ภาพจำของอัศวินที่มีอยู่ในสมองของพวกเรานั้นก็แน่นอนว่าเป็นภาพชายในชุดเกราะเหล็ก ขี่ม้า ถือดาบ ทวนยาว หรือบางรายก็เป็นลูกตุ้มเหล็ก ออกสู้รบเพื่อผดุงคุณธรรม หรือไม่ก็รบเพื่อกษัตริย์ เพื่อศาสนา หรือบางทีก็เพื่อหญิงสาวเลอโฉม หลายๆท่านก็คงสงสัยถึงเรื่องของชุดเกราะที่เหล่าอัศวินสวมใส่ว่ามันจะป้องกันอันตรายได้ดีขนาดไหน
การจะเป็นอัศวินได้นั้นไม่ง่ายเลยครับ ก่อนเริ่มจะเป็นอัศวินก็ต้องเป็นเบ๊ธรรมดา และขยันจนได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยอัศวิน ซึ่งต้องทำหน้าที่ช่วยเหลืออัศวิน เช่น ในขณะทำการรบ หรือการฝึกก็ตาม หากตัวของอัศวินต้องมีอันเป็นต้องหลุดร่วงลงมาทั้งๆที่สวมเกราะจากหลังม้า ซึ่งแน่ละจากความหนักอึ้งของเกราะจะทำให้อัศวินต้องนอนนิ่งแผ่หราลุกไม่ขึ้น ต้องมีใครมาพยุงจึงจะลุกขึ้นได้ หน้าที่รับพยุงอัศวินนี่ก็นั่นแหละคือเป็นของผู้ช่วยคู่ใจที่จะต้องวิ่งมาช่วย มิให้อัศวินนอนเจ็บอยู่อย่างนั้น และเมื่อผู้ช่วยเก่งขึ้นๆจนกระทั่งได้รับตำแหน่งอัศวินขึ้นมาบ้าง (ซึ่งได้ยากมากๆ ) ก็จะมีความสบายขึ้นบ้างละ
แล้วอัศวินนั้น มีเครื่องแต่งกายอย่างใดบ้าง? สิ่งสำคัญอันอาจนับได้ว่าเป็นของเฉพาะของอัศวินก็คือ อาวุธและเสื้อเกราะ หรือชุดเกราะเหล็ก (Armor) นั่นเอง ตัวอัศวินจะต้องสั่งทำชุดเกราะจากช่างทำชุดเกราะ ซึ่งจะต้องมีความพอดีและสวยงามถูกใจของอัศวินผู้นั้น บรรดาอัศวินในอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน จะนิยมสั่งไปยังผู้ชำนาญการทำเกราะของเมืองโทเลโด (Toledo) ในสเปน ซึ่งจะทำเกราะส่งมาให้ พร้อมกับอาวุธซึ่ง มีขนาดและชนิดตามความ ต้องการ ชุดเกราะจะต้องมี ความพอดีกับร่างกายและสามารถคุ้มกันเนื้อหนังภายในจากอาวุธได้ดี
ชุดเกราะของอัศวินและม้าศึก.
แต่ถ้าอัศวินอังกฤษ หรือฝรั่งเศส เกิดการรบกับสเปนขึ้นมาล่ะ จะสั่งชุดเกราะจากศัตรูคงไม่ได้แน่ บรรดาอัศวินก็จะหันไปสั่งอาวุธและชุดเกราะจากเมืองมิลานในอิตาลีแทน ซึ่งกล่าวกันว่า แม้จะสู้ชุดเกราะที่ทำโดยช่างทำเกราะของสเปนไม่ได้ แต่ชุดเกราะที่สั่งทำจากอิตาลีก็งดงามคงทน และอาจซื้อเอาได้เลยถ้าอัศวินท่านนั้นต้องการใช้เร็ว เพราะชุดเกราะของอิตาลีมีขนาดต่างๆที่ค่อนข้างพอดีกับร่างกายให้เลือก เหมือนกับอาวุธที่อัศวินต้องการก็มีให้ซื้อแบบสำเร็จได้เลย
ช่างทำเกราะของทั้งสองชาติจะทำเกราะที่มีตราเครื่องหมายของอัศวินได้ดีมาก ต่อมาหลังจากศตวรรษที่ 13 เยอรมันได้เริ่มทำเกราะขึ้นบ้าง โดยมีโรงงานทำชุดเกราะอยู่ที่เมืองพัสเซา (Passau) โดยมีช่างเยอรมันที่เคย ทำเกราะมาบ้างตั้งแต่ศตวรรษก่อนๆ สืบต่อกันมาและเรียนรู้วิธีทำชุดเกราะของต่างชาติมาบ้าง มาเป็นผู้ดำเนินการ และได้พัฒนาการทำเกราะและอาวุธมาเรื่อยๆ
เหล่าอัศวินในชุดเกราะ.
ในการทำเกราะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ รองเท้าของชุดเกราะ อันเป็นรองเท้าเหล็กซึ่งต้องทำให้เข้ารูปตามรอยเท้าที่ส่งไป โดยให้กัดเท้าอัศวินน้อยที่สุด ไม่งั้นอัศวินยามออกศึกอาจจะต้องถอดรองเท้าของชุดเกราะทิ้ง เพราะรองเท้าเหล็กทำอย่างไรมันก็นุ่มขึ้นไม่ได้แบบรองเท้าหนัง แต่ถ้าไม่ใส่รองเท้า ก็อาจถูกฟันเท้าขาด กลายเป็นอัศวินด้วนเสียชื่อหมด
ดังนั้น ช่างทำเกราะในยุคกลางจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในรูปแบบขนาดและทรวดทรงของรองเท้า ชุดเกราะที่อยู่ในสมัยนิยมขณะนั้น ซึ่งในระหว่างศตวรรษที่ 14-15 รองเท้าของชุด เกราะอาจมีหัวรองเท้าแหลมยาวหรือเป็นห่วงถักโปร่งก็ได้ ข้อสำคัญของช่างทำเสื้อเกราะก็คือต้องทำชุดเกราะให้ใส่แล้วมีความสะดวกคล่องตัว ทำอะไรได้อย่างอิสระ ตั้งแต่หมวกเกราะ เสื้อเกราะ ลงมาจนถึงรองเท้า
ฉลองพระองค์ชุดเกราะของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2.
มิใช่แต่เท่านั้น อัศวินอาจมีสุนัขคู่ใจสำหรับส่งข่าวสาร ซึ่งจะต้องให้มันมีเสื้อเกราะด้วยนี่ก็เป็นภาระของช่างทำเกราะอีกอย่างหนึ่ง ตลอดไปจนถึงทำเกราะสำหรับสวมให้ม้าที่อัศวินขี่อีกด้วย ซึ่งในศตวรรษที่ 16 บรรดาม้าที่อัศวินขี่ส่วนใหญ่จะต้องมีเกราะสวมใส่ป้องกันอาวุธในขณะทำการรบอีกด้วย อัศวินบางคนจะมีม้าที่สวมเกราะที่ออกแบบเฉพาะปกคลุมตลอดตัว เว้นแต่ตอนกลางตัวซึ่งมีอานโผล่ขึ้นมาสำหรับให้อัศวินนั่งขี่มันไป
ลูกตุ้มหนามคู่ปรับของชุดเกราะ.
จึงไม่น่าแปลกใจที่ในขณะรบ บรรดาอัศวินและม้าคู่ใจจะเต็มไปด้วยเกราะดูเทอะทะไปทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนที่จะเข้าทำการรบจะต้องมีการจัดเตรียม ระวังอันตรายที่หัวและแขน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ข้าศึกมีชัย และอาจทำให้ตนเองถึงแก่เสียชีวิตได้ เพราะอย่างน้อยถ้าถูกทำร้ายด้วยการทุบด้วยอาวุธหนักๆ
แม้จะมีเกราะก็อาจถึงกับจะทำให้กินอาหารไม่ได้ นอนก็ไม่สบายเพราะบาดเจ็บที่ศีรษะ อัศวินซึ่งโดนตีศีรษะด้วยอาวุธหนักอย่างเช่นลูกตุ้มหนาม จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดมาก เพราะแม้เกราะจะรองรับอาวุธไว้ได้ แต่ตัวหมวกเกราะนั่นแหละจะบุบเข้ามาบีบศีรษะจนต้องร้องครวญคราง ถ้าหลบทันก็อาจหลุดจากหลังม้าไหลตกลงมานอนแผ่คอยรับอาวุธยาวที่จะแทงใส่ ในตอนนั้นบรรดาอัศวินทั้งหลายจะต้องนอนร้อง “ช่วยด้วย ช่วยด้วย” อยู่บนสนามรบเพราะลุกไม่ขึ้น ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้ช่วยคู่ใจของตนมาพยุงให้ลุกขึ้น ซึ่งในขณะนั้นผู้ช่วยจะต้องเตรียมตัวพร้อมอยู่แล้ว โดยรีบนำตัวอัศวินผู้นั้นไปให้พ้นจากที่รบ จะด้วยวิธีการใดก็ตามแต่ขอให้พ้นจากการเผชิญหน้ากับอัศวินฝ่ายตรงข้ามไว้ก็แล้วกัน
ลวดลายงดงามบนเกราะของอีริกที่ 14 แห่งสวีเดน.
เมื่อเห็นว่าหอบหิ้วกันมาจนพ้นภัยจากเหตุการณ์เฉพาะ หน้าได้แล้ว จึงจะดูว่าอัศวินนั้นบาดเจ็บด้วยอาวุธตรงที่ใด และถ้าเห็นว่าบาดเจ็บมาก จะต้องรีบพากลับมา ยังปราสาท และใช้เครื่องมือไขถอดชุดเกราะออกจากร่างของอัศวิน ซึ่งตั้งแต่ช่วยอัศวินให้พ้นมาจากเหตุการณ์อันเลวร้ายได้ ผู้ช่วยจะต้องรู้จักวิธีห้ามเลือดเสียก่อน เพราะในบางครั้งกว่าจะรู้ว่าโดนอาวุธข้าศึกเข้าที่ใดอัศวินก็จะเสียเลือดไปมาก ถ้าในกรณีที่รู้ว่ากระดูกหักจะต้องทำการรักษาโดยด่วน โดยรีบถอดเกราะส่วนนั้นออกเสียก่อน
ชุดเกราะสำหรับสุนัขของอัศวิน.
ดังนั้น การสู้รบในสมัยกลางของยุโรป บรรดาอัศวินทั้งหลายในยุโรปจึงน้อยนักที่จะมีโอกาสนอนตายบนเตียง เพราะโดยมากมักจะ “ตายอย่างอัศวินในสนามรบ” ตามอาชีพของตน บรรดาผู้ครองอำนาจในยุโรปมักจะต้องมีอัศวินเอาไว้อารักขาตัวเองอยู่แล้ว โดยเจ้าผู้ครองอำนาจในส่วนกลางจะต้องจ้างอัศวินเอาไว้คุ้มครองชาวนาในที่ดินที่ตนปกครองอยู่ บรรดาอัศวินเองก็จะมีอาณาเขตเล็กๆเป็นของตัวเอง มีอิสรภาพและอำนาจเต็มที่ในอาณาจักรน้อยๆนี้ แต่จะต้องดูแลความปลอดภัยถ้ามีใครมาโจมตีปราสาทที่อยู่ของเจ้านายตัว หรือรุกล้ำอาณาเขตของเจ้านายเข้ามา
ชุดเกราะฝีมือช่างอิตาลี.
อัศวินทั้งหลายรู้ดีว่า โอกาสตายในสนามรบเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ถ้าหากเจ้านายของตนชอบทำสงครามเพื่อขยายพื้นที่ ดังนั้น บรรดาอัศวินทั้งหลายจึงต้องจำต้องมีอัศวินน้อยเอาไว้รับช่วงแทนต่อไป และจะต้องหัดให้เข้าต่อสู้ในสงครามขนาดย่อยอยู่เสมอตั้งแต่ได้รับตำแหน่งอัศวิน เพื่อที่จะได้รู้จักคบหาเป็นพันธมิตรกับอัศวินอื่นๆ จะได้รู้จักและให้อภัยต่อกันหากเกิดการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น ไม่ใช่ไม่เข้าใจกันแล้วก็ใส่อารมณ์และอาวุธเข้าหากัน จนต้องคว้าเสื้อเกราะมาใส่ทั้งที่มิใช่ยามสงครามแต่ประการใด.
โดย : ธนุกร
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน
ชุดเกราะของอัศวิน
ภาพจำของอัศวินที่มีอยู่ในสมองของพวกเรานั้นก็แน่นอนว่าเป็นภาพชายในชุดเกราะเหล็ก ขี่ม้า ถือดาบ ทวนยาว หรือบางรายก็เป็นลูกตุ้มเหล็ก ออกสู้รบเพื่อผดุงคุณธรรม หรือไม่ก็รบเพื่อกษัตริย์ เพื่อศาสนา หรือบางทีก็เพื่อหญิงสาวเลอโฉม หลายๆท่านก็คงสงสัยถึงเรื่องของชุดเกราะที่เหล่าอัศวินสวมใส่ว่ามันจะป้องกันอันตรายได้ดีขนาดไหน
การจะเป็นอัศวินได้นั้นไม่ง่ายเลยครับ ก่อนเริ่มจะเป็นอัศวินก็ต้องเป็นเบ๊ธรรมดา และขยันจนได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยอัศวิน ซึ่งต้องทำหน้าที่ช่วยเหลืออัศวิน เช่น ในขณะทำการรบ หรือการฝึกก็ตาม หากตัวของอัศวินต้องมีอันเป็นต้องหลุดร่วงลงมาทั้งๆที่สวมเกราะจากหลังม้า ซึ่งแน่ละจากความหนักอึ้งของเกราะจะทำให้อัศวินต้องนอนนิ่งแผ่หราลุกไม่ขึ้น ต้องมีใครมาพยุงจึงจะลุกขึ้นได้ หน้าที่รับพยุงอัศวินนี่ก็นั่นแหละคือเป็นของผู้ช่วยคู่ใจที่จะต้องวิ่งมาช่วย มิให้อัศวินนอนเจ็บอยู่อย่างนั้น และเมื่อผู้ช่วยเก่งขึ้นๆจนกระทั่งได้รับตำแหน่งอัศวินขึ้นมาบ้าง (ซึ่งได้ยากมากๆ ) ก็จะมีความสบายขึ้นบ้างละ
แล้วอัศวินนั้น มีเครื่องแต่งกายอย่างใดบ้าง? สิ่งสำคัญอันอาจนับได้ว่าเป็นของเฉพาะของอัศวินก็คือ อาวุธและเสื้อเกราะ หรือชุดเกราะเหล็ก (Armor) นั่นเอง ตัวอัศวินจะต้องสั่งทำชุดเกราะจากช่างทำชุดเกราะ ซึ่งจะต้องมีความพอดีและสวยงามถูกใจของอัศวินผู้นั้น บรรดาอัศวินในอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน จะนิยมสั่งไปยังผู้ชำนาญการทำเกราะของเมืองโทเลโด (Toledo) ในสเปน ซึ่งจะทำเกราะส่งมาให้ พร้อมกับอาวุธซึ่ง มีขนาดและชนิดตามความ ต้องการ ชุดเกราะจะต้องมี ความพอดีกับร่างกายและสามารถคุ้มกันเนื้อหนังภายในจากอาวุธได้ดี
ชุดเกราะของอัศวินและม้าศึก.
แต่ถ้าอัศวินอังกฤษ หรือฝรั่งเศส เกิดการรบกับสเปนขึ้นมาล่ะ จะสั่งชุดเกราะจากศัตรูคงไม่ได้แน่ บรรดาอัศวินก็จะหันไปสั่งอาวุธและชุดเกราะจากเมืองมิลานในอิตาลีแทน ซึ่งกล่าวกันว่า แม้จะสู้ชุดเกราะที่ทำโดยช่างทำเกราะของสเปนไม่ได้ แต่ชุดเกราะที่สั่งทำจากอิตาลีก็งดงามคงทน และอาจซื้อเอาได้เลยถ้าอัศวินท่านนั้นต้องการใช้เร็ว เพราะชุดเกราะของอิตาลีมีขนาดต่างๆที่ค่อนข้างพอดีกับร่างกายให้เลือก เหมือนกับอาวุธที่อัศวินต้องการก็มีให้ซื้อแบบสำเร็จได้เลย
ช่างทำเกราะของทั้งสองชาติจะทำเกราะที่มีตราเครื่องหมายของอัศวินได้ดีมาก ต่อมาหลังจากศตวรรษที่ 13 เยอรมันได้เริ่มทำเกราะขึ้นบ้าง โดยมีโรงงานทำชุดเกราะอยู่ที่เมืองพัสเซา (Passau) โดยมีช่างเยอรมันที่เคย ทำเกราะมาบ้างตั้งแต่ศตวรรษก่อนๆ สืบต่อกันมาและเรียนรู้วิธีทำชุดเกราะของต่างชาติมาบ้าง มาเป็นผู้ดำเนินการ และได้พัฒนาการทำเกราะและอาวุธมาเรื่อยๆ
เหล่าอัศวินในชุดเกราะ.
ในการทำเกราะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ รองเท้าของชุดเกราะ อันเป็นรองเท้าเหล็กซึ่งต้องทำให้เข้ารูปตามรอยเท้าที่ส่งไป โดยให้กัดเท้าอัศวินน้อยที่สุด ไม่งั้นอัศวินยามออกศึกอาจจะต้องถอดรองเท้าของชุดเกราะทิ้ง เพราะรองเท้าเหล็กทำอย่างไรมันก็นุ่มขึ้นไม่ได้แบบรองเท้าหนัง แต่ถ้าไม่ใส่รองเท้า ก็อาจถูกฟันเท้าขาด กลายเป็นอัศวินด้วนเสียชื่อหมด
ดังนั้น ช่างทำเกราะในยุคกลางจึงต้องมีความเชี่ยวชาญในรูปแบบขนาดและทรวดทรงของรองเท้า ชุดเกราะที่อยู่ในสมัยนิยมขณะนั้น ซึ่งในระหว่างศตวรรษที่ 14-15 รองเท้าของชุด เกราะอาจมีหัวรองเท้าแหลมยาวหรือเป็นห่วงถักโปร่งก็ได้ ข้อสำคัญของช่างทำเสื้อเกราะก็คือต้องทำชุดเกราะให้ใส่แล้วมีความสะดวกคล่องตัว ทำอะไรได้อย่างอิสระ ตั้งแต่หมวกเกราะ เสื้อเกราะ ลงมาจนถึงรองเท้า
ฉลองพระองค์ชุดเกราะของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2.
มิใช่แต่เท่านั้น อัศวินอาจมีสุนัขคู่ใจสำหรับส่งข่าวสาร ซึ่งจะต้องให้มันมีเสื้อเกราะด้วยนี่ก็เป็นภาระของช่างทำเกราะอีกอย่างหนึ่ง ตลอดไปจนถึงทำเกราะสำหรับสวมให้ม้าที่อัศวินขี่อีกด้วย ซึ่งในศตวรรษที่ 16 บรรดาม้าที่อัศวินขี่ส่วนใหญ่จะต้องมีเกราะสวมใส่ป้องกันอาวุธในขณะทำการรบอีกด้วย อัศวินบางคนจะมีม้าที่สวมเกราะที่ออกแบบเฉพาะปกคลุมตลอดตัว เว้นแต่ตอนกลางตัวซึ่งมีอานโผล่ขึ้นมาสำหรับให้อัศวินนั่งขี่มันไป
ลูกตุ้มหนามคู่ปรับของชุดเกราะ.
จึงไม่น่าแปลกใจที่ในขณะรบ บรรดาอัศวินและม้าคู่ใจจะเต็มไปด้วยเกราะดูเทอะทะไปทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนที่จะเข้าทำการรบจะต้องมีการจัดเตรียม ระวังอันตรายที่หัวและแขน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ข้าศึกมีชัย และอาจทำให้ตนเองถึงแก่เสียชีวิตได้ เพราะอย่างน้อยถ้าถูกทำร้ายด้วยการทุบด้วยอาวุธหนักๆ
แม้จะมีเกราะก็อาจถึงกับจะทำให้กินอาหารไม่ได้ นอนก็ไม่สบายเพราะบาดเจ็บที่ศีรษะ อัศวินซึ่งโดนตีศีรษะด้วยอาวุธหนักอย่างเช่นลูกตุ้มหนาม จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดมาก เพราะแม้เกราะจะรองรับอาวุธไว้ได้ แต่ตัวหมวกเกราะนั่นแหละจะบุบเข้ามาบีบศีรษะจนต้องร้องครวญคราง ถ้าหลบทันก็อาจหลุดจากหลังม้าไหลตกลงมานอนแผ่คอยรับอาวุธยาวที่จะแทงใส่ ในตอนนั้นบรรดาอัศวินทั้งหลายจะต้องนอนร้อง “ช่วยด้วย ช่วยด้วย” อยู่บนสนามรบเพราะลุกไม่ขึ้น ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้ช่วยคู่ใจของตนมาพยุงให้ลุกขึ้น ซึ่งในขณะนั้นผู้ช่วยจะต้องเตรียมตัวพร้อมอยู่แล้ว โดยรีบนำตัวอัศวินผู้นั้นไปให้พ้นจากที่รบ จะด้วยวิธีการใดก็ตามแต่ขอให้พ้นจากการเผชิญหน้ากับอัศวินฝ่ายตรงข้ามไว้ก็แล้วกัน
ลวดลายงดงามบนเกราะของอีริกที่ 14 แห่งสวีเดน.
เมื่อเห็นว่าหอบหิ้วกันมาจนพ้นภัยจากเหตุการณ์เฉพาะ หน้าได้แล้ว จึงจะดูว่าอัศวินนั้นบาดเจ็บด้วยอาวุธตรงที่ใด และถ้าเห็นว่าบาดเจ็บมาก จะต้องรีบพากลับมา ยังปราสาท และใช้เครื่องมือไขถอดชุดเกราะออกจากร่างของอัศวิน ซึ่งตั้งแต่ช่วยอัศวินให้พ้นมาจากเหตุการณ์อันเลวร้ายได้ ผู้ช่วยจะต้องรู้จักวิธีห้ามเลือดเสียก่อน เพราะในบางครั้งกว่าจะรู้ว่าโดนอาวุธข้าศึกเข้าที่ใดอัศวินก็จะเสียเลือดไปมาก ถ้าในกรณีที่รู้ว่ากระดูกหักจะต้องทำการรักษาโดยด่วน โดยรีบถอดเกราะส่วนนั้นออกเสียก่อน
ชุดเกราะสำหรับสุนัขของอัศวิน.
ดังนั้น การสู้รบในสมัยกลางของยุโรป บรรดาอัศวินทั้งหลายในยุโรปจึงน้อยนักที่จะมีโอกาสนอนตายบนเตียง เพราะโดยมากมักจะ “ตายอย่างอัศวินในสนามรบ” ตามอาชีพของตน บรรดาผู้ครองอำนาจในยุโรปมักจะต้องมีอัศวินเอาไว้อารักขาตัวเองอยู่แล้ว โดยเจ้าผู้ครองอำนาจในส่วนกลางจะต้องจ้างอัศวินเอาไว้คุ้มครองชาวนาในที่ดินที่ตนปกครองอยู่ บรรดาอัศวินเองก็จะมีอาณาเขตเล็กๆเป็นของตัวเอง มีอิสรภาพและอำนาจเต็มที่ในอาณาจักรน้อยๆนี้ แต่จะต้องดูแลความปลอดภัยถ้ามีใครมาโจมตีปราสาทที่อยู่ของเจ้านายตัว หรือรุกล้ำอาณาเขตของเจ้านายเข้ามา
ชุดเกราะฝีมือช่างอิตาลี.
อัศวินทั้งหลายรู้ดีว่า โอกาสตายในสนามรบเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ถ้าหากเจ้านายของตนชอบทำสงครามเพื่อขยายพื้นที่ ดังนั้น บรรดาอัศวินทั้งหลายจึงต้องจำต้องมีอัศวินน้อยเอาไว้รับช่วงแทนต่อไป และจะต้องหัดให้เข้าต่อสู้ในสงครามขนาดย่อยอยู่เสมอตั้งแต่ได้รับตำแหน่งอัศวิน เพื่อที่จะได้รู้จักคบหาเป็นพันธมิตรกับอัศวินอื่นๆ จะได้รู้จักและให้อภัยต่อกันหากเกิดการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น ไม่ใช่ไม่เข้าใจกันแล้วก็ใส่อารมณ์และอาวุธเข้าหากัน จนต้องคว้าเสื้อเกราะมาใส่ทั้งที่มิใช่ยามสงครามแต่ประการใด.
โดย : ธนุกร
ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน