ปูพื้นความรู้ สู่ตลาดหลักทรัพย์ Part 1

ระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน            
    เมื่อเราจะลงทุน สิ่งที่เราจำเป็นต้องทราบอย่างขาดเสียไม่ได้คือ เราจะไปลงทุนในอะไร ลงทุนยังไง โอกาส        
ดีไหม ขาดทุนได้ไหม ผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง เงินเรานิครับ เราย่อมต้องระมัดระวัง ยิ่งเงินที่เราเก็บและตั้งใจจะให้            
มันงอกเงย จะเอามาลงทุนแบบงูๆปลาๆยิ่งไม่ได้ใหญ่             
    เมื่อเราพูดถึงกองทุนรวม ดังนั้น สิ่งที่เราควรจะทราบคือ กองทุนรวมคืออะไร ลงทุนแบบไหน ผลตอบแทน        
อย่างไร ใช่ไหมครับ แต่ใจเย็นๆ อันดับแรกเลย เราลองมามองที่ภาพกว้างที่สุดกันก่อน            
    กองทุนรวม คือการลงทุนในระบบงานเงิน ซึ่งระบบการเงินเป็นส่วนหนนึ่งในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการเป็น        
ส่วนหนึ่งหมายความว่าเมื่อระบบมีความเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลต่อระบบการเงิน และส่งผลต่อกองทุนรวมที่เราลงทุน            
นั้นเอง             
    หากเราจะมองภาพระบบเศรฐกิจในภาพกว้างๆ องค์ประกอบที่ผลกระทบต่อระบบจะมี 3  ส่วนหลัก คือ        
ครัวเรือน, ธุรกิจ และ รัฐบาล ซึ่งแต่ละส่วนมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันออกไป เช่น ภาคครัวเรือน อาจจะ            
มีบทบาทในการเป็นแรงงานให้ภาคธุรกิจ และเป็นผู้บริโภค ในระบบเศรษฐกิจไปพร้อมๆกัน ซึ่งหากบริษัทได้รับผล            
กระทบอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจส่งผลให้ลดคนงาน ซึ่งกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ซึ่งด้วยความที่เป็นส่วนร่วมของ            
กันและกันอย่างนี้ ทำให้เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบ ย่อมส่งผลกระทบเป็นลูกคลื่นออกไปทุกทิศทางนั่นเอง            
    อย่างไรก็ดี ในแต่ละส่วนของระบบ จะมีทั้งผู้ที่มีรายได้เหลือ และต้องการจะนำเงินส่วนเหลือนั้นไปก่อให้        
เกิดกำไร และผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า ซึ่งต้องการเงินทุนไปลงทุนเพื่อแสวงหากำไร ดังนั้น การที่มีคนที่มีเงินเหลือ และคนที่            
ต้องการเงินมาพบกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน หรือการลงทุนเกิดขึ้น โดยผู้ที่มีรายได้เหลือต้องการจะลงทุน เราจะเรียก            
คนกลุ่มนี้ว่า Surplus Spending Unit หรือ SSU หรือ อยู่ในสถานะ เกินดุล  และผู้ที่ต้องการเงินทุน เราจะเรียกคน            
กลุ่มนี้ว่า Deficit Spending Unit หรือ อยู่ในสถานะ ขาดดุล โดย คนที่มีเงินเกินดุล(SSU) จะเป็นคนกำหนดอุปสงค์            
คือ มีเงินมาเท่าไหร่ และคนที่มีสถานะขาดดุล(DSU) จะเป็นคนกำหนดอุปทาน คือ ต้องการใช้เงินเท่าไหร่ โดยการแลก            
เปลี่ยนระหว่าง ผู้มีเงินทุน(SSU) และ ผู้ต้องการเงินทุน (DSU) จะแลกเปลี่ยนกันผ่าน ระบบการเงิน            
            
            
            
ระบบการเงิน            
    ระบบการเงินคือระบบที่เป็นตัวแทนในการลงทุนระหว่างผู้ต้องการลงทุน(SSU) และ ผู้ต้องการเงินทุน(DSU)        
โดยผู้ต้องการลงทุน จะนำ เงินลงทุน มาลงทุนในระบบการเงิน             
    เงินลงทุน คืออะไร เงินลงทุนคือ คือ "สินทรัพย์" *ย้ำว่าสินทรัพย์ ไม่ใช่เงิน* ที่ถูกคิดราคาตามมูลค่าตลาด        
ที่บุคคล หรือนิติบุคคลถือครองอยู่ ซึ่งเงินลงทุนทุนจะแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ            
    1.สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Asset)         
        คือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น รถ ทองคำ    
    2.สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน(Intangible Asset)        
        หรือเราเรียกอีกอย่างว่า Financial Asset (สินทรัพย์ทางการเงิน) เล่น เงิน พันธบัตร ตั๋ว    
    แล้ว Financial Asset คืออะไร ขอขยายความต้องนี้ก่อนนะครับ        
Financial Asset สินทรัพย์ทางการเงิน มีลักษณะดังต้อไปนี้            
    1. อยู่ในรูปของเอกสาร หรือสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย        
    2. มูลค่าขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต        
    3.มีสภาพคล่องสูงกว่า tngible Asset        
    4.ไม่มีประโยชน์ใช้สอย ในลักษณะของการบริการได้        
    โดย Financial Asset มี 4 ชนิด คือ        
    1.เงิน อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรนะครับ        
    2.ตราสารหนี้ (แสดงถึงการเป็นเจ้าหนี้ - ลูกหนี้)        
        หมายความว่า คนออกตราสารเป็นลูกหนี้ โดยออกตราสารมาเพื่อเสนอให้คนซื้อตราสารหรือ    
    เจ้าหนี้ อยากซื้อ ซึ่งปัจจัยประกอบมีหลายอย่างเช่น ออกมาแล้ว จะได้รับเงินคืนไหม (ลูกหนี้หรือคนออก        
    ตราสารเครดิตดีไหม) ดอกเบี้ยที่ได้รับจูงใจหรือไม่ ความเสี่ยงแค่ไหนบลาๆๆ ซึ่งตราสารหนี้จะแบ่งประเภท        
    ออกตามคนที่ออกตราสารหนี้ คือ        
        1.ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล จะมี 2 ประเภท คือ    
            1.อายุไม่เกิน 1 ปี คือ ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร
            2.อายุเกิน 1 ปี คือ พันธบัตร(กู้,ออม)
        2. ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ    
            คือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
        3.ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน จะมี 2 ประเภท    
            1. อายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินสด, เช็ค
            2.อายุเกิน 1 ปี คือ หุ้นกู้(ออกเพื่อระดมทุน)
            ***เพื่อจำ  หุ้นกู้ ไม่ใช่หุ้นนะครับ เป็นตราสารหนี้
    3.ตราสารทุน (แสดงความเป็นเจ้าของ)        
        ตราสารทุน แตกต่างกับตราสารหนี้ คือ    
        ตราสารหนี้ ถ้าเราถือตราสารหนี้ คือเราเป็นเจ้าหนี้ของกิจการนั้นๆ    
        ตราสารทุน คือ เราถือตราทารทุน คือ เราร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เจ้าหนี้    
        ลักษณะของตราสารทุน คือ มีอายุเกิน 1 ปี เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์    
    4.ตราสารอนุพัรธ์        
        คือสัญญาซื้อ - ขาย ล่วงหน้า คือ คุยตกลงกันวันนี้ แต่รับของในราคาวันนี้ในอนาคต    
    เช่น ตกลงซื้อข้าวกิโลละ 100 ตอนเดือนมกราคม และขอรับสินค้าเดือนกันยายน แปลว่า ถ้าในเดือนกันยายน        
    แม้ราคาข้าว จะสูง หรือ ต่ำกว่า 100 ก็จะซื้อกันที่ราคา 100 บาท
Part 2
https://ppantip.com/topic/37798921
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่