คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ก่อนที่พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และพระเจ้าบุเรงนองจะขึ้นมามีอำนาจ เจ้าฟ้าไทใหญ่ในรัฐฉานมีอิทธิพลมากจนรวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐภายใต้การนำของเจ้าหลงแห่งเมืองยาง (မိုးညှင်းစလုံ) ขยายอำนาจลงมาพิชิตดินแดนพม่าตอนบนทั้งหมดรวมถึงกรุงอังวะไว้ในอำนาจได้ใน พ.ศ. ๒๐๗๐ ทำให้อาณาจักรอังวะโบราณล่มสลาย เจ้าหลงตั้งโอรสคือเสือหาญฟ้า (သိုဟန်ဘွား) ปกครองอังวะแทน ไทใหญ่ปกครองดินแดนพม่าตอนบนยาวนานถึง ๓๐ ปี เมืองใหญ่น้อยที่เคยอยู่ใต้อำนาจของอังวะเช่น แปร และ ตองอู ต่างก็แยกตนเป็นอิสระ
ตองอูนั้นเป็นดินแดนหลักของชาวพม่าเป็นที่เป็นอิสระ (ส่วนเมืองแปรอยู่ข้างไทใหญ่ และเกี่ยวดองกับมอญด้วย) จึงเริ่มขยายอำนาจมากขึ้น ตองอูตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของพม่า มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ มีเทือกเขาขนาบและถูกโอบด้วยสันดอนทราย และไม่ได้เป็นแหล่งชลประทานสำคัญของพม่าอย่างที่ราบลุ่มในลุ่มแม่น้ำอิรวดีทำให้แห้งแล้งยากต่อการเพาะปลูก ภาคเหนือของตองอูก็ตกอยู่ใต้อำนาจของไทใหญ่ ทางตะวันตกก็มีเมืองแปรที่เป็นพันธมิตรกับมอญในเวลานั้น ทางใต้ก็อยู่ในอำนาจมอญ ด้วยสภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ตองอูถูกล้อมจากรัฐอื่นๆ โดยรอบ และไม่มีทางออกทางทะเล ตองอูจึงต้องขยับขยายอาณาเขตเพื่อความอยู่รอด
เวลานั้น รามัญเทศะหรือหัวเมืองมอญทางภาคใต้ของพม่ามีเมืองท่าติดทะเลหลายแห่งที่ดึงดูดชาวต่างประเทศเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งก็นำอาวุธยุทโธปกรณ์และวิทยาการจากตะวันตกเข้ามามากตามไปด้วย มีพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์สะดวกต่อการเพาะปลูก ทำให้พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ทรงตัดสินพระทัยขยายอำนาจลงใต้เพื่อครอบครองหัวเมืองมอญทั้งหมดไว้ในอำนาจ
สันนิษฐานว่าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้จะทรงประเมินแล้วว่าตองอูในเวลานั้นยังมีไม่ศักยภาพมากพอจะเอาชนะไทใหญ่ทางเหนือได้ จึงทรงขยายอำนาจลงไปรามัญเทศะเพื่อสะสมฐานกำลังให้เข้มแข็งก่อน หลังจากนั้นจึงทรงขยายอำนาจไปยังไทใหญ่ต่อไป ทั้งนี้รามัญเทศะในเวลานั้นไม่ได้มีความเข้มแข็งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเจ้าหงสาวดีตะการุตปิ (တကာရွတ်ပိ) ค่อนข้างอ่อนแอขาดปรีชาสามารถ ไม่เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป โดยเฉพาะกับเมืองเมาะตะมะมีเจ้าพญา (စောဗညား) หรือสอพินยา ซึ่งเป็นพี่เขยครองอำนาจอยู่เป็นอิสระจากหงสาวดีไม่ต่างจากกษัตริย์องค์หนึ่งโดยหงสาวดีคุมไม่ได้ และพระเจ้าหงสาวดีก็ไม่ได้ทรงไว้พระทัย
ด้วยเหตุนี้เมื่อพิชิตกรุงหงสาวดีของชาวมอญได้แล้ว พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้จึงทรงย้ายศูนย์กลางการปกครองของพระองค์มาอยู่ที่หงสาวดีแทน สืบทอดมาจนถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนองที่ใช้หงสาวดีเป็นฐานกำลังขยายอำนาจจนสร้างจักรวรรดิจนยิ่งใหญ่ได้ครับ
ตองอูนั้นเป็นดินแดนหลักของชาวพม่าเป็นที่เป็นอิสระ (ส่วนเมืองแปรอยู่ข้างไทใหญ่ และเกี่ยวดองกับมอญด้วย) จึงเริ่มขยายอำนาจมากขึ้น ตองอูตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของพม่า มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ มีเทือกเขาขนาบและถูกโอบด้วยสันดอนทราย และไม่ได้เป็นแหล่งชลประทานสำคัญของพม่าอย่างที่ราบลุ่มในลุ่มแม่น้ำอิรวดีทำให้แห้งแล้งยากต่อการเพาะปลูก ภาคเหนือของตองอูก็ตกอยู่ใต้อำนาจของไทใหญ่ ทางตะวันตกก็มีเมืองแปรที่เป็นพันธมิตรกับมอญในเวลานั้น ทางใต้ก็อยู่ในอำนาจมอญ ด้วยสภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ตองอูถูกล้อมจากรัฐอื่นๆ โดยรอบ และไม่มีทางออกทางทะเล ตองอูจึงต้องขยับขยายอาณาเขตเพื่อความอยู่รอด
เวลานั้น รามัญเทศะหรือหัวเมืองมอญทางภาคใต้ของพม่ามีเมืองท่าติดทะเลหลายแห่งที่ดึงดูดชาวต่างประเทศเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งก็นำอาวุธยุทโธปกรณ์และวิทยาการจากตะวันตกเข้ามามากตามไปด้วย มีพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์สะดวกต่อการเพาะปลูก ทำให้พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ทรงตัดสินพระทัยขยายอำนาจลงใต้เพื่อครอบครองหัวเมืองมอญทั้งหมดไว้ในอำนาจ
สันนิษฐานว่าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้จะทรงประเมินแล้วว่าตองอูในเวลานั้นยังมีไม่ศักยภาพมากพอจะเอาชนะไทใหญ่ทางเหนือได้ จึงทรงขยายอำนาจลงไปรามัญเทศะเพื่อสะสมฐานกำลังให้เข้มแข็งก่อน หลังจากนั้นจึงทรงขยายอำนาจไปยังไทใหญ่ต่อไป ทั้งนี้รามัญเทศะในเวลานั้นไม่ได้มีความเข้มแข็งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเจ้าหงสาวดีตะการุตปิ (တကာရွတ်ပိ) ค่อนข้างอ่อนแอขาดปรีชาสามารถ ไม่เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป โดยเฉพาะกับเมืองเมาะตะมะมีเจ้าพญา (စောဗညား) หรือสอพินยา ซึ่งเป็นพี่เขยครองอำนาจอยู่เป็นอิสระจากหงสาวดีไม่ต่างจากกษัตริย์องค์หนึ่งโดยหงสาวดีคุมไม่ได้ และพระเจ้าหงสาวดีก็ไม่ได้ทรงไว้พระทัย
ด้วยเหตุนี้เมื่อพิชิตกรุงหงสาวดีของชาวมอญได้แล้ว พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้จึงทรงย้ายศูนย์กลางการปกครองของพระองค์มาอยู่ที่หงสาวดีแทน สืบทอดมาจนถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนองที่ใช้หงสาวดีเป็นฐานกำลังขยายอำนาจจนสร้างจักรวรรดิจนยิ่งใหญ่ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูไปหงสาวดีครับ