หลังจากห่างหายไปนาน
ในครั้งที่แล้ว เราได้กล่าวกันเรื่อง
ระบบการเงิน ใน part 1
https://ppantip.com/topic/37795073
และ
องค์กรที่กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์และระบบงานเงินใน part 2
https://ppantip.com/topic/37798921
รอบนี้เรามากล่าวกันต่อในเรื่องของ โครงสร้างตลาดการเงิน
ไม่ต้องพิธีรีตองอะไร ขอเริ่มเลยนะครับ
หากเราจะแบ่งโครงสร้างของตลาดการเงินออกเป็นประเภทใหญ่ๆ เราอาจจะแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. แบ่งตามอายุของตราสาร เราจะแบ่งได้ได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ตลาดเงิน (Money Market) คือ ตลาดของตราสารที่อายุไม่เกิน 1 ปี หรือก็คือตราสารระยะสั้น
- ตลาดทุน (Capital Market) คือ ตลาดของตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี คือ
2. แบ่งตามลักษณะของเงินที่นำมาลงทุน
- ตลาดตราสารหนี้ ( Debt Market)
- ตลาดตราสารทุน (Stock Market)
3. แบ่งตามวิธีซื้อขาย
- ตลาดการประมูล (Open Market)
- ตลาดซือขายตรง (Negotiated Market)
อย่างไรก็ดี โครงสร้างตลาดการเงิน หรือ Financial Market สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
ตลาดเงิน (กำกับดูแลโดย ธปท.) และตลาดทุน(กำกับดูแลโดย กลต.)
1. ตลาดเงิน (Money Market) คือตลาดของตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ซึ่งประกอบไปด้วย
ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล ที่มีอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร
ตราสารที่ออกโดยเอกชน ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงิน, เช็ค
2. ตลาดทุน (Capital Market) คือตลาดของตราสารที่มีอายุตราสารมากกว่า 1 ปี กล่าวง่ายๆคือ ตัวอื่นที่นอกเหนือจากตราสารด้านบนนั่นเอง
และตลาดนี่เอง ที่พวกเราเรียกกันติดปากว่า ตลาดหุ้น
ตลาดทุน (Capital Market) จะแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ ตลาดแรก (Primary Market) และ ตลาดรอง (Secondary Markrt)
ความแตกต่างของ 2 ตลาดนี้คือ
ตลาดแรก (Primary Market) คือ ตลาดที่มีการลงทุนครั้งแรก พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ บริษัทที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้น ประตูด่านแรกเลยก็คือ การซือขายหุ้นในตลาดแรก ซึ่งลักษณะการซื้อขาย คือ ได้รับเงินจากผู้ลงทุนใหม่ และ เป็นการซื้อขายหุ้นครั้งแรก โดย การซือขายในตลาดแรก จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. Public Offering (PO) คือ การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กับประชาชนทั่วไป ใครๆก็ซื้อได้
2. Private Placemant (PP) คือ การเสนอขายแบบจำเพาะเจาะจง คือไม่ได้เปิดขายเป็นการทั่วไป ขายให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนที่กำหนดเท่านั้น
3.Right Offer (RO) คือ การเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม โดยให้สิทธิ์ในการซื้อกับผู้ถือหุ้นเดิม ไม่เสนอขายให้คนอื่น
สรุปง่ายๆ คือ Primary Market คือตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นกันในครั้งแรกที่มีการเสนอขาย ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนมือของหุ้นก็จะเป็นในตลาดต่อไป หรือตลาดที่ทุกๆคน ซื้อขายกันเป็นประจำ คือ ตลาดรอง (Secondary Market)
ตลาดรอง (Secondary Market) เราจะแบ่งเป็นสองลักษณะใหญ่ คือ ตลาดเป็นทางการ และ ตลาดไม่เป็นทางการ
ขอกล่าวในส่วนของตลาดไม่เป็นทางการ ก่อนนะครับเพื่อกันความสับสน
ตลาดไม่เป็นทางการ หรือ Over The Counter (OTC) หรือพูดง่ายๆคือ เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตกลงกันเอง ซึ่งผลก็คือทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถต่อรองราคากันได้เองตามต้องการ ซึ่งมีการควบคุมดูแล โดย สมาคมตราสารหนี้ไทย (THAI BMA)
ตลาดเป็นทางการ (Original Market) คือตลาดที่มีการซือขายหุ้นที่เรารู้จักกันดีนั้นเอง แต่เดี๋ยวก่อน ตลาดเป็นทางการไม่ได้มีแต่ ตลาดหุ้นที่เราคุ้นเคย ตลาดเป็นทางการจะแบ่งได้เป็น
- ตลาดหลักทรัพย์ MAI
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
- ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Thailand Future Exchang, TFEX)
- ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchang, BEX) กำกับดูแลโดย THAI BMA
โดยรายละเอียดลักษณะการซื้อขายของแต่ตลาด คือ
- ตลาด MAI และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ขออธิบายทีเดียวเลยเพื่อกันความสับสนนะครับ
ขอยกคำอธิบายของ set.or.th มาประกอบเพื่อความเข้าใจโดยง่าย
" SET ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีการชำระทุนแล้วหลังจาก IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป"
" MAI เป็นแหล่งระดมทุนอขงธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีการชำระทุนแล้วหลังจาก IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และมีแนวโน้มการเติบโตดีในอนาคต"
สรุปง่ายๆคือ แบ่งกันที่ ขนาดของบริษัทนั้นแหละครับ
- ตลาดตราสารอนุพันธ์ สรุปง่ายๆคือ ตลาดซื้อขายล่วงหน้านั่นแหละครับ
- ตลาดตราสารหนี้ คือ ตลาดการเงินที่บริษัทต่างๆต้องการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขาย โดยผู้ซือจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยนั้นเอง
บางคนสับสนกับ ตราสารหนี้(หุ้นกู้) และ ตราสารทุน(หุ้น)
อธิบายง่ายๆ คือ ต่างกันที่ สถานะครับ หุ้น คือ มีสถานะเป็นเจ้าของกิจการ ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล
หุ้นกู คือ มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย
อีกอย่างที่ต่างคือ ถ้าเกิดกรณีบริษัทล้ม คนที่จะได้รับเงินก่อน คือ เจ้าหนี้ (หุ้นกู้) ส่วนเจ้าของ(หุ้น) เป็นลำดับหลังนะครับ
วันนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ
ปูพื้นความรู้ สู่ตลาดหลักทรัพย์ Part 3
ในครั้งที่แล้ว เราได้กล่าวกันเรื่อง
ระบบการเงิน ใน part 1 https://ppantip.com/topic/37795073
และ
องค์กรที่กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์และระบบงานเงินใน part 2 https://ppantip.com/topic/37798921
รอบนี้เรามากล่าวกันต่อในเรื่องของ โครงสร้างตลาดการเงิน
ไม่ต้องพิธีรีตองอะไร ขอเริ่มเลยนะครับ
หากเราจะแบ่งโครงสร้างของตลาดการเงินออกเป็นประเภทใหญ่ๆ เราอาจจะแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. แบ่งตามอายุของตราสาร เราจะแบ่งได้ได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ตลาดเงิน (Money Market) คือ ตลาดของตราสารที่อายุไม่เกิน 1 ปี หรือก็คือตราสารระยะสั้น
- ตลาดทุน (Capital Market) คือ ตลาดของตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี คือ
2. แบ่งตามลักษณะของเงินที่นำมาลงทุน
- ตลาดตราสารหนี้ ( Debt Market)
- ตลาดตราสารทุน (Stock Market)
3. แบ่งตามวิธีซื้อขาย
- ตลาดการประมูล (Open Market)
- ตลาดซือขายตรง (Negotiated Market)
อย่างไรก็ดี โครงสร้างตลาดการเงิน หรือ Financial Market สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
ตลาดเงิน (กำกับดูแลโดย ธปท.) และตลาดทุน(กำกับดูแลโดย กลต.)
1. ตลาดเงิน (Money Market) คือตลาดของตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ซึ่งประกอบไปด้วย
ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล ที่มีอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร
ตราสารที่ออกโดยเอกชน ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงิน, เช็ค
2. ตลาดทุน (Capital Market) คือตลาดของตราสารที่มีอายุตราสารมากกว่า 1 ปี กล่าวง่ายๆคือ ตัวอื่นที่นอกเหนือจากตราสารด้านบนนั่นเอง
และตลาดนี่เอง ที่พวกเราเรียกกันติดปากว่า ตลาดหุ้น
ตลาดทุน (Capital Market) จะแบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ ตลาดแรก (Primary Market) และ ตลาดรอง (Secondary Markrt)
ความแตกต่างของ 2 ตลาดนี้คือ
ตลาดแรก (Primary Market) คือ ตลาดที่มีการลงทุนครั้งแรก พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ บริษัทที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้น ประตูด่านแรกเลยก็คือ การซือขายหุ้นในตลาดแรก ซึ่งลักษณะการซื้อขาย คือ ได้รับเงินจากผู้ลงทุนใหม่ และ เป็นการซื้อขายหุ้นครั้งแรก โดย การซือขายในตลาดแรก จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. Public Offering (PO) คือ การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กับประชาชนทั่วไป ใครๆก็ซื้อได้
2. Private Placemant (PP) คือ การเสนอขายแบบจำเพาะเจาะจง คือไม่ได้เปิดขายเป็นการทั่วไป ขายให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนที่กำหนดเท่านั้น
3.Right Offer (RO) คือ การเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม โดยให้สิทธิ์ในการซื้อกับผู้ถือหุ้นเดิม ไม่เสนอขายให้คนอื่น
สรุปง่ายๆ คือ Primary Market คือตลาดที่มีการซื้อขายหุ้นกันในครั้งแรกที่มีการเสนอขาย ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนมือของหุ้นก็จะเป็นในตลาดต่อไป หรือตลาดที่ทุกๆคน ซื้อขายกันเป็นประจำ คือ ตลาดรอง (Secondary Market)
ตลาดรอง (Secondary Market) เราจะแบ่งเป็นสองลักษณะใหญ่ คือ ตลาดเป็นทางการ และ ตลาดไม่เป็นทางการ
ขอกล่าวในส่วนของตลาดไม่เป็นทางการ ก่อนนะครับเพื่อกันความสับสน
ตลาดไม่เป็นทางการ หรือ Over The Counter (OTC) หรือพูดง่ายๆคือ เป็นตลาดที่มีการซื้อขายตกลงกันเอง ซึ่งผลก็คือทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถต่อรองราคากันได้เองตามต้องการ ซึ่งมีการควบคุมดูแล โดย สมาคมตราสารหนี้ไทย (THAI BMA)
ตลาดเป็นทางการ (Original Market) คือตลาดที่มีการซือขายหุ้นที่เรารู้จักกันดีนั้นเอง แต่เดี๋ยวก่อน ตลาดเป็นทางการไม่ได้มีแต่ ตลาดหุ้นที่เราคุ้นเคย ตลาดเป็นทางการจะแบ่งได้เป็น
- ตลาดหลักทรัพย์ MAI
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
- ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Thailand Future Exchang, TFEX)
- ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchang, BEX) กำกับดูแลโดย THAI BMA
โดยรายละเอียดลักษณะการซื้อขายของแต่ตลาด คือ
- ตลาด MAI และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ขออธิบายทีเดียวเลยเพื่อกันความสับสนนะครับ
ขอยกคำอธิบายของ set.or.th มาประกอบเพื่อความเข้าใจโดยง่าย
" SET ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีการชำระทุนแล้วหลังจาก IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป"
" MAI เป็นแหล่งระดมทุนอขงธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีการชำระทุนแล้วหลังจาก IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และมีแนวโน้มการเติบโตดีในอนาคต"
สรุปง่ายๆคือ แบ่งกันที่ ขนาดของบริษัทนั้นแหละครับ
- ตลาดตราสารอนุพันธ์ สรุปง่ายๆคือ ตลาดซื้อขายล่วงหน้านั่นแหละครับ
- ตลาดตราสารหนี้ คือ ตลาดการเงินที่บริษัทต่างๆต้องการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขาย โดยผู้ซือจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยนั้นเอง
บางคนสับสนกับ ตราสารหนี้(หุ้นกู้) และ ตราสารทุน(หุ้น)
อธิบายง่ายๆ คือ ต่างกันที่ สถานะครับ หุ้น คือ มีสถานะเป็นเจ้าของกิจการ ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล
หุ้นกู คือ มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย
อีกอย่างที่ต่างคือ ถ้าเกิดกรณีบริษัทล้ม คนที่จะได้รับเงินก่อน คือ เจ้าหนี้ (หุ้นกู้) ส่วนเจ้าของ(หุ้น) เป็นลำดับหลังนะครับ
วันนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ