เผยแพร่วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2562
ตัวละครหลักในเรื่องสามเกลอ (จากซ้าย) เจ้าคุณปัจจนึก, พล, นิกร, กิมหงวน และดิเรก
ป.อินทรปาลิต กับ “พล นิกร กิมหงวน” ในปี 2550 ที่จินตนาการล่วงหน้า 40 ปี ว่าเมืองไทยจะมีรถไฟฟ้า, ตึกสูง 80 ชั้น, เลิกพูดภาษาไทย, ใช้ชื่อฝรั่ง ฯลฯ
ป.อินทรปาลิต (2453-2511) ชื่อจริงว่า ปรีชา อินทรปาลิต เป็นบุตรชายพันโท พระวิสิษฐพจนการ (อ่อน อินทรปาลิต) กับนางวิสิษฐพจนการ (ชื่น อินทรปาลิต) ดั้งนั้นเขาจึงเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนาย จปร.ในปัจจุบัน) รุ่นเดียวกับจอมพลถนอม กิตติขจร
แต่นั้นมาใช่เส้นทางของ ป.อินทรปาลิต เขาไม่ได้เลือกเป็นทหาร และถ้าเขาเป็นทหาร เราคงไม่มีหัสนิยาย
“พล นิกร กิมหงวน” หรือ “สามเกลอ” กว่า 500 ตอนอ่านกัน
ป.อินทรปาลิตเริ่มเขียนพล นิกร กิมหงวน ประมาณปี 2481 และเขียนต่อเนื่องมาจนปี 2511 ตลอดเวลาประมาณ 30 ปี นี่คือ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขา ตราบจนทุกวันนี้ พล นิกร กิมหงวนก็ยังเป็นเรื่องที่ “ร่วมสมัย” เพราะจินตนาการต่างๆ ป.อินทรปาลิต เขียนไว้เป็นได้จริง
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่อ่านและเก็บสะสม “พล นิกร กิมหงาน” อธิบายถึงว่างานของ ป.อินทรปาลิต ไว้อย่างน่าสนใจซึ่งขอคัดย่อบ่งส่วนมาดังนี้
ผมเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษของ ป.อินทรปาลิต ที่ทำให้ท่านได้รับความนิยมอย่างสูง ก็คือความ “ร่วมสมัย” นั่นเอง ป.อินทรปาลิต ใช้ประสบการณ์และเรื่องราวที่แวดล้อมท่าน ที่กำลังเกิดอยู่ต่อหน้าต่อตาของท่านและ “เรา” มาเป็นบริบทของเรื่อง และ
ดังนั้นในชุดแรกๆ ช่วงทศวรรษ 2480 (1930-40) ในขณะที่ “คณะราษฎร” กำลังเรืองอำนาจ ในขณะที่ลัทธิทหารและลัทธิ “ผู้นำ” หรือ “ระบอบพิบูลสงคราม” กำลังก่อตัวอยู่นั้น เราก็จะเห็นหัสนิยายอย่างเช่น “รัฐนิยม” “เที่ยวรัฐธรรมนูญ 83” ตลอดจนยุคสมัยของไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเช่น “พลร่ม ส.ค.ส. 2484”
ผลงานของ ป.อินทรปาลิต ยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่ต้องเผชิญกับวิทยาศาสตร์ และประชาธิปไตย ที่สำคัญคือ เมื่อถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะในช่วงของทศวรรษ 2490 จนถึง 2511 อันเป็นปีที่ ป.อินทรปาลิต ถึงแก่กรรมนั้น สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชาวกรุง ตกอยู่ใต้อิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอเมริกัน (ที่เข้ามา แทนที่อังกฤษ) และที่แสนจะชัดเจนอย่างยิ่ง คือ บรรดาภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดที่หลั่งไหลเข้ามานั่นเอง
และนี่ก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชุด “เสือๆ” รวมทั้งภาพหน้าปกหรือภาพประกอบ เกือบจะเรียกได้ว่า เดินทางโดยตรงจาก “ฮอลลีวู้ด” มายังบรรดาโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อนำหน้าว่า “เฉลิมๆๆๆ” ทั้งหลายนั่นเอง Westerns หรือ “เคาบอย” สร้างความบันดาลใจให้ ป.อินทรปาลิต อย่างไม่รู้จบ
ปก The Time Machine ของ H.G. Wells ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2438 ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขียน “ไปสู่อนาคต”เมื่อทาร์ซานที่นำแสดงโดยจอห์นนี่ ไวยสมุนเลอร์ มา “โห่ ฮี้ โห่โห่” ป.อินทรปาลิต ก็ได้วัตถุดิบใหม่แปลงเป็นชุด “ทาร์ซานน้อย” เมื่อ “ปีเตอร์แพน” ของวอลต์ ดิสนีย์ มาถึงโรงหนังแถววังบูรพา ป.อินทรปาลิต ก็สร้าง “ปีเตอร์แพนเปี๊ยก” ขึ้นมา
และไม่น่าสงสัยเลยว่าเมื่อ The Time Machine ของวอร์เนอร์ (1960/2503) ที่นำดาราดังในยุคนั้นอย่าง Rod Taylor และ Yvette Mimieux ตกเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ป.อินทรปาลิต ก็ดัดแปลงมันให้กลายเป็น “ไปสู่อนาคต” ในปี 2510
ในขณะที่ H.G. Wells นักเขียนอังกฤษ ผู้มีความคิดโน้มเอียงไปในทางสังคมนิยม สร้าง The Time Machine เมื่อปี ค.ศ. 1895 หรือ พ.ศ. 2438 ก่อน ป.อินทรปาลิต เกิดถึง 15 ปี Wells ให้พระเอกของเรื่องเดินทางไปคนเดียว สู่โลกอนาคตไกลไปถึง ค.ศ. 802,701 (หรือ พ.ศ. 803,244) ไปพบโลกคอมมิวนิสต์สังคมนิยมแบบ “ปฐมภูมิ”
แต่ ป.อินทรปาลิต ในฐานะผลผลิต ของยุคสมัยแห่ง “อำมาตยาเสนาธิปไตย” และบรรยากาศแห่ง “ยุคสมัยอเมริกัน” และ “สงครามเย็น” ก็ให้ “สามเกลอ/สี่สหาย” และผู้ร่วมเดินทางโดยสารไปกับ “เครื่องมือวิเศษ” แทนคำว่า Time Machine ไปไกลจากเวลาที่ท่านเขียน คือ พ.ศ. 2510 เพียง 40 ปีเท่านั้นเอง
คือถึง พ.ศ. 2550 คณะเดินทางข้ามกาลเวลาประกอบด้วย พล นิกร กิมหงวน ดร. ดิเรก เจ้าคุณปัจจนึก เจ้าแห้ว นพกับสมนึก
เขาเหล่านั้นได้ “เห็นอะไร” และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ “ไม่เห็นอะไร”
ศ. ดิเรก ผู้ประดิษฐ์ “เครื่องมือวิเศษ” กล่าวก่อนการออกเดินทางว่า
“ออไหร รับรองว่าพวกเราจะได้พบเห็นอนาคตแน่ๆ ครับ…
ผมจะพาพวกเราไปดูกรุงเทพฯ…
เห็นความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพฯ และสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยนั้น …
ศ. ดิเรกกับคณะของเขาได้เดินทางมาถึงอนาคตจริงๆ
ทุกคนพบตัวเองยืนอยู่กลางสนามหน้าบ้าน ‘พัชราภรณ์’”
รถไฟฟ้าและตึกสูงหลายสิบชั้น ที่ ป.อินทรปาลิต เขียนล่วงหน้าก็มี 40 ปี
“ที่ถนนสุขุมวิทหน้าบ้าน…
มีรถยนต์แล่นผ่านไปมาอย่างน่าเวียนหัว
รถทุกคันใช้ความเร็วสูงมาก…
ในท้องฟ้ามีรถยนต์เหาะหลายคัน บินผ่านหน้าบ้าน…
แล้วทุกคนก็แลเห็นรถไฟขนาดใหญ่วิ่งอยู่บนถนนสุขุมวิท
คล้ายกับรถราง มี 2 คัน พ่วงวิ่งไปตามรางสูงจากถนนประมาณ 10 เมตร
ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง”
ป.อินทรปาลิต จินตนาการได้แสนจะสมจริง นี่คือ “รถไฟฟ้า” ของชาวกรุง
คณะเดินทาง ของ ป.อินทรปาลิต ได้เห็นอะไรอีก
“มองออกไปนอกบ้าน…
เป็นอาคารสูงใหญ่อย่างน้อยที่สุดก็ 20 ชั้นจนถึง 80 ชั้น
ส่วนยอดของมันเสียดเข้าไปในกลุ่มเมฆอันหนาทึบ…
ผู้คนริมถนนสุขุมวิทเดินสับสนไปมา
ผู้ชายแต่งชุดสากลและผู้หญิงสวมเสื้อกระโปรงวันพีซ
มองดูชาวกรุงเทพฯ ไม่ผิดอะไรกับชาวยุโรปอเมริกา”
และยิ่งไปกว่านั้น คือ
“พลเมืองในบางกอกมีตั้ง 15 ล้าน นอกสำมะโนครัวอีกไม่ต่ำกว่าห้าหกล้าน”
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่ ป.อินทรปาลิต ฝันไว้อย่างแม่นยำว่าเราจะได้พบได้เห็น ก็คือเรื่องของ “ภาษาไทย” และ “ความเป็นไทย”
ณ ที่เก่าแต่เวลาใหม่หน้าบ้าน “พัชราภรณ์” พ.ศ. 2550 สี่สหายกับเจ้าคุณปัจจนึกฯ นพ สมนึก และเจ้าแห้ว เห็นคนสวนชายหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งหน้าตาเหมือนกับเจ้าแห้วราวถอดแบบออกมา
คนสวนหนุ่มถาม “คณะเดินทาง” ของเราเป็นภาษาอังกฤษ
(ครับ ขอเน้นคำว่าภาษาอังกฤษ) ว่า
“ท่านมาหาใคร”
“เจ้าแห้วชักหมั่นไส้ก็พูดโพล่งขึ้น
‘ลำบากนักก็พูดไทยเถอวะ’
‘ประทานโทษ คุณพูดภาษาอะไรครับ’ เขาถาม…เป็นภาษาอังกฤษ
เจ้าแห้วชักยัวะ…
‘แกเป็นคนไทย ใช่ไหม’
คนสวนขมวดคิ้วย่น…
‘ท่านพูดอังกฤษได้ไหม’
…พลกันเจ้าแห้วออกห่าง…ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
‘แกพูดภาษาไทยไม่ได้หรือนี่’
‘ภาษาไทยหรือครับ
ไทยแลนด์เลิกใช้ภาษาไทยตั้งแต่ผมเป็นเด็กสอนเดิน
ผมเป็นคนไทยก็จริง
แต่ผมไม่รู้ภาษาไทย…
ครับ เขาเลิกพูดเลิกใช้ภาษาไทยมา 23 ปีแล้ว
เท่าที่ผมทราบ รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกภาษาไทย
ทั้งภาษาพูดและอักขรวิธีเมื่อ พ.ศ. 2527
เป็นปีที่พ่อผมตายครับ ผมถึงจำได้”
ภาษาไทยได้สูญหายไป อะไรหลายอย่างก็ไม่หลงเหลือ เมื่อออกชมเมือง ก็ต้องประหลาดใจว่าคนขับรถแท็กซี่นั้นจบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า แถมยังชื่อ “วีระ สมิท” เขาเล่าให้คณะเดินทางฟังว่า
“ชาวบางกอกทุกคน
เขาต้องมีชื่อฝรั่งต่อท้ายของตนครับ
เป็นต้นว่า อุดม โรบินสัน
ชัชวาล ครอฟอร์ด
พูดอย่างง่ายๆ เราได้ปรับปรุงตัวเราตลอดจนจารีตประเพณี
ให้เหมือนชาวอเมริกันมหามิตร”
ครับ ฟังแล้วอดนึกถึงดาราขวัญใจยุคนี้อย่างธงชัย แมคอินไตย์, ทาทา ยัง, ปาล์มี่, สเตฟาน ฯลฯ
ป.อินทรปาลิต เติบโตและเขียนหนังสือหากินอยู่ในยุคอันยาวนานของ “ทหาร” ที่ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ถึง 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนถึง พ.ศ. 2511 อันเป็นปีที่ท่านถึงแก่กรรม ดังนั้น ป.อินทรปาลิต ก็คงเหมือนๆ คนไทยทั่วไปไม่น้อย ที่อยากเห็นบ้านเมืองเจริญเป็น “ประชาธิปไตย”
ดังนั้นเมื่อ “คณะเดินทาง” ของเรา ไปถึงบางกอกในปี พ.ศ. 2550 จึงได้รับการบอกเล่าจากคนขับแท็กซี่ว่า
“รัฐบาลชุดนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นพลเรือน
ชื่อ นายอิสระ สจ็วต
เรามีสภาผู้แทนราษฎรและสภาสูง
รัฐมนตรีของเราเป็นพลเรือนทั้งนั้น
แม้กระทั่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม”
ครับ ป.อินทรปาลิต ก็คงเหมือนเราๆ ท่านๆ ที่นึกไม่ออกว่าจะมี และทำไมต้องมี “รัฐประหาร 19 กันยา 2549” หรือทำไมต้องมี “คมช.” กับ “ครม. ขิงแก่”
นี่เป็นเพียงบางส่วน “อนาคต” ในฝัน พ.ศ. 2550 ของ ป.อินทรปาลิต ที่หลายสิ่งเป็นจริง และหลายสิ่งไม่ใช่สิ่งที่นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ฝันให้เป็นไปในสังคมไทย
ตัวละครสามเกลอที่ Google Thailand ใช้เป็นหน้าแรกในวันคล้ายวันเกิด ป.อินทรปาลิต 12 พฤษภาคม 2560
ข้อมูลจาก
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ.
The Three Chums and Po Inthapalit B.E.2550 พล นิกร กิมหงวย กับ ป.อินทรปาลิต ในปี พ.ศ. 2550, ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2551
silpa-mag.com
ป.อินทรปาลิต กับ “พล นิกร กิมหงวน” ในปี 2550
ตัวละครหลักในเรื่องสามเกลอ (จากซ้าย) เจ้าคุณปัจจนึก, พล, นิกร, กิมหงวน และดิเรก
ป.อินทรปาลิต กับ “พล นิกร กิมหงวน” ในปี 2550 ที่จินตนาการล่วงหน้า 40 ปี ว่าเมืองไทยจะมีรถไฟฟ้า, ตึกสูง 80 ชั้น, เลิกพูดภาษาไทย, ใช้ชื่อฝรั่ง ฯลฯ
ป.อินทรปาลิต (2453-2511) ชื่อจริงว่า ปรีชา อินทรปาลิต เป็นบุตรชายพันโท พระวิสิษฐพจนการ (อ่อน อินทรปาลิต) กับนางวิสิษฐพจนการ (ชื่น อินทรปาลิต) ดั้งนั้นเขาจึงเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนาย จปร.ในปัจจุบัน) รุ่นเดียวกับจอมพลถนอม กิตติขจร
แต่นั้นมาใช่เส้นทางของ ป.อินทรปาลิต เขาไม่ได้เลือกเป็นทหาร และถ้าเขาเป็นทหาร เราคงไม่มีหัสนิยาย “พล นิกร กิมหงวน” หรือ “สามเกลอ” กว่า 500 ตอนอ่านกัน
ป.อินทรปาลิตเริ่มเขียนพล นิกร กิมหงวน ประมาณปี 2481 และเขียนต่อเนื่องมาจนปี 2511 ตลอดเวลาประมาณ 30 ปี นี่คือ ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขา ตราบจนทุกวันนี้ พล นิกร กิมหงวนก็ยังเป็นเรื่องที่ “ร่วมสมัย” เพราะจินตนาการต่างๆ ป.อินทรปาลิต เขียนไว้เป็นได้จริง
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่อ่านและเก็บสะสม “พล นิกร กิมหงาน” อธิบายถึงว่างานของ ป.อินทรปาลิต ไว้อย่างน่าสนใจซึ่งขอคัดย่อบ่งส่วนมาดังนี้
ผมเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษของ ป.อินทรปาลิต ที่ทำให้ท่านได้รับความนิยมอย่างสูง ก็คือความ “ร่วมสมัย” นั่นเอง ป.อินทรปาลิต ใช้ประสบการณ์และเรื่องราวที่แวดล้อมท่าน ที่กำลังเกิดอยู่ต่อหน้าต่อตาของท่านและ “เรา” มาเป็นบริบทของเรื่อง และ
ดังนั้นในชุดแรกๆ ช่วงทศวรรษ 2480 (1930-40) ในขณะที่ “คณะราษฎร” กำลังเรืองอำนาจ ในขณะที่ลัทธิทหารและลัทธิ “ผู้นำ” หรือ “ระบอบพิบูลสงคราม” กำลังก่อตัวอยู่นั้น เราก็จะเห็นหัสนิยายอย่างเช่น “รัฐนิยม” “เที่ยวรัฐธรรมนูญ 83” ตลอดจนยุคสมัยของไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเช่น “พลร่ม ส.ค.ส. 2484”
ผลงานของ ป.อินทรปาลิต ยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่ต้องเผชิญกับวิทยาศาสตร์ และประชาธิปไตย ที่สำคัญคือ เมื่อถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะในช่วงของทศวรรษ 2490 จนถึง 2511 อันเป็นปีที่ ป.อินทรปาลิต ถึงแก่กรรมนั้น สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชาวกรุง ตกอยู่ใต้อิทธิพลทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอเมริกัน (ที่เข้ามา แทนที่อังกฤษ) และที่แสนจะชัดเจนอย่างยิ่ง คือ บรรดาภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดที่หลั่งไหลเข้ามานั่นเอง
และนี่ก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชุด “เสือๆ” รวมทั้งภาพหน้าปกหรือภาพประกอบ เกือบจะเรียกได้ว่า เดินทางโดยตรงจาก “ฮอลลีวู้ด” มายังบรรดาโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อนำหน้าว่า “เฉลิมๆๆๆ” ทั้งหลายนั่นเอง Westerns หรือ “เคาบอย” สร้างความบันดาลใจให้ ป.อินทรปาลิต อย่างไม่รู้จบ
ปก The Time Machine ของ H.G. Wells ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2438 ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เขียน “ไปสู่อนาคต”เมื่อทาร์ซานที่นำแสดงโดยจอห์นนี่ ไวยสมุนเลอร์ มา “โห่ ฮี้ โห่โห่” ป.อินทรปาลิต ก็ได้วัตถุดิบใหม่แปลงเป็นชุด “ทาร์ซานน้อย” เมื่อ “ปีเตอร์แพน” ของวอลต์ ดิสนีย์ มาถึงโรงหนังแถววังบูรพา ป.อินทรปาลิต ก็สร้าง “ปีเตอร์แพนเปี๊ยก” ขึ้นมา
และไม่น่าสงสัยเลยว่าเมื่อ The Time Machine ของวอร์เนอร์ (1960/2503) ที่นำดาราดังในยุคนั้นอย่าง Rod Taylor และ Yvette Mimieux ตกเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ป.อินทรปาลิต ก็ดัดแปลงมันให้กลายเป็น “ไปสู่อนาคต” ในปี 2510
ในขณะที่ H.G. Wells นักเขียนอังกฤษ ผู้มีความคิดโน้มเอียงไปในทางสังคมนิยม สร้าง The Time Machine เมื่อปี ค.ศ. 1895 หรือ พ.ศ. 2438 ก่อน ป.อินทรปาลิต เกิดถึง 15 ปี Wells ให้พระเอกของเรื่องเดินทางไปคนเดียว สู่โลกอนาคตไกลไปถึง ค.ศ. 802,701 (หรือ พ.ศ. 803,244) ไปพบโลกคอมมิวนิสต์สังคมนิยมแบบ “ปฐมภูมิ”
แต่ ป.อินทรปาลิต ในฐานะผลผลิต ของยุคสมัยแห่ง “อำมาตยาเสนาธิปไตย” และบรรยากาศแห่ง “ยุคสมัยอเมริกัน” และ “สงครามเย็น” ก็ให้ “สามเกลอ/สี่สหาย” และผู้ร่วมเดินทางโดยสารไปกับ “เครื่องมือวิเศษ” แทนคำว่า Time Machine ไปไกลจากเวลาที่ท่านเขียน คือ พ.ศ. 2510 เพียง 40 ปีเท่านั้นเอง
คือถึง พ.ศ. 2550 คณะเดินทางข้ามกาลเวลาประกอบด้วย พล นิกร กิมหงวน ดร. ดิเรก เจ้าคุณปัจจนึก เจ้าแห้ว นพกับสมนึก
เขาเหล่านั้นได้ “เห็นอะไร” และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ “ไม่เห็นอะไร”
ศ. ดิเรก ผู้ประดิษฐ์ “เครื่องมือวิเศษ” กล่าวก่อนการออกเดินทางว่า
“ออไหร รับรองว่าพวกเราจะได้พบเห็นอนาคตแน่ๆ ครับ…
ผมจะพาพวกเราไปดูกรุงเทพฯ…
เห็นความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพฯ และสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยนั้น …
ศ. ดิเรกกับคณะของเขาได้เดินทางมาถึงอนาคตจริงๆ
ทุกคนพบตัวเองยืนอยู่กลางสนามหน้าบ้าน ‘พัชราภรณ์’”
รถไฟฟ้าและตึกสูงหลายสิบชั้น ที่ ป.อินทรปาลิต เขียนล่วงหน้าก็มี 40 ปี“ที่ถนนสุขุมวิทหน้าบ้าน…
มีรถยนต์แล่นผ่านไปมาอย่างน่าเวียนหัว
รถทุกคันใช้ความเร็วสูงมาก…
ในท้องฟ้ามีรถยนต์เหาะหลายคัน บินผ่านหน้าบ้าน…
แล้วทุกคนก็แลเห็นรถไฟขนาดใหญ่วิ่งอยู่บนถนนสุขุมวิท
คล้ายกับรถราง มี 2 คัน พ่วงวิ่งไปตามรางสูงจากถนนประมาณ 10 เมตร
ใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง”
ป.อินทรปาลิต จินตนาการได้แสนจะสมจริง นี่คือ “รถไฟฟ้า” ของชาวกรุง
คณะเดินทาง ของ ป.อินทรปาลิต ได้เห็นอะไรอีก
“มองออกไปนอกบ้าน…
เป็นอาคารสูงใหญ่อย่างน้อยที่สุดก็ 20 ชั้นจนถึง 80 ชั้น
ส่วนยอดของมันเสียดเข้าไปในกลุ่มเมฆอันหนาทึบ…
ผู้คนริมถนนสุขุมวิทเดินสับสนไปมา
ผู้ชายแต่งชุดสากลและผู้หญิงสวมเสื้อกระโปรงวันพีซ
มองดูชาวกรุงเทพฯ ไม่ผิดอะไรกับชาวยุโรปอเมริกา”
และยิ่งไปกว่านั้น คือ
“พลเมืองในบางกอกมีตั้ง 15 ล้าน นอกสำมะโนครัวอีกไม่ต่ำกว่าห้าหกล้าน”
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ที่ ป.อินทรปาลิต ฝันไว้อย่างแม่นยำว่าเราจะได้พบได้เห็น ก็คือเรื่องของ “ภาษาไทย” และ “ความเป็นไทย”
ณ ที่เก่าแต่เวลาใหม่หน้าบ้าน “พัชราภรณ์” พ.ศ. 2550 สี่สหายกับเจ้าคุณปัจจนึกฯ นพ สมนึก และเจ้าแห้ว เห็นคนสวนชายหนุ่มผู้หนึ่ง ซึ่งหน้าตาเหมือนกับเจ้าแห้วราวถอดแบบออกมา
คนสวนหนุ่มถาม “คณะเดินทาง” ของเราเป็นภาษาอังกฤษ
(ครับ ขอเน้นคำว่าภาษาอังกฤษ) ว่า “ท่านมาหาใคร”
“เจ้าแห้วชักหมั่นไส้ก็พูดโพล่งขึ้น
‘ลำบากนักก็พูดไทยเถอวะ’
‘ประทานโทษ คุณพูดภาษาอะไรครับ’ เขาถาม…เป็นภาษาอังกฤษ
เจ้าแห้วชักยัวะ…
‘แกเป็นคนไทย ใช่ไหม’
คนสวนขมวดคิ้วย่น…
‘ท่านพูดอังกฤษได้ไหม’
…พลกันเจ้าแห้วออกห่าง…ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
‘แกพูดภาษาไทยไม่ได้หรือนี่’
‘ภาษาไทยหรือครับ
ไทยแลนด์เลิกใช้ภาษาไทยตั้งแต่ผมเป็นเด็กสอนเดิน
ผมเป็นคนไทยก็จริง
แต่ผมไม่รู้ภาษาไทย…
ครับ เขาเลิกพูดเลิกใช้ภาษาไทยมา 23 ปีแล้ว
เท่าที่ผมทราบ รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกภาษาไทย
ทั้งภาษาพูดและอักขรวิธีเมื่อ พ.ศ. 2527
เป็นปีที่พ่อผมตายครับ ผมถึงจำได้”
ภาษาไทยได้สูญหายไป อะไรหลายอย่างก็ไม่หลงเหลือ เมื่อออกชมเมือง ก็ต้องประหลาดใจว่าคนขับรถแท็กซี่นั้นจบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า แถมยังชื่อ “วีระ สมิท” เขาเล่าให้คณะเดินทางฟังว่า
“ชาวบางกอกทุกคน
เขาต้องมีชื่อฝรั่งต่อท้ายของตนครับ
เป็นต้นว่า อุดม โรบินสัน
ชัชวาล ครอฟอร์ด
พูดอย่างง่ายๆ เราได้ปรับปรุงตัวเราตลอดจนจารีตประเพณี
ให้เหมือนชาวอเมริกันมหามิตร”
ครับ ฟังแล้วอดนึกถึงดาราขวัญใจยุคนี้อย่างธงชัย แมคอินไตย์, ทาทา ยัง, ปาล์มี่, สเตฟาน ฯลฯ
ป.อินทรปาลิต เติบโตและเขียนหนังสือหากินอยู่ในยุคอันยาวนานของ “ทหาร” ที่ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญอยู่ถึง 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนถึง พ.ศ. 2511 อันเป็นปีที่ท่านถึงแก่กรรม ดังนั้น ป.อินทรปาลิต ก็คงเหมือนๆ คนไทยทั่วไปไม่น้อย ที่อยากเห็นบ้านเมืองเจริญเป็น “ประชาธิปไตย”
ดังนั้นเมื่อ “คณะเดินทาง” ของเรา ไปถึงบางกอกในปี พ.ศ. 2550 จึงได้รับการบอกเล่าจากคนขับแท็กซี่ว่า
“รัฐบาลชุดนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นพลเรือน
ชื่อ นายอิสระ สจ็วต
เรามีสภาผู้แทนราษฎรและสภาสูง
รัฐมนตรีของเราเป็นพลเรือนทั้งนั้น
แม้กระทั่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม”
ครับ ป.อินทรปาลิต ก็คงเหมือนเราๆ ท่านๆ ที่นึกไม่ออกว่าจะมี และทำไมต้องมี “รัฐประหาร 19 กันยา 2549” หรือทำไมต้องมี “คมช.” กับ “ครม. ขิงแก่”
นี่เป็นเพียงบางส่วน “อนาคต” ในฝัน พ.ศ. 2550 ของ ป.อินทรปาลิต ที่หลายสิ่งเป็นจริง และหลายสิ่งไม่ใช่สิ่งที่นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ฝันให้เป็นไปในสังคมไทย
ตัวละครสามเกลอที่ Google Thailand ใช้เป็นหน้าแรกในวันคล้ายวันเกิด ป.อินทรปาลิต 12 พฤษภาคม 2560
ข้อมูลจาก
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. The Three Chums and Po Inthapalit B.E.2550 พล นิกร กิมหงวย กับ ป.อินทรปาลิต ในปี พ.ศ. 2550, ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2551
silpa-mag.com