30 พฤษภาคม 2562
หมอสันต์ตอบคำถามเรื่องกัญชา
กราบเรียนคุณหมอสันต์
คุณแม่อายุ 85 ปีบ่นอยากจะกินกัญชาผมควรจะหาให้ท่านกินไหมครับ ท่านมีอาการนอนไม่หลับและชอบบ่นปวดเมื่อยตามตัว และรบให้หากัญชาหรือน้ำมันกัญชามาให้ท่านรับประทาน เพราะเพื่อนของท่านบอกว่ากินกัญชาแล้วนอนหลับดี กัญชารักษาโรคนอนไม่หลับจริงหรือเปล่า และที่เขาว่ากัญชารักษามะเร็งได้นั้นจริงไหม กัญชามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างครับ
...........................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าคุณแม่อายุ 85 ปีอยากกินกัญชาจะหาให้ดีไหม ตอบว่าท่านอายุปูนนี้แล้วอยากกินอยากสูบอะไรก็หาให้ท่านเถอะครับ แต่คุณหลบตำรวจเอาเองนะ ผมไม่เกี่ยว
2. ถามว่ากัญชารักษาอาการนอนไม่หลับได้หรือเปล่า ตอบว่างานวิจัยการใช้กัญชาช่วยการนอนหลับยังอยู่ในขั้นอนุบาล ผลที่ได้ตอนนี้ยังสะเปะสะปะสรุปอะไรเป็นตุเป็นตะยังไม่ได้ เท่าที่ผมประเมินภาพรวมจากหลักฐานวิจัยที่มีบ่งชี้ไปทางว่ากัญชาทำให้หลับได้เร็วขึ้น 15-30 นาที ทำให้หลับฝัน (REM sleep) น้อยลง และช่วยลดความกังวลซึ่งอาจส่งผลดีต่อการนอนหลับ
3. ถามว่ากัญชาแก้ปวดได้จริงไหม ตอบว่าจริงครับ เพราะผู้ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาครั้งใหญ่ที่สุดคือสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (NAS) ซึ่งได้ประเมินผลวิจัยระดับต่างๆเกี่ยวกับกัญชามากกว่า 10,000 งานวิจัย แล้วรายงานสรุปว่ากัญชามีประโยชน์จริงแท้แน่ๆอยู่ข้อเดียวคือใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรังได้ โดยใช้ได้ทั้งใบกัญชา ดอก และน้ำมัน ทั้งนี้เป็นเพราะสารออกฤทธิ์กลุ่มหนึ่งในกัญชาที่ชื่อ canabinoid
4. ถามว่ากัญชาใช้รักษามะเร็งได้ไหม ตอบว่ายังไม่มีหลักฐานว่ากัญชารักษามะเร็งได้ผลแต่อย่างใด และไม่เคยมีประเทศไหนอนุมัติให้ใช้กัญชาเป็นยารักษามะเร็ง แต่เนื่องจากกัญชามีคุณสมบัติบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้เคมีบำบัด ลดความกังวล ทำให้นอนหลับง่าย จึงมีหมอจำนวนหนึ่งเอากัญชามาใช้รักษาผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดและผลข้างเคียงของโรคในคนไข้โรคมะเร็ง แต่ไม่ใช่เอามารักษามะเร็งให้หาย
ทั้งนี้อย่าสับสนกับข้อมูลเบื้องต้นที่ว่ากัญชาอาจระงับการเติบโตของเซลมะเร็งบางชนิดในจานเพาะเลี้ยงได้ เพราะงานวิจัยในห้องทดลองไม่ใช่ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในคนได้ทันที ยกตัวอย่างเช่นสารที่ระงับการเติบโตของมะเร็งในจานเพาะเลี้ยงนี้มีมากมายหลายชนิดรวมทั้งเปลือกมังคุดและข้าวสีม่วง แม้กระทั่ง (ขอประทานโทษ) ฉี่ของคนเรานี่ก็ระงับเซลมะเร็งในจานเพาะเลี้ยงได้ แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นกลับไม่มีฤทธิ์ระงับเซลมะเร็งในร่างกายคนได้แต่อย่างใด
5. ถามว่ากัญชาใช้รักษาอะไรได้อีกบ้าง ตอบว่าเท่าที่มีหลักฐานว่ากัญชาใช้รักษาได้คือ
5.1 งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน journal Clinical Psychology Review บ่งชี้ว่ากัญชาใช้รักษาการติดสุราเรื้อรังและการติดยาเสพย์ติดได้ นั่นสำหรับคนที่ติดยาเสพย์ติดแล้วนะ เอากัญชาไปทดแทนให้เลิกยาได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยติดยาเสพย์ติด ข้อมูลของ NAS พบว่ากัญชาเป็นปากทางนำไปสู่การใช้ยาเสพย์ติดทุกชนิดรวมทั้งโคเคนฝิ่นและเฮโรอีนมากขึ้น
5.2 การทบทวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Clinical Psychology Review บ่งชี้ไปทางว่ากัญชาใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความเครียดหลังการบาดเจ็บ (PTSD) และโรคกลัวสังคมได้ แต่ขณะเดียวกันงานวิจัยของ NAS ระบุว่าการใช้กัญชาในคนที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตประสาทมาก่อนจะทำให้เป็นโรคกล้วสังคมมากขึ้น อนึ่ง กัญชานี้แสลงกับโรคจิตประสาทในกลุ่มโรคจิตสองขั้ว (bipolar disorder) และโรคจิตแบบบ้า (psychosis) เพราะอาจทำให้โรครุนแรงขึ้น
5.3 กัญชา (ในชื่อ Epidiolex) ได้รับอนุม้ติจากอย.สหรัฐ (FDA) ให้ใช้รักษาโรคลมชักชนิดรุนแรงในเด็กได้ เพราะลดอาการชักได้มากกว่ายาหลอก 39%
5.4 กัญชาลดการหดตัวแบบสปาสซั่มของกล้ามเนื้อในโรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis) ได้เล็กน้อย
5.5 กัญชาทำให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ (euphoria) มีความคิดน้อยลง พูดแบบบ้านๆก็คือกัญชาทำให้บรรลุธรรมได้ชั่วคราวสัก 1-2 ชั่วโมง นี่เป็นเหตุให้กัญชาป๊อบปูล่ามาแต่ดึกดำบรรพ์ แต่สองชั่วโมงเองนะ หลังจากนั้นก็จะตามด้วยอาการแฮงค์คือปวดหัวมึนหัวซึมเซา
5.6 กัญชาเพิ่มความอยากอาหาร สมัยผมเป็นจิ๊กโก๋อยู่เชียงใหม่เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน เป็นลูกค้าประจำของร้านก๋วยเตี๋ยวกัญชาแถววัดพระสิงห์...อร่อยมาก
6. ผลเสียของกัญชามีอะไรบ้าง ตอบว่า
6.1 กัญชาทำให้อาการโรคจิตสองขั้วและโรคจิตเภทกำเริบ
ุ6.2 กัญชาทำให้มีความคิดฆ่าตัวตาย
ุ6.3 กัญชาเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นบ้า (psychosis รวมทั้งชนิด schizophrenia) แม้จะเพิ่มเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ แต่ว่าในทางกลับกัน งานวิจัยดูคนที่เป็นบ้าไปเรียบร้อยแล้วลองให้เสพย์กัญชาดู กลับพบว่ากัญชาทำให้คนบ้าเหล่านั้นมีการเรียนรู้จดจำดีขึ้น
6.4 ข้อมูลของ NAS พบว่ากัญชามีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งอัณฑะชนิด seminoma มากขึ้น
ุ6.5 การสูบกัญชาประจำเพิ่มอาการไอเรื้อรัง
6.6 แม้จะยังไม่มีหลักฐานความสัมพ้นธ์ระหว่างมะเร็งปอดกับการสูบกัญชา แต่ควันกัญชาก็มีสารก่อมะเร็งหลายสิบชนิด รวมทั้ง nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งตัวเอ้ด้วย
กล่าวโดยสรุปหลักฐานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์ยังมีน้อยมาก แต่ความบ้ากัญชามีมากกว่า แล้วอย่าหลงรอด้วยความหวังว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วนะจะรอเก้อเปล่าๆ เพราะงานวิจัยกัญชาถูกคุมกำเนิดอย่างเข้มงวด เนื่องจากกัญชาเป็นสารต้องห้ามระดับหนึ่ง (Schedule I controlled substance) ขององค์ปราบปรามยาเสพย์ติดสหรัฐ (DEA) ซึ่งคุมการใช้กัญชาในงานวิจัยอย่างเข้มงวด จึงเป็นการยากมากที่ผลวิจัยเจ๋งๆใหม่ๆจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้ ชีวิตจริงเราต้องอยู่กับข้อมูลแค่นี้ไปอีกนานหลายปี ดังนั้นชาวไทยใครใคร่ค้ากัญชาก็จงรีบค้า เพราะความคลุมเครือของข้อมูลจะเอื้อประโยชน์ให้ทำมาค้าคล่องไปอีกนาน ใครใคร่กินกัญชาก็จงรีบกิน กินในช่วงนี้อย่างน้อยก็ยังจะได้ประโยชน์เพิ่มจากผลของความเชื่อ (placebo effect) ขอแต่คอยหลบตำรวจเอาเองก็แล้วกัน หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Adams IB, Martin BR: Cannabis: pharmacology and toxicology in animals and humans. Addiction 91 (11): 1585-614, 1996.
2. Abrams DI: Integrating cannabis into clinical cancer care. Curr Oncol 23 (2): S8-S14, 2016.
3. Sallan SE, Cronin C, Zelen M, et al.: Antiemetics in patients receiving chemotherapy for cancer: a randomized comparison of delta-9-tetrahydrocannabinol and prochlorperazine. N Engl J Med 302 (3): 135-8, 1980.
4. Feinberg I, Jones R, Walker J, Cavness C, Floyd T. Effects of marijuana extract and tetrahydrocannabinol on electroencephalographic sleep patterns. Clin Pharmacol Ther. 1976;19(6):782–94.
5. Babson KA, Boden MT, Bonn-Miller MO. The impact of perceived sleep quality and sleep efficiency/duration on cannabis use during a self-guided quit attempt. Addict Behav. 2013;38(11):2707–13.
6. Roitman P, Mechoulam R, Cooper-Kazaz R, Shalev A. Preliminary, open-label, pilot study of add-on oral Delta9-tetrahydrocannabinol in chronic post-traumatic stress disorder. Clin Drug Investig. 2014;34(8):587–91. 49.
7. Jetly R, Heber A, Fraser G, Boisvert D. The efficacy of nabilone, a synthetic cannabinoid, in the treatment of PTSD-associated nightmares: a preliminary randomized, double-blind, placebo-controlled cross-over design study. Psychoneuroendocrinology. 2015;51:585–8.
8. Ware MA, Fitzcharles MA, Joseph L, Shir Y. The effects of nabilone on sleep in fibromyalgia: results of a randomized controlled trial. Anesth Analg. 2010;110(2):604–10.
PubMedCrossRefGoogle Scholar
9. Weaver TE, Calik MW, Farabi SS, Fink AM, Galang-Boquiren MT, Kapella MC, et al. Innovative treatments for adults with obstructive sleep apnea. Nat Sci Sleep. 2014;6:137–47.
10. Lynch ME, Ware MA. Cannabinoids for the treatment of chronic non-cancer pain: an updated systematic review of randomized controlled trials. J NeuroImmune Pharmacol. 2015;10(2):293–301. This article provided a literature review of research investigating the use of cannabinoids in treating chronic pain.
11. Russo EB, Guy GW, Robson PJ. Cannabis, pain, and sleep: lessons from therapeutic clinical trials of Sativex, a cannabis-based medicine. Chem Biodivers. 2007;4(8):1729–43.
PubMedCrossRefGoogle Scholar
12. Ferguson G, Ware M. Review article: sleep, pain and cannabis. Journal of Sleep Disorders & Therapy. 2015;4(2):191.
13. Meier MH, Caspi A, Ambler A, et al. Persistent cannabis users show neuropsychological decline from childhood to midlife. Proc Natl Acad Sci U S A. 2012;109(40):E2657-E2664. doi:10.1073/pnas.1206820109.
14. Jackson NJ, Isen JD, Khoddam R, et al. Impact of adolescent marijuana use on intelligence: Results from two longitudinal twin studies. Proc Natl Acad Sci U S A.2016;113(5):E500-E508. doi:10.1073/pnas.1516648113.
15. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine. The Health Effects of Cannabis and Cannabinoids: Current State of Evidence and Recommendations for Research. Washington, DC: The National Academies Press; 2017.
16. Young-Wolff KC, Tucker L-Y, Alexeeff S, et al. Trends in Self-reported and Biochemically Tested Marijuana Use Among Pregnant Females in California From 2009-2016. JAMA. 2017;318(24):2490. doi:10.1001/jama.2017.17225
By DrSant at 00:40
https://visitdrsant.blogspot.com/2019/05/blog-post_30.html
หมอสันต์ตอบคำถามเรื่องกัญชา
หมอสันต์ตอบคำถามเรื่องกัญชา
กราบเรียนคุณหมอสันต์
คุณแม่อายุ 85 ปีบ่นอยากจะกินกัญชาผมควรจะหาให้ท่านกินไหมครับ ท่านมีอาการนอนไม่หลับและชอบบ่นปวดเมื่อยตามตัว และรบให้หากัญชาหรือน้ำมันกัญชามาให้ท่านรับประทาน เพราะเพื่อนของท่านบอกว่ากินกัญชาแล้วนอนหลับดี กัญชารักษาโรคนอนไม่หลับจริงหรือเปล่า และที่เขาว่ากัญชารักษามะเร็งได้นั้นจริงไหม กัญชามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างครับ
...........................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าคุณแม่อายุ 85 ปีอยากกินกัญชาจะหาให้ดีไหม ตอบว่าท่านอายุปูนนี้แล้วอยากกินอยากสูบอะไรก็หาให้ท่านเถอะครับ แต่คุณหลบตำรวจเอาเองนะ ผมไม่เกี่ยว
2. ถามว่ากัญชารักษาอาการนอนไม่หลับได้หรือเปล่า ตอบว่างานวิจัยการใช้กัญชาช่วยการนอนหลับยังอยู่ในขั้นอนุบาล ผลที่ได้ตอนนี้ยังสะเปะสะปะสรุปอะไรเป็นตุเป็นตะยังไม่ได้ เท่าที่ผมประเมินภาพรวมจากหลักฐานวิจัยที่มีบ่งชี้ไปทางว่ากัญชาทำให้หลับได้เร็วขึ้น 15-30 นาที ทำให้หลับฝัน (REM sleep) น้อยลง และช่วยลดความกังวลซึ่งอาจส่งผลดีต่อการนอนหลับ
3. ถามว่ากัญชาแก้ปวดได้จริงไหม ตอบว่าจริงครับ เพราะผู้ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาครั้งใหญ่ที่สุดคือสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (NAS) ซึ่งได้ประเมินผลวิจัยระดับต่างๆเกี่ยวกับกัญชามากกว่า 10,000 งานวิจัย แล้วรายงานสรุปว่ากัญชามีประโยชน์จริงแท้แน่ๆอยู่ข้อเดียวคือใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรังได้ โดยใช้ได้ทั้งใบกัญชา ดอก และน้ำมัน ทั้งนี้เป็นเพราะสารออกฤทธิ์กลุ่มหนึ่งในกัญชาที่ชื่อ canabinoid
4. ถามว่ากัญชาใช้รักษามะเร็งได้ไหม ตอบว่ายังไม่มีหลักฐานว่ากัญชารักษามะเร็งได้ผลแต่อย่างใด และไม่เคยมีประเทศไหนอนุมัติให้ใช้กัญชาเป็นยารักษามะเร็ง แต่เนื่องจากกัญชามีคุณสมบัติบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้เคมีบำบัด ลดความกังวล ทำให้นอนหลับง่าย จึงมีหมอจำนวนหนึ่งเอากัญชามาใช้รักษาผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดและผลข้างเคียงของโรคในคนไข้โรคมะเร็ง แต่ไม่ใช่เอามารักษามะเร็งให้หาย
ทั้งนี้อย่าสับสนกับข้อมูลเบื้องต้นที่ว่ากัญชาอาจระงับการเติบโตของเซลมะเร็งบางชนิดในจานเพาะเลี้ยงได้ เพราะงานวิจัยในห้องทดลองไม่ใช่ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในคนได้ทันที ยกตัวอย่างเช่นสารที่ระงับการเติบโตของมะเร็งในจานเพาะเลี้ยงนี้มีมากมายหลายชนิดรวมทั้งเปลือกมังคุดและข้าวสีม่วง แม้กระทั่ง (ขอประทานโทษ) ฉี่ของคนเรานี่ก็ระงับเซลมะเร็งในจานเพาะเลี้ยงได้ แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นกลับไม่มีฤทธิ์ระงับเซลมะเร็งในร่างกายคนได้แต่อย่างใด
5. ถามว่ากัญชาใช้รักษาอะไรได้อีกบ้าง ตอบว่าเท่าที่มีหลักฐานว่ากัญชาใช้รักษาได้คือ
5.1 งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน journal Clinical Psychology Review บ่งชี้ว่ากัญชาใช้รักษาการติดสุราเรื้อรังและการติดยาเสพย์ติดได้ นั่นสำหรับคนที่ติดยาเสพย์ติดแล้วนะ เอากัญชาไปทดแทนให้เลิกยาได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยติดยาเสพย์ติด ข้อมูลของ NAS พบว่ากัญชาเป็นปากทางนำไปสู่การใช้ยาเสพย์ติดทุกชนิดรวมทั้งโคเคนฝิ่นและเฮโรอีนมากขึ้น
5.2 การทบทวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Clinical Psychology Review บ่งชี้ไปทางว่ากัญชาใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความเครียดหลังการบาดเจ็บ (PTSD) และโรคกลัวสังคมได้ แต่ขณะเดียวกันงานวิจัยของ NAS ระบุว่าการใช้กัญชาในคนที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตประสาทมาก่อนจะทำให้เป็นโรคกล้วสังคมมากขึ้น อนึ่ง กัญชานี้แสลงกับโรคจิตประสาทในกลุ่มโรคจิตสองขั้ว (bipolar disorder) และโรคจิตแบบบ้า (psychosis) เพราะอาจทำให้โรครุนแรงขึ้น
5.3 กัญชา (ในชื่อ Epidiolex) ได้รับอนุม้ติจากอย.สหรัฐ (FDA) ให้ใช้รักษาโรคลมชักชนิดรุนแรงในเด็กได้ เพราะลดอาการชักได้มากกว่ายาหลอก 39%
5.4 กัญชาลดการหดตัวแบบสปาสซั่มของกล้ามเนื้อในโรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis) ได้เล็กน้อย
5.5 กัญชาทำให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ (euphoria) มีความคิดน้อยลง พูดแบบบ้านๆก็คือกัญชาทำให้บรรลุธรรมได้ชั่วคราวสัก 1-2 ชั่วโมง นี่เป็นเหตุให้กัญชาป๊อบปูล่ามาแต่ดึกดำบรรพ์ แต่สองชั่วโมงเองนะ หลังจากนั้นก็จะตามด้วยอาการแฮงค์คือปวดหัวมึนหัวซึมเซา
5.6 กัญชาเพิ่มความอยากอาหาร สมัยผมเป็นจิ๊กโก๋อยู่เชียงใหม่เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน เป็นลูกค้าประจำของร้านก๋วยเตี๋ยวกัญชาแถววัดพระสิงห์...อร่อยมาก
6. ผลเสียของกัญชามีอะไรบ้าง ตอบว่า
6.1 กัญชาทำให้อาการโรคจิตสองขั้วและโรคจิตเภทกำเริบ
ุ6.2 กัญชาทำให้มีความคิดฆ่าตัวตาย
ุ6.3 กัญชาเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นบ้า (psychosis รวมทั้งชนิด schizophrenia) แม้จะเพิ่มเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ แต่ว่าในทางกลับกัน งานวิจัยดูคนที่เป็นบ้าไปเรียบร้อยแล้วลองให้เสพย์กัญชาดู กลับพบว่ากัญชาทำให้คนบ้าเหล่านั้นมีการเรียนรู้จดจำดีขึ้น
6.4 ข้อมูลของ NAS พบว่ากัญชามีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งอัณฑะชนิด seminoma มากขึ้น
ุ6.5 การสูบกัญชาประจำเพิ่มอาการไอเรื้อรัง
6.6 แม้จะยังไม่มีหลักฐานความสัมพ้นธ์ระหว่างมะเร็งปอดกับการสูบกัญชา แต่ควันกัญชาก็มีสารก่อมะเร็งหลายสิบชนิด รวมทั้ง nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งตัวเอ้ด้วย
กล่าวโดยสรุปหลักฐานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์ยังมีน้อยมาก แต่ความบ้ากัญชามีมากกว่า แล้วอย่าหลงรอด้วยความหวังว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วนะจะรอเก้อเปล่าๆ เพราะงานวิจัยกัญชาถูกคุมกำเนิดอย่างเข้มงวด เนื่องจากกัญชาเป็นสารต้องห้ามระดับหนึ่ง (Schedule I controlled substance) ขององค์ปราบปรามยาเสพย์ติดสหรัฐ (DEA) ซึ่งคุมการใช้กัญชาในงานวิจัยอย่างเข้มงวด จึงเป็นการยากมากที่ผลวิจัยเจ๋งๆใหม่ๆจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้ ชีวิตจริงเราต้องอยู่กับข้อมูลแค่นี้ไปอีกนานหลายปี ดังนั้นชาวไทยใครใคร่ค้ากัญชาก็จงรีบค้า เพราะความคลุมเครือของข้อมูลจะเอื้อประโยชน์ให้ทำมาค้าคล่องไปอีกนาน ใครใคร่กินกัญชาก็จงรีบกิน กินในช่วงนี้อย่างน้อยก็ยังจะได้ประโยชน์เพิ่มจากผลของความเชื่อ (placebo effect) ขอแต่คอยหลบตำรวจเอาเองก็แล้วกัน หิ หิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Adams IB, Martin BR: Cannabis: pharmacology and toxicology in animals and humans. Addiction 91 (11): 1585-614, 1996.
2. Abrams DI: Integrating cannabis into clinical cancer care. Curr Oncol 23 (2): S8-S14, 2016.
3. Sallan SE, Cronin C, Zelen M, et al.: Antiemetics in patients receiving chemotherapy for cancer: a randomized comparison of delta-9-tetrahydrocannabinol and prochlorperazine. N Engl J Med 302 (3): 135-8, 1980.
4. Feinberg I, Jones R, Walker J, Cavness C, Floyd T. Effects of marijuana extract and tetrahydrocannabinol on electroencephalographic sleep patterns. Clin Pharmacol Ther. 1976;19(6):782–94.
5. Babson KA, Boden MT, Bonn-Miller MO. The impact of perceived sleep quality and sleep efficiency/duration on cannabis use during a self-guided quit attempt. Addict Behav. 2013;38(11):2707–13.
6. Roitman P, Mechoulam R, Cooper-Kazaz R, Shalev A. Preliminary, open-label, pilot study of add-on oral Delta9-tetrahydrocannabinol in chronic post-traumatic stress disorder. Clin Drug Investig. 2014;34(8):587–91. 49.
7. Jetly R, Heber A, Fraser G, Boisvert D. The efficacy of nabilone, a synthetic cannabinoid, in the treatment of PTSD-associated nightmares: a preliminary randomized, double-blind, placebo-controlled cross-over design study. Psychoneuroendocrinology. 2015;51:585–8.
8. Ware MA, Fitzcharles MA, Joseph L, Shir Y. The effects of nabilone on sleep in fibromyalgia: results of a randomized controlled trial. Anesth Analg. 2010;110(2):604–10.
PubMedCrossRefGoogle Scholar
9. Weaver TE, Calik MW, Farabi SS, Fink AM, Galang-Boquiren MT, Kapella MC, et al. Innovative treatments for adults with obstructive sleep apnea. Nat Sci Sleep. 2014;6:137–47.
10. Lynch ME, Ware MA. Cannabinoids for the treatment of chronic non-cancer pain: an updated systematic review of randomized controlled trials. J NeuroImmune Pharmacol. 2015;10(2):293–301. This article provided a literature review of research investigating the use of cannabinoids in treating chronic pain.
11. Russo EB, Guy GW, Robson PJ. Cannabis, pain, and sleep: lessons from therapeutic clinical trials of Sativex, a cannabis-based medicine. Chem Biodivers. 2007;4(8):1729–43.
PubMedCrossRefGoogle Scholar
12. Ferguson G, Ware M. Review article: sleep, pain and cannabis. Journal of Sleep Disorders & Therapy. 2015;4(2):191.
13. Meier MH, Caspi A, Ambler A, et al. Persistent cannabis users show neuropsychological decline from childhood to midlife. Proc Natl Acad Sci U S A. 2012;109(40):E2657-E2664. doi:10.1073/pnas.1206820109.
14. Jackson NJ, Isen JD, Khoddam R, et al. Impact of adolescent marijuana use on intelligence: Results from two longitudinal twin studies. Proc Natl Acad Sci U S A.2016;113(5):E500-E508. doi:10.1073/pnas.1516648113.
15. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine. The Health Effects of Cannabis and Cannabinoids: Current State of Evidence and Recommendations for Research. Washington, DC: The National Academies Press; 2017.
16. Young-Wolff KC, Tucker L-Y, Alexeeff S, et al. Trends in Self-reported and Biochemically Tested Marijuana Use Among Pregnant Females in California From 2009-2016. JAMA. 2017;318(24):2490. doi:10.1001/jama.2017.17225
By DrSant at 00:40
https://visitdrsant.blogspot.com/2019/05/blog-post_30.html