จีนตีกลับขยะรีไซเคิลของสหรัฐอเมริกา

เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจีนได้ปฏิเสธการนำเข้า
ของต้องสงสัยว่าเป็นเศษขยะจากสหรัฐจำนวน 469 ตัน
จากการนำเข้าสิ่งของต้องห้ามและให้ตีกลับไปยังสหรัฐอเมริกา
ตามรายงานข่าวของสำนักข่าว Xinhua

ผู้ตรวจการนคร Hangzhou หางโจว
เมืองหลวงของมณฑล Zhejiang เจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน กล่าวเพิ่มเติมว่า
" พบว่ามีการจัดส่งสินค้าต่าง ๆ ที่ประกอบด้วย
เศษกระดาษ เศษชิ้นส่วนโลหะ และขวดที่ใช้แล้วทิ้ง
ซึ่งเป็นการขนส่งขยะประเภทของต้องห้ามโดยรัฐบาลปักกิ่ง  "

ตั้งแต่ช่วงปลายปีพ. ศ. 2560
จีนได้สั่งห้ามการนำเข้าขยะมูลฝอย 24 ชนิดเข้ามาในประเทศ
โดยทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์กับมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งที่ก่อนหน้านี้จีน คือ ผู้นำเข้าขยะรีไซเคิลจากทั่วโลก
รวมทั้งจากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

จีนยังเป็นประเทศที่ใช้ขยะรีไซเคิลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของโลก
ที่มักจะเป็นวัตถุดิบประเภทพลาสติก กระดาษ และเศษโลหะที่เป็นของเสีย
เฉพาะในปีพ. ศ. 2560 สหรัฐอเมริกาต้องจ่ายเงินมากกว่า
5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อรีไซเคิลขยะจำนวนกว่า 16 ล้านตัน

" ขยะสกปรกจำนวนมาก หรือแม้แต่ของเสียที่เป็นอันตราย
มักจะผสมอยู่ในขยะมูลฝอยที่สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบได้
สิ่งเหล่านี้เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมของจีนอย่างแท้จริง  "
รัฐบาลปักกิ่งได้กล่าวถึงและอธิบายเพิ่มเติม
ถึงการตัดสินใจดังกล่าวกับองค์การการค้าโลก

เมื่อตอนที่เศรษฐกิจของจีนยังมีขนาดเล็ก(กำลังพัฒนา)
สำหรับประเทศที่มีแรงงานเหลือเฟือ และค่าแรงราคาถูก
ในการรีไซเคิลขยะมากกว่าที่จะผลิตวัสดุเหล่านี้ขึ้นมาใหม่
แต่ในตอนนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตขึ้นอย่างมากแล้ว
การแปรรูปขยะกลับกลายเป็นผลเสียและก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า

มีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า
หลังจากที่จีนห้ามนำเข้าของเสียจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา จะยิ่งมีปัญหาในเรื่องการกำจัดขยะ
Steve Frank จาก Pioneer Recycling ใน Portland รัฐ Oregon ให้สัมภาษณ์กับ NPR
" พื้นที่ที่เหลือของโลกไม่สามารถรองรับขยะเหล่านี้ได้ "




ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศยุทธ์ศาสตร์
การรีไซเคิลพลาสติกเป็นครั้งแรกในยุโรป
ทั้งนี้เป็นผลจากการห้ามนำเข้าของเสีย
จากประเทศตะวันออกโดยเฉพาะประเทศจีน
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้แถลงข่าวว่า

" บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดในตลาดยุโรป
จะต้องสามารถรีไซเคิลได้ภายในปีพ.ศ. 2573
การบริโภคพลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียวจะต้องลดลง
และการใช้งานพลาสติกชีวภาพ(ย่อยสลายได้) จะถูกนำมาทดแทน " 

โดยจะสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติมจำนวน 100 ล้านยูโร (122.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)
เพื่อจัดหาเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ
และเพื่อเพิ่มนวัตกรรมในการรีไซเคิลขยะพลาสติก

การผลิตพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960
มีการประมาณการกันว่า ทุก ๆ ปีชาวยุโรปผลิตขยะพลาสติกจำนวนมากกว่า 25 ล้านตัน
ซึ่งมีการนำไปรีไซเคิลน้อยกว่า 30%
(70% ส่งต่อไปประเทศด้อยพัฒนา
และบางส่วนทิ้งไปจนไปจบลงที่ทะเล)

"  ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีการที่เราผลิตและใช้พลาสติก
จะมีพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาในมหาสมุทรภายในปีพ. ศ. 2593
เราต้องหยุดการผลิตพลาสติก ที่จะเข้าไปปนเปื้อนในน้ำ/อาหารของเรา
และแม้แต่ภายในร่างกายของเรา

นอกจากนี้เรายังต้องการที่จะจำกัด
การใช้พลาสติกขนาดเล็กที่ใส่ไว้ในเครื่องสำอางอย่างตั้งใจ
ดังนั้นพวกมันอนุภาคขยะพลาสติค จึงไม่ต้องจบลงในทะเล
และในที่สุดก็กลายเป็นห่วงโซ่อาหารของเรา "
Frans Timmermans รองประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลปักกิ่ง
ได้สั่งห้ามนำเข้าของเสียจำนวน 24 ชนิดจากประเทศตะวันตก
และกล่าวหาว่า สหรัฐฯและประเทศในสหภาพยุโรป
ไม่ทำตามกฎบัตรมาตรฐานเรื่องการกำจัดขยะ
และได้แจ้งให้องค์การการค้าโลกทราบว่า
มาตรการห้ามนำเข้าขยะของทางการจีนว่า

" ขยะมูลฝอยจำนวนมาก หรือของเสีย
มักจะมีอันตรายแฝงรวมอยู่ในขยะมูลฝอย
ที่สามารถนำไปใช้(Recycle) เป็นวัตถุดิบได้
แต่สิ่งเหล่านี้เป็นมลพิษอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมของจีน "

สหราชอาณาจักร(อังกฤษ) ส่งออกขยะพลาสติกกว่า 2.7 ล้านตัน
ไปยังจีนแผ่นดินใหญ่และโรงงานรีไซเคิลในฮ่องกง ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลส่วนหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกาได้ส่งออกขยะมากกว่าหนึ่งล้านตัน มูลค่า 495 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนประเทศในสหภาพยุโรปส่งออกขยะพลาสติคถึง 87% ไปยังประเทศจีน

เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2GQXvP0
http://bit.ly/2EEzy7D






แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่