อสารกับมนุษย์อย่างดีเยี่ยม มันพัฒนาโครงสร้างทางสังคมร่วมกันกับเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งพบว่าสุนัขคาดเดาพฤติกรรมมนุษย์อยู่ตลอดเวลา พยายามหาว่าเรามองไปยังจุดไหน ชี้อะไร และเฝ้ามองมนุษย์ว่าเรารับรู้ข้อมูลอะไรมาแล้วบ้าง
งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัย Arizona นำโดย Evan MacLean ศึกษาพฤติกรรมสุนัขถึง 552 ตัวในการทำภารกิจหาของที่แอบซ่อน แม้สุนัขจะหาของไม่เก่งนักไม่เหมือนกับกลุ่มไพรเมทที่รื้อเก่ง (ไม่รวมสุนัขที่ผ่านการฝึกค้นหาสารเสพติดมาแล้ว) แต่สุนัขใช้ตัวช่วยโดยการ ‘มองสายตามนุษย์’ ที่เป็นผู้แอบซ่อนเหมือนหาคำใบ้เล็กๆ (Visual Clue) ที่คาดว่ามนุษย์น่าจะรู้ว่าของชิ้นนั้นซ่อนไว้ที่ไหนแต่แรก หรือมองไปยังนิ้วมือที่ชี้อยู่
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าทักษะในการเรียนรู้ของมัน ค่อยๆ เกิดขึ้นจากที่มนุษย์นำสุนัขป่ามาเลี้ยง (Domestication) คล้ายสุนัขป่าที่ทำงานร่วมกันเพื่อการล่าและเลี้ยงดูทายาท แต่สุนัขบ้านจะทำงานร่วมกับมนุษย์ด้วยวิธีที่ละมุนละม่อมกว่าเพื่อเพิ่มความผูกพันสายใย เน้นการเอาใจอยู่ไม่ห่าง เพื่อให้คุณรู้สึกว่า ขาดพวกมันไม่ได้เช่นกัน
5. หมูผู้ใช้กระจกเงา
หมูเป็นสัตว์ที่ถูกบริโภคเนื้อมากอันดับต้นๆ ของโลก พวกมันเองยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความฉลาดไม่แพ้สัตว์อื่นๆ แต่โชคร้ายที่ไม่ค่อยมีโอกาสแสดงความสามารถเสียเท่าไหร่ ธรรมชาติของหมูนอกจากกินจุ ยังเป็นนักแก้ปัญหาตัวยงอีกด้วย
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า หมูเข้าใจเงื่อนไขการทำงานของกระจกเงา (mirror) โดยมันเข้าใจหลักการภาพสะท้อนในกระจกโดยใช้มองมุมตกกระทบที่มองไม่เห็นเพื่อหาอาหาร แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยืนยันว่า หมูรู้จักตัวเอง (self-awareness) ผ่านกระจกแบบลิงและโลมาหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ มันใช้เงาสะท้อนในการแก้ปริศนาที่ช่วยให้มันมองเห็นมุมที่กว้างมากขึ้น (ไม่ใช่หมูกระจก ของฝากจากเชียงใหม่นะ)
ในปี 1999 มีงานศึกษาสุดคลาสสิค ที่หมูสามารถเรียนรู้ตอบสนองกับคอมพิวเตอร์ได้คล้ายชิมแปนซี มันใช้จมูกดันลูกศรให้ไปสัมผัสกับวัตถุ 3 มิติในจอ แสดงว่าหมูมีศักยภาพในการรับรู้รูปทรงต่างๆ และรู้จักการควบคุมวัตถุจำลองในคอมพิวเตอร์ไปในทิศทางที่มันต้องการได้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หมูทำอะไรได้มากว่านี้เยอะ เป็นได้มากกว่าเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารอย่างเดียว หลายครอบครัวเริ่มเปิดใจเลี้ยงหมูแบบสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น เพราะพวกมันสามารถตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ได้ดีและมีนิสัยแห่งการเรียนรู้
6. ผึ้งนักจำ ไม่ชอบถูกหลอก
หลายคนมองข้ามพลังแหล่งการเรียนรู้ของผึ้งตัวน้อย ทักษะของพวกมันล้นเหลือยิ่งกว่าขนาดตัว ผึ้งเป็นสัตว์ที่เรียนรู้จากการถ่ายทอดในฝูงได้
นักวิจัยเคยฝึกให้มันเลี้ยงลูกบอลเข้าโกลเพื่อแลกกับน้ำหวาน พวกมันเป็นนักเลี้ยงลูกที่คล่องตัว แม้ผึ้งตัวที่ยังไม่เคยถูกฝึกเลยแต่เมื่อเห็นลีลาของผึ้งที่เลี้ยงลูกบอล ไม่นานนักพวกมันก็จะเลียนแบบทำตามบ้าง
ในปี 2017 นักวิจัย Andrew Barron จากมหาวิทยาลัย Macquarie University ทดลองให้ผึ้งแยกแยะระหว่างเส้นแนวนอน 2 เส้น ว่าเส้นไหนอยู่เหนือกว่ากัน หากผึ้งเลือกถูกมันจะได้รับรางวัลเป็นน้ำหวาน แต่หากตอบผิดมันจะได้รับน้ำขม แต่หลังจากนั้นนักวิจัยเล่นสนุกโดยเอาเส้นทั้ง 2 เส้นมาวางในระนาบเดียวกัน เมื่อไม่มีคำตอบที่ดีที่สุด ผึ้งกลับไม่เลือกเส้นไหนเลย แล้วบินหนีอีกต่างหาก เพราะมันรู้ว่าไม่มีคำตอบไหนที่มันจะได้รับน้ำหวานเป็นรางวัล
ทั้งๆ ที่ผึ้งมีเซลล์ประสาทเพียง 1 ล้านเซลล์เท่านั้น แต่มันเป็นนักจดจำขนาดกะทัดรัด ผึ้งจำสถานที่ได้แม่นยำราว GPS รู้ว่าน้ำหวานดอกไม้อยู่ที่ไหน และต้องใช้เส้นทางใดตัดผ่านไปสู่จุดหมายได้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เสียระยะการบิน นักวิทยาศาสตร์จึงสนใจประสิทธิภาพของผึ้งในการจำลองสมองของหุ่นยนต์ที่มีขนาดเบา แต่สามารถคำนวณและหาเส้นทางที่ซับซ้อนได้
7. โลมาที่รู้จักช่วยชีวิตเพื่อน
เรามักมองสัตว์ด้วยสายตาที่ว่าพวกมันถูกขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณเพื่อการ ‘เอาตัวรอด’ (Survival instinct) เพียงเท่านั้น ตัวฉันรอดก็เพียงพอแล้ว และผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอดถ่ายทอดพันธุกรรมดีต่อไป หรือแท้จริงเรามองพวกมันด้วย ‘ความหยาบ’ ไปหรือไม่?
หากมนุษย์เรียนรู้ที่จะเห็นใจผู้อื่นได้ วิวัฒนาการที่ละเอียดอ่อนนี้ ก็มิใช่เราผู้เดียวที่ครอบครอง เพราะโลมามีสิ่งนี้ และอาจเรียกได้ว่าเป็นการบุกเบิกแนวคิดความเห็นใจ (Empathy) ในสัตว์ครั้งแรกๆ
ในปี 1954 ณ อ่าว ฟลอริด้า ยุคนั้นยังมีการจับสัตว์น้ำในแหล่งธรรมชาติเพื่อจัดแสดงในอควาเรียม โดยการใช้ระเบิดไดนาไมท์ใต้น้ำเพื่อให้เกิด Shockwave ทำให้สัตว์น้ำมึนงงจะได้จับได้ง่ายขึ้น โลมาปากขวด (Bottlenose) ตัวหนึ่งถูกแรงอัดจากระเบิดจนหมดสติ ค่อยๆ ดิ่งลง และอาจทำให้มันจมน้ำตาย (ใช่! โลมาจมน้ำตายได้นะเออ)
แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อโลมาอีก 2 ตัวค่อยๆ มาประคองโลมาบาดเจ็บให้ลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ เพื่อให้ช่องหายใจได้รับอากาศ ซึ่งโลมาอีก 2 ตัวจำต้องยอมจมอยู่ใต้ผิวน้ำโดยไม่มีอากาศหายใจเพื่อดันโลมาบาดเจ็บไว้จนกว่าจะได้สติ