การให้เงินเดือนแบบให้เปล่ากับนาย A (มีพฤติกรรมก่อหนี้สิน) ทุกๆ เดือนจนกว่านาย A จะเสียชีวิต ทำได้ด้วยวิธีไหนบ้างครับ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ขออภัยในความไม่รู้ครับ ถ้าผมเข้าใจกระบวนการผิดขออภัยครับ

นาย ก สูงอายุมากแล้ว
นาย ก มีเงินในธนาคาร อสังหาฯ (บ้าน และที่ดิน) และธุรกิจเล็กๆ (ไม่ได้จดทะเบียนบริษัท)
นาย ก มีลูก คือ นาย A (เป็นโสด ไม่ได้แต่งงาน) กับ นาย B

นาย B แทบจะตรงกันข้ามกับ นาย A เพราะเป็นคนเอาการเอางาน พึ่งพาได้ ฯลฯ
นาย A มีพฤติกรรม ฟุ่มเฟือยมาก ก่อหนี้สิน ซึ่งพฤติกรรมนี้สาเหตุมาจากอาการส่วนหนึ่งจากโรคทางจิตเวช (ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หลายท่านแล้ว) ซึ่งนาย A ยังรักษาไม่หายขาด

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ทุกวันนี้ ในขณะที่นาย ก ยังมีชีวิตอยู่ สามารถควบคุมการเงินของนาย A ได้โดยการให้เป็นเงินเดือน
แต่ตอนนี้ นาย ก เริ่มสูงอายุขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มคิดว่าจะจัดการเรื่องทรัพย์สิน (มรดก) อย่างไร

ธุรกิจเล็กๆ นาย ก จะโอน (หรือเขียนพินัยกรรม) ให้นาย B รวมถึงเงินในธนาคาร และอสังหาฯ บางส่วน

แต่กรณีนาย A การโอนทรัพย์สิน (นาย ก ยังไม่เสียชีวิต) หรือ การให้เป็นมรดก (นาย ก เสียชีวิตแล้ว) ให้นาย A มีแนวโน้มสูงว่า

1. นาย A จะใช้เงินจนหมดในระยะเวลาไม่นาน
2. จากข้อ 1. นาย A จะนำอสังหาฯ ไปขายเพื่อเอาเงินมาใช้เงินจนหมด
3. จากข้อ 1. ถ้านาย A ไปก่อหนี้ (กู้ยืม) สุดท้ายก็โดนเจ้าหนี้ฟ้องยึดทรัพย์

นาย ก มองว่า จากวิธีตามข้อ 1-3 ไม่น่าจะเป็นวิธีที่ดี จึงคิดวิธีที่ 4
4. นาย ก จะยกทรัพย์สิน (มรดก) ให้นาย A โดยจะให้นาย B เป็นผู้จัดการมรดก แต่ก็ไม่ได้อีก เพราะ ถ้านาย A ไปก่อหนี้ก็จะโดนฟ้องยึดทรัพย์อยู่ดี (ตามข้อ 3)

จึงคิดวิธีที่ 5-6 ต่อ
5. โอนทรัพย์สินทุกอย่างให้นาย B โดยสั่งเสียฝากให้นาย B โอนเงินให้นาย A เป็นเงินเดือนทุกเดือน แต่วิธีนี้ หากวันใดวันนึงนาย B คิดไม่ซื่อ ก็สามารถโกงนาย A ได้

6. เอาธุรกิจที่ยกให้ B มาจดทะเบียนบริษัท แล้วผนวกทรัพย์สินส่วนของนาย A เข้าไปในบริษัท
จากนั้นให้หุ้นนาย A ส่วนหนึ่ง แต่วิธีนี้  ถ้านาย A ไปก่อหนี้ จะโดนฟ้องแล้วศาลสั่งยึดทรัพย์ของบริษัท จนทำให้ธุรกิจพังไหมครับ
ไม่งั้นก็จะล่มจมกันหมด นาย B ก็จะเดือดร้อนด้วย

รบกวนถามเพิ่มครับ
- ถ้าใช้วิธีจากข้อ 5 พอจะมีวิธีทำอย่างไรไม่ให้นาย B โกงนาย A ได้ไหมครับ (ตอนนี้ นาย ก สนใจข้อ 5 ที่สุดครับ)
- หรือมีวิธีอื่นไหมครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่