จากมาตรการช่วยเหลือธุรกิจในวงการทีวีดิจิทัล ด้วยคำสั่งม.44 ฉบับที่ 4/2562 พร้อมมาตรการช่วยเหลือ ทั้งการงดการจ่ายค่าใบอนุญาต ค่าเช่าโครงข่าย ค่าส่งเสริมทำทีวีเรตติ้ง จนกระทั่งถึงการให้ยกเลิกใบอนุญาต ที่มาพร้อมกับเงินชดเชยในการออกจากธุรกิจ ทำไปทำมา กำลังดูเหมือนว่า สูตรการคำนวณในการจ่ายเงินชดเชยให้กับช่อง มีแรงจูงใจที่มากพลังจนทำให้เจ้าของช่องหลายรายหันมาคิดอยากเลิกทำธุรกิจมากกว่า
ผลที่ตามมาคือแทนที่จะเป็นมาตรการเพื่อการเยียวยาวงการทีวีดิจิทัล ช่วยเหลือคนทั้งวงการอย่างจริงจัง
กลับเป็นจุดวกกลับอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมไปในวงกว้าง
จุดเริ่มต้นของการคืนช่อง เพื่อให้ช่องที่ประสบภาวะขาดทุน สายป่านสั้น มีโอกาสที่จะก้าวออกจากธุรกิจนี้ได้ เนื่องจากกติกาเดิมของการประมูล เมื่อประมูลแล้วจะออกไม่ได้จนกว่าจะจ่ายค่าประมูลใบอนุญาตหมด
แต่เมื่อมีส่วนของแถม “เงินชดเชย” เข้ามาเพิ่มเติม พร้อมเปิดโอกาสให้กสทช.คิดสูตรการจ่ายเงินค่าชดเชยทั้งหมดด้วย เมื่อ กสทช.คลอดสูตรการคำนวณออกมา กลับกลายเป็นว่า เงินชดเชยครั้งนี้ เป็นเงินก้อนใหญ่ที่ช่างหอมหวน ชวนให้เกิดพลังดึงดูดใจเจ้าของช่องให้อยาก exit จากธุรกิจนี้
2 ช่องเด็ก คาดได้เงินชดเชยช่องละ กว่า 200 ล้านบาท.
จากการประเมินคร่าวๆของนักวิเคราะห์ กลุ่มช่องในหมวดช่องเด็ก จะได้เงินชดเชยประมาณกว่า 200 ล้านบาท ต่อช่อง จากช่องเด็กที่มีอยู่ 2 ช่อง ที่มีรายได้แต่ละปีน้อยมากอยู่แล้ว โดยเป็นช่อง 3 Family จำนวนประมาณ 241 ล้านบาท และช่อง MCOT Family 238 ล้านบาท
ทั้งนี้คิดตามสูตรคำนวณที่ช่อง 3 Family ได้จ่ายค่าประมูลไปแล้วทั้งหมด 456 ล้านบาท นำไปคำนวณตามสูตรคูณด้วยจำนวนปีที่เหลือ และหารด้วยระยะเวลาใบอนุญาต ทำได้ให้วงเงินกลับคืนมาประมาณ 66% ของมูลค่าทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 301 ล้านบาท เมื่อหักค่าส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม หรือ Must Carry ที่อยู่ประมาณปีละ 14 ล้านบาท เป็นเวลา 2.5 ปี และค่าเช่า MUX อีกราว 25 ล้านบาท รวมแล้วเป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 241 ล้านบาท แต่ทั้งนี้เป็นการประมาณการคร่าวๆ เพราะค่า Must carry ของแต่ละช่องมีสัญญาที่ทำไว้กับดาวเทียมไทยคม มีมูลค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุนทุกปี จึงไม่มีส่วนหักลดอีก
ส่วนช่อง MCOT Family จะอยู่ที่ประมาณ 238 ล้านบาท
จากข้อมูลของนีลเส็นจากการประเมินมูลค่าโฆษณากลุ่มช่องเด็กทั้งปี 2561 มีมูลค่ารวม 624 ล้านบาท เทียบกับปี 2560 อยู่ที่ 388 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากโฆษณาในช่องยังไม่รวมส่วนลดแลกแจกแถมของแต่ละช่อง
แต่ข้อมูลที่ทั้ง 2 ช่องรายงานต่อกสทช.ในปี 2560 ช่อง 13 Family มีรายได้จริง 100 ล้านบาท และช่อง MCOT Family มีรายได้จริง 50 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนปี 2561 ยังไม่มีรายงานเข้ามา
รายได้ของกลุ่มช่องเด็ก
การหาทางออกให้กับช่องเด็กทั้ง 2 ช่องนี้ ประเมินได้ว่าเป็นการช่วยลดปัญหาของผู้ประกอบการ เนื่องจากข้อจำกัดของช่องเด็กในการหารายได้มีหลากหลายปัจจัยมาก รวมทั้งคอนเทนต์ที่เหมาะสมก็มีต้นทุนสูงจนไม่คุ้มค่าทางธุรกิจ
กลุ่มช่องข่าว ได้ชดเชยประมาณช่องละ 500 ล้านบาท
กลุ่มช่องข่าว 6 ช่อง ล้วนแต่ประสบภาวะขาดทุนทุกช่อง เมื่อนำต้นทุนการจ่ายเงินค่าประมูลลงสูตรคำนวณแล้ว พบว่า แต่ละช่องจะได้รับเงินชดเชยราวๆ 500 ล้านบาทต่อช่อง
ในกลุ่มช่องที่เข้าข่ายว่า น่าจะพิจารณาคืนช่องนั้น มีทั้งช่องสปริงนิวส์, นิวทีวี, ไบรท์ทีวี,ทีเอ็นเอ็น และวอยซ์ทีวี เนื่องจากมีเนชั่นทีวีเพียงช่องเดียวที่ผู้บริหารประกาศชัดว่าจะไม่คืนช่อง เมื่อดูจากมูลค่าโฆษณารวมของกลุ่มช่องข่าวในปี 2561 พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่อยู่ที่ 2,560 ล้านบาท
แต่ข้อมูลรายได้จากการดำเนินงานที่แจ้งไว้กับกสทช.เมื่อปี 2560 นั้น พบว่า แต่ละช่องมีรายงานรายได้ดังนี้ เนชั่นทีวี 347 ล้านบาท, ทีเอ็นเอ็น 379 ล้านบาท, นิวทีวี 115 ล้านบาท, สปริงนิวส์ 190 ล้านบาท, ไบรท์ทีวี 216 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี 62 ล้านบาท รวมทั้งหมดมีรายได้ในปี 2560 อยู่ที่ 1,309 ล้านบาทเท่านั้น
รายได้ของกลุ่มช่องข่าว
มูลค่าเงินชดเชยจากสูตรคำนวนแต่ละช่องนั้น สปริงนิวส์ คาดว่าจะได้เงินชดเชย 520 ล้านบาท, นิวทีวี 517 ล้านบาท, ไบรท์ทีวี 512 ล้านบาท, ทีเอ็นเอ็น 519 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี 525 ล้านบาท
กลุ่มช่อง SD วาไรตี้ ได้ช่องละ 900 ลบ.
ส่วนใหญ่ช่องในกลุ่มนี้ มีฐานผู้ชมและเรตติ้งชัดเจน มีบางช่องที่ผลประกอบการกำไร จากข้อมูลบริษัทรับใบอนุญาตทีวีดิจทัล ที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ช่องเวิร์คพอยท์ กำไรต่อเนื่อง ปี 2559-60 กำไรอยู่ที่ 106 และ 933 ล้านบาท ส่วนโมโน ปี 2560 มีกำไรจำนวน 90 ล้านบาท ส่วนที่เหลือขาดทุน
ข้อมูลจากนีลเส็น มูลค่าโฆษณารวมของกลุ่มช่อง SD วาไรตี้ ในปี 2561 อยู่ที่ 18,045 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2560 ที่อยู่ที่ 13,115 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากโฆษณาในช่องยังไม่รวมส่วนลดแลกแจกแถม แต่เมื่อดูผลประกอบการรายได้รวมของทุกช่องในหมวดนี้ของปี 2560 ที่แจ้งไว้กับกสทช.มีรวมอยู่ที่ 8,295 ล้านบาทเท่านั้น (รายละเอียด ตามตาราง)
รายได้ในกลุ่มช่อง SD วาไรตี้
กลุ่มช่องนี้ มีรายงานข่าวว่า ช่องที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจมี 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3SD หรือช่อง 28 และช่องสปริงนิวส์ ที่จากสูตรคำนวณ จะมีมูลค่าชดเชยเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 941 และ 912 ล้านบาท ตามลำดับ
กรณีของช่อง 3SD ช่อง 28 เป็นที่จับตากันทั้งวงการว่า การตัดสินใจของผู้บริหารช่อง 3 ในครั้งนี้ จะเป็นอย่างไร เพราะการมีอยู่ของช่อง 3SD ช่อง 28 มีผลกระทบกับทั้งวงการทีวีดิจิทัล ในแง่กลุ่มช่อง 3 เอง ที่อาจจะคิดว่าคืนเพื่อลดต้นทุน เอาเงินไปลงทุนคอนเทนต์ออนไลน์ แต่จากสถานะของช่อง 3SD ช่อง28 ที่อยู่ในอันดับ 7 ของทีวีดิจิทัล ทำให้คู่แข่งต้องต่อสู้กับช่อง 3SD ช่อง 28 ด้วยความลำบากใจ เพราะช่อง 3SD ช่อง 28 ได้เข้าไปแชร์ส่วนแบ่งรายได้โฆษณาจากกลุ่มโฆษณาภาครัฐ และฐานผู้ชมกลุ่มใหญ่ที่แข็งแกร่งพอสมควร จากตลาดละคร รีรัน และรายการถ่ายทอดสดกีฬา
หากไม่มีช่อง 3SD ช่อง 28 เม็ดเงินเหล่านี้ คงไม่ได้ย้อนกลับไปลงที่ช่อง 3 HD เพราะช่อง 3HD มีราคาค่าโฆษณาสูงมาก แต่คาดว่าจะกระจายไปสู่หลายช่อง ขึ้นอยู่กับการวางผังและกลยุทธ์ช่องมากกว่าบรรดาช่องที่คงเหลืออยู่ทั้งหมดคงแฮปปี้มากขึ้น ที่คู่แข่งรายสำคัญลดน้อยไป 1 ราย
แต่หากคิดในมุมของเทคโนโลยี แน่นอนว่า ช่องทางออนไลน์ น่าจะเป็นช่องทางธุรกิจในอนาคต ที่นับวันผู้ชมหันไปดูคอนเทนต์ออนไลน์มากขึ้น แต่ในตลาดคอนเทนต์ออนไลน์ การแข่งขันเหมือนเรือที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ มีคู่แข่งอยู่ทั่วโลก ที่ทุกคนล้วนเข้ามาแสวงหาความหวัง โอกาสประสบความสำเร็จจึงไม่ใช่เรื่องง่ายดาย แต่หากเกิดได้ ก็คุ้มค่าการลงทุนทันที
กลุ่มช่อง HD หากคืนได้มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาทต่อช่อง
7 ช่องกลุ่ม HD ล้วนเป็นช่องใหญ่ มีฐานกำลังทรัพย์ นายทุนใหญ่ สายป่านยาวกว่าช่องอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มช่อง 10 อันดับแรก ที่มีการแข่งขันสูง จึงไม่น่าจะมีช่องไหนขอคืนใบอนุญาต แต่หากมีเซอร์ไพรส์ขอคืนก็จะได้เงินชดเชยในมูลค่าสูงประมาณ 1.5 พันล้านต่อช่องเลยทีเดียว เนื่องจากมูลค่าประมูลมีราคาสูงกว่า กลุ่มช่องอื่นๆ
มูลค่าตลาดโฆษณารวมของกลุ่มช่องนี้ในปี 2561 อยู่ที่ 42,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่อยู่ที่42,211 ล้านบาท
ส่วนรายได้ที่กลุ่มช่องเหล่านี้แจ้งต่อกสทช.ในปี 2560 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7,560 ล้านบาทเท่านั้น
รายได้ในกลุ่มช่อง HD
แม้ในเบื้องต้น กสทช.คาดการณ์จะมีการคืนช่องประมาณ 4-5 ช่อง แต่สูตรการให้เงินชดเชย
ที่สูงมากของกสทช. อาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์การคืนช่องมากกว่า 5 ช่องขึ้นไป มุมหนึ่ง ก็มองได้ว่า เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่เหลืออยู่ แต่หากมองในมุมผู้คนที่เกี่ยวข้องในวงการทีวี ทั้งระบบแล้ว ไม่น่าจะเป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะจะมีผลกระทบในแง่ลบ ทั้งการสูญเสียงานและรายได้ของพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งในบริษัททีวีดิจิทัลแต่ละช่องเอง ผู้ผลิตรายการที่ผลิตรายการออกอากาศทางช่องดิจิทัลที่จะต้องหาช่องทางออกอากาศใหม่พร้อมกับหาสปอนเซอร์ใหม่ หากรายเดิมไม่ยอมตามมา รวมถึงสตูดิโอ ห้องตัดต่อ อุปกรณ์ให้เช่าที่เกี่ยวกับรายการทีวีทั้งหมด
ในขณะที่เจ้าของช่องบางช่อง อาจจะไม่ได้คิดว่าจะคืนใบอนุญาตตั้งแต่แรก แต่พอเห็นวงเงิน
ชดเชยก้อนใหญ่ที่จะได้รับ ก็อาจเลือกที่จะออกจากธุรกิจเพื่อปลดหนี้หรือนำไปเป็นความสุข
ในช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ผู้คนที่เกี่ยวข้องอีกหลายร้อยชีวิตกำลังจะเผชิญหน้าการตกงานอีกล็อตใหญ่
รูปแบบเช่นนี้ น่าจะสวนทางกับมาตรการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลที่หวังจะเยียวยาทั้งระบบธุรกิจ กลับกลายเป็นเพียงการช่วยเจ้าของช่อง ให้ฟื้นเงินก้อนโตคืนสู่กระเป๋า แต่ไม่ได้ช่วยผู้คนหมู่มากในวงการทีวีดิจิทัล
ธุรกิจทีวีดิจิทัล หลัง 10 พ.ค.นี้ คงเป็นการปรับภูมิทัศน์ใหม่ทั้งหมดของวงการทีวีครั้งใหญ่
อีกรอบหนึ่ง ตั้งแต่เปิดหน้าประวัติศาสตร์ทีวีดิจิทัล มาตั้งแต่ปี 2557 มีบันทึกช่วยจำ ที่เปื้อนน้ำตาคนในวงการมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งกี่หน คราวนี้จะก็อาจเป็นหนึ่งความสุ่มเสี่ยงที่จะช่วยให้ความสุขเกิดกับผู้ประกอบการ แต่ความทุกข์บนจะเกิดกับมนุษย์เงินเดือนและครอบครัวอีก อาจมีคนตกงานมากกว่า 1,000 คน น้ำตาจะปรากฏกับใบหน้าคนอีกกี่ครอบครัว เสียงแซ่ซ้องจะดังก้องไปในสถานใด น่าจะสะท้อนไปถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจครั้งนี้บ้าง ไม่มากก็น้อย
https://www.tvdigitalwatch.com/observe-tvdigital-return-gov-05-62/
คืนช่องทีวีดิจิทัล เจ้าของลอยตัว คนทีวีตกงาน
ผลที่ตามมาคือแทนที่จะเป็นมาตรการเพื่อการเยียวยาวงการทีวีดิจิทัล ช่วยเหลือคนทั้งวงการอย่างจริงจัง
กลับเป็นจุดวกกลับอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมไปในวงกว้าง
จุดเริ่มต้นของการคืนช่อง เพื่อให้ช่องที่ประสบภาวะขาดทุน สายป่านสั้น มีโอกาสที่จะก้าวออกจากธุรกิจนี้ได้ เนื่องจากกติกาเดิมของการประมูล เมื่อประมูลแล้วจะออกไม่ได้จนกว่าจะจ่ายค่าประมูลใบอนุญาตหมด
แต่เมื่อมีส่วนของแถม “เงินชดเชย” เข้ามาเพิ่มเติม พร้อมเปิดโอกาสให้กสทช.คิดสูตรการจ่ายเงินค่าชดเชยทั้งหมดด้วย เมื่อ กสทช.คลอดสูตรการคำนวณออกมา กลับกลายเป็นว่า เงินชดเชยครั้งนี้ เป็นเงินก้อนใหญ่ที่ช่างหอมหวน ชวนให้เกิดพลังดึงดูดใจเจ้าของช่องให้อยาก exit จากธุรกิจนี้
2 ช่องเด็ก คาดได้เงินชดเชยช่องละ กว่า 200 ล้านบาท.
จากการประเมินคร่าวๆของนักวิเคราะห์ กลุ่มช่องในหมวดช่องเด็ก จะได้เงินชดเชยประมาณกว่า 200 ล้านบาท ต่อช่อง จากช่องเด็กที่มีอยู่ 2 ช่อง ที่มีรายได้แต่ละปีน้อยมากอยู่แล้ว โดยเป็นช่อง 3 Family จำนวนประมาณ 241 ล้านบาท และช่อง MCOT Family 238 ล้านบาท
ทั้งนี้คิดตามสูตรคำนวณที่ช่อง 3 Family ได้จ่ายค่าประมูลไปแล้วทั้งหมด 456 ล้านบาท นำไปคำนวณตามสูตรคูณด้วยจำนวนปีที่เหลือ และหารด้วยระยะเวลาใบอนุญาต ทำได้ให้วงเงินกลับคืนมาประมาณ 66% ของมูลค่าทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 301 ล้านบาท เมื่อหักค่าส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม หรือ Must Carry ที่อยู่ประมาณปีละ 14 ล้านบาท เป็นเวลา 2.5 ปี และค่าเช่า MUX อีกราว 25 ล้านบาท รวมแล้วเป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 241 ล้านบาท แต่ทั้งนี้เป็นการประมาณการคร่าวๆ เพราะค่า Must carry ของแต่ละช่องมีสัญญาที่ทำไว้กับดาวเทียมไทยคม มีมูลค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุนทุกปี จึงไม่มีส่วนหักลดอีก
ส่วนช่อง MCOT Family จะอยู่ที่ประมาณ 238 ล้านบาท
จากข้อมูลของนีลเส็นจากการประเมินมูลค่าโฆษณากลุ่มช่องเด็กทั้งปี 2561 มีมูลค่ารวม 624 ล้านบาท เทียบกับปี 2560 อยู่ที่ 388 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากโฆษณาในช่องยังไม่รวมส่วนลดแลกแจกแถมของแต่ละช่อง
แต่ข้อมูลที่ทั้ง 2 ช่องรายงานต่อกสทช.ในปี 2560 ช่อง 13 Family มีรายได้จริง 100 ล้านบาท และช่อง MCOT Family มีรายได้จริง 50 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนปี 2561 ยังไม่มีรายงานเข้ามา
รายได้ของกลุ่มช่องเด็ก
การหาทางออกให้กับช่องเด็กทั้ง 2 ช่องนี้ ประเมินได้ว่าเป็นการช่วยลดปัญหาของผู้ประกอบการ เนื่องจากข้อจำกัดของช่องเด็กในการหารายได้มีหลากหลายปัจจัยมาก รวมทั้งคอนเทนต์ที่เหมาะสมก็มีต้นทุนสูงจนไม่คุ้มค่าทางธุรกิจ
กลุ่มช่องข่าว ได้ชดเชยประมาณช่องละ 500 ล้านบาท
กลุ่มช่องข่าว 6 ช่อง ล้วนแต่ประสบภาวะขาดทุนทุกช่อง เมื่อนำต้นทุนการจ่ายเงินค่าประมูลลงสูตรคำนวณแล้ว พบว่า แต่ละช่องจะได้รับเงินชดเชยราวๆ 500 ล้านบาทต่อช่อง
ในกลุ่มช่องที่เข้าข่ายว่า น่าจะพิจารณาคืนช่องนั้น มีทั้งช่องสปริงนิวส์, นิวทีวี, ไบรท์ทีวี,ทีเอ็นเอ็น และวอยซ์ทีวี เนื่องจากมีเนชั่นทีวีเพียงช่องเดียวที่ผู้บริหารประกาศชัดว่าจะไม่คืนช่อง เมื่อดูจากมูลค่าโฆษณารวมของกลุ่มช่องข่าวในปี 2561 พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2,592 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่อยู่ที่ 2,560 ล้านบาท
แต่ข้อมูลรายได้จากการดำเนินงานที่แจ้งไว้กับกสทช.เมื่อปี 2560 นั้น พบว่า แต่ละช่องมีรายงานรายได้ดังนี้ เนชั่นทีวี 347 ล้านบาท, ทีเอ็นเอ็น 379 ล้านบาท, นิวทีวี 115 ล้านบาท, สปริงนิวส์ 190 ล้านบาท, ไบรท์ทีวี 216 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี 62 ล้านบาท รวมทั้งหมดมีรายได้ในปี 2560 อยู่ที่ 1,309 ล้านบาทเท่านั้น
รายได้ของกลุ่มช่องข่าว
มูลค่าเงินชดเชยจากสูตรคำนวนแต่ละช่องนั้น สปริงนิวส์ คาดว่าจะได้เงินชดเชย 520 ล้านบาท, นิวทีวี 517 ล้านบาท, ไบรท์ทีวี 512 ล้านบาท, ทีเอ็นเอ็น 519 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี 525 ล้านบาท
กลุ่มช่อง SD วาไรตี้ ได้ช่องละ 900 ลบ.
ส่วนใหญ่ช่องในกลุ่มนี้ มีฐานผู้ชมและเรตติ้งชัดเจน มีบางช่องที่ผลประกอบการกำไร จากข้อมูลบริษัทรับใบอนุญาตทีวีดิจทัล ที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ช่องเวิร์คพอยท์ กำไรต่อเนื่อง ปี 2559-60 กำไรอยู่ที่ 106 และ 933 ล้านบาท ส่วนโมโน ปี 2560 มีกำไรจำนวน 90 ล้านบาท ส่วนที่เหลือขาดทุน
ข้อมูลจากนีลเส็น มูลค่าโฆษณารวมของกลุ่มช่อง SD วาไรตี้ ในปี 2561 อยู่ที่ 18,045 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2560 ที่อยู่ที่ 13,115 ล้านบาท โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากโฆษณาในช่องยังไม่รวมส่วนลดแลกแจกแถม แต่เมื่อดูผลประกอบการรายได้รวมของทุกช่องในหมวดนี้ของปี 2560 ที่แจ้งไว้กับกสทช.มีรวมอยู่ที่ 8,295 ล้านบาทเท่านั้น (รายละเอียด ตามตาราง)
รายได้ในกลุ่มช่อง SD วาไรตี้
กลุ่มช่องนี้ มีรายงานข่าวว่า ช่องที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจมี 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3SD หรือช่อง 28 และช่องสปริงนิวส์ ที่จากสูตรคำนวณ จะมีมูลค่าชดเชยเบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 941 และ 912 ล้านบาท ตามลำดับ
กรณีของช่อง 3SD ช่อง 28 เป็นที่จับตากันทั้งวงการว่า การตัดสินใจของผู้บริหารช่อง 3 ในครั้งนี้ จะเป็นอย่างไร เพราะการมีอยู่ของช่อง 3SD ช่อง 28 มีผลกระทบกับทั้งวงการทีวีดิจิทัล ในแง่กลุ่มช่อง 3 เอง ที่อาจจะคิดว่าคืนเพื่อลดต้นทุน เอาเงินไปลงทุนคอนเทนต์ออนไลน์ แต่จากสถานะของช่อง 3SD ช่อง28 ที่อยู่ในอันดับ 7 ของทีวีดิจิทัล ทำให้คู่แข่งต้องต่อสู้กับช่อง 3SD ช่อง 28 ด้วยความลำบากใจ เพราะช่อง 3SD ช่อง 28 ได้เข้าไปแชร์ส่วนแบ่งรายได้โฆษณาจากกลุ่มโฆษณาภาครัฐ และฐานผู้ชมกลุ่มใหญ่ที่แข็งแกร่งพอสมควร จากตลาดละคร รีรัน และรายการถ่ายทอดสดกีฬา
หากไม่มีช่อง 3SD ช่อง 28 เม็ดเงินเหล่านี้ คงไม่ได้ย้อนกลับไปลงที่ช่อง 3 HD เพราะช่อง 3HD มีราคาค่าโฆษณาสูงมาก แต่คาดว่าจะกระจายไปสู่หลายช่อง ขึ้นอยู่กับการวางผังและกลยุทธ์ช่องมากกว่าบรรดาช่องที่คงเหลืออยู่ทั้งหมดคงแฮปปี้มากขึ้น ที่คู่แข่งรายสำคัญลดน้อยไป 1 ราย
แต่หากคิดในมุมของเทคโนโลยี แน่นอนว่า ช่องทางออนไลน์ น่าจะเป็นช่องทางธุรกิจในอนาคต ที่นับวันผู้ชมหันไปดูคอนเทนต์ออนไลน์มากขึ้น แต่ในตลาดคอนเทนต์ออนไลน์ การแข่งขันเหมือนเรือที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ มีคู่แข่งอยู่ทั่วโลก ที่ทุกคนล้วนเข้ามาแสวงหาความหวัง โอกาสประสบความสำเร็จจึงไม่ใช่เรื่องง่ายดาย แต่หากเกิดได้ ก็คุ้มค่าการลงทุนทันที
กลุ่มช่อง HD หากคืนได้มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาทต่อช่อง
7 ช่องกลุ่ม HD ล้วนเป็นช่องใหญ่ มีฐานกำลังทรัพย์ นายทุนใหญ่ สายป่านยาวกว่าช่องอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มช่อง 10 อันดับแรก ที่มีการแข่งขันสูง จึงไม่น่าจะมีช่องไหนขอคืนใบอนุญาต แต่หากมีเซอร์ไพรส์ขอคืนก็จะได้เงินชดเชยในมูลค่าสูงประมาณ 1.5 พันล้านต่อช่องเลยทีเดียว เนื่องจากมูลค่าประมูลมีราคาสูงกว่า กลุ่มช่องอื่นๆ
มูลค่าตลาดโฆษณารวมของกลุ่มช่องนี้ในปี 2561 อยู่ที่ 42,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่อยู่ที่42,211 ล้านบาท
ส่วนรายได้ที่กลุ่มช่องเหล่านี้แจ้งต่อกสทช.ในปี 2560 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7,560 ล้านบาทเท่านั้น
รายได้ในกลุ่มช่อง HD
แม้ในเบื้องต้น กสทช.คาดการณ์จะมีการคืนช่องประมาณ 4-5 ช่อง แต่สูตรการให้เงินชดเชย
ที่สูงมากของกสทช. อาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์การคืนช่องมากกว่า 5 ช่องขึ้นไป มุมหนึ่ง ก็มองได้ว่า เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่เหลืออยู่ แต่หากมองในมุมผู้คนที่เกี่ยวข้องในวงการทีวี ทั้งระบบแล้ว ไม่น่าจะเป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะจะมีผลกระทบในแง่ลบ ทั้งการสูญเสียงานและรายได้ของพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งในบริษัททีวีดิจิทัลแต่ละช่องเอง ผู้ผลิตรายการที่ผลิตรายการออกอากาศทางช่องดิจิทัลที่จะต้องหาช่องทางออกอากาศใหม่พร้อมกับหาสปอนเซอร์ใหม่ หากรายเดิมไม่ยอมตามมา รวมถึงสตูดิโอ ห้องตัดต่อ อุปกรณ์ให้เช่าที่เกี่ยวกับรายการทีวีทั้งหมด
ในขณะที่เจ้าของช่องบางช่อง อาจจะไม่ได้คิดว่าจะคืนใบอนุญาตตั้งแต่แรก แต่พอเห็นวงเงิน
ชดเชยก้อนใหญ่ที่จะได้รับ ก็อาจเลือกที่จะออกจากธุรกิจเพื่อปลดหนี้หรือนำไปเป็นความสุข
ในช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ผู้คนที่เกี่ยวข้องอีกหลายร้อยชีวิตกำลังจะเผชิญหน้าการตกงานอีกล็อตใหญ่
รูปแบบเช่นนี้ น่าจะสวนทางกับมาตรการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลตามนโยบายของรัฐบาลที่หวังจะเยียวยาทั้งระบบธุรกิจ กลับกลายเป็นเพียงการช่วยเจ้าของช่อง ให้ฟื้นเงินก้อนโตคืนสู่กระเป๋า แต่ไม่ได้ช่วยผู้คนหมู่มากในวงการทีวีดิจิทัล
ธุรกิจทีวีดิจิทัล หลัง 10 พ.ค.นี้ คงเป็นการปรับภูมิทัศน์ใหม่ทั้งหมดของวงการทีวีครั้งใหญ่
อีกรอบหนึ่ง ตั้งแต่เปิดหน้าประวัติศาสตร์ทีวีดิจิทัล มาตั้งแต่ปี 2557 มีบันทึกช่วยจำ ที่เปื้อนน้ำตาคนในวงการมาแล้วไม่รู้กี่ครั้งกี่หน คราวนี้จะก็อาจเป็นหนึ่งความสุ่มเสี่ยงที่จะช่วยให้ความสุขเกิดกับผู้ประกอบการ แต่ความทุกข์บนจะเกิดกับมนุษย์เงินเดือนและครอบครัวอีก อาจมีคนตกงานมากกว่า 1,000 คน น้ำตาจะปรากฏกับใบหน้าคนอีกกี่ครอบครัว เสียงแซ่ซ้องจะดังก้องไปในสถานใด น่าจะสะท้อนไปถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจครั้งนี้บ้าง ไม่มากก็น้อย
https://www.tvdigitalwatch.com/observe-tvdigital-return-gov-05-62/