เทคนิคการตั้ง KPI สำหรับฝ่ายบุคคล

เทคนิคการตั้ง KPI สำหรับฝ่ายบุคคล

สวัสดีครับ วันนี้มาตามสัญญาในการมาแชร์ความรู้ดีๆ สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในฝ่ายบุคคลโดยเฉพาะนะครับ

ฝ่ายบุคคลนั้นถือเป็นหัวใจหลักดวงนึงของการทำงาน เพราะการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ความเพียงพอ ความรู้ความสามารถ และขวัญกำลังใจของพนักงานถือว่าเป็นประเด็นหลักขององค์กร สมัยใหม่

คงไม่มีใครอยากเปลี่ยนเพื่อนร่วมงานกันทุกอาทิตย์
คงไม่มีใครอยากรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
คงไม่มีใครอยากทำงานโดยที่ไม่มีเพื่อนร่วมงานที่เพียงพอต่อการปฎิบัติงาน

ดังนั้นในระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพขององค์กร ฝ่ายบุคคลนั้นเป็นสายงานที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ

ด้วยความหลากหลายของแต่ละองค์กร หลักที่จะนำมาแชร์ความรู้ผมจะใช้ข้อกำหนดของมาตราฐานอย่าง ISO9001:2015 ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพเข้ามาเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจนะครับ

ก่อนอื่นเลย เราต้องเข้าใจก่อนว่าขอบเขตหน้าที่การทำงานของฝ่ายบุคคลนั้นเริ่มจากตรงไหน ไปถึงตรงไหน โดยปรกติแล้วขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายบุคคลจะมีเบื้องต้นตั้งแต่ การวางแผนกำลังบุคลากร, การสรรหา ว่าจ้าง, การฝึกอบรม, การสร้างความเข้มแข็งและความสัมพันธ์ในองค์กรและการรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้อยู่กับองค์กรเป็นต้น

ดังนั้นถ้าเรามองถึงขอบเขตหน้าที่งานที่ได้กล่าวมา KPI ของฝ่ายบุคคลก็อาจที่จะเป็นดังต่อไปนี้

สามารถสรรหาบุคลากรทดแทนตามระยะเวลาที่กำหนดได้ 100%
ฝึกอบรมพนักงานใหม่ก่อนเริ่มงานตามแผน 100%
จัดการการฝึกอบรมพนักงานตามแผนประจำปี 100%
อัตราการลาออกของพนักงานต้องไม่เกิน 1 คนต่อเดือน

โดยปรกติแล้วถ้าพึ่งเริ่มที่จะนำการวัดผลโดยใช้ KPI เข้ามา ผมจะแนะนำให้มี KPI ไม่ต้องเยอะก่อน เพื่อให้เราคุ้นชินกับ ไม่ว่าการเก็บข้อมูล การสรุปข้อมูลที่ได้มา การจัดทำสรุป การรายงานผล และการหาวิธีการป้องกันและปรับปรุงในกรณีที่ KPI ไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

โดยการทำ KPI นั้นไม่ใช่ว่าจะทำแล้วจบกันไป เพราะถ้าเราปรับใช้หลักการ PDCA จะเห็นว่าขั้นตอนการบริหารจัดการ KPI นั้นจะมีดังต่อไปนี้

วิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อวาง KPI
สรุป KPI ที่ต้องการตั้ง
สรุปวิธีการวัดผล และวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาสรุป KPI
สื่อสาร KPI ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพนักงานเข้าใจ
วิเคราะห์ วัดผล และสรุป KPI ตามที่ตั้งไว้
ในกรณีที่ KPI ไม่ได้ตามเป้า ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และหาแนวทางปรับปรุง

ซึ่งตัวอย่างข้างต้นนั้นเป็นแค่การตั้ง KPI แบบกว้างๆ เท่านั้น ถ้านำไปใช้จริงคงต้องปรับให้เหมาะสมกับองค์กรด้วยครับ

Skill Hat Thailand
https://www.facebook.com/qualityeasy/photos/a.189362151561938/369125870252231/?type=3&theater
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่