คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ที่คุณ iMember บอกว่า ....
ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนี่ต้องใช้มากกว่าถึง 700 เท่าถึงจะผลิตปริมาณไฟฟ้าได้เท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อันนี้ไม่ใช่นะครับ ในบทความเขียนไว้ว่าฟาร์มไฟฟ้าพลังลม จะใช้เนื้อที่มากกว่า 700 เท่า เทียบกับบ่อก๊าซธรรมชาติ
ไม่ได้เทียบกับขนาดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ ..... และกังหันผลิตไฟฟ้าพลังลม นั้น ถือว่ากินเนื้อที่น้อยมาก ๆ
เพราะกังหันลมขนาด 1.5 MW จะกินเนื้อที่ (Swept area) ประมาณ 3 ไร่ ขณะที่ Solar power ขนาด 1.5 MW
จะต้องใช้เนื้อที่มากถึง 20 ไร่ (กังหันลมกินเนื้อที่น้อยกว่าประมาณ 6.7 เท่า)
บทความของ Forbe ชิ้นนี้ ผมว่าเค้าเอาตัวเลขมาเล่นสนุกมากไปหน่อยครับ การเทียบพื้นที่ของ Solar farm
กับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มันไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นออกแบบให้ "ใหญ่" มาก ๆ
ระดับ 1,500 - 5,000 MW เสมอ ซึ่งโรงขนาด 1,500 NW กับ 5,000 MW ขนาดพื้นที่ก็ไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ (ประมาณ 5,000 ไร่)
ส่วน Solar farm ก็เริ่มตั้งแต่ 1 MW ก็มี ดังนั้น การนำ "พื้นที่" มาเทียบกับมันไม่ค่อยสมเหตุผลนัก
ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนี่ต้องใช้มากกว่าถึง 700 เท่าถึงจะผลิตปริมาณไฟฟ้าได้เท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อันนี้ไม่ใช่นะครับ ในบทความเขียนไว้ว่าฟาร์มไฟฟ้าพลังลม จะใช้เนื้อที่มากกว่า 700 เท่า เทียบกับบ่อก๊าซธรรมชาติ
ไม่ได้เทียบกับขนาดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ ..... และกังหันผลิตไฟฟ้าพลังลม นั้น ถือว่ากินเนื้อที่น้อยมาก ๆ
เพราะกังหันลมขนาด 1.5 MW จะกินเนื้อที่ (Swept area) ประมาณ 3 ไร่ ขณะที่ Solar power ขนาด 1.5 MW
จะต้องใช้เนื้อที่มากถึง 20 ไร่ (กังหันลมกินเนื้อที่น้อยกว่าประมาณ 6.7 เท่า)
บทความของ Forbe ชิ้นนี้ ผมว่าเค้าเอาตัวเลขมาเล่นสนุกมากไปหน่อยครับ การเทียบพื้นที่ของ Solar farm
กับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มันไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นออกแบบให้ "ใหญ่" มาก ๆ
ระดับ 1,500 - 5,000 MW เสมอ ซึ่งโรงขนาด 1,500 NW กับ 5,000 MW ขนาดพื้นที่ก็ไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ (ประมาณ 5,000 ไร่)
ส่วน Solar farm ก็เริ่มตั้งแต่ 1 MW ก็มี ดังนั้น การนำ "พื้นที่" มาเทียบกับมันไม่ค่อยสมเหตุผลนัก
แสดงความคิดเห็น
ต้องใช้พื้นที่ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 450 เท่าถึงจะผลิตไฟฟ้าออกมาได้เท่ากัน?
ขณะที่โลกต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆทุกปี ถ้ามัวแต่ท่องแต่คาถา "พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นพลังงานของโลกอนาคตนี่" ถ้าเมาแต่วิทยาศาสตร์ จนลืมเศรษฐศาสตร์ คิดถึงเรื่องต้นทุนการผลิตกันบ้างไหม? ผมว่าควรจะไปศึกษาให้ถ่องแท้กว่านี้จะดีกว่าไหมก่อนที่จะเสนออะไรที่เป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ของโลกอนาคตได้