มายาคติเกี่ยวกับสังคมนิยมกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความไม่เท่าเทียม (ภาคต่อ)

ต้องใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ลดความสำคัญของ ภาคเอกชนและระบบตลาดลง ไม่ให้เสรีมากจนเกินไป ใช้กลไกรัฐจัดการกับระบบเศรษฐกิจเป็นส่วนมาก เช่นขึ้นค่าแรงขั้นตํ่าเป็นวัน 800-1000 บาท สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ แต่กดราคาสินค้าและบริการไว้ให้อยู่ราคาเดิมและ ห้ามผู้ประกอบการและนายทุนปลดพนักงาน ทุกอย่างสามารถเนรมิตได้เพียงการที่รัฐให้ความสำคัญกับประชาชนมากกว่านายทุนคนรวยและการบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาด ส่วนข้ออ้างที่ว่าขึ้นค่าแรงต้นทุนในการผลิตก็จะเพิ่มตามนั้นเป็นข้ออ้างที่ไร้และหามูลเหตุใดๆไม่ได้ในทางสถิติ ความเป็นจริง คือ จะทำให้นายทุนและเจ้าของธุรกิจมีกำไรและความมั่งคั่งลดน้อยลงก็เพียงเท่านั้น เป็นวิธีแก้ปัญหาค่าครองชีพและการกระจายรายได้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการสั่งให้แรงงานไปพัฒนาฝีมือเพื่ออัพค่าแรงเสียอีกเพราะไม่ต่างอะไรจากการผลักภาระไปให้ผู้ใช้แรงงานและชนชั้นล่างให้ลำบากยิ่งขึ้น

ส่วนตัวผมคิดว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและระบบตลาดเสรีอิงกลไกตลาด นั้นมีผลเสียมากกว่าผลดี

สังเกตุดูว่า ประเทศที่ยิ่งพัฒนามากเท่าไร 
" สหภาพแรงงาน " ก็ยิ่งเเข็งแกร่งเข้มแข็งทรงพลังมากเท่านั้น ไม่ได้เป็นเบี้ยล่างให้ระบบทุนนิยมกดขี่บีบคั้นไปวันๆ ไม่ใช่เอะอะ ขึ้นค่าแรง ก็จะขึ้นราคาสินค้า จะย้ายฐาน คนไทยขี้เกียจ อยากทำงานสบายๆแต่ได้เงินเยอะๆ บลาๆๆ โหนต่างด้าวว่าขยันกว่าคนไทย ทั้งๆที่ ต่างด้าวเหล่านั้นก็โดนระบบรังแกกดขี่แบบเดียวกับที่คนไทยโดนในประเทศตัวเองจนต้องแห่แหนออกไปนอกเป็นผีน้อยนับแสนๆคนเพื่อชีวิตที่ดีกว่านั่นแหละ 

อ้อ มีอีกข้ออ้างนึง ที่คนไม่ได้รู้จริงทางด้านเศรษฐศาสตร์ชอบใช้อ้างในเรื่องของค่าแรง คือ ประเทศเรารับจ้างผลิต ผลิตของที่ใครก็ทำตามได้ เลยขึ้นค่าแรงไม่ได้ แต่ตัดภาพไปที่ประเทศพัฒนาแล้ว อย่างอเมริกา ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเจ้าพ่อทุนนิยม งานโง่ๆแบบ งานในไร่ งานในฟาร์มค่าแรงวันละ 2-3 พัน มีประกันสุขภาพให้เสร็จสรรพ ผลคือราคาอาหารการกินเท่าไทย ทั้งๆที่ต้นทุนค่าแรงมากกว่า นายจ้างก็อยู่ได้ ธุรกิจก็อยู่ได้ เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคประชาชนมากกว่า ภาคนายทุน ภาคเศรษฐกิจมหาภาค ที่ให้ผลประโยชน์กับแค่คนกลุ่มเล็กๆ
หรืองานร้านอาหารจานด่วนที่ดูมุมไหนก็แทบไม่ต่างจากที่ไทย ราคาก็ไม่ต่างกันมาก แต่ค่าแรงต่างกันนับสิบเท่า แถมจ้างคนจนเต็มร้าน 
ผลคือ เค้าอยู่ได้ แรงงานก็สบาย  มีเงินไปจับจ่าย เศรษฐกิจก็ยิ่งหมุนเวียน เคยดูคลิปคนบ้านเค้าวิ่งกรูเข้าไปแย่งซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของที่ถ้าคนไทยจะซื้อก็ต้องผ่อนลูกเดียว อย่างกับแจกฟรี นั่นคือ แรงงานและคนธรรมดาทั่วไปเท่านั้น นี่คือความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่าง เศรษฐกิจที่เป็นอิสระแต่อยู่บนความเป็นธรรมกับคนทุกคน กับ เศรษฐกิจที่เป็นอิสระแต่ไม่ใช่สำหรับคนทุกคน

ของเราเองเอาแต่เรื่องค่าแรงว่าเป็นปัจจัยหลักของต้นทุนทั้งหมด แต่ไม่แหกตาดูความมั่งคั่งของนายทุนที่เกิดจากการกอบโกยส่วนต่างจากค่าแรงแรงงานที่ไม่เป็นธรรม

Cr. Jirayu suteerattanapirom
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่