ทางจักรยานที่สร้างจากขยะพลาสติกแห่งแรกของโลก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Roads Made From Recycled Plastic Waste Could Be the Future


ทางจักรยานแห่งแรกของโลก
ที่สร้างจากขยะพลาสติกรีไซเคิล
ได้เปิดให้ใช้งานแล้วที่  Zwolle ในประเทศ Netherlands
PlasticRoad  คือ ผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร
ลดภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
น้อยกว่าการสร้างถนนด้วยวัสดุแบบเดิม ๆ
และข้อสำคัญมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า
2-3 เท่าของถนนลาดยางมะตอยแบบเดิม
ลดระยะเวลาในการทำถนนจากเดือนเป็นวัน
และการขนส่ง/เคลื่อนย้ายก็ง่ายกว่ามาก
เพราะสร้างขึ้นแบบตัวต่อ Lego
มีทางรางระบายน้ำ ท่อร้อยสายไฟ/เคเบิล ด้านล่าง
นำชิ้นส่วนมาต่อเรียงกันเป็นถนนได้เลย
ทั้งนี้ตามรายงานของผุ้พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ 
ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของ 3 หน่วยงานธุรกิจ
KWS  และ Wavin ของ Dutch
ร่วมมือกับ  Total  ของ France

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2018
PlasticRoad แห่งแรกในโลก
ได้เปิดตัวเส้นทางจักรยานยาว 30 เมตร
โดยใช้พลาสติกรีไซเคิล
จากแก้วพลาสติกมากกว่า 218,000 ใบ
หรือจากฝาขวดพลาสติกรีไซเคิล 500,000 ฝา

โครงการนำร่องครั้งนี้
PlasticRoad มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์(ตัวตรวจวัดประเภทต่าง ๆ)
เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของถนน
เช่น อุณหภูมิ จำนวนรถจักรยานที่ผ่านทาง
และความทนทานของถนน
PlasticRoad  แห่งนี้เป็นเส้นทางจักรยาน
ถนนอัจฉริยะครั้งแรกในโลก
ที่มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์เหล่านี้

โครงการนำร่องอีกแห่ง
ที่จะสร้างเส้นทางจักรยาน PlasticRoad
ภายในปลายปี 2018  ที่เมือง Giethoorn

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

PlasticRoad - A revolution in building roads



ขยะพลาสติกสร้างมูลค่าในการใช้ซ้ำอีกครั้ง

ทั่วโลกมีการใช้พลาสติก 350 ล้านตันทุกปี
และส่วนมากพลาสติกจะลงเอยที่การฝังกลบหรือเผาทิ้ง
บางส่วนก็เล็ดลอดปนเปื้อนในแหล่งน้ำและจบลงที่มหาสมุทร

PlasticRoad  จึงสร้างมูลค่าพลาสติกขึ้นมาอีกครั้ง
ด้วยการรีไซเคิลและนำมาใช้เพื่อสร้างถนนในที่ต่าง ๆ
โดยมีเป้าหมายสุดท้าย คือ การใช้พลาสติกรีไซเคิล 100%
ในการผลิต PlasticRoad ตามแผนการของผู้พัฒนา

นอกจากการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้
สำหรับพลาสติกเหลือใช้และทิ้งไปแล้ว
PlasticRoad ยังเป็นวิธีการสร้างถนนได้เร็วขึ้น
โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง
ชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบตัว Lego
ที่นำมาต่อ ๆ กันจนเป็นถนนได้
ทำให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม
โครงสร้างภายในกลวงเพื่อเป็นทางระบายน้ำ/เดินท่อ
เหมาะกับการใช้งานในกรณีที่ฝนตกหนักมาก

ผู้นำตลาด 3 รายต่างร่วมกันพัฒนาให้ครบวงจร
มี  KWS เป็นผู้นำตลาดด้านการก่อสร้างถนน
และการผลิตยางมะตอยในประเทศเนเธอร์แลนด์
เป้าหมายทางตลาด คือ การลดเสียงรบกวน
แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง  การยืดอายุการใช้งาน และความยั่งยืน
เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวคิดเรื่อง PlasticRoad

Wavin ในฐานะผู้นำตลาดในการรีไซเคิลพลาสติก 
เป็นพันธมิตรที่เพียบพร้อมในการแนะนำความรู้
และประสบการณ์ในด้านนี้ให้กับโครงการ
มูลค่าเพิ่มอีกอย่างของ Wavin ที่ให้กับความร่วมมือครั้งนี้
คือ ความเชี่ยวชาญในการทำผลิตภัณฑ์พลาสติก เพื่อการระบายน้ำฝน

Total ก็มีความรู้กว้างขวางในด้านพลาสติกเช่นกัน
บริษัทได้ให้ความสำคัญกับโครงการ PlasticRoad
เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณสมบัติของพลาสติก
การรีไซเคิลพลาสติกและเทคนิคการผลิต

แอสฟัลต์(ยางมะตอย) คอนกรีตมีส่วนต้องรับผิดชอบ
ในการปล่อย CO2 ถึง 1.5 ล้านตันต่อปี
คิดเป็น 2%  ในการปลดปล่อยจากถนนทั่วโลก
ที่มีระยะทางรวมประมาณ 10 ล้านกิโลเมตร

ในการประกาศแนวคิด PlasticRoad ครั้งแรกในปี 2015
Jorritsma ได้กล่าวว่า “ คุณเห็นแค่ขวดใบหนึ่ง แต่เราเห็นถนน ”

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
สหภาพยุโรปได้เปิดตัวแผนงานเร่งด่วน
ในการทำความสะอาดขยะพลาสติกของยุโรป
และให้ทุกชาติในสหภาพยุโรปร่วมกันรับรองว่า
บรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นในทวีปนี้
จะต้องสามารถนำมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ภายในปี 2030

ทั้งนี้เพราะผลการตัดสินใจของจีน
ที่เดิมเป็นที่ทิ้งขยะพลาสติกและนำเข้าขยะมารีไซเคิล
ได้มีคำสั่งจากรัฐบาล  ห้ามการนำเข้าวัสดุรีไซเคิลจากต่างประเทศ
ผลกระทบจากเรื่องนี้  ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิด/พฤติกรรมของคนยุโรป
ด้วยมาตรการทางภาษี และการปรับปรุงการผลิต
และสถานที่เก็บสะสม/ทำลายพลาสติกที่ใช้แล้ว
ในแต่ละปีชาวยุโรปมีขยะพลาสติก 25 ล้านตัน
แต่น้อยกว่า 30% ที่มีการจัดเก็บรวบรวมเพื่อนำไปรีไซเคิล

แต่ยังมีข้อสงสัยบางอย่างเกี่ยวกับ PlasticRoad
Harmen Spek จากกลุ่มต่อต้านพลาสติก Plastic Soup
ได้เตือนว่า อนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก
สามารถเข้าสู่สภาพแวดล้อมได้จำนวนมาก
จากความร้อน การสึกหรอ/การเสียดสี
และการรีบเร่งผลิต/ใช้งานในอนาคต

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2NTmy6v
https://bit.ly/2QfsUvQ
https://bit.ly/2N8Wh4B


1.

2.

3.


4.


5.

6.



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Can plastic roads help save the planet? BBC News




Toby McCartney วิศวกรได้อธิบายถึง
MacRebur ธุรกิจ start-up  ของชาวสก็อตแลนด์
ที่กำลังเชิญชวนให้หน่วยงานท้องถิ่น
ใช้ขยะพลาสติกที่มีในท้องถิ่นสร้างถนน
ตอนนี้ มีหน่วยงานท้องถิ่นในอังกฤษ 2 แห่งแล้ว
ที่สร้างถนนที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติก






ถนนพลาสติกในเมืองไทย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Recycled Plastic Road - SCG


ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล 
หรือ Recycled Plastic Road
อีกหนึ่งนวัตกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
โดยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างเอสซีจี
และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
ซึ่งได้นำพลาสติกใช้แล้ว อาทิ ถุงพลาสติกหูหิ้ว และถุงใส่อาหาร
จากการคัดแยกขยะภายในเอสซีจีและครัวเรือนชุมชน
ซึ่งรวบรวมโดย เทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง
มาใช้ทดสอบเป็นส่วนผสมสำหรับสร้างถนนยางมะตอย
ภายในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
จากการทดสอบพบว่าคุณสมบัติของพลาสติก
ช่วยให้ถนนแข็งแรงและต้านทานการกัดเซาะของน้ำได้ดียิ่งขึ้น
ถือเป็นการสร้างคุณค่าให้กับพลาสติกใช้แล้ว
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน



เรื่องเดิม












แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่